xs
xsm
sm
md
lg

เคลียร์ชัด “ศาลปกครอง” กับ “ผู้ตรวจการแผ่นดิน” แบ่งบทบาท ไม่ทำงานซ้ำซ้อน แจงองค์กรอิสระ เลิกหว่านเรื่องหลายหน่วยงาน สับสนและสุ่มเสี่ยง!

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม



ในยุคที่การอ้างสิทธิ์เป็นกระแส ทำให้การอยู่ร่วมกันในยุคปัจจุบันมีความละเอียดอ่อนขึ้น มีความขัดแย้งได้มากขึ้น หากทุกคนเรียกร้องหาสิทธิ โดยลืมว่าสิทธิ ต้องมาพร้อมกับคำว่าหน้าที่ นั่นคือการรู้บทบาทหน้าที่ของแต่ละภาคส่วน ทั้งนี้ นิยามของ สิทธิ คือ อำนาจอันชอบธรรม ซึ่งบุคคลทุกคนพึงมีพึงได้ โดยไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น แต่เมื่อทุกคนอ้างสิทธิ์ของตน การอยู่ร่วมกันในยุคปัจจุบันจึงเกิดความขัดแย้งบ่อยครั้งระหว่างการอ้างสิทธิ์ตน แต่ละเมิดสิทธิผู้อื่น นำมาซึ่งอาชีพใหม่ ที่เรียกว่า

นักร้อง (เรียน) โดยยื่นเรื่องร้องเรียนไปยังช่องทางต่าง ๆ โดยหวังว่า เมื่อองค์กรกลาง เกรงกลัวกระแสก็อาจจะรับไปพิจารณา ซึ่งในหลายกรณี นำมาซึ่งความสับสน ปั่นป่วน หารู้ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวคือหลักฐานอันแสดงถึงเจตนาทุจริตของผู้ร้องนั้นเองในที่สุด ทำให้เรื่องของการเรียกร้องสิทธิได้มีการจัดระเบียบ แยกบทบาทอย่างชัดเจน

ยุคนี้มีปรากฎหลายครั้งที่ผู้ร้อง หรือองค์กรอิสระ เมื่อมีประเด็นที่ต้องการเรียกร้อง ก็มักจะใช้สิทธิร้องเรียนไปยังหลายหน่วยงานรวมถึงการฟ้องศาลไปในคราวเดียวกัน ซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดิน ถือเป็นหน่วยงานยอดฮิต ที่มีผู้ร้องเรียนในปีหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนมาก ถึงแม้ว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 197 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา พ.ศ. 2542 มาตรา 16 (1) บัญญัติให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องร้องเรียนกรณีที่ข้าราชการพนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ แต่อย่างไรก็ดี กฎหมายได้บัญญัติ ห้ามมิให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาไปมีบทบาทในเรื่องที่ศาลกำลังพิจารณาอยู่หรือเรื่องที่ศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว

เรื่องนี้ต้องสื่อสารออกไปให้มาก และถือเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานศาลปกครอง และสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ในการแบ่งบทบาทให้ชัดเจนและลดความเสี่ยง โดยเหตุผลที่เป็นที่เข้าใจร่วมกันก็คือไม่ต้องการให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาไปพิจารณาเรื่องที่ศาลกำลังพิจารณาอยู่ เพราะไม่เพียงแต่จะเป็นการซ้ำซ้อนเท่านั้น แต่จะเสี่ยงต่อการที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาอาจจะละเมิดอำนาจศาลด้วย ซึ่งก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน

เรื่องที่ศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว หากผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาไปพิจารณาอีกและมีคำวินิจฉัยที่แตกต่างกันไป ก็จะกลายเป็นการกลับคำพิพากษา ซึ่งก็เป็นเรื่องไม่ถูกต้องเพราะ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามิใช่ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกาที่จะมีอำนาจพิจารณาเช่นนั้น ดังนั้น

คุณเกชา แฉ่ฉาย อดีตผู้อำนวยการส่วนตรวจสอบ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ระบุว่าผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาตระหนักในเรื่องบทบัญญัติดังกล่าวมาโดยตลอด เพื่อมิให้ตนเองซึ่งตามปกติแล้วมีหน้าที่ตรวจสอบข้าราชการ หรือพนักงานของรัฐที่ไม่ปฏิบัติดามกฎหมายต้องไปกระทำผิดกฎหมายเสียเอง ดังนั้น จึงต้องพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้แน่ใจว่าคำร้องเรียนที่ส่งมายังผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภานั้น มีลักษณะที่ปราศจากความเกี่ยวข้องกับศาล

การตรวจสอบจากศาลก็แล้วแต่กรณีว่าคดีที่ฟ้องนั้นฟ้องต่อศาลไหน ซึ่งมีทั้งศาลปกครองและศาลยุติธรรม วิธีการที่ใช้ก็คือการมีหนังสือจากสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาสอบถามไปยังสำนักงานศาลปกครอง หรือสำนักงานศาลยุติธรรมแล้วแต่กรณี เพื่อให้ช่วยตรวจสอบและส่งคำยืนยันกลับมาว่าเรื่องนั้น ๆ ที่ผู้ร้องได้ร้องเรียนมานั้น อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล หรือศาลมีคำพิพากษาแล้วหรือไม่ อย่างไร เพื่อผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ต้องตรวจสอบคำร้อง ซึ่งหากพบว่ามีผู้ร้องเรียนในศาลแล้ว ก็ต้องยุติการพิจารณา

ในปัจจุบัน ทางหนึ่งก็คือการตรวจสอบจากคำร้องว่ามีการระบุไว้ตรงไหนหรือไม่อย่างไรว่าเรื่องนั้น ๆ อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล หรือศาลมีคำพิพากษาแล้วนั้นมีหลายทาง และสะดวกมาก หากปรากฎว่ามีข้อมูลดังกล่าว ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาก็ไม่สามารถที่จะรับเรื่องไว้พิจารณาได้ ซึ่งก็จะต้องแจ้งให้ผู้ร้องทราบต่อไป แต่หากทราบภายหลังว่าผู้ร้องแจ้งว่า ตนได้นำเรื่องนั้นไปฟ้องศาลแล้ว หรือผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาทราบเอง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาก็ต้องยุติการพิจารณา ถือเป็นวิธีปฏิบัติปกติที่เป็นความร่วมมือของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาและสำนักงานศาลปกครองที่มีประสิทธิภาพสูงมาโดยตลอด

ดังนั้น บทบาทของ 3 เสาหลักในการค้ำจุลประเทศถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก การเคารพในหน้าที่ ไม่ก้าวล้ำบทบาท รักษาสมดุล เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องรักษาไว้ การที่อำนาจหนึ่งจะมีมติใดกับอำนาจอื่น ต้องใช้ความระมัดระวัง เพราะอำนาจทั้งสาม ได้แก่ อำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ เป็นเสาหลักค้ำจุนเอกราชและอธิปไตยของประเทศ ความเคารพซึ่งกันและกันจึงจำเป็นอย่างยิ่ง บริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ เอาอำนาจที่จะสนับสนุนกันและกันค้ำยันระบอบการปกครองประเทศให้มีเสถียรภาพ ทำให้การเรียนรู้บทบาท และหน้าที่จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งศาลปกครองกับผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นหน่วยงานที่มีความร่วมมือกันในการแยกบทบาทไม่ซ้ำซ้อนอย่างเห็นได้ชัด เป็นตัวอย่างที่ดีในการพัฒนากระบวนการตรวจสอบ ลดการซ้ำซ้อน และบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ


กำลังโหลดความคิดเห็น