พนง.ท่าเรือฯ เร่ง DSI นำคดีฟอกเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 4 พันล้าน เป็นคดีพิเศษ หลัง ป.ป.ช.รับคดีจาก ปปป. หากล่าช้าเกรงพยานหลักฐานถูกทำลายเสียหายรูปคดี
วันนี้( 24 ก.พ.)เมื่อเวลา 10.00 น. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) แจ้งวัฒนะ กทม. นายกฤษฎา อินทามระ ทนายความพร้อม พนักงานการท่าเรือที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกว่า 100 คนเดินทางมายื่นหนังสือเรียกร้องให้อธิบดี DSI เร่งรัดเรื่องสืบสวนของศูนย์ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเพื่อตรวจสอบเส้นทางการเงินจำนวนกว่า 4 พันล้านบาท โดยมีนายสมเกียรติ เพชรประดับ ผอ.ส่วนพิจารณาสำนวนร้องทุกข์ ดีเอสไอ.เป็นตัวแทนรับหนังสือ
นายกฤษฎา กล่าวว่า สืบเนื่องจาก เดือนกรกฎาคม 2565 ตนซึ่งเป็นทนายความของพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยได้ยื่นหนังสือต่ออธิบดี DSI ร้องเรียนการบริหารงานของการท่าเรือแห่งประเทศไทย และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย เข้าข่ายความผิดฐานฟอกเงินซึ่งเป็นเงินประเดิมและบำเหน็จตกทอดของสมาชิกกองทุนมูลค่าความเสียหายกว่า 4,000,000,000 บาท (สี่พันล้านบาท)
ต่อมา วันที่ 22 กันยายน 2565 อธิบดี DSI ได้อนุมัติให้ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินทางอาญาเป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบดำเนินการสืบสวน เรื่องสืบสวนที่ 190/2565 เนื่องจากปมปัญหาเดียวกันนี้ทนายกฤษฎาก็ได้พาผู้เสียหายหลายคนไปแจ้งความดำเนินคดีกับผู้บริหารระดับสูงกับพวกในข้อหาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต เกี่ยวกับเงินประเดิมและเงินบำเหน็จตกทอดมูลค่ากว่า 4,000,000,000 บาท(สี่พันล้านบาท) อีกทางหนึ่งด้วย โดยแจ้งความไว้ที่กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ( บก.ปปป.)
ต่อมาเดือนพฤศจิกายน 2565 บก.ปปป.ส่งเรื่องให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พิจารณาเห็นควรให้ตั้งเรื่องกล่าวหาเป็นคดีและมีคำสั่งให้ผู้กล่าวหาไปให้ถ้อยคำต่อพนักงานไต่สวนในวันที่ 5 เมษายน 2566 ตนจึงเห็นว่าคดีสืบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ และคดีกล่าวหาของสำนักงาน ป.ป.ช.เป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกันและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดมีความเชื่อมโยงกัน จึงมาขอให้อธิบดี DSI เร่งพิจารณาและส่งเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษว่าจะรับเป็นคดีพิเศษหรือไม่ เพื่อจะได้ตรวจสอบเส้นทางการเงินและป้องกันไม่ให้ผู้กระทำความผิดไปทำลายพยานหลักฐานอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่รูปคดีได้
นายเมธี สามารถกิจ (อายุ 68)สายตรวจ เข้ากองทุนฯ แล้วปรากฎว่าไม่ได้รับบำเหน็จตกทอด 30 เท่าประมาณ 1 ล้านบาทกลับไม่ได้รับ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่หลังเกษียณอัตคัต เพราะไม่มีเงินตรงนี้มาทำทุน
นางเพ็ญนภารัตน์ ปานสมัย (67 ปี)หน.แผนกกีฬา การท่าเรือฯ ถูกหลอกเข้ากองทุนฯ ตอนออกกลับไม่ได้รับเงินตามที่แจ้งไว้ เงินประเดิมแรกเข้าประมาณ 2 ล้านบาท ส่วนบำเหน็จตกทอด 30 เท่าเงินเดือน 6.9 หมื่นบาท คำนวนหายไปกว่า 4 ล้าน ได้รับจริงหลังเกษียณแค่ 2 ล้าน รวมแล้วถูกโกงไปกว่า 4 ล้านหลังจากที่รู้ว่าถูกโกง จึงได้สอบถามไปที่กองทุนฯ ขอดูเอกสารการนำส่งเงินประเดิมบำเหน็จตกทอดว่าส่งให้เราเมื่อใด ได้รับคำตอบว่า เงินบำเหน็จตกทอดได้จ่ายให้ครบหมดแล้ว ส่วนหลักฐานเอกสารได้ทำลายไปหมดอ้างว่าเกิน 10 ปี จึงได้ทำลายทิ้งไปหมดแล้ว
นายฉัตรชัย จันไพบูลย์ อายุ 68 ปี จนท.รปภ.การท่าฯ กล่าวว่า ตนมาร้องเรื่องกองทุนฯ ดีเอสไอ.ในภายหลังรับทราบจากทนายกฤษฎา ว่าพนักงานฯ ถูกโกง ตนจึงไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อ พงส.บก.ปปป.จนสามารถส่งคดีนี้ให้ ป.ป.ช.ดำเนินการไต่สวนในเดือน เม