รายการ “ถอนหมุดข่าว” เผยแพร่ทางแอปพลิเคชั่น SONDHI APP สถานีโทรทัศน์ NEWS1 ช่องยูทูป NEWS1 และเฟซบุ๊กแฟนเพจ NEWS1 วันอังคารที่ 19 ธันวาคม 2566 นำเสนอรายงานพิเศษ เปิดลึก น้องไนซ์ เชื่อมจิต ถอดแบบ ธัมมชโย ร่างทรง คนขี่เสือ
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏออกต่อสาธารณชนมากขั้นทุกขณะ ถึงตอนนี้จึงมี 5 ประเด็นน่าสนใจ เกี่ยวกับความเป็น “อาจารย์น้องไนซ์ เชื่อมจิต” คือ
1.เขียนพุทธประวัติใหม่ ตามพระสูตรนั้น พระพุทธเจ้าตอนเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ มีลูกชายคนเดียวที่ชื่อ “ราหุล”
แต่อาจารย์น้องไนซ์ มีสตอรี่ความเป็นมาว่า เป็นลูกชายอีกคนของพระพุทธเจ้า ถูกส่งมาเกิดเพื่อโปรดสัตว์ โดยอ้างว่า ราหุลเป็นลูกในภพชาติหนึ่ง ส่วนน้องไนซ์ เป็นลูกอีกภพชาติหนึ่ง
การเขียนพุทธประวัติใหม่ เป็นเรื่องร้ายแรง เพราะหากพุทธประวัติถูกแก้ไข อย่างตั้งใจบิดเบือน คนรุ่นลูกรุ่นหลานต่อไปในภายหน้า อาจเข้าใจพุทธประวัติผิดหมด
2.ทำกันเป็นขบวนการ ขณะที่พ่อแม่อาจารย์น้องไนซ์ กล่าวหาคนที่เห็นต่างคัดค้าน ว่าทำกันเป็นขบวนการ แต่ในความจริง คนที่ทำเป็นขบวนการ น่าจะเป็นฝ่ายของน้องไนซ์มากกว่า
ขนาดแอดมินของน้องไนซ์ ซึ่งมีการจ้างมาทำงาน ยังถูกไล่ออกไปแล้วถึง 4 คน ชี้ให้เห็นว่า ไม่ใช่การทำสื่อกันเองในครอบครัว แต่ทำกันเต็มรูปแบบเหมือนบริษัทที่เปิดเพื่อแสวงหาประโยชน์ เผยแพร่ความเป็นน้องไนซ์ออกทุกสื่อโซเชียล เพื่อปั่นศรัทธา
อดีตแอดมินที่ถูกไล่ออกไปแล้ว ชี้ว่า เคยลองถามอาจารย์น้องไนซ์เอง เกี่ยวกับคำสอนต่างๆ ที่แพร่ไปแล้วทางสื่อ ปรากฏว่าน้องไนซ์ตอบได้แค่สั้นๆ มีลักษณะไม่รู้จริง หรือจำมาจากคนอื่นอีกที
นอกจากนี้ ก็สร้างเส้นทางการเงินเพื่อป้องกันตัวเองไว้พร้อม โดยพ่อแม่ไม่รับเงินเข้าบัญชีโดยตรง และไม่ได้เปิดมูลนิธิเพื่อรองรับ แต่จะให้ผู้มีจิตศรัทธา โอนเงินเข้าบัญชีส่วนตัวของนายแพทย์คนหนึ่งแทน
มีการระดมรับบริจาคซื้อที่ดินจากเหล่าสาวก แต่ที่ดินผืนนั้น กลับเป็นของครอบครัวน้องไนซ์เอง ซะอย่างนั้น
3.น้องไนซ์เป็นร่างทรง ความเป็นเด็กที่วิ่งเล่นเป็นลิงเป็นค่าง ตามนิยามของ “แพร์รี่ ไพรวัลย์” อาจารย์น้องไนซ์ ถึงที่สุดก็ยังเป็นเด็ก
แต่เรื่องราวเชิงอภินิหารของน้องไนซ์ มีการเผยแพร่ออกมาอย่างหลากหลาย เช่น เป็นเทวดาลงมาจุติ นำมาสู่ชื่อเพจ “นิรมิตเทวาจุติ”
หรือเป็นลูกชายอีกคนที่พระพุทธเจ้า ถูกส่งมาเกิด หรือเป็นองค์พญานาค มาเกิด
สิ่งต่างๆ เหล่านี้ คงไม่ใช่อาจารย์น้องไนซ์พูดเอง
และเมื่อมีคำถามที่น้องไนซ์ต้องตอบ คนที่พูดตอบแทนยืดยาว ก็มักจะเป็นคุณแม่ของน้องไนซ์
และหากต้องจัดการปัญหาใดๆ อย่างการจะไล่ออกแอดมินสาว เพราะสวมชุดว่ายน้ำโพสต์ธรรมะ คุณแม่ก็อ้างว่า น้องไนซ์ไม่พอใจ ไม่ใช่คุณแม๊ไม่พอใจซะหน่อย
จึงกล่าวได้ว่า น้องไนซ์แท้จริงนั้น ก็เป็นร่างทรงของคุณแม่นี่เอง ไม่ใช่ร่างทรงขององค์นาคาเทวราช ที่ไหน
4.ก๊อบปี้ธรรมกาย ในความแตกต่างมีความเหมือน รุ่นพี่ที่บุกเบิกมาก่อนอย่างวัดธรรมกาย มักจะอวดอ้างถึง “ธัมมชโย” เจ้าสำนัก เป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า
แล้วจัดการแก้คำสอนเข้าไปให้ให้โดนใจสาวก อย่างของเดิม การนิพพาน เป็นอนัตตา ทางธรรมกายก็แก้ไขว่า การนิพพาน เป็นอัตตา จนเป็นหนึ่งในอัตลักษณ์ของธรรมกาย
ก็คล้ายกับอาจารย์น้องไนซ์ ก็มีสตอรี่อวดอ้างการเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า และสร้างคำสอนเฉพาะตัวว่าด้วยการเชื่อมจิต น้องไนซ์มีความสามารถในการเชื่อมจิตผู้คนเข้าสู่สมาธิ
แถมยังมโนไปไกลถึงยุคพุทธกาลด้วย ว่าพระพุทธเจ้าไม่มีไมโครโฟน จะสอนพระสาวกเป็นพันๆ รูปได้ ก็ต้องใช้บริการเชื่อมจิต แบบของน้องไนซ์นี่แหละ
ธรรมกาย ยังมีความโดดเด่นเรื่องการดูดเงินจากกระเป๋าสาวก ในสารพัดรูปแบบ เพราะสวรรค์ของธรรมกายนั้น สามารถซื้อได้ด้วยเงิน
ส่วนน้องไนซ์ ไม่ถึงขั้นนั้น อยู่ในแค่ระดมบริจาคสร้างโน่นนี่ และก็จัดแพกเกจทัวร์ธรรมะ
หรือสรุปได้ว่า ทั้งธรรมกายและขบวนการน้องไนซ์ ต่างอวดอ้างถึงพระพุทธเจ้า และแสวงหาประโยชน์จากสตอรี่เหนือจริงเหล่านั้น
5.คนขี่เสือ น้องไนซ์นาทีนี้เหมือนคนขี่เสือ ในวรรณกรรมระดับโลกเรื่อง “คนขี่เสือ” นำเสนอแก่นเรื่องว่า คนเราพอขึ้นขี่หลังเสือแล้ว จะลงจากหลังเสือไม่ได้ เพราะจะโดนเสือกัดตาย
คนขี่เสือ ตามวรรณกรรมคลาสสิคของอินเดีย เป็นเรื่องของคนที่สร้างตัวเองให้เป็นผู้วิเศษเหนือมนุษย์ โดยอาศัยการเล่นกลหลอกลวงต่างๆ เพื่อหวังกอบโกยเงินทองจากผู้มีจิตศรัทธา
พอทำไปแล้ว เขาก็ต้องทำต่อไปเรื่อยๆ ไม่สามารถหยุดกลางคันได้ กลายเป็นคนที่ขึ้นขี่หลังเสือ เมื่อทำแล้ว ก็ต้องหน้าด้านทำไปเรื่อยๆ แถไปวันๆจนถึงที่สุด
--------------------------------
**หมายเหตุ
แอป Sondhi App ดาวโหลดได้แล้ว
ระบบ iOS ไปที่ AppStore : https://apps.apple.com/th/app/sondhi-app/id1588046647
ระบบ android ไปที่ Google Play : https://play.google.com/store/apps/details?id=com.sondhitalk.asia.android