บช.น. วางมาตรการดูแลความปลอดภัย ครม. เป็นหลัก เน้นตรวจสอบประวัติ รปภ. ทุกบริษัท
เมื่อเวลา 11.00 น. วันนี้ (11 ก.ย.) ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.ศ ช่วยราชการ บช.น. เปิดเผยหลังการประชุมความมั่นคง ว่า เป็นการประชุมร่วมกับ พล.1 พล.ม.2 และผู้บังคับการทุกบก.น. 2 ประเด็นหลัก คือ 1. การดูแลรักษาความปลอดภัยคณะรัฐมนตรี และบริเวณที่พักอาศัยของคณะรัฐมนตรี หรือแขกวีไอพีที่มาพักอาศัยในประเทศ โดยสั่งการให้ผู้บังคับการไปดูแลเรื่องความปลอดภัย รวมทั้งการวางกำลังรักษาความปลอดภัย อาทิ การดูแลพื้นที่คณะรัฐมนตรีอาศัย ดูแลรักษาความปลอดภัยรอบกระทรวง การสังเกตการณ์จากภาพกล้องวงจรปิด และการปรับสภาพแวดล้อมต่างๆ ส่วนบริเวณทำเนียบรัฐบาล และรัฐสภา ได้วางระบบการป้องกันและรักษาความปลอดภัยกับทหาร เพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยของคณะรัฐมนตรีด้วย
2. สืบเนื่องจากช่วงเช้าที่ผ่านมา พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง ผบ.ตร. ได้สั่งการให้ทุก บก.น. ลงไปตรวจสอบบริษัทรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ทั้งหมด อย่าให้มีคนต่างด้าวเป็นเจ้าหน้าที่เด็ดขาด หากมีจะดำเนินคดีกับบริษัท เพราะคนต่างด้าวจะได้รับการอนุญาตให้ประกอบอาชีพก่อสร้าง และประมง ในบางจังหวัดเท่านั้น หากประกอบอาชีพอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ จะดำเนินคดีในทุกข้อหา
ทั้งนี้ ผู้ใดที่จะประกอบอาชีพรักษาความปลอดภัย จะต้องผ่านการตรวจสอบประวัติโดยละเอียด และจะต้องไม่มีประวัติการก่อเหตุ ดังนั้น ควรจะเพิ่มเติมในกฎหมายว่า อาชีพรักษาความปลอดภัยจะต้องเป็นคนไทยเท่านั้น คือ ต้องตรวจสอบบุคคลที่เจ้าเข้ามาทำงานให้ได้มาตรฐาน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ประเด็นการจัดระเบียบ รปภ. จะมีการตรวจลายนิ้วมือ หรือตรวจดีเอ็นเอเก็บไว้ด้วยหรือไม่ พล.ต.ต.อำนวย กล่าวว่า การตรวจสอบและพิมพ์ประวัติ คือ การถ่ายรูป และตรวจสอบประวัติ หากก่อเหตุเจ้าหน้าที่ก็สามารถติดตามจับกุมได้ ตัวอย่างกรณี น้องเนม เด็กหญิงอายุ 4 ขวบ ยังไม่มีข้อมูลของคนร้าย มีเพียงข้อมูลที่ว่าคนร้ายสักเป็นภาษาพม่า เกิดและโตบนเรือประมงที่ จ.ภูเก็ต และมาเป็น รปภ. ที่อพาร์ตเมนต์ ดังนั้น บริษัทจึงต้องรับผิดชอบ
เมื่อเวลา 11.00 น. วันนี้ (11 ก.ย.) ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.ศ ช่วยราชการ บช.น. เปิดเผยหลังการประชุมความมั่นคง ว่า เป็นการประชุมร่วมกับ พล.1 พล.ม.2 และผู้บังคับการทุกบก.น. 2 ประเด็นหลัก คือ 1. การดูแลรักษาความปลอดภัยคณะรัฐมนตรี และบริเวณที่พักอาศัยของคณะรัฐมนตรี หรือแขกวีไอพีที่มาพักอาศัยในประเทศ โดยสั่งการให้ผู้บังคับการไปดูแลเรื่องความปลอดภัย รวมทั้งการวางกำลังรักษาความปลอดภัย อาทิ การดูแลพื้นที่คณะรัฐมนตรีอาศัย ดูแลรักษาความปลอดภัยรอบกระทรวง การสังเกตการณ์จากภาพกล้องวงจรปิด และการปรับสภาพแวดล้อมต่างๆ ส่วนบริเวณทำเนียบรัฐบาล และรัฐสภา ได้วางระบบการป้องกันและรักษาความปลอดภัยกับทหาร เพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยของคณะรัฐมนตรีด้วย
2. สืบเนื่องจากช่วงเช้าที่ผ่านมา พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง ผบ.ตร. ได้สั่งการให้ทุก บก.น. ลงไปตรวจสอบบริษัทรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ทั้งหมด อย่าให้มีคนต่างด้าวเป็นเจ้าหน้าที่เด็ดขาด หากมีจะดำเนินคดีกับบริษัท เพราะคนต่างด้าวจะได้รับการอนุญาตให้ประกอบอาชีพก่อสร้าง และประมง ในบางจังหวัดเท่านั้น หากประกอบอาชีพอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ จะดำเนินคดีในทุกข้อหา
ทั้งนี้ ผู้ใดที่จะประกอบอาชีพรักษาความปลอดภัย จะต้องผ่านการตรวจสอบประวัติโดยละเอียด และจะต้องไม่มีประวัติการก่อเหตุ ดังนั้น ควรจะเพิ่มเติมในกฎหมายว่า อาชีพรักษาความปลอดภัยจะต้องเป็นคนไทยเท่านั้น คือ ต้องตรวจสอบบุคคลที่เจ้าเข้ามาทำงานให้ได้มาตรฐาน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ประเด็นการจัดระเบียบ รปภ. จะมีการตรวจลายนิ้วมือ หรือตรวจดีเอ็นเอเก็บไว้ด้วยหรือไม่ พล.ต.ต.อำนวย กล่าวว่า การตรวจสอบและพิมพ์ประวัติ คือ การถ่ายรูป และตรวจสอบประวัติ หากก่อเหตุเจ้าหน้าที่ก็สามารถติดตามจับกุมได้ ตัวอย่างกรณี น้องเนม เด็กหญิงอายุ 4 ขวบ ยังไม่มีข้อมูลของคนร้าย มีเพียงข้อมูลที่ว่าคนร้ายสักเป็นภาษาพม่า เกิดและโตบนเรือประมงที่ จ.ภูเก็ต และมาเป็น รปภ. ที่อพาร์ตเมนต์ ดังนั้น บริษัทจึงต้องรับผิดชอบ