กองปราบปราม ยึดหลักคิดการมีส่วนร่วมของผู้นำ 3 ศาสนา เน้นศาสนสถานเป็นต้นแบบ ศูนย์รวมองค์ความรู้สู่ชุมชน ช่วยงานป้องกันอาชญากรรม โดยส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปสนับสนุนเผยแพร่ความรู้ให้กับสถาบันศาสนาและชุมชน แก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
วันนี้ (17 ก.พ.) ที่กองปราบปราม เมื่อเวลา 09.00 น. พ.ต.อ.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ รอง ผบก.ป. เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอาชญากรรมในศาสนสถานสำหรับผู้นำศาสนาในชุมชนกรุงเทพมหานคร โดยมีผู้แทนจากศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม เข้าร่วมการสัมมนาโดยมีการแบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อย มีวิทยากรเป็นนายตำรวจประจำกลุ่มละ 2 นาย
พ.ต.อ.สุพิศาล กล่าวว่า การสัมมนาครั้งนี้ยึดหลักคิด “การมีส่วนร่วมของผู้นำทางศาสนาเป็นจุดเริ่มต้นของกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน ศาสนสถานเป็นต้นแบบ และเป็นศูนย์รวมองค์ความรู้สู่ชุมชน มีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อให้ผู้แทนศาสนามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันปัญหาอาชญากรรม 2.เพื่อให้ผู้นำทางศาสนาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดสู่ชุมชนได้อย่างเหมาะสม และ 3.เพื่อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม โดยศาสนสถานจะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยทำชุมชนและสังคมมีความสุข เนื่องจากปัจจุบันปัญหาอาชญากรรมมีสถิติสูงขึ้น หากใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบเดิมๆ คงเป็นไปไม่ได้
“ขณะนี้กองปราบปรามได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในชุมชนและได้พบเรื่องราวปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งกองปราบปรามเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมและมีองค์ความรู้ในเรื่องนี้จึงเป็นแกนนำในการจัดสัมมนาและสนับสนุนเผยแพร่ความรู้ให้แก่สถาบันศาสนา และชุมชนเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน” พ.ต.อ.สุพิศาล กล่าว
พ.ต.อ.สุพิศาล ยังกล่าวอีกว่า วิธีการหนึ่งที่สังคมประชาธิปไตยใช้ในการแก้ปัญหา คือ การแสวงหาความร่วมมือจากสถาบันต่างๆ ของสังคม 6 สถาบัน ได้แก่ สถาบันศาสนา สถาบันการ ศึกษา สถาบันการเมือง สถาบันสื่อมวลชน ภาคราชการและภาคเอกชน ประกอบกับหลักการทำงานของตำรวจสมัยใหม่ที่นำมาใช้ลดอาชญากรรมอย่างเห็นผลเป็นรูปธรรม
วันนี้ (17 ก.พ.) ที่กองปราบปราม เมื่อเวลา 09.00 น. พ.ต.อ.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ รอง ผบก.ป. เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอาชญากรรมในศาสนสถานสำหรับผู้นำศาสนาในชุมชนกรุงเทพมหานคร โดยมีผู้แทนจากศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม เข้าร่วมการสัมมนาโดยมีการแบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อย มีวิทยากรเป็นนายตำรวจประจำกลุ่มละ 2 นาย
พ.ต.อ.สุพิศาล กล่าวว่า การสัมมนาครั้งนี้ยึดหลักคิด “การมีส่วนร่วมของผู้นำทางศาสนาเป็นจุดเริ่มต้นของกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน ศาสนสถานเป็นต้นแบบ และเป็นศูนย์รวมองค์ความรู้สู่ชุมชน มีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อให้ผู้แทนศาสนามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันปัญหาอาชญากรรม 2.เพื่อให้ผู้นำทางศาสนาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดสู่ชุมชนได้อย่างเหมาะสม และ 3.เพื่อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม โดยศาสนสถานจะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยทำชุมชนและสังคมมีความสุข เนื่องจากปัจจุบันปัญหาอาชญากรรมมีสถิติสูงขึ้น หากใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบเดิมๆ คงเป็นไปไม่ได้
“ขณะนี้กองปราบปรามได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในชุมชนและได้พบเรื่องราวปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งกองปราบปรามเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมและมีองค์ความรู้ในเรื่องนี้จึงเป็นแกนนำในการจัดสัมมนาและสนับสนุนเผยแพร่ความรู้ให้แก่สถาบันศาสนา และชุมชนเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน” พ.ต.อ.สุพิศาล กล่าว
พ.ต.อ.สุพิศาล ยังกล่าวอีกว่า วิธีการหนึ่งที่สังคมประชาธิปไตยใช้ในการแก้ปัญหา คือ การแสวงหาความร่วมมือจากสถาบันต่างๆ ของสังคม 6 สถาบัน ได้แก่ สถาบันศาสนา สถาบันการ ศึกษา สถาบันการเมือง สถาบันสื่อมวลชน ภาคราชการและภาคเอกชน ประกอบกับหลักการทำงานของตำรวจสมัยใหม่ที่นำมาใช้ลดอาชญากรรมอย่างเห็นผลเป็นรูปธรรม