สตช.ประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ไปยังกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 และ 5 สั่งเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่จากจังหวัดใกล้เคียงให้เข้าไปช่วยเหลือในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยอย่างเร่งด่วน
วันนี้ (19 เม.ย.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยถึงมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ว่าภายหลังจาก พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รอง ผบ.ตร.ได้ประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ไปยังกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 และกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 โดยได้สั่งเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่จากจังหวัดใกล้เคียงให้เข้าไปช่วยเหลือในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะพื้นที่น้ำท่วมขังขึ้นมาบริเวณตัวเมือง จ.สระแก้ว ซึ่งภารกิจหลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติมี 3 ด้าน ได้แก่ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทุกกรณี จัดกำลังช่วยกรณีรถเสีย และกรณีมีมิจฉาชีพเข้าไปก่อเหตุซ้ำเติมผู้ประสบภัย หากตรวจพบจะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายอย่างเด็ดขาด โดยจะมีโทษหนักกว่าการลักทรัพย์ในสถานการณ์ปกติ เพราะเป็นการซ้ำเดิมพี่น้องประชาชนที่เดือดร้อน
นอกจากนี้ ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติยังได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อเป็นศูนย์กลางในการปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยเปิดสายด่วน 1599 จำนวน 20 คู่สาย ให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยดังกล่าวสามารถแจ้งข้อมูลขอรับความช่วยเหลือมายัง ศปก.ตร.ได้ตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมถึงยังสามารถแจ้งไปยังหมายเลข 1197 และ 1193 โดยทางศูนย์ปฏิบัติฯ จะประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจในการเข้าไปช่วยเหลือและป้องกันเหตุร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นจากมิจฉาชีพอีกช่องทางหนึ่งด้วย
พล.ต.ต.ปิยะกล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมามีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในเขต กทม. ทำให้เกิดการจราจรติดขัดในหลายจุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงได้กำชับให้ บช.น.จัดส่งสายตรวจเข้าไปช่วยเหลือในพื้นที่มากยิ่งขึ้น เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรไม่เพียงพอ ซึ่งระยะเวลาที่เกิดปัญหาการจราจรติดขัด ส่วนมากจะเป็นช่วงเวลาบ่ายและเย็น ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรจำเป็นต้องปรับแผนไปช่วยเหลือในระยะเวลาดังกล่าว และรื้อฟื้นป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ มาใช้ อย่างไรก็ตาม ต้องขอความร่วมมือในการแก้ปัญหาจากหลายหน่วยงาน โดยจะประสานไปยังกรมราชทัณฑ์ให้นำผู้ต้องขังมาช่วยเหลือในการขุดลอกคลอง เพื่อให้สามารถระบายน้ำที่ท่วมขังอยู่ออกไปได้ดีขึ้น
“ในส่วนของ บช.น.เองก็ได้ประชุมกับกองบังคับการต่างๆ แล้ว โดยกำชับให้พื้นที่ที่ไม่พบเหตุร้ายก็ให้ระดมกำลังไปช่วยพื้นที่อื่นที่มีเหตุร้ายก่อน และเน้นให้เตรียมความพร้อมรับมือกับอุทกภัย 3 ช่วง คือ ช่วงก่อนเกิดเหตุ ระหว่างเกิดเหตุน้ำท่วม และหลังน้ำลด โดยให้สำรวจหายานพาหนะในการช่วยเหลือ ระดมความเห็นของคนในชุมชน เพื่อเข้าไปช่วยเหลือให้ถูกจุด และจัดชุดเคลื่อนที่เร็วช่วยแก้ไขปัญหารถติดหรือรถเสีย และตรวจแนวคันกั้นน้ำ” โฆษก ตร.กล่าว และว่า นอกจากนี้ยังได้เตรียมพื้นที่อพยพไว้แล้ว โดยภายหลังจากที่น้ำลดระดับแล้วจะประสานกับภาคเอกชน เพื่อจัดเตรียมอุปกรณ์ช่วยซ่อมแซมบ้านเรือนให้กลับสู่ภาวะปกติ
วันนี้ (19 เม.ย.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยถึงมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ว่าภายหลังจาก พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รอง ผบ.ตร.ได้ประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ไปยังกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 และกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 โดยได้สั่งเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่จากจังหวัดใกล้เคียงให้เข้าไปช่วยเหลือในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะพื้นที่น้ำท่วมขังขึ้นมาบริเวณตัวเมือง จ.สระแก้ว ซึ่งภารกิจหลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติมี 3 ด้าน ได้แก่ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทุกกรณี จัดกำลังช่วยกรณีรถเสีย และกรณีมีมิจฉาชีพเข้าไปก่อเหตุซ้ำเติมผู้ประสบภัย หากตรวจพบจะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายอย่างเด็ดขาด โดยจะมีโทษหนักกว่าการลักทรัพย์ในสถานการณ์ปกติ เพราะเป็นการซ้ำเดิมพี่น้องประชาชนที่เดือดร้อน
นอกจากนี้ ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติยังได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อเป็นศูนย์กลางในการปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยเปิดสายด่วน 1599 จำนวน 20 คู่สาย ให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยดังกล่าวสามารถแจ้งข้อมูลขอรับความช่วยเหลือมายัง ศปก.ตร.ได้ตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมถึงยังสามารถแจ้งไปยังหมายเลข 1197 และ 1193 โดยทางศูนย์ปฏิบัติฯ จะประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจในการเข้าไปช่วยเหลือและป้องกันเหตุร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นจากมิจฉาชีพอีกช่องทางหนึ่งด้วย
พล.ต.ต.ปิยะกล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมามีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในเขต กทม. ทำให้เกิดการจราจรติดขัดในหลายจุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงได้กำชับให้ บช.น.จัดส่งสายตรวจเข้าไปช่วยเหลือในพื้นที่มากยิ่งขึ้น เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรไม่เพียงพอ ซึ่งระยะเวลาที่เกิดปัญหาการจราจรติดขัด ส่วนมากจะเป็นช่วงเวลาบ่ายและเย็น ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรจำเป็นต้องปรับแผนไปช่วยเหลือในระยะเวลาดังกล่าว และรื้อฟื้นป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ มาใช้ อย่างไรก็ตาม ต้องขอความร่วมมือในการแก้ปัญหาจากหลายหน่วยงาน โดยจะประสานไปยังกรมราชทัณฑ์ให้นำผู้ต้องขังมาช่วยเหลือในการขุดลอกคลอง เพื่อให้สามารถระบายน้ำที่ท่วมขังอยู่ออกไปได้ดีขึ้น
“ในส่วนของ บช.น.เองก็ได้ประชุมกับกองบังคับการต่างๆ แล้ว โดยกำชับให้พื้นที่ที่ไม่พบเหตุร้ายก็ให้ระดมกำลังไปช่วยพื้นที่อื่นที่มีเหตุร้ายก่อน และเน้นให้เตรียมความพร้อมรับมือกับอุทกภัย 3 ช่วง คือ ช่วงก่อนเกิดเหตุ ระหว่างเกิดเหตุน้ำท่วม และหลังน้ำลด โดยให้สำรวจหายานพาหนะในการช่วยเหลือ ระดมความเห็นของคนในชุมชน เพื่อเข้าไปช่วยเหลือให้ถูกจุด และจัดชุดเคลื่อนที่เร็วช่วยแก้ไขปัญหารถติดหรือรถเสีย และตรวจแนวคันกั้นน้ำ” โฆษก ตร.กล่าว และว่า นอกจากนี้ยังได้เตรียมพื้นที่อพยพไว้แล้ว โดยภายหลังจากที่น้ำลดระดับแล้วจะประสานกับภาคเอกชน เพื่อจัดเตรียมอุปกรณ์ช่วยซ่อมแซมบ้านเรือนให้กลับสู่ภาวะปกติ