ศิลปินพื้นบ้านปทุมธานี รวมคณะวงปี่พาทย์จำนวน 20 วง ฆ้องวง 89 โค้ง และ รำมอญ บรรเลงแสดงความไว้อาลัย เพื่อรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช
เมื่อเวลา 17.30 น. วันที่ 16 มกราคม 2560 นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี นายอาวุธ วิเชียรฉาย นายอำเภอธัญบุรี นางสาวฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ วัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี ร่วมเปิดงานศิลปินพื้นบ้านจังหวัดปทุมธานี ร่วมใจภักดิ์พร้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช เคยมีการบรรเลงเอง 4 ภาค โดยรวมคณะวงปี่พาทย์จังหวัดปทุมธานีจำนวน 20 วง ฆ้องวง จำนวน 89 โค้ง และ รำมอญ จำนวน 39 คน ที่โรงเรียนวัดเขียนเขต ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ด้าน นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า เนื่องจากในอดีตคนมอญได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานภายในประเทศไทยเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน และชัดเจนกว่ากลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ และยังได้นำความรู้และวิทยาการต่างๆ มาเผยแพร่ต่อยอดองค์ความรู้ให้กับคนไทยด้วย โดยเฉพาะปีพาทย์มอญ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมดนตรีอย่างหนึ่งของชนชาติมอญ แต่เดิมนั้นมีเพียง 5 ชิ้น ประกอบด้วย ฆ้องมอญ ปี่มอญ ตะโพนมอญ เปิงมองคอก ระนาดมอญ เครื่องปัจจุบันระนาดมอญ หาหลักฐานตัวอย่างไม่พบแล้ว เพราะเป็นดนตรีที่เก่าแก่มาก
ส่วน นางสาวฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ วัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า ส่วนการถ่ายทอดเพลงมอญในสมัยนั้น เป็นการต่อเพลงมอญเข้าที่ต่างคนต่างจำกันได้ซึ่งกันและกันและได้ฝึกหัดถ่ายทอดสอนให้ลูกหลานสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันทุกวันนี้ ทำให้จังหวัดปทุมธานีเป็นแหล่งปี่พาทย์มอญที่สำคัญแห่งหนึ่งที่มีการเผยแพร่อยู่ในทุกอำเภอของจังหวัดปทุมธานี โดยศิลปินพื้นบ้านร่วมบรรเลงแสดงความไว้อาลัย เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนเป็นอเนกอนันต์ และทรงเปี่ยมล้นไปด้วยพระเมตตาธรรมที่มีต่อประชาชนในทุกชนชั้น ทุกสาขาอาชีพ ในฐานะทรงเป็นอัครศิลปิน จังหวัดปทุมธานีจึงจัดงานศิลปินพื้นบ้านรวมใจภักดิ์น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ทางด้าน นางธิติณัฒฐ์ พิณพาทย์ ประธานชมรมปี่พาทย์มอญและศิลปะการแสดงจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า โดยปกติแล้วรำมอญปทุมธานี ตนเองได้นำมาให้แสดงจำนวน 5 เพลง ใช้ชื่อว่า เบญจรามัญ ซึ่งเป็นการร่ายรำที่ตนเองได้ประยุกต์ขึ้น เพื่อนำไปประกวดในงานวัฒนธรรมแห่งชาติครั้งที่ 16 ที่จังหวัดนครปฐม โดยได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของภาคกลางด้วย



เมื่อเวลา 17.30 น. วันที่ 16 มกราคม 2560 นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี นายอาวุธ วิเชียรฉาย นายอำเภอธัญบุรี นางสาวฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ วัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี ร่วมเปิดงานศิลปินพื้นบ้านจังหวัดปทุมธานี ร่วมใจภักดิ์พร้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช เคยมีการบรรเลงเอง 4 ภาค โดยรวมคณะวงปี่พาทย์จังหวัดปทุมธานีจำนวน 20 วง ฆ้องวง จำนวน 89 โค้ง และ รำมอญ จำนวน 39 คน ที่โรงเรียนวัดเขียนเขต ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ด้าน นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า เนื่องจากในอดีตคนมอญได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานภายในประเทศไทยเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน และชัดเจนกว่ากลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ และยังได้นำความรู้และวิทยาการต่างๆ มาเผยแพร่ต่อยอดองค์ความรู้ให้กับคนไทยด้วย โดยเฉพาะปีพาทย์มอญ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมดนตรีอย่างหนึ่งของชนชาติมอญ แต่เดิมนั้นมีเพียง 5 ชิ้น ประกอบด้วย ฆ้องมอญ ปี่มอญ ตะโพนมอญ เปิงมองคอก ระนาดมอญ เครื่องปัจจุบันระนาดมอญ หาหลักฐานตัวอย่างไม่พบแล้ว เพราะเป็นดนตรีที่เก่าแก่มาก
ส่วน นางสาวฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ วัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า ส่วนการถ่ายทอดเพลงมอญในสมัยนั้น เป็นการต่อเพลงมอญเข้าที่ต่างคนต่างจำกันได้ซึ่งกันและกันและได้ฝึกหัดถ่ายทอดสอนให้ลูกหลานสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันทุกวันนี้ ทำให้จังหวัดปทุมธานีเป็นแหล่งปี่พาทย์มอญที่สำคัญแห่งหนึ่งที่มีการเผยแพร่อยู่ในทุกอำเภอของจังหวัดปทุมธานี โดยศิลปินพื้นบ้านร่วมบรรเลงแสดงความไว้อาลัย เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนเป็นอเนกอนันต์ และทรงเปี่ยมล้นไปด้วยพระเมตตาธรรมที่มีต่อประชาชนในทุกชนชั้น ทุกสาขาอาชีพ ในฐานะทรงเป็นอัครศิลปิน จังหวัดปทุมธานีจึงจัดงานศิลปินพื้นบ้านรวมใจภักดิ์น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ทางด้าน นางธิติณัฒฐ์ พิณพาทย์ ประธานชมรมปี่พาทย์มอญและศิลปะการแสดงจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า โดยปกติแล้วรำมอญปทุมธานี ตนเองได้นำมาให้แสดงจำนวน 5 เพลง ใช้ชื่อว่า เบญจรามัญ ซึ่งเป็นการร่ายรำที่ตนเองได้ประยุกต์ขึ้น เพื่อนำไปประกวดในงานวัฒนธรรมแห่งชาติครั้งที่ 16 ที่จังหวัดนครปฐม โดยได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของภาคกลางด้วย