xs
xsm
sm
md
lg

ปอศ.บุกจับเกมออนไลน์ละเมิดลิขสิทธิ์

เผยแพร่:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม

พ.ต.อ.ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์(คนกลาง นับจากทางซ้ายมือคนที่3) รองผบก.ปอศ.
กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรม (ปอศ.) แถลงการกวาดล้างเซิร์ฟเวอร์เถื่อน ซึ่งได้มีการเข้าตรวจค้น 3 จุด สามารถยึดและปิดเซิร์ฟเวอร์เกมเถื่อนที่ใช้ในการกระทำความผิด พร้อมทั้งแจ้งขอหาการกระทำนี้ว่าเป็นความผิดฐานทำซ้ำและดัดแปลงเพื่อการค้า โดยในปีหน้าทางเจ้าหน้าที่จะเพิ่มกระบวนการสืบสวนให้มากขึ้น และป้องกันการกระทำผิดดังกล่าวอีกด้วย

วันนี้ (8 ต.ค.) ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรม (ปอศ.) พ.ต.อ.ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ รอง ผบก.ปอศ. พ.ต.อ.ชัยวัฒน์ ศรีอัศวอมร ผกก.3 บก.ปอศ.พร้อมด้วยตัวแทนบริษัท อินิทรีดิจิตอล ร่วมกันแถลงข่าวการกวาดล้างเซิร์ฟเวอร์เกมเถื่อน ชื่อเกมบูมซ์ และเกมปังย่า

พ.ต.อ.ชัยวัฒน์ กล่าวว่า ทาง ปอศ.ได้รับแจ้งจากบริษัท อินิทรีดิจิตอล ว่ามีการตรวจพบการละเมิลลิขสิทธิ์เกมของบริษัท จึงขอหมายค้นจากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ไปตรวจค้นและยึดเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของผู้ที่กระทําการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยทําการตรวจค้นทั้งหมด 3 จุด ได้แก่ ครั้งแรกที่อาคารไซเบอร์เวิลด์ทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.ครั้งที่สองที่อาคาร กสท โทรคมนาคม ถนนเจริญกรุง และอาคารบางกอกไทยทาวเวอร์ ซอยรางนํ้า เมื่อวันที่ 26 ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งจากการตรวจค้นทั้ง 3 จุด นั่นได้ปิดเซิร์ฟเวอร์เถื่อน จํานวน 9 เซิร์ฟเวอร์และยึด เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ในการกระทําความผิดได้ทั้งหมด 17 เครื่อง

พ.ต.ท.ชัยวัฒน์ กล่าวต่อว่า การละเมิดลิขสิทธิ์เกมในปัจจุบันนี้ จับได้ยากขึ้น เพราะเราไม่สามารถตรวจค้นแล้วยึดเป็นของกลางได้ เนื่องมาจากเป็นการละเมิดโดยการคัดลอกเซิร์ฟเวอร์จากในระบบทําให้ตรวจค้นได้ยาก อีกทั้งยังมีการเปิดระบบเกมที่ไปคัดลอกมาให้ประชาชนเข้าไปเล่นตามเว็บไซต์ต่างๆ ที่เปิดขึ้น เมื่อเล่นไปแล้วจําเป็นต้องซื้อบัตรเติมเงิน เพื่อกรอกรหัสบัตรลงในโปรแกรมเกม จากนั้นทางผู้ดูแลระบบเกมจะเพิ่มโบนัสให้ผู้เล่น ซึ่งเมื่อเกมที่เล่นเป็นเกมที่ถูกคัดลอกมา ไม่ใช่ของเจ้าของลิขสิทธิ์นั้น ทําให้เกิดความเสียหายกว่าร้อยล้านบาท

ตัวแทนบริษัท อินิทรี กล่าวว่า อยากให้ประชาชนหันมาเล่นเกมที่ถูกลิขสิทธิ์ เพราะถ้าประชาชนให้ความสนใจเกมที่ถูกคัดลอกไปเปิดให้เล่นอย่างผิดกฎหมายมากกว่า อุตสาหกรรมเกมก็จะไม่เกิดการพัฒนา เนื่องจากบุคลากรที่ผลิตเกมหมดกําลังใจที่จะพัฒนาต่อ และเกมที่เปิดให้เล่นตามเว็บอย่างผิดกฎหมายนั้น เมื่อเล่นไปแล้วเกิดปัญหาทางผู้เปิดเว็บไซต์ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาให้ผู้เล่นได้ เพราะไม่ใช่ผู้ผลิตเกมโดยตรง ส่วนใหญ่เว็บไซต์พวกนี้จะเปิดให้บริการเพียงไม่กี่เดือนจากนั้นก็ปิดแล้วไปเปิดเว็บใหม่เพื่อให้ผู้เล่นตามมาเล่นในเว็บไซต์ใหม่ แล้วซื้อบัตรเติมเงินมากรอกรหัสลงในเว็บซํ้าอีกครั้งหนึ่ง

พ.ต.อ.ชัยณรงค์ กล่าวว่า การกระทําความผิดประเภทนี้ ถือเป็นความผิดฐานทําซํ้าและดัดแปลงเพื่อการค้า โดยจะมีโทษจําคุก 6 เดือน - 4 ปี และโทษปรับตั้งแต่ 100,000 -800,000 บาท โดยในปีหน้าเราจะปรับเพิ่มกระบวนการสืบสวนทางระบบให้มากขึ้น เพื่อป้องกันการกระทําผิดดังกล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น