xs
xsm
sm
md
lg

เปิดโครงการคลินิกจิตสังคม เยียวยาผู้ต้องหายาเสพติด-รุนแรงครอบครัวคืนสู่สังคม

เผยแพร่:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม


เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม พร้อมเลขาฯ ป.ป.ส.แถลงข่าวลงนาม 9 หน่วยงานความร่วมมือเปิดโครงการคลินิกให้คำปรึกษาจิตสังคมแก่ผู้ต้องหาคดียาเสพติด และคดีความรุนแรงในครอบครัว เยียวยาคืนกลับสู่สังคม

เมื่อเวลา 14.00 น.วันนี้ (24 มี.ค.) เวลา 14.00 น. นายภัทรศักดิ์ วรรณแสง เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม และ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ได้ร่วมกันแถลงข่าวในพิธีความร่วมมือ 9 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานศาลยุติธรรม, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, ศาลอาญาธนบุรี, ศาลจังหวัดนนทบุรี, ศาลจังหวัดเชียงใหม่, กรมสุขภาพจิต, กรมคุมประพฤติ, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว โดยการลงนามบันทึกความร่วมมือในครั้งนี้เป็นไปเพื่อการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาด้าน จิตสังคมแก่ผู้ต้องหาคดียาเสพติด และคดีความรุนแรงในครอบครัวในระบบศาล โครงการคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคม ริเริ่มขึ้นเมื่อปี2552 โดยศาลอาญาธนบุรี มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ให้คำปรึกษาแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด คดีความรุนแรงในครอบครัว และคดีที่มีโทษไม่ร้ายแรงซึ่งได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว (โดยการประกันตัว) โดยผู้ให้คำปรึกษาที่ผ่านการอบรมด้านการให้คำปรึกษาด้านจิตสังคม เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ ต้องหาในช่วงวิกฤติของชีวิตเพื่อให้บุคคลเหล่านี้ได้มีโอกาสเลือกแนวทางการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องเหมาะสม เป็นการป้องกันการกระทำผิดซ้ำในระหว่างการสอบสวน หรือการพิจารณาคดีของศาล ทั้งนี้ที่ผ่านมาโครงการได้รับการ สนับสนุนงบประมาณจาก 3 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ผลจากการวิจัยทางวิชาการในปี 2555 โดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนานโยบายที่มีต่อโครงการคลินิก ให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมของศาลอาญาธนบุรี พบว่าในระยะเริ่มต้นในปี 2552 มีผู้เข้ารับบริการในคลินิกฯ จำนวน 258 คน คิดเป็นร้อยละ 7.95 ของผู้ที่มีคดีทั้งหมด ในปี 2553 มีผู้รับบริการเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 39.04 โดยลักษณะความผิดของผู้ ต้องหาที่ต้องพิจารณาให้คำปรึกษาส่วนใหญ่เป็นคดีที่มียาเสพติดไว้ในครอบครอง คดีความผิดกฎหมายจราจรควบคู่กับการเป็นผู้เสพยาเสพติด (เสพ-ขับ) และคดีการใช้ความรุนแรงต่างๆ รวมทั้งยังพบว่ามีสัดส่วนการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องหาลดลงทุกปีจากในปี 2552 ที่มีสัดส่วนร้อยละ 17.05 ในปี 2553 เหลือร้อยละ 11.20 และในปี 2554 ลดลงเหลือร้อยละ 4.17 นับตั้งแต่เริ่มโครงการฯ ถึงปี 2555 ศาลอาญา ธนบุรี ได้ให้คำปรึกษา แนะนำดูแล ให้กำลังใจแนะนำวิธีการต่างๆ แก่ผู้ต้องหาภายใต้การกำกับดูแลของผู้พิพากษาและผู้ให้คำปรึกษารวมทั้งสิ้นจำนวน 4,340 คน

ดังนั้นในปีงบประมาณ 2557 จึงได้ขยายผลโครงการคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิต สังคมในระบบศาล จำนวน 3 แห่ง คือ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัดเชียงใหม่ และศาลจังหวัดนนทบุรี โดยจะดำเนินการในลักษณะโครงการนำร่อง ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปีและมีหน่วย งานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนการดำเนินงานทั้งในด้านงบประมาณ วิชาการองค์ ความรู้การวิจัยพัฒนาและการประเมินผล โดยหน่วยงานที่จะลงนามร่วมกันใน บันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาด้านจิต สังคม แก่ผู้ต้องหาคดียาเสพติดมีทั้งสิ้น 9 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำหรับผู้ลงนามทั้ง 9 หน่วยงาน ประกอบด้วย นายภัทรศักดิ์ วรรณแสง เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด นายรังสรรค์ กุลาเลิศ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาธนบุรี นายมนต์ชัย ชนินทรลีลา ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนนทบุรี นายพศวัต จงอรุณางามแสง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเชียงใหม่ นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมคุมประพฤติ นายแพทย์ชิโนรส ลี้สวัสดิ์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต นายสุปรีดา อดุลยานนท์ รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ นายอภิชาต อภิชาตบุตร รองผู้อำนวยการสำนักงานงานกิจการสตรีและสถาบัน ครอบครัว

พล.ต.อ.พงศพัศกล่าวว่า การลงนามบันทึกความร่วมมือของทั้ง 9 หน่วยงานในครั้งนี้ ถือเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด และการกระทำผิดในคดีอาชญากรรมอื่นๆ โดยเฉพาะปัญหายาเสพติดนั้นพบว่าผู้ต้องหาส่วนใหญ่ต้องการที่จะหลุดพ้นจากวังวนของยาเสพติดแต่ไม่มีพี่เลี้ยงคอยให้คำปรึกษา ไม่มีทางออก เมื่อพ้นโทษก็มักกลับไปอยู่กับสิ่งแวดล้อมเดิมๆ และย้อนกลับไปสู่วงจรของยาเสพติ ดโครงการคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคม จึงเป็นอีกหนึ่งทางออกในการให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่หลงผิดได้



กำลังโหลดความคิดเห็น