โฆษกศาลยุติธรรม เผย ประชุม กก.แก้ รธน.ปี 2550 ต้องรอศึกษาวิเคราะห์ส่วนเกี่ยวข้องศาลยุติธรรม ชี้ ต้องใช้เวลา ยังไม่ตกผลึกแก้ประเด็นใดบ้าง ส่วนที่เสนอยุบรวมศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นแผนกในศาลฎีกา ชี้แค่หลักทฤษฎี
วันนี้ (5 มี.ค.) เวลา 13.00 น.นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกสำนักงานศาลยุติธรรม 1 ในคณะอนุกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (อนุ ก.บ.ศ.) ศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 กล่าวว่า ขณะนี้คณะอนุ ก.บ.ศ.กำลังศึกษาข้อมูล และอยู่ระหว่างการประชุมระดมความคิดเห็นเป็นครั้งที่ 2 เท่านั้น ยังไม่ตกผลึกว่าจะแก้ไขประเด็นใดหรือไม่ ซึ่งต้องมีการประชุมต่อเนื่อง ต้องศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ที่เกี่ยวข้องกับศาลยุติธรรม และวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียจนครบทุกประเด็นตามภารกิจและโจทย์ที่ได้รับมอบหมายมา ซึ่งยังไม่ทราบว่าจะเสร็จสิ้นเมื่อใด ขึ้นอยู่กับเนื้อหาและรายละเอียดที่คณะอนุ ก.บ.ศ.จะหยิบยกนำมาอภิปรายระดมความเห็นกัน หากคณะอนุ ก.บ.ศ.ศึกษาวิเคราะห์ได้ผลก็จะเสนอรายงานความเห็นที่ประชุมให้ ก.บ.ศ.ชุดใหญ่รับทราบเป็นระยะ เพื่อเตรียมเสนอต่อผู้มีอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะยังไม่แน่ใจว่าจะมีการเปิดโอกาสให้ศาลยุติธรรม ส่งผู้แทนไปร่วมเป็น ส.ส.ร.เพื่อแสดงความคิดเห็นในการร่างรัฐธรรมนูญด้วยหรือไม่
ส่วนที่มีการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญ มาเป็นแผนกในศาลฎีกา นายสิทธิ์ศักดิ์ กล่าวว่า เป็นเพียงความเห็นของ นายวัฒนา เมืองสุข และเป็นเพียงแค่หลักทฤษฎี ศาลยุติธรรมไม่มีความเห็นว่าจะยุบศาลปกครอง หรือศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นศาลที่เกิดขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ต้องการแยกศาลออกจากกันตามภารกิจหน้าที่
“กว่าที่ศาลยุติธรรมจะแยกจากกระทรวงยุติธรรมได้ ก็เมื่อปี 2543 จึงสามารถทำได้ และแต่ละศาลเองก็มีทฤษฎีการทำงานตามกฎหมายที่แยกกัน มองอย่างเป็นกลางที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีการแบ่งศาล เพราะต้องการแบ่งเบาภาระให้ศาลยุติธรรมที่ต้องการให้คดีแต่ละประเภทแยกจากกัน ศาลยุติธรรมก็เคารพรัฐธรรมนูญที่กำหนดอย่างนั้น” นายสิทธิศักดิ์ ระบุ
ส่วนประเด็นที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจตุลาการเป็นตัวแทน คัดเลือกบุคคลมาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระต่างๆ นั้น นายสิทธิศักดิ์ กล่าวว่า การที่รัฐธรรมนูญ 2550 กำหนดให้ประธานศาลฎีกาเป็นใน 1 ตุลาการ มีส่วนในการคัดเลือกผู้มาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ก็เนื่องมาจากรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ต้องการให้มีผู้แทนซึ่งเป็นคนกลางเป็นผู้สรรหา ซึ่งถือเป็นงานฝาก งานเพิ่มขึ้นมาไม่เกี่ยวกับศาลยุติธรรมโดยตรง เพราะผู้พิพากษาต้องการความเป็นอิสระและเป็นกลาง ดังนั้น จึงอาจต้องมีการทบทวนบทบาทตามรัฐธรรมนูญในประเด็นดังกล่าว ว่า มีความเหมาะสมกับประธานศาลฎีกาหรือไม่ จะเกิดประโยชน์อย่างไร มีผลเสียอย่างไร ถ้าประมุขฝ่ายตุลาการต้องมีบทบาทในการคัดเลือกผู้มาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ แต่อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มีการหยิบยกประเด็นดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุม
วันนี้ (5 มี.ค.) เวลา 13.00 น.นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกสำนักงานศาลยุติธรรม 1 ในคณะอนุกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (อนุ ก.บ.ศ.) ศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 กล่าวว่า ขณะนี้คณะอนุ ก.บ.ศ.กำลังศึกษาข้อมูล และอยู่ระหว่างการประชุมระดมความคิดเห็นเป็นครั้งที่ 2 เท่านั้น ยังไม่ตกผลึกว่าจะแก้ไขประเด็นใดหรือไม่ ซึ่งต้องมีการประชุมต่อเนื่อง ต้องศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ที่เกี่ยวข้องกับศาลยุติธรรม และวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียจนครบทุกประเด็นตามภารกิจและโจทย์ที่ได้รับมอบหมายมา ซึ่งยังไม่ทราบว่าจะเสร็จสิ้นเมื่อใด ขึ้นอยู่กับเนื้อหาและรายละเอียดที่คณะอนุ ก.บ.ศ.จะหยิบยกนำมาอภิปรายระดมความเห็นกัน หากคณะอนุ ก.บ.ศ.ศึกษาวิเคราะห์ได้ผลก็จะเสนอรายงานความเห็นที่ประชุมให้ ก.บ.ศ.ชุดใหญ่รับทราบเป็นระยะ เพื่อเตรียมเสนอต่อผู้มีอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะยังไม่แน่ใจว่าจะมีการเปิดโอกาสให้ศาลยุติธรรม ส่งผู้แทนไปร่วมเป็น ส.ส.ร.เพื่อแสดงความคิดเห็นในการร่างรัฐธรรมนูญด้วยหรือไม่
ส่วนที่มีการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญ มาเป็นแผนกในศาลฎีกา นายสิทธิ์ศักดิ์ กล่าวว่า เป็นเพียงความเห็นของ นายวัฒนา เมืองสุข และเป็นเพียงแค่หลักทฤษฎี ศาลยุติธรรมไม่มีความเห็นว่าจะยุบศาลปกครอง หรือศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นศาลที่เกิดขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ต้องการแยกศาลออกจากกันตามภารกิจหน้าที่
“กว่าที่ศาลยุติธรรมจะแยกจากกระทรวงยุติธรรมได้ ก็เมื่อปี 2543 จึงสามารถทำได้ และแต่ละศาลเองก็มีทฤษฎีการทำงานตามกฎหมายที่แยกกัน มองอย่างเป็นกลางที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีการแบ่งศาล เพราะต้องการแบ่งเบาภาระให้ศาลยุติธรรมที่ต้องการให้คดีแต่ละประเภทแยกจากกัน ศาลยุติธรรมก็เคารพรัฐธรรมนูญที่กำหนดอย่างนั้น” นายสิทธิศักดิ์ ระบุ
ส่วนประเด็นที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจตุลาการเป็นตัวแทน คัดเลือกบุคคลมาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระต่างๆ นั้น นายสิทธิศักดิ์ กล่าวว่า การที่รัฐธรรมนูญ 2550 กำหนดให้ประธานศาลฎีกาเป็นใน 1 ตุลาการ มีส่วนในการคัดเลือกผู้มาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ก็เนื่องมาจากรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ต้องการให้มีผู้แทนซึ่งเป็นคนกลางเป็นผู้สรรหา ซึ่งถือเป็นงานฝาก งานเพิ่มขึ้นมาไม่เกี่ยวกับศาลยุติธรรมโดยตรง เพราะผู้พิพากษาต้องการความเป็นอิสระและเป็นกลาง ดังนั้น จึงอาจต้องมีการทบทวนบทบาทตามรัฐธรรมนูญในประเด็นดังกล่าว ว่า มีความเหมาะสมกับประธานศาลฎีกาหรือไม่ จะเกิดประโยชน์อย่างไร มีผลเสียอย่างไร ถ้าประมุขฝ่ายตุลาการต้องมีบทบาทในการคัดเลือกผู้มาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ แต่อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มีการหยิบยกประเด็นดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุม