สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2551 นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบายและสั่งการให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)บูรณาการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ และการทำลายทรัพยากรป่าไม้ โดยกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ และต้องแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้เพื่อนำพื้นที่ป่าไม้และที่ดินของรัฐที่ถูกบุกรุกกลับคืนให้แผ่นดิน และเพื่อการคงพื้นที่ป่าไม้และที่ดินของรัฐที่มีอยู่ไม่ให้มีการบุกรุกเพิ่มขึ้น เนื่องจากการลดลงของพื้นที่ป่าไม้ได้ส่งผลกระทบจากกลายเป็นวิกฤตของประเทศ ...
ภารกิจนี้ถือเป็นสิ่งท้าทายกรมสอบสวนคดีพิเศษและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องบูรณาการทำงานร่วมกันในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ และการทำลายทรัพยากรป่าไม้ เพราะนายกรัฐมนตรีได้ประกาศให้เวลา 1 ปี ในการสร้างผลงาน
การดำเนินคดีความผิดทางอาญาเกี่ยวกับการบุกรุกที่ดินของรัฐ และการทำลายทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีนายทุน นักการเมือง และผู้มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลังการกระทำความผิด และยากยิ่งต่อการหาพยานหลักฐานไปดำเนินคดีกับบุคคลดังกล่าว
เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยบังคับใช้กฎหมายที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีการบุกรุกและทำลายทรัพยากรธรรมชาติล้วนพบกับอุปสรรคในการสืบสวนสอบสวนคดี โดยผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ของรัฐจะถูกกดดันจากนายทุน นักการเมือง และผู้มีอิทธิพลดังกล่าว เพื่อขอให้ยุติเรื่องหรือให้ความช่วยเหลือในการสั่งไม่ฟ้อง ฯลฯ และยังถูกข่มขู่ด้วยการโยกย้ายออกนอกพื้นที่ นับเป็นการทำลายขวัญกำลังใจเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจจะดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดและนำที่ดินคืนให้กับรัฐ
แต่อย่างไรก็ตามยังมีเจ้าหน้าที่ของรัฐบางส่วนที่ยอมตกเป็นเครื่องมือของนายทุน นักการเมือง และผู้มีอิทธิพลที่มีอำนาจเงินและอำนาจทางการเมือง ด้วยการยอมให้ความช่วยเหลือทุกวิถีทางจะด้วยความกลัวถูกโยกย้ายตามคำขู่ก็ดี หรือจะด้วยเห็นแก่ประโยชน์ที่ผู้กระทำผิดเสนอให้ก็ดี นับเป็นสิ่งที่น่าอับอายและอัปยศอดสูยิ่งนัก กับการให้ความช่วยเหลือบุคคลเหล่านั้นทั้ง ๆ ที่รู้ว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นแล้ว การไม่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ในการเอาที่ดินคืนให้แก่รัฐนอกจะเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือเพื่อช่วยเหลือผู้กระทำผิดไม่ให้รับโทษก็ตามแล้ว น่าจะถือว่าเป็นผู้คิดคดทรยศต่อแผ่นดินด้วย เพราะยอมให้ผู้อื่นเอาที่ดินของรัฐไป แม้จะเป็นคนไทยด้วยกันก็ตาม
คดีการบุกรุกที่ดินของรัฐที่อยู่ในความรับผิดชอบของดีเอสไอ มีเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นคดีการบุกรุกที่ดินที่จังหวัดตราด กระบี่ พังงา ภูเก็ต เชียงราย บางคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นศาล บางคดีก็ส่งสำนวนให้พนักงานอัยการแล้ว บางคดีก็ส่งให้ ป.ป.ช.และที่ยังค้างอยู่ที่ดีเอสไอ ก็ยังมีอีกหลายคดี เช่น การบุกรุกที่ดินที่เกาะยาว การบุกรุกที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าสบกก จังหวัดเชียงราย และการบุกรุกที่ดินบริเวณอ่าวนาง จังหวัดกระบี่ เป็นต้น คดีพิเศษดังกล่าวล้วนมีนายทุน นักการเมือง หรือผู้มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลังทั้งสิ้น
เป็นที่แน่นอนว่า ... การทำคดีคงมิได้เป็นไปด้วยความราบรื่นง่ายดายนัก ขอย้อนไปเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2550 เจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการป้องกันและรักษาป่า จ.เชียงราย ได้เข้าตรวจยึดรถแบคโฮ จำนวน 9 คัน รถเทลเรอร์สำหรับบรรทุกรถแบคโฮ จำนวน 3 คัน ไม้กระยาเลยท่อนจำนวน 8 ท่อน เสารั้วคอนกรีตจำนวน 206 ต้น จากกลุ่มบุคคลที่เข้าไปบุกรุกที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าสบกกฝั่งขวา บ้านห้วยข่อยหร่อย หมู่ 12 ต.บ้านแซว อ.เชียงแสน จ.เชียงราย จำนวนพื้นที่ที่ถูกบุกรุกทั้งสิ้นจำนวน 918 ไร่ ต่อมานายอมรพันธุ์ นิมานันท์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้ตั้งคณะพนักงานสอบสวนของจังหวัดที่มีนางวันดี อินทร ปลัดอำเภอ หัวหน้าฝ่ายบริหารงานปกครอง เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน ได้พบหลักฐานว่าคดีนี้มีบริษัทนายทุนต่างชาติอยู่เบื้องหลังการกระทำความผิด โดยมีการวางแผนเป็นขั้นเป็นตอนเริ่มตั้งแต่การซื้อที่ดินโดยให้นายหน้าเข้าไปกว้านซื้อที่ดินจากราษฎรที่เข้าไปบุกรุกที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าสบกกฝั่งขวา
จากนั้นได้ใช้จ้างวานให้กลุ่มเจ้าของรถที่ถูกยึดรถเป็นของกลางไว้แล้ว ร่วมกันทำการแผ้วถางทำลายป่า เข้ายึดถือ ครอบครองป่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่น ทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติป่าสบกกฝั่งขวา ระหว่างการสืบสวนสอบสวนมีการข่มขู่คุกคามด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา โดยเฉพาะการขู่ว่าจะโยกย้ายออกนอกพื้นที่ และก่อนส่งมอบเรื่องให้ดีเอสไอ ดำเนินการต่อ นายอมรพันธุ์ นิมานันท์ ถูกย้ายพ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ในขณะเดียวกันก็มีความพยายามยับยั้งไม่ให้ดีเอสไอ เข้าไปดำเนินการในเรื่องนี้ โดยอ้างว่าได้ติดต่อผู้ใหญ่ทางดีเอสไอ ไว้แล้วโดยผ่านทางเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ ชื่อ “สมชาย” ซึ่งมีภรรยาเป็นพนักงานอัยการอยู่ที่จังหวัดหนึ่งทางภาคกลาง จะเป็นจริงหรือไม่เพียงใดไม่ทราบ แต่เท่าที่ทราบมาก็คือ ในการประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษครั้งแรกที่ได้นำเรื่องคดีบุกรุกป่าสบกกเข้าพิจารณาขออนุมัติเป็นคดีพิเศษนั้น ปรากฏว่า กรรมการมาประชุมไม่ครบองค์คณะ ไม่สามารถลงมติให้คดีใดเป็นคดีพิเศษได้ นอกจากนั้นยังมีการพยายามวิ่งเต้นกับทางกองทัพอีกด้วย ...
นายสุนัย มโนมัยอุดม อดีตอธิบดีดีเอสไอ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า จะนำคดีบุกรุกป่าสบกกเข้าพิจารณาในคณะกรรมการ ฯอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 3 ตุลาคม 2550 ซึ่งเป็นการประชุมภายหลังจากนายอมรพันธ์ ฯ ถูกย้ายไปแล้ว เมื่อคณะกรรมการ ฯ มีมติให้คดีบุกรุกป่าสบกกเป็นคดีพิเศษแล้ว นายภิญโญ ทองชัย รองอธิบดีดีเอสไอ ได้เดินทางเข้าพบนายปรีชา กมลบุตร อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เพื่อรับมอบสำนวนคดีที่ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ภายหลังรับมอบสำนวนเสร็จเรียบร้อยไม่นานนัก ได้มีคำสั่งเด้งนางวันดี อินทร ปลัดอาวุโส อ.เชียงแสน ในฐานะหัวหน้าทีมสอบสวนคดีรุกป่าสบกกไปประจำการที่ อ.ป่าแดด จ.เชียงราย ซึ่งเป็นพื้นที่ปกครองขนาดเล็กกว่า อ.เชียงแสน มิหนำซ้ำยังเป็นพื้นที่ติดกับ อ.พาน จ.เชียงราย ที่มีผู้นำท้องถิ่นที่อยู่ในข่ายอาจถูกออกหมายจับในคดีบุกรุกป่าสบกก..เหมือนกับมีเจตนาจงใจส่งนางวันดี ให้ไปตายเร็วขึ้น และรายล่าสุดที่ถูกย้ายก็คือ นายปรีชา กมลบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ที่กลายเป็นอดีตผู้ว่า ฯ ไปแล้ว ... นี่คือพิษสงของคดีบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติป่าสบกก จ.เชียงราย
หลังจากดีเอสไอ เข้าสืบสวนสอบสวนคดีแล้ว พฤติกรรมการข่มขู่ยังคงมีอยู่ และมีการพยายามวิ่งเต้นเรื่องคดีอยู่ตลอดเวลา แม้กระทั่งความพยายามที่จะให้เปลี่ยนตัวนายภิญโญ ทองชัย รองอธิบดีดีเอสไอ หัวหน้าพนักงานสอบสวน และ พ.อ.ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ พนักงานสอบสวนที่รับผิดชอบคดีนี้ ซึ่งทั้งสองคนมีความตั้งใจมุ่งมั่นที่จะคลี่คลายคดีนี้เพื่อนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมายให้จงได้ แม้จะพบกับอุปสรรคหนักหนาเพียงใดก็ตาม ... เท่าที่ทราบจากการแถลงข่าวครั้งสุดท้ายเกี่ยวกับความคืบหน้าในคดีบุกรุกป่าสบกก น่าจะสรุปสำนวนได้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2551 แล้ว แต่นี่เวลาก็ผ่านพ้นไปถึง 5 เดือน แล้ว ก็ยังไม่สามารถสรุปสำนวนส่งพนักงานอัยการได้ ...
ไม่ทราบว่าถูกใครบางคนดึงคดีให้ล่าช้าหรือถูกกดดันจากใครบางคน อย่างไรบ้างหรือไม่ เพราะทราบข้อมูลในทางลึกมาว่า หนึ่งในผู้ต้องหาสำคัญนั้น รู้จักและเป็นเพื่อนกับผู้บริหารระดับสูงคนหนึ่งของดีเอสไอ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ ที่ชื่อ “สมชาย” ก็มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้บริหารระดับสูงคนดังกล่าวด้วย ...หนักใจแทนนายภิญโญ และ พ.อ.ปิยะวัฒก์ จริงๆ
แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าทั้งสองจะสามารถฟันฝ่าอุปสรรคขวากหนามไปได้คดี “บุกรุกป่าสงวนแห่งชาติป่าสบกก” คงเป็นบทพิสูจน์บทแรกของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อธิบดีดีเอสไอ ว่า จะสามารถดำเนินคดีกับผู้บุกรุกและทำลายทรัพยากรป่าไม้ที่มีนายทุนเป็นผู้อยู่เบื้องหลังได้หรือไม่ ...
ไม่แน่ว่าคดีนี้อาจมีนักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่หรือผู้มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลังการบุกรุกป่าสบกกด้วยก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าดีเอสไอ จะหาพยานหลักฐานให้ไปถึงได้หรือไม่ ...
คงต้องตระหนักว่า ปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ และการทำลายทรัพยากรป่าไม้ ขณะนี้รัฐบาลกำหนดให้เป็น “วาระแห่งชาติ” แล้ว .. บรรดาผู้ที่บุกรุกที่ดินของรัฐก็ดี ผู้บุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ก็ดี ล้วนเป็นพวกเสียชาติเกิด เพราะหากินด้วยการเบียดเบียนเพื่อนร่วมชาติด้วยกันเอง พวกเสียชาติเกิดดังกล่าว มิใช่แต่เพียงนายทุน นักการเมือง หรือกลุ่มผู้มีอิทธิพลที่บุกรุกที่ดินและทำลายป่าเท่านั้น แต่ยังหมายความรวมถึงข้าราชการทุกคนที่รู้เห็นเป็นใจ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ และช่วยเหลือผู้กระทำผิดด้วยการมีผลประโยชน์แลกเปลี่ยน ปล่อยให้นายทุน นักการเมือง หรือกลุ่มผู้มีอิทธิพล บุกรุกที่ดินของรัฐและตัดไม้ทำลายทรัพยากรป่าไม้ แล้วเข้าครอบครองสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จนรัฐและประชาชนได้รับความเสียหาย พวกข้าราชการที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือผู้ที่กำลังพยายามช่วยเหลือผู้กระทำผิดไม่ว่าด้วยประการใด ๆ ... เห็นว่า “เป็นพวกเสียชาติเกิดด้วยเช่นกัน” ...
ข้าราชการทุกคนเมื่อเกิดมาเป็นข้าของแผ่นดินแล้ว จักต้องรักและหวงแหนแผ่นดิน จักต้องไม่ยอมให้ผู้ใดบุกรุกเอาที่ดินไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว ... หากผู้ใดกระทำบุกรุก หรือยินยอมให้มีการบุกรุก หรือพยายามช่วยเหลือผู้บุกรุก ถือว่า เป็นพวกทรยศต่อแผ่นดิน ...
ดังนั้น ประเทศชาติและประชาชนล้วนฝากความหวังไว้กับดีเอสไอ ที่จะบูรณาการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ และการทำลายทรัพยากรป่าไม้ ที่“ดีเอสไอ”เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ภารกิจนี้ถือเป็นสิ่งท้าทายกรมสอบสวนคดีพิเศษและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องบูรณาการทำงานร่วมกันในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ และการทำลายทรัพยากรป่าไม้ เพราะนายกรัฐมนตรีได้ประกาศให้เวลา 1 ปี ในการสร้างผลงาน
การดำเนินคดีความผิดทางอาญาเกี่ยวกับการบุกรุกที่ดินของรัฐ และการทำลายทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีนายทุน นักการเมือง และผู้มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลังการกระทำความผิด และยากยิ่งต่อการหาพยานหลักฐานไปดำเนินคดีกับบุคคลดังกล่าว
เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยบังคับใช้กฎหมายที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีการบุกรุกและทำลายทรัพยากรธรรมชาติล้วนพบกับอุปสรรคในการสืบสวนสอบสวนคดี โดยผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ของรัฐจะถูกกดดันจากนายทุน นักการเมือง และผู้มีอิทธิพลดังกล่าว เพื่อขอให้ยุติเรื่องหรือให้ความช่วยเหลือในการสั่งไม่ฟ้อง ฯลฯ และยังถูกข่มขู่ด้วยการโยกย้ายออกนอกพื้นที่ นับเป็นการทำลายขวัญกำลังใจเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจจะดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดและนำที่ดินคืนให้กับรัฐ
แต่อย่างไรก็ตามยังมีเจ้าหน้าที่ของรัฐบางส่วนที่ยอมตกเป็นเครื่องมือของนายทุน นักการเมือง และผู้มีอิทธิพลที่มีอำนาจเงินและอำนาจทางการเมือง ด้วยการยอมให้ความช่วยเหลือทุกวิถีทางจะด้วยความกลัวถูกโยกย้ายตามคำขู่ก็ดี หรือจะด้วยเห็นแก่ประโยชน์ที่ผู้กระทำผิดเสนอให้ก็ดี นับเป็นสิ่งที่น่าอับอายและอัปยศอดสูยิ่งนัก กับการให้ความช่วยเหลือบุคคลเหล่านั้นทั้ง ๆ ที่รู้ว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นแล้ว การไม่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ในการเอาที่ดินคืนให้แก่รัฐนอกจะเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือเพื่อช่วยเหลือผู้กระทำผิดไม่ให้รับโทษก็ตามแล้ว น่าจะถือว่าเป็นผู้คิดคดทรยศต่อแผ่นดินด้วย เพราะยอมให้ผู้อื่นเอาที่ดินของรัฐไป แม้จะเป็นคนไทยด้วยกันก็ตาม
คดีการบุกรุกที่ดินของรัฐที่อยู่ในความรับผิดชอบของดีเอสไอ มีเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นคดีการบุกรุกที่ดินที่จังหวัดตราด กระบี่ พังงา ภูเก็ต เชียงราย บางคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นศาล บางคดีก็ส่งสำนวนให้พนักงานอัยการแล้ว บางคดีก็ส่งให้ ป.ป.ช.และที่ยังค้างอยู่ที่ดีเอสไอ ก็ยังมีอีกหลายคดี เช่น การบุกรุกที่ดินที่เกาะยาว การบุกรุกที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าสบกก จังหวัดเชียงราย และการบุกรุกที่ดินบริเวณอ่าวนาง จังหวัดกระบี่ เป็นต้น คดีพิเศษดังกล่าวล้วนมีนายทุน นักการเมือง หรือผู้มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลังทั้งสิ้น
เป็นที่แน่นอนว่า ... การทำคดีคงมิได้เป็นไปด้วยความราบรื่นง่ายดายนัก ขอย้อนไปเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2550 เจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการป้องกันและรักษาป่า จ.เชียงราย ได้เข้าตรวจยึดรถแบคโฮ จำนวน 9 คัน รถเทลเรอร์สำหรับบรรทุกรถแบคโฮ จำนวน 3 คัน ไม้กระยาเลยท่อนจำนวน 8 ท่อน เสารั้วคอนกรีตจำนวน 206 ต้น จากกลุ่มบุคคลที่เข้าไปบุกรุกที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าสบกกฝั่งขวา บ้านห้วยข่อยหร่อย หมู่ 12 ต.บ้านแซว อ.เชียงแสน จ.เชียงราย จำนวนพื้นที่ที่ถูกบุกรุกทั้งสิ้นจำนวน 918 ไร่ ต่อมานายอมรพันธุ์ นิมานันท์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้ตั้งคณะพนักงานสอบสวนของจังหวัดที่มีนางวันดี อินทร ปลัดอำเภอ หัวหน้าฝ่ายบริหารงานปกครอง เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน ได้พบหลักฐานว่าคดีนี้มีบริษัทนายทุนต่างชาติอยู่เบื้องหลังการกระทำความผิด โดยมีการวางแผนเป็นขั้นเป็นตอนเริ่มตั้งแต่การซื้อที่ดินโดยให้นายหน้าเข้าไปกว้านซื้อที่ดินจากราษฎรที่เข้าไปบุกรุกที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าสบกกฝั่งขวา
จากนั้นได้ใช้จ้างวานให้กลุ่มเจ้าของรถที่ถูกยึดรถเป็นของกลางไว้แล้ว ร่วมกันทำการแผ้วถางทำลายป่า เข้ายึดถือ ครอบครองป่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่น ทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติป่าสบกกฝั่งขวา ระหว่างการสืบสวนสอบสวนมีการข่มขู่คุกคามด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา โดยเฉพาะการขู่ว่าจะโยกย้ายออกนอกพื้นที่ และก่อนส่งมอบเรื่องให้ดีเอสไอ ดำเนินการต่อ นายอมรพันธุ์ นิมานันท์ ถูกย้ายพ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ในขณะเดียวกันก็มีความพยายามยับยั้งไม่ให้ดีเอสไอ เข้าไปดำเนินการในเรื่องนี้ โดยอ้างว่าได้ติดต่อผู้ใหญ่ทางดีเอสไอ ไว้แล้วโดยผ่านทางเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ ชื่อ “สมชาย” ซึ่งมีภรรยาเป็นพนักงานอัยการอยู่ที่จังหวัดหนึ่งทางภาคกลาง จะเป็นจริงหรือไม่เพียงใดไม่ทราบ แต่เท่าที่ทราบมาก็คือ ในการประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษครั้งแรกที่ได้นำเรื่องคดีบุกรุกป่าสบกกเข้าพิจารณาขออนุมัติเป็นคดีพิเศษนั้น ปรากฏว่า กรรมการมาประชุมไม่ครบองค์คณะ ไม่สามารถลงมติให้คดีใดเป็นคดีพิเศษได้ นอกจากนั้นยังมีการพยายามวิ่งเต้นกับทางกองทัพอีกด้วย ...
นายสุนัย มโนมัยอุดม อดีตอธิบดีดีเอสไอ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า จะนำคดีบุกรุกป่าสบกกเข้าพิจารณาในคณะกรรมการ ฯอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 3 ตุลาคม 2550 ซึ่งเป็นการประชุมภายหลังจากนายอมรพันธ์ ฯ ถูกย้ายไปแล้ว เมื่อคณะกรรมการ ฯ มีมติให้คดีบุกรุกป่าสบกกเป็นคดีพิเศษแล้ว นายภิญโญ ทองชัย รองอธิบดีดีเอสไอ ได้เดินทางเข้าพบนายปรีชา กมลบุตร อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เพื่อรับมอบสำนวนคดีที่ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ภายหลังรับมอบสำนวนเสร็จเรียบร้อยไม่นานนัก ได้มีคำสั่งเด้งนางวันดี อินทร ปลัดอาวุโส อ.เชียงแสน ในฐานะหัวหน้าทีมสอบสวนคดีรุกป่าสบกกไปประจำการที่ อ.ป่าแดด จ.เชียงราย ซึ่งเป็นพื้นที่ปกครองขนาดเล็กกว่า อ.เชียงแสน มิหนำซ้ำยังเป็นพื้นที่ติดกับ อ.พาน จ.เชียงราย ที่มีผู้นำท้องถิ่นที่อยู่ในข่ายอาจถูกออกหมายจับในคดีบุกรุกป่าสบกก..เหมือนกับมีเจตนาจงใจส่งนางวันดี ให้ไปตายเร็วขึ้น และรายล่าสุดที่ถูกย้ายก็คือ นายปรีชา กมลบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ที่กลายเป็นอดีตผู้ว่า ฯ ไปแล้ว ... นี่คือพิษสงของคดีบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติป่าสบกก จ.เชียงราย
หลังจากดีเอสไอ เข้าสืบสวนสอบสวนคดีแล้ว พฤติกรรมการข่มขู่ยังคงมีอยู่ และมีการพยายามวิ่งเต้นเรื่องคดีอยู่ตลอดเวลา แม้กระทั่งความพยายามที่จะให้เปลี่ยนตัวนายภิญโญ ทองชัย รองอธิบดีดีเอสไอ หัวหน้าพนักงานสอบสวน และ พ.อ.ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ พนักงานสอบสวนที่รับผิดชอบคดีนี้ ซึ่งทั้งสองคนมีความตั้งใจมุ่งมั่นที่จะคลี่คลายคดีนี้เพื่อนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมายให้จงได้ แม้จะพบกับอุปสรรคหนักหนาเพียงใดก็ตาม ... เท่าที่ทราบจากการแถลงข่าวครั้งสุดท้ายเกี่ยวกับความคืบหน้าในคดีบุกรุกป่าสบกก น่าจะสรุปสำนวนได้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2551 แล้ว แต่นี่เวลาก็ผ่านพ้นไปถึง 5 เดือน แล้ว ก็ยังไม่สามารถสรุปสำนวนส่งพนักงานอัยการได้ ...
ไม่ทราบว่าถูกใครบางคนดึงคดีให้ล่าช้าหรือถูกกดดันจากใครบางคน อย่างไรบ้างหรือไม่ เพราะทราบข้อมูลในทางลึกมาว่า หนึ่งในผู้ต้องหาสำคัญนั้น รู้จักและเป็นเพื่อนกับผู้บริหารระดับสูงคนหนึ่งของดีเอสไอ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ ที่ชื่อ “สมชาย” ก็มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้บริหารระดับสูงคนดังกล่าวด้วย ...หนักใจแทนนายภิญโญ และ พ.อ.ปิยะวัฒก์ จริงๆ
แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าทั้งสองจะสามารถฟันฝ่าอุปสรรคขวากหนามไปได้คดี “บุกรุกป่าสงวนแห่งชาติป่าสบกก” คงเป็นบทพิสูจน์บทแรกของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อธิบดีดีเอสไอ ว่า จะสามารถดำเนินคดีกับผู้บุกรุกและทำลายทรัพยากรป่าไม้ที่มีนายทุนเป็นผู้อยู่เบื้องหลังได้หรือไม่ ...
ไม่แน่ว่าคดีนี้อาจมีนักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่หรือผู้มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลังการบุกรุกป่าสบกกด้วยก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าดีเอสไอ จะหาพยานหลักฐานให้ไปถึงได้หรือไม่ ...
คงต้องตระหนักว่า ปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ และการทำลายทรัพยากรป่าไม้ ขณะนี้รัฐบาลกำหนดให้เป็น “วาระแห่งชาติ” แล้ว .. บรรดาผู้ที่บุกรุกที่ดินของรัฐก็ดี ผู้บุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ก็ดี ล้วนเป็นพวกเสียชาติเกิด เพราะหากินด้วยการเบียดเบียนเพื่อนร่วมชาติด้วยกันเอง พวกเสียชาติเกิดดังกล่าว มิใช่แต่เพียงนายทุน นักการเมือง หรือกลุ่มผู้มีอิทธิพลที่บุกรุกที่ดินและทำลายป่าเท่านั้น แต่ยังหมายความรวมถึงข้าราชการทุกคนที่รู้เห็นเป็นใจ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ และช่วยเหลือผู้กระทำผิดด้วยการมีผลประโยชน์แลกเปลี่ยน ปล่อยให้นายทุน นักการเมือง หรือกลุ่มผู้มีอิทธิพล บุกรุกที่ดินของรัฐและตัดไม้ทำลายทรัพยากรป่าไม้ แล้วเข้าครอบครองสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จนรัฐและประชาชนได้รับความเสียหาย พวกข้าราชการที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือผู้ที่กำลังพยายามช่วยเหลือผู้กระทำผิดไม่ว่าด้วยประการใด ๆ ... เห็นว่า “เป็นพวกเสียชาติเกิดด้วยเช่นกัน” ...
ข้าราชการทุกคนเมื่อเกิดมาเป็นข้าของแผ่นดินแล้ว จักต้องรักและหวงแหนแผ่นดิน จักต้องไม่ยอมให้ผู้ใดบุกรุกเอาที่ดินไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว ... หากผู้ใดกระทำบุกรุก หรือยินยอมให้มีการบุกรุก หรือพยายามช่วยเหลือผู้บุกรุก ถือว่า เป็นพวกทรยศต่อแผ่นดิน ...
ดังนั้น ประเทศชาติและประชาชนล้วนฝากความหวังไว้กับดีเอสไอ ที่จะบูรณาการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ และการทำลายทรัพยากรป่าไม้ ที่“ดีเอสไอ”เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว