xs
xsm
sm
md
lg

ศาลอนุญาตให้ฝากขัง-ให้ประกันนักข่าวประชาไท สนับสนุนคนร้ายพ่นสีพระราชวัง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม



‘ทนายความ’เผยศาลอนุญาตให้ฝากขัง-ยกคำร้องคัดค้านฝากขัง 2 นักข่าว สนับสนุนคนร้ายพ่นสีพระบรมมหาราชวัง ยื่นปล่อยตัวชั่วคราว ล่าสุดศาลให้ประกันวงเงิน 3.5 หมื่นบาท

เมื่อเวลา 13.00 น.วันนี้ (13 ก.พ.) ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ภายหลังพนักงานสอบสวน สน.พระราชวัง ยื่นคำร้องฝากขัง นายณัฐพล เมฆโสภณ ผู้สื่อข่าวประชาไท อายุ 34 ปี และนายณัฐพล พันธ์พงส์สานนท์ อายุ 35 ปี นักข่าวและช่างภาพอิสระ ถูกจับกุมตามหมายจับของศาลอาญา ลงวันที่ 22 พ.ค. 2566 คดีตาม พ.ร.บ.โบราณสถาน

นายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง เปิดเผยว่า วันนี้พนักงานสอบสวนได้นำตัวผู้ต้องหาทั้ง 2 คนมายื่นฝากขัง ซึ่งผู้ต้องหาทั้ง 2 คนให้การปฏิเสธ ศาลอ่านข้อกล่าวหาของพนักงานสอบสวนถึงพฤติการณ์สนับสนุนวางแผนและช่วยเหลือผู้ต้องหาซึ่งตอนนี้ตกเป็นจำเลยคดีพ่นสีในรั้วของวัดพระแก้วหรือพระบรมมหาราชวัง ผู้ต้องหาทั้ง 2 คนให้การปฏิเสธและคัดค้านการฝากขัง ตนจึงยื่นคำร้องคัดค้านไป ระบุเหตุผลว่า ตำรวจขอฝากขังโดยอ้างว่าจะต้องสอบสวนพนักงานสอบสวนทั้ง 5 ปากและจะมีพยานเพิ่มเติม ศาลเห็นว่าสมควรให้ฝากขังไว้ และให้ยกคำร้องคัดค้านการฝากขัง

เพราะศาลเชื่อว่าเนื่องจากพนักงานสอบสวนยังสอบสวนไม่เสร็จสิ้น แต่ศาลได้ไต่สวนผู้ต้องหาทั้ง 2 คน พยายามที่จะทำคำร้องไปชี้แจงว่าพนักงานสอบสวนไม่มีเหตุผลที่จะสอบสวนเพิ่มเติมแล้ว เพราะตัวผู้พ่นสีที่อ้างว่าผู้ต้องหาไปสนับสนุน ถูกฟ้องสอบสวนเสร็จสิ้นเป็นคดีในศาลอาญา เพราะฉะนั้นไม่มีเหตุผลอะไรที่ต้องสอบสวนเพิ่มเติม และหมายจับออกไปตั้งแต่ 22 พ.ค.2566 แล้วทำไมพึ่งมาจับ ผู้ต้องหาไม่มีพฤติการณ์หลบหนี มีอาชีพเป็นหลักแหล่ง แต่ศาลเห็นว่าคำคัดค้านของผู้สื่อข่าวทั้ง 2 คนไม่มีเหตุผลเพียงพอให้ยกคำร้อง งดการไต่สวนทั้งหมด ทำให้วันนี้ไม่มีการนำพยานบุคคลเข้าไต่สวน ขณะนี้อยู่ระหว่างยื่นประกันรายละ 5 หมื่นบาท คงประกันตัวได้ ซึ่งเงินประกันมีสำนักข่าวประชาไทช่วยออกสำหรับนักข่าวในสังกัดประชาชน ส่วนผู้ต้องหาอีกรายใช้เงินญาติเเละเงินกองทุนในการยื่นประกันตัว

อย่างไรก็ตามต่อมาผู้ต้องหาทั้ง 2 ราย ได้ยื่นเงินสดขอประกันตัวคนละ 35,000 บาท

ล่าสุดศาลพิจารณาคำร้องพร้อมหลักทรัพย์แล้ว อนุญาตให้ประกันตัวผู้ต้องหาทั้ง 2 รายระหว่างสอบสวนตลอดจนถึงขั้นพิจารณา เว้นแต่จะมีการฟ้องผู้ต้องหาในข้อหาที่หนักกว่า โดยชั้นนี้ให้ประกันวงเงินคนละ 35,000 บาท

 ภายหลังได้รับการปล่อยชั่วคราว นายณัฐพล ช่างภาพอิสระ ให้สัมภาษณ์ว่า ตนได้เจอน้องผู้ที่ก่อเหตุในการทำกิจกรรมยืน หยุด ขังที่หน้าศาลฎีกา จำไม่ได้ว่าก่อนที่จะมีเหตุพ่นสีหรือไม่ ก็มีการพูดคุยกัน คิดว่าการคุยกับแหล่งข่าวเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่ว่าห้ามคุยกัน เป็นการหาข่าว ไม่ได้เป็นหลักฐานว่าเป็นพวกเดียวกัน ตนรู้ก่อนจะมีการทำกิจกรรมพ่นสี 10 นาทีมั่นใจว่าตนเองไปรายงานสถานการณ์และไปสังเกตุการณ์ไม่ได้เข้าไปขัดขวางกระบวนของเจ้าหน้าที่ ตนถ่ายภาพอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ได้มีการนัดแนะกัน ก็ต้องดูว่าทางตำรวจมีพยานหลักฐาน ผมนัดแนะกับผู้ก่อเหตุจริงหรือไม่ แต่คิดว่าคงไม่มี เมื่อถามว่า ตำรวจมีกล้องวงจรปิดว่า เราไปถึงสถานที่ก่อน 10 นาที มีการพูดคุยกันก่อนก่อเหตุกล่าวว่ามีการคุยกันจริง แต่ไม่ใช่วันที่เกิดเหตุ น่าจะเป็นวันที่ไปถ่ายกิจกรรมหยุดขัง ส่วนที่ตนทราบการจัดกิจกรรมพ่นสีนั้นก็ทราบมาจาก นายณัฐพล หรือเป้ “ที่ผ่านมาตนวางตัวชัดเจนว่า เรามาทำงาน วางตัวระดับหนึ่งแล้ว ก็น่าจะชัดเจนแล้วว่า เรามาทำงานจริงๆ มั่นใจว่าเรามีเส้นแบ่งชัดเจน แต่คนที่มองเข้ามาอาจจะคิดไม่ตรงกับเราหรือเปล่า ก็ไม่อาจทราบได้ ”เมื่อถามว่า คิดว่าเป็นการกลั่นแกล้งหรือไม่นายณัฐพล ช่างภาพอิสระ กล่าวว่า ในใจลึกๆ ก็คิดว่ามีส่วน เนื่องจากคดีที่โดนไม่น่าจะเกี่ยวกับตนเลย ไม่เคยคิดว่าจะโดนคดีเอง เพราะทุกทีเป็นคนทำข่าวเมื่อถามว่า ตอนจับกุมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามพ.ร.บ.อุ้มหายหรือไม่นาย

นายณัฐพล ช่างภาพอิสระ กล่าวว่า รู้สึกดีที่มีส่วนช่วยให้พ.ร.บ.อุ้มหายสำเร็จ เพราะตอนจับกุมเจ้าหน้าที่ย้ำเสมอว่า บันทึกภาพวิดีโอ และบอกว่าสามารถแจ้งทนายความได้ด้านนายณัฐพล หรือเป้ ผู้สื่อข่าวประชาไท กล่าวว่า ตนไม่มีคิดว่าหลักฐานของตำรวจแค่นั้น จะเอาตีความขยายว่ามีการร่วมกันกระทำการดังกล่าวได้ ซึ่งการสู้คดีก็ขอพูดคุยกับทนายความก่อน ยืนยันว่าเราไปทำข่าว ไม่ได้ไปสนับสนุนใดๆ ตนเองไม่ทราบถึงรายละเอียด รู้เพียงว่ามีการจัดกิจกรรม จึงขอให้ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมผิดก็ว่าไปตามผิด ถูกก็ว่าไปตามถูก ยืนยันในหลักการว่าเราไปเสนอข่าวในวันนั้นจริงเมื่อถามว่าทราบข่าวจากไหนว่าจะมีกิจกรรมพ่นสีรั้ววัดพระแก้วนายณัฐพล หรือเป้ กล่าวว่า อันนี้ขอปรึกษาทนายความก่อน ไม่สามารถให้สัมภาษณ์ประเด็นนี้ได้เมื่อถามว่า โดยคดีนี้ขึ้น จะมีการทบทวนการทำงานหรือไม่นายณัฐพล หรือเป้ กล่าวว่า คงจะทำงานเหมือนเดิม ไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่เรื่องการทำงานอาจจะมีการคุยกันในกองข่าวถูกใจแสดงความคิดเห็น


ตร.สน.พระราชวัง นำ 2 ช่างภาพสำนักข่าวดัง ยื่นฝากขัง เหตุร่วมรู้เห็นกับคนพ่นสีกำแพงวัดพระแก้ว พร้อมค้านประกันเกรงหลบหนี

สำหรับคำร้องฝากขังระบุว่า พนักงานสอบสวน สน.พระราชวัง นำตัว นายณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ อายุ 35 ปี และนายณัฐพล เมฆโสภณ ผู้ต้องหาที่ 1-2 ผู้ต้องหากระทำความผิดฐาน เป็นผู้สนับสนุนทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งโบราณสถาณ ขีด เขียน พ่นสีหรือทำให้ปรากฏด้วยประการใดๆซึ่งข้อความ ภาพหรือรูปรอยใดๆที่กำแพงที่ติดกับถนน หรืออยู่ในที่สาธารณะ มาฝากขังครั้งแรกเป็นเวลา 12 วัน ตั้งแต่ 13 - 24 ก.พ. 2567 ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนผู้ต้องหาที่1-2 ให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา

พฤติการณ์ สืบเนื่องมาจาก เมื่อวันที่ 28 มี.ค.2566 เวลาประมาณ 17.40 น. เวลาเกิดเหตุ ส.ต.ต.วราวุฒิ เทศวงษ์ และ ส.ต.ต.พชรพล แสงภารา เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เป็นพยานได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้มาปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยเขตพระราชฐาน (พระบรมมหาราชวัง) โดยใช้รถจักรยานยนต์ของทางราชการเป็นยานพาหนะออกตรวจรอบพระบรมมหาราชวัง ทั้งหมด 5 จุด และได้ออกตรวจเป็นรอบเวลา ต่อมาตามวันเวลาเกิดเหตุ พยานทั้งสองได้ออกตรวจรอบเขตพระราชฐานพระบรมมหาราชวัง ก่อนถึงจุดตรวจที่ 4 พยานทั้งสองได้หยุดรถ ถ่ายภาพบริเวณจุดตรวจเพื่อส่งภาพรายงานทางกลุ่มแอปพลิเคชันไลน์ให้ผู้บังคับบัญชาทราบ เมื่อตรวจครบทั้ง 5 จุด ขณะพยานทั้งสองกำลังขับขี่รถจักรยานยนต์ออกตรวจต่อไป ส.ต.ต.พชรพล พยานได้พบเห็นเหตุการณ์ นายศุทธวีร์ สร้อยคำ ได้ใช้กระป๋องสีสเปรย์พ่นสีกำแพงพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นการกระทำความผิดซึ่งหน้าโดยสามารถจับกุมตัว นายศุทธวีร์ พร้อมยึดสีสเปรย์ของกลางได้ ในขณะกระทำความผิด โดยมีผู้กล่าวหาพร้อมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจสน.พระราชวัง ได้ออกตรวจตามวงรอบผ่านมาพบเหตุจึงได้เข้าร่วมจับกุม และได้แจ้งข้อกล่าวหาและแจ้งสิทธิ์ให้ทราบตามกฎหมาย จากนั้นได้นำตัวนายศทธวีร์ พร้อมของกลางนำส่งพนักงานสอบสวน สน.พระราชวัง เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย

ต่อมาพนักงานสอบสวนจึงได้รวบรวมพยานหลักฐาน จากการตรวจสอบข้อมูลทางสื่อโซเชียลและภาพจากกล้องวงจรปิดของผู้ต้องหาที่หนึ่งตรวจสอบพบว่าวันก่อนเกิดเหตุผู้ต้องหาที่หนึ่งได้เดินทางมาที่สนามหลวงและพูดคุยกับนายศุทธวีร์ สร้อยคำ และได้ไปร่วมนั่งรวมกลุ่มที่บริเวณหน้าศาลฎีกา ในวันเกิดเหตุ จากนั้น เวลา 17.35 น. อยู่หน้าร้านกาแฟอเมซอนข้างกระทรวงกลาโหมประมาณ 20นาที ลักษณะเหมือนเป็นการรอเวลานัดหมาย ต่อมาเวลา ๑๗.๓๙ น. นายณัฐพล ผู้ต้องหาที่ 1 ได้ยืนถ่ายภาพอยู่ทีถนนหน้าพระลานตรงป้อมเผด็จฯ (ถ่ายภาพมุมด้านหน้า) ขณะที่ นายศุทธวีร์ฯ ก่อเหตุพ่นสีกำแพงพระบรมมหาราชวังและเข้ามาถ่ายภาพขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัวนายศุทธวีร์ฯ แสดงให้เห็นว่า ผู้ต้องหาที่ 1ได้รู้มาก่อนแล้วว่านายนายศุทธวีร์ฯ จะมาก่อเหตุ

จากการตรวจสอบข้อมูลทางสื่อโซเชียลและภาพจากกล้องวงจรปิดของ นายณัฐพล เมฆโสภณ ผู้ต้องหาที่ 2 ตรวจสอบ พบว่าเมื่อเวลา 16.56 น. ผู้ต้องหาที่ 2 เดินขึ้นมาจาก ถนนใต้อุโมงค์ ฝั่ง มหาวิทยาลัยศิลปากร ถ.หน้าพระธาตุ และเดินอยู่ภายในสนามหลวง อยู่ในบริเวณใกล้เคียงสถานที่เกิดเหตุ ลักษณะการเดินไปเดินมาเหมือนเป็นการรอเวลานัดหมาย ต่อมาเวลา 17.39 น. ผู้ต้องหาที่2 ยืนรอถ่ายภาพอยู่ตรงบริเวณมุมสนามหลวง ฝังทิศตะวันตก (มุมถ่ายภาพจากทางขวา) ขณะนายศุทธวีร์ กำลังก่อเหตุพ่นสีกำแพง ซึ่งรู้มาก่อนแล้วว่าจะมีคนก่อเหตุ เพราะคนปกติทั่วไปหากไม่ทราบแผนการมาก่อนก็ไม่สามารถเอาโทรศัพท์มือถือ มาถือรอถ่ายภาพขณะนายศุทธวีร์ๆ ก่อเหตุได้(ปรากฏตามภาพจากกล้องวงจรปิด) พนักงานสอบสวนจึงได้ขออำนาจศาลอาญาอนุมัติหมายจับ ผู้ต้องหาที 1-2 ช่วงเดือน พ.ค.2566

ต่อมาเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 67 เวลาประมาณ 15.06 เจ้าหน้าที่ตำรวจกองกำกับการสืบสวนกองบังคับการตำรวจนครบาล 5 สามารถติดตามจับกุมผู้ต้องหาที่ 1 ได้บริเวณร้านข้าวมันไก่ ถนนเจริญกรุงกรุงเทพมหานคร และเวลา 14.50น. เจ้าหน้าที่ตำรวจสืบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาลได้จับกุมตัวผู้ต้องหาที่ 2 บริเวณกลางซอยประชาอุทิศสี่แยก 1-2 แขวงราษฎร์บูรณะ กทม.

เหตุเกิดที่ บริเวณกำแพงพระบรมหาราชวัง และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) แขวงพระบรมมหาราชวังเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

การกระทำของผู้ต้องหาที่ 1 เป็นความผิดฐาน "เป็นผู้สนับสนุนทำให้เสียหาย ทำลายทำให้เสื่อมคาหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งโบราณสถาน และขูด ขีด เขียน พ่นสี หรือทำให้ปรากฏด้วยประการใดๆ ซึ่งข้อความ ภาพ หรือรูปรอยใดๆ ที่กำแพงที่ติดกับถนนหรืออยู่ในที่สาธารณะ และ ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นโดยไม่มีเหตุหรือ ข้อแก้ตัวอันสมควร" อันเป็นความผิดตามพ.ร.บ.โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535
มาตรา 32 วรรคแรก และพ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 มาตรา12, มาตรา56 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,84,86 และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 368

การกระทำของผู้ต้องหาที่ 2 เป็นความผิดฐาน "เป็นผู้สนับสนุนทำให้เสียหาย ทำลายทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งโบราณสถาน และขูด ขีด เขียน พ่นสี หรือทำให้ปรากฏด้วยประการใดๆ ซึ่งข้อความ ภาพ หรือรูปรอยใดๆ ที่กำแพงที่ติด กับถนนหรืออยู่ในที่สาธารณะ" อันเป็นความผิดตามพ.ร.บ.โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535
มาตรา 32 วรรคแรก และพ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 มาตรา12, มาตรา56 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,84,86

ท้ายคำร้องพนักงานยังทำการสอบสวนไม่เสร็จสิ้นเนื่องจากต้องสอบสวนพยานอีก 5 ปาก เป็นพยานชุดจับกุมและประจักษ์พยานรอผลการตรวจลายพิมพ์นิ้วมือและประวัติการต้องโทษของผู้ต้องหา 1-2 ด้วยความจำเป็นดังกล่าวจึงขอออกหมายขังผู้ต้องหาไว้ระหว่างสอบสวน หากผู้ต้องหาขอปล่อยชั่วคราว พนักงานสอบสวนขอคัดค้าน เนื่องจากหากปล่อยตัวไปเกรงว่าผู้ต้องหาที่1-2 จะกระทำผิดซ้ำ ศาลอาญาพิจารณาคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวนแล้ว อนุญาตให้ฝากขังได้








กำลังโหลดความคิดเห็น