xs
xsm
sm
md
lg

ส่องการจราจรปี 56 พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย ผบก.จร.

เผยแพร่:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม

พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย ผบก.จร.
ผู้ที่ใช้รถใช้ถนน แม่บ้านที่รอขึ้นรถประจำทางเพื่อไปจ่ายตลาด เด็กประถมซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของพ่อที่กำลังไปส่งที่โรงเรียน พนักงานออฟฟิซขับรถส่วนตัวไปทำงานบริษัท คนแก่ปวดเข่านั่งแท็กซี่ไปรับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล วัยรุ่นคึกคะนองนั่งท้ายรถกระบะมุ่งหน้าไปดูคอนเสิร์ต หลายวิถีชีวิตที่โคจรอยู่บนท้องถนนหนทาง

ปัจจุบันประชาชนที่สัญจรไปมาตามเส้นทางต่างๆ ทั่วเมืองหลวงของประเทศไทย “กรุงเทพมหานคร” มีปัญหาเริ่มเกิดขึ้นมากมายหลายเรื่องที่ตัวเราเองต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขและใช้ความระมัดระวังมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเด็กแว้นซิ่งรถป่วนเมือง ก่อเหตุทะเลาะวิวาทตามไล่ยิงกันบนท้องถนนโดยไม่คำนึงถึงชีวิตผู้อื่นซึ่งใช้ถนนร่วมกันเลย

อีกทั้งผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคนต้องประสบปัญหารถติดอย่างหนาแน่นในชั่วโมงที่เร่งด่วน ทุกวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ “เป็นชีวิตที่แสนน่าเบื่อของคนเมืองที่ชินชา” ซ้ำยังต้องมาเจอเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรนอกแถวบางนายตั้งด่าน “รีดไถ” บนท้องถนน ไม่รวมปัญหาการขับขี่ยานพาหนะอย่างไม่มีระเบียบวินัยของผู้ใช้รถใช้ถนนบางรายที่สร้างปัญหาการจราจรบนท้องถนนไม่เว้นแต่ละวัน

“การจราจรในกรุงเทพฯ เปรียบเหมือนทางน้ำไหล หากมีการติดขัดมันก็จะส่งผลพวงถึงกันไปหมดดังนั้นจึงต้องมีการบริหารจัดการที่ดี” เราไปฟังจากผู้รับผิดชอบการจราจรในกรุงเทพมหานครโดยตรงกันดีกว่าครับว่ามีวิธีบริหารจัดการกับ “การจราจร” ในปี พ.ศ. 2556 อย่างไร?!

ทางทีมข่าวอาชญากรรมได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย ผู้บังคับการตำรวจจราจร (ผบก.จร.) เรื่องมาตรการแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างเป็นรูปธรรม เพราะตั้งแต่ ผบก.จร.คนใหม่ในปัจจุบันคนที่ 37 นี้มารับไม้ต่อก็มีโครงการนโยบายต่างๆ เริ่มออกมาตามสื่อประเภทต่างๆ ให้ประชาชนได้เห็นมาบ้างแล้ว

ผบก.จร.เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา บก.จร มีโครงการดีๆ ที่เริ่มมีการเปิดตัวไปบ้างแล้วตามที่ปรากฎในสื่อต่างๆ อย่างเช่น โครงการ “แว้นแล้วไปไหน” และโครงการหุ่นจ่าเฉยอัจฉริยะที่คอยสอดส่องดูแลการจราจรทั่วกรุงเทพมหานคร ฯลฯ ในปี พ.ศ. 2556 นี้ที่ผมจะเน้นย้ำกับนตำรวจจราจรทุกนายก็คือ

ห้ามตำรวจรีดไถประชาชน

เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรปฏิบัติหน้าที่นอกแถว ได้มีระเบียบเป็นกฎเหล็กเลยว่า ไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไปคนเดียว ถ้ามีการตรวจพบเจ้าหน้าที่ไปแอบอยู่ตามแยกจราจร ตามขอบสะพานหรือตามใต้ต้นไม้ จะมีมาตรการตามการปกครอง โดยเจ้าหน้าที่ ห้ามตีไก่ เรียกง่ายๆเลยว่าหากรถถูกเจ้าหน้าที่จับจะเรียกเก็บเงินจำนวน 100-200 บาท ห้ามรีดไถ่ประชาชน ห้ามดักซุ่มในถนนทางโค้ง ห้ามตั้งด่าตรวจเพื่อหวังเงินรางวัล ห้ามใช้กิริยาที่ไม่เหมาะสม ซึ่งจับได้ว่าเจ้าหน้าที่ทำผิดจริงก็คงจะอยู่ด้วยกันไม่ได้แน่นอน

ทางแก้ไขที่ดีคือพัฒนาระบบขนส่งมวลชน

การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งรถประจำทางทุกวันนี้มีคุณภาพเพียงพอหรือยัง ต้องกลับมาแก้ไขใหม่ คุณภาพเส้นทางรถประจำทางมีความเหมาะสมครอบคลุมแล้วหรือยัง อาจจะต้องมีการประสานนั่งคุยกับทาง ขสมก. นอกจากนี้ ทำอย่างไรให้เส้นทางมีความสอดคล้องกันอย่างเป็นระบบตรงตามความต้องการของประชาชนมากที่สุด เพราะขณะนี้พบว่าการเดินทางของประชาชน เมื่อเดินทางไปตามเส้นทางหนึ่งแล้วก็ต้องต่อรถประจำทางอีกเส้นทางหนึ่ง ทำให้เสียเวลาในการเดินทางมาก รวมทั้ง เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกว่าเดิมเท่าตัวอีก โดยทาง บก.จร.และ ขสมก.อาจต้องไปดูงานที่ต่างประเทศร่วมกัน อย่างเช่น งานรถไฟฟ้าที่โตเกียวซึ่งมีการวางระบบครบวงจร เมื่อประชาชนเดินทางไปที่ใดก็สามารถไปได้ทุกที่ และเมื่อสามารถเดินทางไปได้ทุกที่อย่างรวดเร็ว คนก็จะมาใช้งานรถโดยสารสาธารณะแทนการใช้รถส่วนตัวกัน รวมถึง การที่จะพัฒนาการจัดการทั้งหมดต้องดูที่ ขสมก. ขนาดใหญ่ทั้งรถประจำทาง รถราง และรถไฟฟ้า ต้องมีคุณภาพที่ดีและประสิทธิภาพที่ดี นอกจากนี้ รถแท็กซี่ต้องมีความปลอดภัยและเจ้าของอู่ต้องควบคุมรถแท็กซี่ของตนเองได้ด้วย ถ้าระบบการขนส่งดีก็สามารถแก้ไขปัญหาโดยรวมได้

อย่างไรก็ตาม หากพบการกระทำผิดหรือผู้จ้องจะฝ่าฝืนกฎจราจร สามารถโทรศัพท์แจ้งมาที่ เบอร์ 1197 ได้เลยตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ขอความร่วมมือผู้ขับขี่รถในกทม. ในกันช่วยกันรักษากฎระเบียบจราจรทุกอย่าง ทั้งฝ่าไฟแดง แซงทางโค้ง แซงคับขัน รวมทั้งกวดขันวินัยจราจร 12 ข้อหลักเป็นสำคัญ

ประวัติการศึกษา

ปริญญาตรี รัฐประศาสนศาสตร์ (รป.บ.(ตร.) จากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
กำลังศึกษาระดับปริญญาเอก ตามหลักสูตรการจัดการดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต

ประวัติการรับราชการ (ที่สำคัญ)

10 ธ.ค. 2546 ดำรงตำแหน่ง ผกก.สน.โชคชัย ตามคำสั่ง ตร.ที่ 971/2546 ลงวันที่ 10 ธ.ค. 2546
16 พ.ย. 2549 ดำรงตำแหน่ง ผกก.สน.วังทองหลาง
22 มิ.ย. 2550 ดำรงตำแหน่ง ผกก.กลุ่มงานนักวิชาการการเงินและบัญชี บก.สส.บช.ปส.
1 ต.ค. 2550 ดำรงตำแหน่ง รอง ผบก.ประจำ สง.ผบ.ตร.(ทนท.รอง หน.ฝอ.ประจำ สง.ผู้ช่วย ผบ.ตร.)
7 ต.ค. 2552 ดำรงตำแหน่ง รอง ผบก.น.8
24 ก.พ. 2555 ดำรงตำแหน่ง เลขานุการตำรวจแห่งชาติ
1 ต.ค. 2555 ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการตำรวจจราจร
กำลังโหลดความคิดเห็น