ชาววารินชำราบ ร้องดีเอสไอให้ตรวจสอบนายทุนออกโฉนดทับที่ทำกินและที่สาธารณะประโยชน์ของหลวงกว่า 1,000 ไร่ ทั้งที่เป็นที่ดินที่มีใบจอง
วันนี้ (22 พ.ค.) ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เครือข่ายชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี นำโดย นายพงษ์ศักดิ์ สายวรรณ์ และ นางหนูเดือน แก้วบัวขาว พร้อมชาวบ้านจากตำบลบุ่งหวายและตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กว่า 10 คน เดินทางเข้าร้องเรียนให้ดีเอสไอตรวจสอบข้อเท็จจริงกระบวนการออกโฉนดทับที่ทำกินของชาวบ้าน
นางหนูเดือน กล่าวว่า ในช่วงปี 2510-2514 นายทุนซึ่งเป็นอดีต ส.ส.จังหวัดอุบลราชธานี ได้ออกโฉนดทับที่ดินทำกินของชาวบ้าน ทั้งที่ชาวบ้านกว่า 90 ครัวเรือน ในพื้นที่ดังกล่าว มีใบจองที่ดินและมีหลักฐานการเสียภาษีที่ดินตั้งแต่ปี พ.ศ.2504 และทำประโยชน์บนพื้นที่มาตลอด โดยชาวบ้านไม่รู้ว่ามีผู้ออกโฉนดทับซ้อนกับที่ดินทำกิน จนกระทั่งถูกฟ้องในคดีบุกรุกที่ดิน โดยสามีของตนเป็นผู้หนึ่งที่ถูกพิพากษาจำคุกจากคดีดังกล่าว ขณะที่ชาวบ้านอีกหลายรายก็ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีฐานบุกรุกเช่นกัน สำหรับกลุ่มนายทุนนี้ได้ออกโฉนดทับที่ทำกินของชาวบ้านประมาณ 10 ไร่และออกโฉนดทับที่ดินสาธารณะในอำเภอวารินชำราบ อีก 900 ไร่ ทั้งที่มีประกาศหวงห้ามไว้ ที่ผ่านมาชาวบ้านได้เดินทางไปร้องเรียนในทุกสถานที่ที่เปิดให้ร้องเรียน แต่เมื่อเรื่องย้อนกลับไปถึงจังหวัด มักจะยุติการตรวจสอบข้อเท็จจริง ชาวบ้านจึงรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมและต้องการให้ดีเอสไอตรวจสอบข้อเท็จจริงให้
ด้าน นายสรรเสริญ ปาลวัฒน์วิไชย ผอ.สำนักคดีคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า เมื่อประมาณต้นปีที่ผ่านมาชาวบ้านกลุ่มนี้ได้ร้องเรียนกับนายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมาแล้ว ซึ่งดีเอสไอ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ไปตรวจสอบ และพบว่ามีประเด็นที่สงสัย คือ มีการออกโฉนดทับที่ชาวบ้านที่มีใบจองแล้ว อย่างไรก็ตาม ต้องตรวจสอบเอกสารย้อนหลังเพื่อพิสูจน์ว่าใครเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ที่ดินที่แท้จริงระหว่างชาวบ้านที่ถือใบจองกับกลุ่มนายทุน เบื้องต้นดีเอสไอจะส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ไปช่วยเหลือแก้ปัญหาให้กับชาวบ้านที่ถูกกลุ่มนายทุนฟ้องดำเนินคดีอยู่
“จากการลงพื้นที่ตรวจสอบพบปัญหาว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เรื่องกฎหมายจึงไม่เข้าใจว่าเมื่อมีใบจองจะต้องนำใบจองไปขอออกโฉนดที่ดินจึงจะสมบูรณ์ แต่ชาวบ้านเข้าใจว่ามีใบจองแล้วก็ถือว่าเป็นเจ้าของแล้ว จึงทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น” นายสรรเสริญ กล่าว
วันนี้ (22 พ.ค.) ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เครือข่ายชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี นำโดย นายพงษ์ศักดิ์ สายวรรณ์ และ นางหนูเดือน แก้วบัวขาว พร้อมชาวบ้านจากตำบลบุ่งหวายและตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กว่า 10 คน เดินทางเข้าร้องเรียนให้ดีเอสไอตรวจสอบข้อเท็จจริงกระบวนการออกโฉนดทับที่ทำกินของชาวบ้าน
นางหนูเดือน กล่าวว่า ในช่วงปี 2510-2514 นายทุนซึ่งเป็นอดีต ส.ส.จังหวัดอุบลราชธานี ได้ออกโฉนดทับที่ดินทำกินของชาวบ้าน ทั้งที่ชาวบ้านกว่า 90 ครัวเรือน ในพื้นที่ดังกล่าว มีใบจองที่ดินและมีหลักฐานการเสียภาษีที่ดินตั้งแต่ปี พ.ศ.2504 และทำประโยชน์บนพื้นที่มาตลอด โดยชาวบ้านไม่รู้ว่ามีผู้ออกโฉนดทับซ้อนกับที่ดินทำกิน จนกระทั่งถูกฟ้องในคดีบุกรุกที่ดิน โดยสามีของตนเป็นผู้หนึ่งที่ถูกพิพากษาจำคุกจากคดีดังกล่าว ขณะที่ชาวบ้านอีกหลายรายก็ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีฐานบุกรุกเช่นกัน สำหรับกลุ่มนายทุนนี้ได้ออกโฉนดทับที่ทำกินของชาวบ้านประมาณ 10 ไร่และออกโฉนดทับที่ดินสาธารณะในอำเภอวารินชำราบ อีก 900 ไร่ ทั้งที่มีประกาศหวงห้ามไว้ ที่ผ่านมาชาวบ้านได้เดินทางไปร้องเรียนในทุกสถานที่ที่เปิดให้ร้องเรียน แต่เมื่อเรื่องย้อนกลับไปถึงจังหวัด มักจะยุติการตรวจสอบข้อเท็จจริง ชาวบ้านจึงรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมและต้องการให้ดีเอสไอตรวจสอบข้อเท็จจริงให้
ด้าน นายสรรเสริญ ปาลวัฒน์วิไชย ผอ.สำนักคดีคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า เมื่อประมาณต้นปีที่ผ่านมาชาวบ้านกลุ่มนี้ได้ร้องเรียนกับนายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมาแล้ว ซึ่งดีเอสไอ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ไปตรวจสอบ และพบว่ามีประเด็นที่สงสัย คือ มีการออกโฉนดทับที่ชาวบ้านที่มีใบจองแล้ว อย่างไรก็ตาม ต้องตรวจสอบเอกสารย้อนหลังเพื่อพิสูจน์ว่าใครเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ที่ดินที่แท้จริงระหว่างชาวบ้านที่ถือใบจองกับกลุ่มนายทุน เบื้องต้นดีเอสไอจะส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ไปช่วยเหลือแก้ปัญหาให้กับชาวบ้านที่ถูกกลุ่มนายทุนฟ้องดำเนินคดีอยู่
“จากการลงพื้นที่ตรวจสอบพบปัญหาว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เรื่องกฎหมายจึงไม่เข้าใจว่าเมื่อมีใบจองจะต้องนำใบจองไปขอออกโฉนดที่ดินจึงจะสมบูรณ์ แต่ชาวบ้านเข้าใจว่ามีใบจองแล้วก็ถือว่าเป็นเจ้าของแล้ว จึงทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น” นายสรรเสริญ กล่าว