เจตนาของมูลนิธิปวีณาฯ นั้น เรายังเชื่อมั่นว่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะเติมเต็มสิ่งดีงามให้กับสังคมได้ต่อไป แต่เจตนาแฝงที่ต้องการสร้างชื่อสร้างภาพนั้น ขอได้โปรดอย่าทำอีกเลย อย่างน้อยๆ “ตราบาป” ก็คงจะไม่ต้องตกไปอยู่ที่ตัวเหยื่ออีก
“มูลนิธิปวีณา หงสกุล เพื่อเด็กและสตรี” เป็นมูลนิธิที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ด้อยโอกาสโดยไม่หวังผลกำไร โดยมี นางปวีณา หงสกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตกรุงเทพ ฯ (6 สมัย) เป็นทั้งผู้ก่อตั้งและประธานของมูลนิธิฯ “นางปวีณา หงสกุล เริ่มก่อตั้งมูลนิธิ ฯ ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกละเมิดสิทธิ และถูกทารุณกรรมในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนการฟื้นฟูด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ได้รับเคราะห์กรรมและไร้ที่พึ่ง ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข เพื่อส่งเสริมและพัฒนารายได้ เสริมทักษะแก่เด็กที่ยากไร้และด้อยโอกาส เพื่อส่งเสริมกิจกรรมด้านวัฒนธรรมไทย”
เมื่อเอ่ยถึงมูลนิธิปวีณาฯ หลายคนคงนึกภาพได้ไม่ยาก เพราะมีเป็นข่าวทั้งโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์อยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะกับภาพลักษณ์ของนางปวีณา หงสกุล ประธานมูลนิธิฯ ซึ่งช่วยเหลือเด็กและสตรีในคดีความต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ตัวประธานมูลนิธิฯประหนึ่งดัง“แม่พระ”ของเด็กและสตรี
ขณะเดียวกัน ยังมีหน่วยงานของรัฐ ซึ่งขึ้นตรงต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่คอยดูแลและดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องสวัสดิภาพของเด็กและสตรี อย่างกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดต่อเด็ก เยาวชน และสตรี หรือ บก.ปดส. เป็นกองบังคับการที่มีนายตำรวจระดับ“พล.ต.ต.”เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลและจับกุมผู้กระทำผิดได้ทั่วประเทศ ส่วนในเขตนครบาล ทางกองบัญชาการตำรวจนครบาลก็มี ศูนย์สวัสดิภาพเด็ก เยาวชน และสตรี เป็นกองกำกับ มีนายตำรวจระดับ“พ.ต.อ.”เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ
หากไปสอบถามประชาชน ที่มีญาติ หรือพวกพ้องตกเป็นเหยื่อคนร้ายต่อสวัสดิภาพของเด็กและสตรีแล้ว เชื่อได้เลยว่า ส่วนใหญ่ต้องมุ่งหน้าไปยังมูลนิธิปวีณาฯเสียมากกว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เพราะในแต่ละข่าวที่ถูกสื่อนำเสนอออกไป เหยื่อแต่ละรายที่มูลนิธิฯเข้าไปดำเนินการ มักได้รับความเอาใจใส่จากเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นอย่างดี บอกกันตรงๆ ก็ได้ เพราะ 1.มูลนิธิฯ มีสื่อคอยติดตามการทำข่าว ซึ่งความจริง ทางมูลนิธิฯ จะเป็นผู้แจ้ง “หมายข่าว” ไปยังผู้สื่อข่าวเอง 2.ต้องยอมรับด้วยว่า ตัวประธานมูลนิธิเองค่อนข้างมีอิทธิพลทางการเมืองสูง ซึ่งเมื่อประสานไปยังตำรวจแล้ว มีหรือตำรวจจะกล้าปฏิเสธ 3.มีเหตุผลอย่างอื่นที่ไม่ขอพูดถึง
แต่อย่างไรก็ตาม หากไปสำรวจความคิดเห็น หรือสอบถามตำรวจ ถึงมูลนิธิปวีณาฯ ร้อยละ 99 เชื่อขนมกินได้เลยว่า ต่างร้อง“ยี้” ไม่อยากเข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย อะไรทำให้เป็นเช่นนั้น เรื่องแบบนี้ตำรวจเขารู้กันดี
เมื่อมองถึงผลงานของมูลนิธิปวีณา ต้องยอมรับด้วยเช่นกันว่า ส่วนใหญ่ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี สามารถเข้าช่วยเหลือเหยื่ออย่างได้ผลเป็นรูปธรรม มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ต้องยอมรับเช่นกันว่า “พลาด” ซึ่งก็ต้องถือว่า ส่วนน้อยที่ว่าพลาดนั้น ผลที่ผู้เกี่ยวข้องได้รับค่อนข้าง“มหันต์”
ขอยกตัวอย่างซัก 2-3 เรื่อง เรื่องแรกกรณี “หมวยโซ” น.ส.โซ เลียง อิง สาวที่อ้างว่าเป็นนักข่าวชาวฮ่องกง เข้าร้องเรียน ต่อมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรีว่า ถูกคนขับสามล้อเครื่อง (ตุ๊กตุ๊ก) รุมข่มขืนบริเวณหน้ารัฐสภา โดยมีตำรวจหรือ รปภ.ประจำหน้ารัฐสภา “รู้เห็นเป็นใจ”ด้วย จากนั้นจึงมีการไล่ล่าคนร้ายที่ก่อเหตุ กระทั่งได้ตัวผู้ต้องสงสัยมาหลายคน สุดท้าย นายทองใบ อำมะเหีย อายุ 29 ปี หนุ่มตุ๊กตุ๊กคนซื่อ ถูกตำรวจจับกุม ต้องนอนอยู่ในคุก สน.ดุสิตถึง 4 คืน 3 วัน กระทั่งความจริงปรากฏเมื่อนังหมวยแสบยอมรับว่า "กุเรื่อง" ขึ้นมาเอง และสุดท้าย ทองใบ อำมะเหีย ก็ถูกสังคมลืม ส่วนจะมีใครไปเยียวยาหรือไม่ ยังไม่ปรากฏเป็นข่าว
อีกกรณี ของแด๊ก บิ๊กแอส กับน้องฝ้าย หลังจากมูลนิธินำเข้าแจ้งความ แด๊ก บิ๊กแอส ก็ถูกสังคมประณาม และตราหน้า แต่สุดท้ายเมื่อผลการตรวจดีเอ็นเอออกมาปรากฏว่าพ่อเด็กไม่ใช่แด๊ก บิ๊กแอส ตราบาปชิ้นนี้ตกอยู่กับใคร คงไม่ต้องสาธยาย
สดๆร้อนๆจากเรื่องคลิปของ 2 นักร้องสาวดูโอ ที่ดูเหมือน ตำรวจถูกแย่งขโมยซีนไปหน้าตาเฉย ถามว่าชุดเฉพาะกิจของมูลนิธิฯ ที่ไปควบคุมตัวพ่อครัวของโรงแรม ในวงการตำรวจใครก็รู้ว่า เป็นคนของใคร ถ้าไม่ใช่คนมีสี มีหรือจะกล้ากระทำการดังกล่าว จนภรรยาของพ่อครัว ต้องไปแจ้งความว่า สามีหายตัวไป แต่สุดท้ายเมื่อรู้ก็ไปถอนแจ้งความแล้ว และสุดท้ายเชื่อว่าความจริงจะปรากฏ หากว่า คลิปดังกล่าว ถูกตรวจสอบว่าไม่ได้ถ่ายจากโทรศัพท์มือถือ แต่เป็นเจตนาชัดเจนที่ใช้กล้องวิดีโอถ่าย และใครเป็นผู้สั่งการกับเป็นเจ้าของกล้องวีดิโออันนั้น
ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบการดำเนินงานของมูลนิธิปวีณาฯ กับมูลนิธิที่เกี่ยวข้องกับเด็กมูลนิธิอื่นๆ นั้น ดูเหมือนมูลนิธิอื่นๆ จะทำงานค่อนข้างลำบาก และมักไม่ได้ความร่วมมือจากตำรวจมากนัก
ส่วนเจตนาของมูลนิธิปวีณาฯ นั้น เรายังเชื่อมั่นว่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะเติมเต็มสิ่งดีงามให้กับสังคมได้ต่อไป แต่เจตนาแฝงที่ต้องการสร้างชื่อสร้างภาพนั้น ขอได้โปรดอย่าทำอีกเลย อย่างน้อยๆ“ตราบาป” ก็คงจะไม่ต้องตกไปอยู่ที่ตัวเหยื่ออีก
“มูลนิธิปวีณา หงสกุล เพื่อเด็กและสตรี” เป็นมูลนิธิที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ด้อยโอกาสโดยไม่หวังผลกำไร โดยมี นางปวีณา หงสกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตกรุงเทพ ฯ (6 สมัย) เป็นทั้งผู้ก่อตั้งและประธานของมูลนิธิฯ “นางปวีณา หงสกุล เริ่มก่อตั้งมูลนิธิ ฯ ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกละเมิดสิทธิ และถูกทารุณกรรมในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนการฟื้นฟูด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ได้รับเคราะห์กรรมและไร้ที่พึ่ง ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข เพื่อส่งเสริมและพัฒนารายได้ เสริมทักษะแก่เด็กที่ยากไร้และด้อยโอกาส เพื่อส่งเสริมกิจกรรมด้านวัฒนธรรมไทย”
เมื่อเอ่ยถึงมูลนิธิปวีณาฯ หลายคนคงนึกภาพได้ไม่ยาก เพราะมีเป็นข่าวทั้งโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์อยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะกับภาพลักษณ์ของนางปวีณา หงสกุล ประธานมูลนิธิฯ ซึ่งช่วยเหลือเด็กและสตรีในคดีความต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ตัวประธานมูลนิธิฯประหนึ่งดัง“แม่พระ”ของเด็กและสตรี
ขณะเดียวกัน ยังมีหน่วยงานของรัฐ ซึ่งขึ้นตรงต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่คอยดูแลและดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องสวัสดิภาพของเด็กและสตรี อย่างกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดต่อเด็ก เยาวชน และสตรี หรือ บก.ปดส. เป็นกองบังคับการที่มีนายตำรวจระดับ“พล.ต.ต.”เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลและจับกุมผู้กระทำผิดได้ทั่วประเทศ ส่วนในเขตนครบาล ทางกองบัญชาการตำรวจนครบาลก็มี ศูนย์สวัสดิภาพเด็ก เยาวชน และสตรี เป็นกองกำกับ มีนายตำรวจระดับ“พ.ต.อ.”เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ
หากไปสอบถามประชาชน ที่มีญาติ หรือพวกพ้องตกเป็นเหยื่อคนร้ายต่อสวัสดิภาพของเด็กและสตรีแล้ว เชื่อได้เลยว่า ส่วนใหญ่ต้องมุ่งหน้าไปยังมูลนิธิปวีณาฯเสียมากกว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เพราะในแต่ละข่าวที่ถูกสื่อนำเสนอออกไป เหยื่อแต่ละรายที่มูลนิธิฯเข้าไปดำเนินการ มักได้รับความเอาใจใส่จากเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นอย่างดี บอกกันตรงๆ ก็ได้ เพราะ 1.มูลนิธิฯ มีสื่อคอยติดตามการทำข่าว ซึ่งความจริง ทางมูลนิธิฯ จะเป็นผู้แจ้ง “หมายข่าว” ไปยังผู้สื่อข่าวเอง 2.ต้องยอมรับด้วยว่า ตัวประธานมูลนิธิเองค่อนข้างมีอิทธิพลทางการเมืองสูง ซึ่งเมื่อประสานไปยังตำรวจแล้ว มีหรือตำรวจจะกล้าปฏิเสธ 3.มีเหตุผลอย่างอื่นที่ไม่ขอพูดถึง
แต่อย่างไรก็ตาม หากไปสำรวจความคิดเห็น หรือสอบถามตำรวจ ถึงมูลนิธิปวีณาฯ ร้อยละ 99 เชื่อขนมกินได้เลยว่า ต่างร้อง“ยี้” ไม่อยากเข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย อะไรทำให้เป็นเช่นนั้น เรื่องแบบนี้ตำรวจเขารู้กันดี
เมื่อมองถึงผลงานของมูลนิธิปวีณา ต้องยอมรับด้วยเช่นกันว่า ส่วนใหญ่ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี สามารถเข้าช่วยเหลือเหยื่ออย่างได้ผลเป็นรูปธรรม มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ต้องยอมรับเช่นกันว่า “พลาด” ซึ่งก็ต้องถือว่า ส่วนน้อยที่ว่าพลาดนั้น ผลที่ผู้เกี่ยวข้องได้รับค่อนข้าง“มหันต์”
ขอยกตัวอย่างซัก 2-3 เรื่อง เรื่องแรกกรณี “หมวยโซ” น.ส.โซ เลียง อิง สาวที่อ้างว่าเป็นนักข่าวชาวฮ่องกง เข้าร้องเรียน ต่อมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรีว่า ถูกคนขับสามล้อเครื่อง (ตุ๊กตุ๊ก) รุมข่มขืนบริเวณหน้ารัฐสภา โดยมีตำรวจหรือ รปภ.ประจำหน้ารัฐสภา “รู้เห็นเป็นใจ”ด้วย จากนั้นจึงมีการไล่ล่าคนร้ายที่ก่อเหตุ กระทั่งได้ตัวผู้ต้องสงสัยมาหลายคน สุดท้าย นายทองใบ อำมะเหีย อายุ 29 ปี หนุ่มตุ๊กตุ๊กคนซื่อ ถูกตำรวจจับกุม ต้องนอนอยู่ในคุก สน.ดุสิตถึง 4 คืน 3 วัน กระทั่งความจริงปรากฏเมื่อนังหมวยแสบยอมรับว่า "กุเรื่อง" ขึ้นมาเอง และสุดท้าย ทองใบ อำมะเหีย ก็ถูกสังคมลืม ส่วนจะมีใครไปเยียวยาหรือไม่ ยังไม่ปรากฏเป็นข่าว
อีกกรณี ของแด๊ก บิ๊กแอส กับน้องฝ้าย หลังจากมูลนิธินำเข้าแจ้งความ แด๊ก บิ๊กแอส ก็ถูกสังคมประณาม และตราหน้า แต่สุดท้ายเมื่อผลการตรวจดีเอ็นเอออกมาปรากฏว่าพ่อเด็กไม่ใช่แด๊ก บิ๊กแอส ตราบาปชิ้นนี้ตกอยู่กับใคร คงไม่ต้องสาธยาย
สดๆร้อนๆจากเรื่องคลิปของ 2 นักร้องสาวดูโอ ที่ดูเหมือน ตำรวจถูกแย่งขโมยซีนไปหน้าตาเฉย ถามว่าชุดเฉพาะกิจของมูลนิธิฯ ที่ไปควบคุมตัวพ่อครัวของโรงแรม ในวงการตำรวจใครก็รู้ว่า เป็นคนของใคร ถ้าไม่ใช่คนมีสี มีหรือจะกล้ากระทำการดังกล่าว จนภรรยาของพ่อครัว ต้องไปแจ้งความว่า สามีหายตัวไป แต่สุดท้ายเมื่อรู้ก็ไปถอนแจ้งความแล้ว และสุดท้ายเชื่อว่าความจริงจะปรากฏ หากว่า คลิปดังกล่าว ถูกตรวจสอบว่าไม่ได้ถ่ายจากโทรศัพท์มือถือ แต่เป็นเจตนาชัดเจนที่ใช้กล้องวิดีโอถ่าย และใครเป็นผู้สั่งการกับเป็นเจ้าของกล้องวีดิโออันนั้น
ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบการดำเนินงานของมูลนิธิปวีณาฯ กับมูลนิธิที่เกี่ยวข้องกับเด็กมูลนิธิอื่นๆ นั้น ดูเหมือนมูลนิธิอื่นๆ จะทำงานค่อนข้างลำบาก และมักไม่ได้ความร่วมมือจากตำรวจมากนัก
ส่วนเจตนาของมูลนิธิปวีณาฯ นั้น เรายังเชื่อมั่นว่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะเติมเต็มสิ่งดีงามให้กับสังคมได้ต่อไป แต่เจตนาแฝงที่ต้องการสร้างชื่อสร้างภาพนั้น ขอได้โปรดอย่าทำอีกเลย อย่างน้อยๆ“ตราบาป” ก็คงจะไม่ต้องตกไปอยู่ที่ตัวเหยื่ออีก