xs
xsm
sm
md
lg

กรมโยธาธิการฯประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 1 รับฟังข้อมูลปัญหา ศักยภาพ โอกาส ทิศทางการพัฒนา กทม.-ปริมลฑล

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ทีมข่าวคุณภาพชีวิต



กรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1 เพื่อชี้แจงการวางและจัดทำผังนโบบายระดับภาค พรัอมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา ศักยภาพ โอกาส ทิศทางการพัฒนาภาคกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และความคาดหวังของประชาชน

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 30 พ.ค ที่ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรม ดิ เอมมอรัลด์ รัชดาภิเษก กรมโยธาธิการและผังเมือง จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1 การวางผังนโยบายระดับภาค ภาคกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อชี้แจงการวางและจัดทำผังนโยบายระดับภาค พร้อมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา ศักยภาพ โอกาส และทิศทางการพัฒนาภาคกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมี นายพงศรัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เข้าร่วมรับฟังการบรรยาย

กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ดำเนินการวางผังนโยบายระดับภาคตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ให้ลอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ยุทธศาสตร์ซาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งซาติฉบับที่ 13 ธรรมนูญการผังเมือง และผังนโยบายระดับประเทศ เพื่อใช้เป็นกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ซองการพัฒนาภาคในด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน การพัฒนาเมืองและชนบท การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค
สาธารณูปการ และบริการสาธารณะ รวมทั้งการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเพื่อให้หน่วยงานของรัฐดำเบินการ

ซึ่งการดำเนินการวางผังนโยบายระดับภาค ภาคกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมซองทุกภาคส่วน จึงจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้เป็นครั้งที่1 เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องรวมถึงประชาชนในพื้นที่ 6 จังหวัดของภาคกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี สมุทรปราการ นนทบุรี นครปฐมและสมุทรสาคร โดยการประชุมครั้งนี้เป็นรูปแบบการประชุมแบบ On -Site และการประชุมด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (VDO Conference)

ผ่านระบบ Zoom Webinar เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา ศักยภาพ โอกาส ทิศทางการพัฒนาภาคกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและความคาดหวังของประชาชน โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรอิสระ ผู้แทนสถาบันการศึกษาและวิชาชีพ ผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ประชาชน รวมถึงสื่อมวลซน และการประชุมด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ทั้งนี้กรมโยธาธิการและผังเมืองจะได้นำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ ที่ใด้จากการรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ ไปประมวลผลและบูรณาการเพื่อนำไปสู่การจัดทำร่างกรอบนโยบายการพัฒนาพื้นที่ภาคกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และจะนำมารับฟังความคิดเห็นอีกครั้งในการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2 ที่จะจัดขึ้นเป็นลำดับถัดไป

นอกจากนี้ ภายในงานมีการปาฐกถา/บรรยายพิเศษ ในหัวข้อ "ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ
ประเทศไทยและภาคมหานคร" โดย ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDR) ซึ่งมีประเด็นนำเสนอด้านสถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มต้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ปัญหาหลักของประเทศในต้านความเหลื่อมล้ำ ความยากจน สังคมสูงวัย กับคักประเทศรายได้ปานกลาง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเมือง การฉายภาพบทบาทของภาคมหานครในการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน การปกครอง การศึกษา นวัตกรรม และประเด็นปัญหาด้านสังคมและ การบริหารจัดการของมหานคร และมีการนำเสนอแนวนโยบายของมหานครในอนาคตทั้งใบมิติทางเศรษฐกิจ สังคม การจัดการความแออัดและมลภาวะ การกระจายอำนาจ และการลดความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต และผศ. คร.ณัฐฑงศ์ พันธ์น้อย หัวหน้าโครงการ ชี้แจง "การวางและจัดทาผังนโยบายระดับภาค" และนำเสนอ"บริบทและแนวโน้มการพัฒนาพื้นที่ภาคกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" โดยนำเสนอต้านกฎหมายด้านการผังมืองของประเทศไทย บริบทการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการวางผังนโยบายระดับภาค กรอบความร่วมมีอระหว่างประเทศ กรอบแนวคิดในการวางผังนโยบายระดับภาค บทบาทภาคกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในระดับนานาชาติและระดับประเทศ บทบาทของแต่ละจังหวัดในภาค การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภัยคุกคามของภาค และนำเสนอประเด็นสำหรับการพัฒนาภาคมหานคร 11 ประเด็น คือ

1. ประชากร 17 ล้านคนกับการจัดเตรียมที่อยู่อาศัย
2.การรับมือกับสังคมผู้สูงอายุ
3.การควบคุมการขยายตัวของเมือง
4.การก้าวสู่ศูนย์กลาง การค้า การบริการ และการท่องเที่ยวมูลค่าสูง
5. การพัฒนาศักยภาพด้านการขนส่งระดับนานาชาติ
6.การปฏิวัติการเดินทางภายในเมือง
7. การจัดเตรียมพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต
8. การสร้างเมืองที่มั่นคงและปลอดภัย
9. การรักษาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ
10.การพัฒนาชุมซนเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน
11. การรักษามรดกทางวัฒนธรรมและพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์.






















กำลังโหลดความคิดเห็น