xs
xsm
sm
md
lg

‘นพดล ธรรมวัฒนะ ’ฟ้องถอนโอนหุ้น’ตลาดยิ่งเจริญ’ให้ ‘นฤมล’ อ้างเป็นนิติกรรมฉ้อฉล!

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม



ศึกพี่น้องตระกูลธรรมวัฒนะ! นพดล’รับมอบอำนาจน้องสาว ยื่นฟ้องเพิกถอนการโอนหุ้น’ตลาดยิ่งเจริญ’ให้ ‘นฤมล’น้องสาว อ้างเป็นนิติกรรมฉ้อฉล ทำเเผนบริหารตลาดยิ่งเจริญเสียหาย

เมื่อเวลา 14.00 น.วันนี้ (27 ก.ย.) นายนพดล ธรรมวัฒนะ ผู้รับมอบอำนาจ น.ส.คนึงนิตย์ ธรรมวัฒนะ น้องสาวคนสนิทพร้อมทนายความ เดินทางไปยื่นฟ้อง น.ส.ณฤมล ธรรมวัฒนะ น้องสาว ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนหุ้น

ภายหลังยื่นฟ้องเสร็จแล้ว นายนพดล กล่าวว่า มาในฐานะผู้รับมอบอํานาจจาก น.ส.คนึงนิตย์ น้องสาวคนสนิท
ให้มาเป็นโจทก์ฟ้องน.ส.นฤมล เพื่อให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมโอนหุ้น เกี่ยวข้องกับตลาดยิ่งเจริญ สำหรับน.ส.นฤมลได้วางแผนออกอุบาย เพื่อที่จะให้น.ส.คนึงนิตย์ โอนหุ้นตลาดยิ่งเจริญ ไปให้กับเขาจำนวนหุ้นไม่ได้มาก เพียงหุ้นเดียว แต่คำว่าหุ้นเดียวนั้น มีผลต่อการบริหารงานทั้งหมดทําให้น.ส.คนึงนิตย์เสียอํานาจในการบริหาร แล้ว น.ส.นฤมลกระทําการเองทุกอย่างโดยอําเภอใจ

ส่วนวิธีการคือ ช่วงตอนที่เขาซื้อหุ้นจากนายกลุ่มนายปริญญาเขาก็จะมีหุ้นเพิ่มขึ้น แล้วหุ้นที่ซื้อมามันก็จะต้องมาเฉลี่ยเเต่ท้ายที่สุดจะเหลือผู้ถือหุ้นเพียงสองคน ก็จะต้องเหลือเท่ากันแต่ว่า น.ส.นฤมล ก็ไปทำให้ น.ส.คนึงนิตย์ให้หลงเชื่อว่ามีหุ้นมากกว่าเขาหนึ่งหุ้นเเละจะต้องโอนคืนให้เขา น.ส.คนึงนิตย์ก็เชื่อใจจากการเป็นพี่เป็นน้องกัน ก็โอนให้ ซึ่งเรื่องนี้มีบันทึกเป็นรายงานในศาลด้วย เมื่อโอนหุ้นให้ไปแล้ว ก็กลายเป็น ฝั่งน.ส.นฤมลมีหุ้นมากกว่า จนได้สิทธิ์ในการบริหารตลาดเมื่อโหวตออกเสียงลงคะแนนกันเมื่อไหร่น.ส.คนึงนิตย์ก็แพ้ เพราะหนึ่งหุ้นที่โอนไป ก็กลายเป็นมีหุ้นต่างกันสองหุ้น วันนี้จึงมายื่นฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรม เรามีเอกสารหลักฐานไว้พร้อม คดีนี้ความเกี่ยวโยงเชื่อมพันเชื่อมเชื่อมโยงกับคดีที่ก่อนหน้านี้มายื่นฟ้องที่ศาลแพ่งไปแล้วคดีนั้นจะจะเป็นการผิดสัญญาในข้อบังคับข้อกําหนดในพินัยกรรมคดีนั้นจะใหญ่กว่า เเต่คดีนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารจัดการตลาดซึ่งหนึ่งหุ้นที่โอนไป ประมาณค่าไม่ได้เพราะเกิดความเสียหาย การที่มาฟ้องคดีก็คิดว่าอยากจะทําให้มันถูกต้องเพื่อเป็นประโยชน์ในระยะยาว ให้ศาลมีคําวินิจฉัยชี้ถูกชี้ผิดไปเลย เพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่จะกระทําซ้ํากระทําซ้อนแบบนี้ ไม่ให้มันเกิดขึ้น เพราะจากคราวที่แล้วมาถึงคราวนี้ ก็เป็นเรื่องกระทําซ้ําเหมือนเดิมโดยส่วนตัวเคารพคําสั่งศาลเพราะเมื่อศาลมีคําพิพากษามาก็ต้องเชื่อฟังกันทุกคน

ด้าน น.ส.สุกัญญา ศาสนปิติ ทนายความโจทก์ดล่าวต่อว่าศาลนัดพิจารณา วันที่ 2 ธ.ค.เวลา 13.30 น.
ซึ่งเราเตรียมเอกสารไว้เรียบร้อย ก็มาพูดคุยกัน แต่ถ้าสมมุติว่าคุยกันไม่ได้หรือตกลงกันไม่ได้ก็ให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับคดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า บริษัท สุวพีร์ ธรรมวัฒนะ จำกัด โจทก์มีจำนวนหุ้นทั้งสิ้น 2,211,517 หุ้น จำเลยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท สุวพีร์ ธรรมวัฒนะ จำกัด และจำเลยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกันกับโจทก์กระทำการแทนบริษัทฯ อีกทั้งจำเลยยังเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทสุวพีร์ ธรรมวัฒนะ จำกัด โดย ณ ปัจจุบัน จำเลยกับบุตรมีหุ้นรวมกันจำนวนหุ้นทั้งสิ้น 2,580,000 หุ้น
จำเลยแยกจำนวนหุ้นออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก จำเลยใส่ไว้ในชื่อของจำเลย และบางส่วนจำเลยใส่ไว้ในชื่อของบุตรสาวจำเลย


ซึ่งบริษัท สุวพีร์ ธรรมวัฒนะ ก่อตั้งขึ้นตามคำสั่งในพินัยกรรมของนางสุวพีร์ ธรรมวัฒนะ ผู้ตาย ( เจ้ามรดก ) การตั้งบริษัท สุวพีร์ ธรรมวัฒนะ จำกัด ขึ้น เป็นการจัดการให้เป็นไปตามเจตนารมย์ของนางสุวพีร์ ผู้ตาย ซึ่งระบุไว้อย่างชัดเจนในพินัยกรรม และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งบริษัท สุวพีร์ ธรรมวัฒนะ จำกัด ก็คือการจัดการทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม ข้อ 3 ที่ว่า ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฝั่งคลองถนน เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ที่เรียกว่า ตลาดยิ่งเจริญ เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรม ให้ผู้จัดการมรดกโอนใส่ชื่อไว้ และจัดการปลูกสร้างดัดแปลงแล้วเก็บผลประโยชน์ไว้เป็นกองกลาง เพื่อแบ่งปันแก่ทายาทตามพินัยกรรมอันดับที่ 1-9 เมื่อถึงเวลาอันสมควร ให้ผู้จัดการมรดกจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัด บริษัทจำกัดนั้นชื่อว่า บริษัท สุวพีร์ ธรรมวัฒนะ โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เรียกว่า ตลาดยิ่งเจริญ เข้าเป็นทุนของ
บริษัท และให้ทายาทตามพินัยกรรม อันดับ1-9 เป็นผู้ถือหุ้น ห้ามโอนทรัพย์สินให้บุคคลอื่นในระหว่างที่มีชีวิตอยู่ของผู้ถือหุ้น ถ้าผู้ใดละเมิดข้อห้ามให้ตกเป็นของผู้ถือหุ้นที่ไม่ละเมิดข้อห้ามโอน ตามส่วนเฉลี่ย เว้นแต่ผู้ถือหุ้นคนใดจะขายหุ้นจะต้องขายให้แก่ผู้ถือหุ้นที่เป็นทายาทด้วยกันเท่านั้นใน ราคาตลาด แต่ถ้าหากว่าทายาทผู้ถือหุ้นไม่ยอมรับซื้อ โอนหุ้นให้บริษัทสุวพีร์ ธรรมวัฒนะ จำกัด เป็นผู้รับซื้อหุ้นดังกล่าว

โจทก์,จำเลยและพี่น้องคนอื่น ๆ รวม 7 คน ได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัท สุวพีร์ ธรรมวัฒนะ มีกรรมการทั้งสิ้น
จำนวน 7 คนซึ่งเป็นทายาทตามพินัยกรรมข้อ แต่ไม่มีนางสาวนัยนา ธรรมวัฒนะ ทายาทลำดับที่ 7กับ นางสาวนงนุช ธรรมวัฒนะ ทายาทลำดับที่ 9เพราะมีพินัยกรรมตัดไม่ให้รับมรดก ซึ่งในขณะนั้นการแบ่งผลประโยชน์หรือเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นไม่ได้พิจารณาจากจำนวนหุ้นที่ทายาทถือครอง แต่จะแบ่งผลประโยชน์หรือเงิน ปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นโดยเท่า ๆ กัน ดังนั้นการที่จำเลย และนายปริญญา ถือครองหุ้นมากกว่าพี่น้องคน
อื่น ๆ จึงเป็นเพียงการถือแทนในจำนวนหุ้นที่แบ่งไม่ได้ ไว้แทนพี่น้องคนอื่นๆ ในการแบ่งผลประโยชน์ หรือเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น

ต่อมาได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการผู้ถือหุ้น เนื่องจากมีผู้ถือหุ้นราย นายเทอดชัย ธรรมวัฒนะ และนายห้างทอง ธรรมวัฒนะ ได้ถึงแก่กรรม

บริษัท ฯ จึงได้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อของผู้ถือหุ้นของบริษัทตามคำร้องขอของผู้จัดการมรดกของผู้ถือหุ้นที่ถึงแก่กรรม จึงมีผู้ถือหุ้น เเละเปลี่ยนเเปลงผู้ถือหุ้นขึ้นอีกหลายครั้ง

ในวันที่ 9 ก.พ.2558 จำเลย แสดงข้อความอันเป็นเท็จหลอกลวงโจทก์หลงเชื่อ และสำคัญผิดในข้อเท็จจริง จำเลยแสดงข้อความที่ผิดต่อความจริง เพื่อหลอกให้โจทก์หลงเชื่อ โจทหลงเชื่อจึงทำนิติกรรมโอนหุ้นของตนเอง จำนวน 1 หุ้นให้แก่จำเลย จำเลยวางแผนนออกอุบายลวงโจทก์โดยอาศัยความเชื่อใจของโจทก์และในฐานะความเป็นพี่น้องของโจทก์ โดยในวันดังกล่าวเป็นวันที่ศาลได้นัดพร้อมเพื่อชำระราคาค่าซื้อกิจการและหุ้น ตามที่โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่ศาลแพ่ง ในคดี เป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นระหว่าง ทายาท ในรายงานกระบวนพิจารณาจึงลงข้อมูลข้อเท็จจริงข้อตกลงระหว่างกันของคู่ความไว้อย่างชัดเจน โดยรายงานกระบวนพิจารณาคดีของศาล ระบุเงื่อนไขเกี่ยวกับ ตราสารการโอนหุ้น สัดส่วนการโอนหุ้น เอกสารการโอนหุ้น ระหว่างโจทก์และจำเลยในคดีที่ได้บันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา

โดยสัดส่วนของหุ้นที่ระบุในตราสารการโอนหุ้นเดิมทนายโจทก์ขอใช้เอกสารที่โจทก์จัดเตรียมมา แต่ทนาย

จำเลยทั้งสาม ขอใช้เอกสารด้านจำเลยที่ได้จัดทำสัญญาโอนหุ้นเรื่องสัดส่วนในเรื่องของการโอนหุ้น
ปฏิบัติตามบันทึกแนบท้ายสัญญาประนี้ประนอมยอมความ ทนายโจทก์จึงยอมให้ใช้เอกสารฝ่ายของ
ทนายจำเลยทั้งสาม ที่จัดเตรียมมา และศาลได้จดรายงานกระบวนเพิ่มซึ่งไม่เกี่ยวกับประเด็นคดีที่
โจทก์และจำเลยในคดีฟ้องร้องกันมา แต่เกี่ยวกับจำนวนหุ้นของโจทก์ทั้งสองเสมือนเป็นข้อตกลงที่
โจทก์ทั้งสองคุยกัน และแถลงให้ศาลจดแทรกเข้าไปในเนื้อหา ต่อจากข้อความเบื้องต้นว่า ส่วน
สัดส่วนหุ้นของโจทก์ที่ 1 ที่มากกว่าโจทก์ที่ 2 อยู่ หนึ่ง หุ้นนั้น โจทก์ที่ 1 เเละ 2 ตกลง เป็นการภายในว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในภายหลัง โดยโจทก์ที่ 1จะโอนหุ้น 1 หุ้นให้โจทก์ที่ 2 และในวันที่ 17 มี.ค.2558 โจทก์จึงโอนหุ้นของตัวเอง จำนวน 1 หุ้นให้กับจำเลยจึงทำให้จำเลยมีหุ้นมากกว่าโจทก์ จากเดิมที่โจทก์จะมีหุ้นมากกว่าจำเลย เพราะจำเลยโอนหุ้นของตัวเองให้แก่บุตรสาว จึงมีผลทำให้จำเลยมีหุ้นมากกว่าโจทก์ 2 หุ้น

ซึ่งจำเลยแจ้งต่อโจทก์ว่าจำนวนหุ้นของโจทก์ มีจำนวนหุ้นมากกว่าหุ้นของจำเลย จำนวน 1 หุ้น ซึ่งโจทก์ก็สับสนบวกกับความวุ่นวายในห้องพิจารณาคดี และความจำเก่าของโจทก์ที่จำได้ว่าจำเลยมีหุ้นมากกว่าโจทก์จำนวน 1 หุ้น ในช่วงเพิ่มทุนจำนวนหุ้นที่หารแล้วไม่ลงตัว จำนวน 2หุ้น ซึ่งได้ใส่ไว้ในชื่อของจำเลยและนายปริญญา โจทก์ลืมคิดว่านายปริญญาก็ถือหุ้นเกินอยู่ 1หุ้น ถ้าโจทก์รับโอนหุ้นมาจากนายปริญญา ก็จะทำให้โจทก์และจำเลยมีเศษหุ้นที่ติดอยู่ในนามของนายปริญญา และเมื่อแบ่งหารสำเร็จ ก็จะเหลือโจทก์และจำเลยเท่านั้นที่มีสิทธิรับหุ้นที่โอนขายมาจากนายปริญญาและพวก จำเลยรู้ว่าถ้าหารมาแล้ว โจทก์และจำเลยจะมีหุ้นบริษัทเท่ากันแน่นอน จำเลยจึงต้องออกอุบายให้โจทก์โอนหุ้นให้จำเลย 1 หุ้น ก็เพื่อเจตนาให้โจทก์มีหุ้นน้อยกว่าจำเลย จำเลยจึงออกอุบายว่าหุ้นของโจทก์มีมากกว่า 1 หุ้น เพราะหุ้นของจำเลยอยู่ในหุ้นของโจทก์ 1หุ้น ซึ่งไม่เป็นความจริง แต่โจทก์ก็หลงเชื่อ เพราะความจริงสัดส่วนของโจทก์และจำเลยมีเท่ากันโจทก์จึงโอนหุ้นให้จำเลยอันมีผลทำให้ให้โจทก์มีหุ้นน้อยกว่าจำเลยกับนางกัญจนิดา ตันติสุนทร จำนวน 2 หุ้นอันมีผลต่อการบริหารงานและการใช้สิทธิออกเสียงต่างๆ หรือเพื่อคานอำนาจ หลังจากที่จำเลยหลอกหลวงให้โจทก์โอนหุ้นให้จำเลย 1หุ้นแล้ว ทำให้โจทก์ได้รับเป็นการภายในว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในภายหลัง โดยโจทก์ที่ 1จะโอนหุ้น 1 หุ้นให้โจทก์ที่2

หลังจากที่จำเลยหลอกหลวงให้โจทก์โอนหุ้นให้จำเลย 1หุ้นแล้ว ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายมากเพราะโจทก์เสียอำนาจไม่สามารถคานอำนาจในการโหวตออกเสียงลงคะแนนในกิจการการต่าง ๆ ของบริษัท สุวพีร์ ธรรมวัฒนะ จำกัด จำเลยกระทำการต่าง ๆ ๆ ในบริษัทฯ ตามอำเภอใจ เพราะมีอำนาจในมือ จำเลยใช้อำนาจหน้าที่ในการบริหารกิจการในฐานะกรรมการผู้มี
อำนาจ และในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทฯ ที่มีคะแนนเสียงมากกว่า 2 หุ้น จำเลยใช้อำนาจหน้าที่แต่งตั้งกรรมการเข้ามาใหม่ 3 คน ซึ่งล้วนเป็นบุตรของจำเลยทั้งสิ้น จำเลยใช้อำนาจหน้าที่โดยการโหวตเสียงเอานายแทนทอง ธรรมวัฒนะ ออกจากการเป็นกรรมการ และโจทก์ไม่สามารถคานอำนาจที่จะช่วยนายแทนทองได้ โจทก์เคยเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ให้ นายแทนทอง ธรรมวัฒนะเข้ามาเป็นกรรมการบริษัทฯ มติที่ประชุมกรรมการก็มีเสียงข้างมาก 3 ต่อ1 เสียง ไม่อนุมัติให้นายแทนทองเข้าเป็นกรรมการบริษัทฯ

โจทก์อดทน และเจ็บช้ำน้ำใจมาโดยตลอดคิดแต่ว่าเป็นเพราะโจทก์ที่มีจำนวนหุ้นน้อยกว่าจำเลยจึงทำให้ไม่สามารถใช้อำนาจในฐานะผู้บริหารซึ่งเป็นทั้งกรรมการผู้มีอำนาจ และเป็นผู้ถือหุ้นดำเนินการอย่างใดๆ ได้ โจทก์รู้สึกเบื่อและท้อแท้กับอำนาจในการบริหารงานของจำเลยประกอบกับโจทก์เองก็มีปัญหาสุขภาพ โจทก์จึงได้แจ้งต่อผู้รับมอบอำนาจโจทก์ และนางมัลลิการ์ ธรรรมวัฒนะ ว่าโจทก์จะโอนหุ้นให้บุคคลทั้งสอง เพื่อให้บุคคลทั้งสองกลับมามีอำนาจช่วยบริหารงานในบริษัท สุวพีร์ธรรมวัฒนะ จำกัด ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ จึงไปตรวจสอบบัญชีผู้ถือหุ้นทั้งหมดของบริษัท สุวพีร์
ธรรมวัฒนะ จำกัด เพื่อจะมาทำการตรวจสอบเลขที่หุ้นทั้งหมดของโจทก์ ทั้งหุ้นเก่าและหุ้นใหม่ที่โจทก์
ถือครอง เพื่อทำการแบ่งให้แก่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์และนางมัลลิการ์ ธรรมวัฒนะ ตามเจตนารมณ์
ของโจทก์ เมื่อผู้รับมอบอำนาจโจทก์ เรียกข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์มา
ตรวจสอบจึงพบว่ามีรายการโอนหุ้น จำนวน 1 หุ้น ที่โจทก์โอนให้จำเลยเมื่อวันที่ 17 มี.ค.2558 ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จึงสอบถามโจทก์ว่าเหตุ
ใดจึงไปโอนหุ้นให้จำเลย 1 หุ้น โจทก์ก็เล่าตามความจริงว่า โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ในคดีศาลแพ่ง และจำเลยแจ้งว่าโจทก์มีหุ้นมากกว่าจ๋าเลย 1หุ้นให้โอนคืนจำเลย และจำเลยยังให้ศาลจลจดไว้ในรายงานกะบวนพิจารณา ว่า " ส่วนสัดส่วนหุ้นของโจทก์ที่ 1 มากกว่าโจทก์ที่ 2 อยู่ หนึ่ง หุ้นโจทก์ที่1,2 ตกลงเป็นการภายในว่าจะมีการ
เปลี่ยนแปลงในภายหลังโดยโจทก์ที่1 จะโอนหุ้น 1หุ้นให้โจทก์ที่ 2

เมื่อผู้รับมอบอำนาจโจทก์ทราบข้อเท็จจริง จึงตรวจสอบจำนวนหุ้นอย่างละเอียดพบว่า จำนวนวนหุ้นของ
โจทก์ และจำเลยในช่วงที่ 9 ก.พ.2558 จำนวนหุ้นของโจทก์ และจำเลย มีจำนวนเท่ากัน เเต่ก็มีบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณา ที่จำเลยให้ศาลจดในรายงานกระบวนเพิ่มเติมว่า " ส่วนสัดส่วนหุ้น ของโจทก์ที่ 1มากกว่าโจทก์ที่ 2 อยู่ หนึ่งหุ้น โจทก์ที่ 1,2 ตกลงเป็นการภายในว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในภายหลังโดยโจทก์ที่1 จะโอนหุ้นให้โจทก์ที่ 2ซึ่งไม่เป็นความจริงจึงแจ้งให้โจทก์ทราบ

และในวันที่25 มิ.ย.2567 ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ และนางมัลลิการ์ ธรรมวัฒนะ ได้ทำหนังสือแจ้งไปยังจำเลย เพื่อให้ดำเนินการโอน หุ้นให้แก่ ผู้รับมอบอำนาจโจทก์และนางมัลลิการ์ ธรรมวัฒนะ แต่จำเลยไม่ดำเนินการให้ ในส่วนนี้ผู้รับมอบอำนาจโจทก์และนางมัลลิการ์ ธรรมวัฒนะ จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย
กำลังโหลดความคิดเห็น