xs
xsm
sm
md
lg

ขึ้นค่าแรง 400 บาท รัฐบาลไร้แผนรองรับ เศรษฐกิจไทยพังก่อน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม



รายการ “ถอนหมุดข่าว” เผยแพร่ทางแอปพลิเคชั่น SONDHI APPสถานีโทรทัศน์ NEWS1 ช่องยูทูปNEWS1 และเฟซบุ๊กแฟนเพจNEWS1 วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม 2567 นำเสนอรายงานพิเศษ ขึ้นค่าแรง 400 บาท รัฐบาลไร้แผนรองรับ เศรษฐกิจไทยพังก่อน



ไม่รู้ว่าเป็นการประกาศเนื่องในโอกาสวันแรงงานแห่งชาติ หรือ ผ่านการกลั่นกรองและมีข้อมูลรอบด้านแล้ว ภายหลัง 'อนุทิน ชาญวีรกูล' รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย 'พิพัฒน์ รัชกิจประการ' รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ประกาศปักธง 1 ตุลาคม ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทพร้อมกัน

ในประเด็นที่ว่าด้วยการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำนั้นถือเป็นเรื่องที่ไม่ว่าจะมองมุมไหนก็ล้วนแต่น่าจะรับฟังทั้งสิ้นทั้งจากผู้ประกอบการหรือภาคของผู้ใช้แรงงาน เพียงแต่ยังเป็นเรื่องยากในการจะหาสมดุลให้เจอ

มุมของผู้ประกอบการ จะออกมาสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล แต่ก็แอบมีเสียงท้วงติงว่าการขึ้นค่าแรง 400 บาท จะทำให้ต้นทุนสินค้าและบริการอาจเพิ่มขึ้นประมาณ 15 % ซึ่งเป็นตัวเลขที่มาจากการสำรวจของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

โดยยังมีข้อคิดเห็นอีกว่า หากค่าแรงเพิ่มเร็วเกินไป นายจ้างอาจปลดพนักงานหากรับมือต้นทุนไม่ไหว กระทบกำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจ ต้นทุนค่าแรงอาจถูกผลักไปที่ราคาสินค้าทำให้เกิดแรงกดดันเงินเฟ้อ

และต้นทุนที่สูงขึ้นอาจมีผลทำให้ขีดความสามารถแข่งขันลดลง ซึ่งส่งผลเสียในระยะยาว จึงเสนอว่าถ้าจะขึ้นค่าแรงควรจะอยู่ที่ 370 บาทต่อวัน ซึ่งเป็นตัวเลขที่มีความเหมาะสมมากที่สุด

ขณะที่ ในมุมของผู้ใช้แรงงงาน ต้องยอมรับว่าไมได้รับการปรับขึ้นค่าแรงในลักษณะของการยกระดับมาเป็นเวลานานแล้ว สวนทางกับภาระค่าครองชีพและหนี้สินที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง จึงไม่แปลกที่รัฐบาลจะต้องพยายามหาทางปรับขึ้นค่าแรง เพราะมองว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยในเวลานี้มีความจำเป็นต้องเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชน เพื่อให้การบริโภคเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจในภาพรวม ซึ่งทุกการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนั้นหมายถึงภาษีที่จะเป็นรายได้ให้กับรัฐต่อไป

อย่างไรก็ตาม การขึ้นค่าแรงท่ามกลางเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงชะลอตัว โดยเฉพาะตัวเลขที่เป็นดัชนีชี้วัดการเจริบเติบโตทางเศรษฐกิจกำลังถดถอยรุนแรง เช่น การส่งออกลดลง และการขาดดุลการค้าที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น อาจไม่ได้เป็นประโยชน์ในระยะนี้มากนัก เพราะยิ่งทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการสูงขึ้นตามมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยประเมินเอาไว้ ซึ่งผลเสียสุดท้ายก็วนมาที่ผู้ใช้แรงงานเองที่อาจต้องเสี่ยงต่อการปิดกิจการของนายจ้างที่แบกรับต้นทุนไม่ไหว

วงจรที่ว่านั้นแน่นอนว่าไม่ได้เป็นเรื่องเหนือความคาดหมายของรัฐบาล เพียงแต่ตอนนี้ยังไม่เห็นแนวทางที่ชัดเจนว่าจะสามารถรักษาสมดุลทางเศรษฐกิจอย่างไร เพื่อให้นายจ้างสามารถรักษาการจ้างงานได้มากที่สุดภายใต้เงื่อนไขของการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแบบก้าวกระโดดเช่นนี้ โดยเวลานี้รัฐบาลสาละวนและเปิดศึกกับธนาคารแห่งประเทศไทยในการผลักดันให้โครงการเงินดิจิทัลเกิดขึ้นให้ได้เป็นหลักเท่านั้น

การขึ้นหรือการยกระดับค่าจ้างขั้นต่ำ แน่นอนว่าย่อมเป็นเรื่องที่ดีต่อผู้ใช้แรงงาน แต่ด้านหนึ่งก็เป็นเรื่องดีที่มีความเสี่ยงเช่นกัน จึงได้แต่หวังว่ารัฐบาลจะมีมาตรการรักษาสมดุลทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้น เพื่อประคับประคองให้ทั้งลูกจ้างและนายจ้างจับมือเดินไปด้วยกันได้จนตลอดรอดฝั่ง

ไม่ใช่แค่การพูดเอามัน เพื่อหวังคะแนนทางการเมืองเพียงอย่างเดียว

--------------------------------
**หมายเหตุ
แอป Sondhi App ดาวโหลดได้แล้ว
ระบบ iOS ไปที่ AppStore :https://apps.apple.com/th/app/sondhi-app/id1588046647
ระบบ android ไปที่ Google Play :https://play.google.com/store/apps/details?id=com.sondhitalk.asia.android


กำลังโหลดความคิดเห็น