xs
xsm
sm
md
lg

"ทวี" คอนเฟิร์ม "แม้ว" พ้นโทษตาม พ.ร.ฎ.พร้อมผู้ผ่านเกณฑ์ 31,000 ราย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม



MGR Online - "ทวี" เผย "ทักษิณ" พ้นโทษแล้ว เข้าเกณฑ์พระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ โอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

วันนี้ (17 ส.ค.) พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม กล่าวกรณี ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศ พระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ว่า ยืนยัน นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้อยู่ระหว่างการพักการลงโทษนั้นได้รับการอภัยโทษ โดยเป็นการปล่อยตัวพ้นโทษทันที เป็นผู้บริสุทธิ์เเล้ว ส่วนเรื่องใบบริสุทธิ์ที่จะต้องมอบให้แก่ผู้พ้นโทษจะเป็นกระบวนการของกรมราชทัณฑ์และกรมคุมประพฤติที่จะต้องประสานงานกัน อย่างไรก็ตาม ผู้ต้องขังที่ผ่านเกณฑ์พิจารณา เบื้องต้นมีประมาณ 31,000 รายที่ได้รับประโยชน์จากพระราชกฤษฎีกาครั้งนี้ แต่ไม่ได้พ้นโทษทุกราย โดยเป็นสิทธิที่ได้รับประโยชน์ต่อผู้ต้องขัง ทั้งการลดโทษ และการพ้นโทษ ซึ่งก็ต้องไปดูประเภทของผู้ต้องราชทัณฑ์รายนั้นๆ

ทั้งนี้ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศ พระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่ทรงพระราชดำริเห็นว่า ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 นับเป็นอภิลักขิตกาลสำคัญ เพื่อเป็นการแสดงพระมหากรุณาธิคุณ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมควรพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องราชทัณฑ์ เพื่อให้โอกาสแก่บุคคลเหล่านั้นกลับประพฤติตนเป็นพลเมืองดี อันจะเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติสืบไป

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 175 และมาตรา 199 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 261 ทวิ วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2517 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้

โดย มาตรา 3 ในพระราชกฤษฎีกานี้ "ผู้ต้องกักขัง" หมายความว่า ผู้ต้องโทษกักขังแทนโทษจำคุกหรือผู้ถูกกักขังแทนค่าปรับ ซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลถึงที่สุดก่อนหรือในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

"ผู้ทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ" หมายความว่า ผู้ต้องโทษปรับ ซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ทำงางานบริการสังคมหรือทำงานสาธาธารณประโยชน์แทนค่าปรับตามมาตรา ๓๐/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา ก่อนหรือในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ โดยผู้นั้นได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาล และมิได้กระทำผิดเงื่อนไข

"ผู้ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติ" หมายความว่า นักโทษเด็ดขาดซึ่งเป็นผู้ได้รับการพักการลงโทษ ตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์หรือกฎหมายว่าด้วยเรือนจำทหาร หรือได้รับการลดวันต้องโทษจำคุก ตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์ ซึ่งมิได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขแห่งการพักการลงโทษ หรือการลดวันต้องโทษจำคุก ก่อนหรือในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

"นักโทษเด็ดขาด" หมายความว่า ผู้ซึ่งในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับเป็นนักโทษเด็ดขาด ตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์หรือนักโทษตามกฎหมายว่าด้วยเรือนจำทหาร

"ผู้กระทำความผิดซ้ำ" หมายความว่า นักโทษเด็ดขาดซึ่งเคยต้องโทษจำคุกและพ้นโทษแล้ว กลับมากระทำความผิดอีกภายในห้าปีนับแต่วันที่พันโทษจำคุกคราวก่อน โดยความผิดทั้งสองคราว ไม่ใช่ความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

"กำหนดโทษ" หมายความว่า กำหนดโทษที่ศาลได้กำหนดไว้ในคำพิพากษาและระระบุไว้ใน หมายแจ้งโทษเมื่อคดีถึงที่สุด หรือกำหนดโทษตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษ หรือกำหนดโทษ ดังกล่าวที่ได้ลดโทษลงแล้วโดยการได้รับพระราชทานอภัยโทษหรือโดยเหตุอื่น

"ต้องโทษจำคุกเป็นครั้งแรก" หมายความว่า ต้องโทษเพราะถูกศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุก ไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี โดยมิได้ถูกศาลพิพากษาให้เพิ่มโทษฐานกระทำความผิดอีก ตามมาตรา 92 หรือมาตรา 93 แห่งประมวลกฎหมายอาญาหรือตามกฎหมายอื่น และไม่เป็นผู้กระทำความผิดซ้ำ

มาตรา 4 ผู้ซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกานี้ ต้องมีตัวอยู่ในความควบคุมของทางราชการ หรือถูกกักขังไว้ในสถานที่หรือที่อาศัยที่ศาลหรือทางราชการกำหนดในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับติดต่อกันไปจนถึงวันที่ศาลออกหมายสั่งปล่อยหรือลดโทษหรือนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งปล่อยหรือลดโทษตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ผู้ทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ และผู้ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติ

มาตรา 5 ภายใต้บังคับมาตรา 6 และมาตรา 17 นักโทษเด็ดขาดซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกานี้ ไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี จะต้องได้รับโทษจำคุกมาแล้วถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของกำหนดโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุดหรือไม่น้อยกว่าแปดปี แล้วแต่ระยะเวลาใดจะเป็นคุณมากกว่า ในกรณีต้องโทษจำคุกหลายคดี ให้ถือเอากำหนดโทษในคดีที่มีโทษสูงที่สุดเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา

มาตรา 6 ผู้ต้องโทษดังต่อไปนี้ ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไป (1) ผู้ต้องกักขัง (2) ผู้ทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ (3) ผู้ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติ

กรณีผู้ต้องกักขังตาม (1) ซึ่งเป็นนักโทษเด็ดขาด และยังไม่ได้รับโทษกักขังแทนโทษจำคุก หรือยังไม่ได้ถูกกักขังแทนค่าปรับ ให้ผู้ต้องกักขังนั้นได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไป ในส่วนของโทษกักขังแทนโทษจำคุกหรือในส่วนของการกักขังแทนค่าปรับ แล้วแต่กรณี
กำลังโหลดความคิดเห็น