xs
xsm
sm
md
lg

เป้าบินทัพเรือ เหมือนจะจบ แต่ยังไม่จบง่ายๆ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม



รายการ “ถอนหมุดข่าว” เผยแพร่ทางแอปพลิเคชั่น SONDHI APP สถานีโทรทัศน์ NEWS1 ช่องยูทูป NEWS1 และเฟซบุ๊กแฟนเพจ NEWS1 วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม 2566 นำเสนอรายงานพิเศษ เป้าบินทัพเรือ เหมือนจะจบ แต่ยังไม่จบง่ายๆ



จากกรณีฉาวการจัดซื้อเป้าบินของกองทัพเรือ เพื่อใช้ในการฝึกยิงต่อสู้อากาศยาน โดยไม่ซื้อรางปล่อย อุปมาดังซื้อรถยนต์แต่ไม่ซื้อล้อ โดยอ้างว่าจะนำรางเก่ามาปรับปรุง เพื่อประหยัดงบประมาณ

จนถูกตั้งข้อสังเกตว่า โครงการนี้มีผลประโยชน์แอบแฝง อีกทั้งยังมีการแก้สัญญาหลายครั้ง เพื่อให้บริษัทคู่สัญญารับเงินเร็วขึ้น จากเดิมที่จ่ายแค่ 2 ครั้ง ในวันทำสัญญาและวันส่งมอบนั้น

โดยกองทัพเรือ ออกมาแถลงข่าวว่า กรณีการจัดซื้อเป้าบินไอพ่นแบบอัตโนมัติของทร. ตามสัญญาเลขที่ 46/ งป. 2563 มูลค่า 49.8 ล้านบาท โดยยืนยันว่า ทุกอย่างเป็นไปอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้

ทำให้ทุกอย่างดูเหมือนจะจบลงได้ง่ายๆว่า ทร. “เคลียร์ได้หมด”

แต่จริงๆ แล้วผู้สันทัดกรณีหลายคน ยังมีข้อสงสัยที่คาใจและชี้ประเด็นที่ยังเป็นข้อพิรุธหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็น การแก้ไขสัญญาการจ่ายเงิน โดยอ้างการแพร่ระบาดของโควิด และการที่เป้าบินถูกเก็บไว้ในคลังนานกว่า 2 ปี โดยยังไม่สามารถตรวจรับได้

ยกตัวอย่างพอเป็น “น้ำจิ้ม” เรียกน้ำย่อยอย่างเช่น การอ้างสถานการณ์โควิดทำให้ต้องแก้สัญญาจ่ายเงินและขยายเวลาการส่งมอบ

แต่หากไปดูรายละเอียดใน ว. 693 ซึ่งเป็นประกาศในช่วงสถานการณ์โควิด ไม่มีข้อความตอนใดเลยที่เปิดช่องให้ หน่วยราชการแก้สัญญาการจ่ายเงินกับเอกชน หรือขยายเวลาการส่งมอบตามที่สัญญาเดิมระบุไว้

เพราะ ว.693 เป็นการให้ความช่วยเหลือแก่เอกชน หรือบริษัททุกบริษัท ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้และต้องเสียค่าปรับ ตามที่กำหนดไว้ แต่เพราะ ว.693 ทุกคนจึงได้อานิสงส์ โดย ว. 693 อนุญาตให้คิดค่าปรับเป็น 0% ตั้งแต่วันผิดสัญญา จนถึงวันที่ยกเลิก ประกาศดังกล่าว

ส่วนการแก้ไขสัญญาณ โดยทั่วไปนั้น หากจะเกิดขึ้น ต้องเป็นการแก้สัญญาเพื่อให้ทางราชการได้ประโยชน์เท่านั้น ซึ่งก็ต้องถามว่ากองทัพเรือได้ประโยชน์ตรงไหน กับการแก้สัญญาจ่ายเงินให้บริษัทเอกชน 17,395,000 บาท หลังทดสอบระดับโรงงาน หรือ ที่เรียกว่า FAT คิดเป็น 35 %

และยังจ่ายให้เมื่อเอาของมาส่งที่คลัง เป็นจำนวนสูงถึง 19,880,000 บาท หรือคิดเป็น 40% ของมูลค่าโครงการ

ทั้งนี้ เป้าบินมาถึงกรมสรรพาวุธ ทหารเรือตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 ซึ่งตามระเบียบแล้วกรรมการต้องเริ่ม กระบวนการตรวจรับและทดสอบ ภายใน 5 วัน แต่จะใช้เวลาทดสอบกี่วันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ในความเป็นจริง จนบัดนี้เป้าบินก็ยังไม่มีการทดสอบ แต่อย่างใด

โดยโฆษกกองทัพเรือแจ้งว่า ผู้ผลิตจะบินมาทำการทดสอบในเดือนมิถุนายน 2566 ซึ่งทำให้เกิดคำถามว่า ทำไมต้องรอนานขนาดนั้น ในเมื่อเป้าบินเก็บอยู่ในคลังกว่า 2 ปี แล้ว

อีกทั้ง ทร.จ่ายเงินไปแล้วรวมกันทั้งสิ้น 96% ของมูลค่าโครงการ แต่ยังไม่เคยทดสอบบินสักครั้งเดียว แต่กลับมีการแก้สัญญาให้บริษัทเอกชนได้รับเงิน จนเกือบครบ

แบบนี้ใครได้ประโยชน์ ใครเสียประโยชน์จากการแก้สัญญากันแน่ ?

อีกประเด็นที่สำคัญ มีคนตั้งข้อสังเกตว่าเหตุที่บีบราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท เพราะรู้ว่าถ้าวงเงินเกิน 50 ล้านบาทจะต้องส่งเรื่องไปขออนุมัติจาก กองบัญชาการ กองทัพไทย เพราะรองผบ.ทร. อนุมัติ ได้ในวงเงิน50 ล้านบาท (วิธีคัดเลือก)

ดังนั้นหากปล่อยให้เรื่องหลุดไปถึงกองบัญชาการ กองทัพไทย จะทำให้เกิดความยุ่งยากในการกระทำใดๆ ที่อาจจะไม่ชอบมาพากล (หากคิดจะทำ) ใช่หรือไม่?

เรื่องนี้ยังมีรายละเอียดอีกเยอะ “เหมือนจะจบแต่ไม่จบ” ยังไงล่ะครับ

-------------------
**หมายเหตุ
ดาวโหลดแอป Sondhi App ได้แล้ว
ระบบ iOS ไปที่ AppStore : https://apps.apple.com/th/app/sondhi-app/id1588046647
ระบบ android ไปที่ Google Play : https://play.google.com/store/apps/details?id=com.sondhitalk.asia.android

สมัครสมาชิกได้แล้ววันนี้
รายเดือนเพียง เดือนละ 99 บาท
รายปี 990 บาท (10 เดือน แถม 2 เดือน )

ถ้ามีปัญหาการใช้งาน app หรือการสมัครสมาชิกใน app ติดต่อสอบถามได้ที่ Line id : @sondhitalk หรือ https://lin.ee/Skns1k1


กำลังโหลดความคิดเห็น