xs
xsm
sm
md
lg

อดีตพนักงานการท่าเรือแจ้ง ปปป.เอาผิดผู้บริหาร พร้อมพวกอีก 130 คน ลั่นเอาผิดให้ถึงที่สุด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม



พนง.การท่าเรือฯ แจ้งความ ปปป.เอาผิดเพิ่มอีก 130 คน ผู้บริหารและอดีต รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องที่ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ยืนยันจะเอาโทษทางอาญาให้ถึงที่สุด

วันนี้(27 เม.ย. 66) เวลา 10.00 น. ที่ศูนย์รับแจ้งความตำรวจสอบสวนกลาง ถนนพหลโยธิน จตุจักร กทม. นายกฤษฎา อินทามระ ทนายความ ได้พาพนักงานและอดีตพนักงานการท่าเรือฯ กว่า 100 คนไปที่ บก.ปปป.เพื่อแจ้งความดำเนินคดีอาญากับผู้บริหารและอดีตผู้บริหาร รวมถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องตามมาตรา 157 เพิ่มเติม

โดยก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา ได้พาพนักงานมาแจ้งความดำเนินคดีกับผู้บริหารรวม 8 คนไว้แล้วจากกรณีเมื่อปี 60 การท่าเรือได้ส่งผู้บริหาร มากล่าวหาผู้บริสุทธิ์ 560 คนว่าทำการทุจริตเบิกค่าล่วงเวลา ทำให้การท่าเรือเสียหายกว่า 3,300 ล้านบาท ซึ่งไม่เป็นความจริง แต่อย่างใด และการกล่าวหาดังกล่าวทำให้ผู้บริสุทธิ์จำนวนมากต้องติดคุก โดยหลังจากแจ้งความแล้วทนายกฤษฎาได้สืบสวนขยายผลจึงพบว่าจะต้องดำเนินคดีเอาผิดกับกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมอีกประมาณ 130 คนเพื่อให้ได้รับโทษทางอาญาให้ถึงที่สุดต่อไป

ด้านทนายกฤษฎา กล่าวว่า จากเมื่อปี 57 ผู้บริหารการท่าเรือได้เข้าร้องเรียนต่ออธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษเรื่องการฟ้องคดีค่าล่วงเวลาของขบวนการค้าความทำให้รัฐเสียหายหลายพันล้านบาทขอให้ ดีเอสไอ เข้าไปตรวจสอบการทุจริต ต่อมาต้นปี 57 ดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษหลังจากนั้นสรุปสำนวนส่งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณา

แต่ ป.ป.ช.ส่งสำนวนกลับไปให้ ดีเอสไอดำเนินคดี ต่อมาเดือนมิถุนายน 2560 ดีเอสไอ แจ้งให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยเข้ามาเป็นผู้กล่าวหา การท่าเรือจึงแจ้งความดำเนินคดีกับพนักงานและอดีตพนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้องรวม 560 คนทุจริตเบิกค่าล่วงเวลาเสียหายประมาณ 3,300 ล้านบาท ดีเอสไอใช้เวลาสรุปสำนวนประมาณ 6 ปี จึงมีคำสั่งฟ้องผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพียง 34 คนเท่านั้นจาก 560 คนและมีมูลค่ความเสียหายไม่เกิน 3 ล้านบาทและได้นำตัวผู้ต้องหาทั้ง 34 คนส่งให้พนักงานอัยการคดีพิเศษแล้วเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 ดังนั้นคดีพิเศษนี้จึงเป็นที่ยุติแล้วว่าพนักงานกว่า 500 คนเป็นผู้บริสุทธิ์แต่กลับถูกผู้บริหารการท่าเรือแจ้งความดำเนินคคีอาญาร้ายแรง เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2566 มีพนักงาน 66 คนที่ถูกกระทำและอาจติดคุกในคดีพิเศษ ได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับผู้บริหารและอดีตผู้บริหารการท่าเรือ รวม 8 คน ข้อหามาตรา 157
ที่ บก.ปปป.แล้ว แต่จากการสืบสวนขยายผลของทนายกฤษฎา อินทามระ พบว่ามีผู้กระทำความผิดเพิ่มเติมอีกจำนวนมากโดยมีหลักฐานว่า ผู้บริหารสั่งการให้กองกฎหมายมีหนังสือลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2564 ถึงดีเอสไอ ขอให้ดำเนินคดีกับพนักงานอีกจำนวน 1,019 ราย ในวันนี้จึงต้องมาแจ้งความดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดเพิ่มเติมรวมทั้งสิ้นประมาณ 130 คน มีอดีต ผู้บริหารระดับสูง 2 คนคือ เรือตรีทรงธรรม และ เรือโทกมลศักดิ์ ขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย

พฤติการการประทำความผิดคือ ประมาณปี 57 เรือตรีทรงธรรม ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่จึงไม่ดำเนินคดีอาญากับนายชัยวัฒน์ ทองสุทธิ์ ที่มีหลักฐานเดินทางออกนอกประเทศเมื่อกลับมาก็ขอเบิกค่าล่วงเวลาไปโดยทุจริต แต่เรือตรีทรงธรรมลงโทษเพียงแค่ไล่ออกเท่านั้น

ส่วนเรือโทกมลศักดิ์ ขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทยพฤติการณ์แห่งการประทำความผิดคือ ประมาณปี 62 เรือโทกมลศักดิ์ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่จึงไม่ดำเนินคดีอาญากับพนักงานรวม 7 คน ที่มีหลักฐานเดินทางออกนอกประเทศเมื่อกลับมาก็ขอเบิกค่าล่วงเวลาไปโดยทุจริต แต่เรือโทกมลศักดิ์ก็ลงโทษพนักงานทั้ง 7 คนเพียงแค่ไล่ออกเช่นกัน

เบื้องต้นพนักงานสอบสวนได้สอบปากคำพนักงานการท่าเรือฯ เพื่อนำไปรวมกับสำนวนเดิม เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายต่อไป








กำลังโหลดความคิดเห็น