ตำรวจแสนดีจัดฉากให้ข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการเข้าแจ้งความต่อตำรวจ สน.ดุสิต กรณีที่พันธมิตรฯ ปิดถนนชุมนุมต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยออกวิทยุสื่อสารแจ้งให้สื่อมวลชนไปทำข่าวที่กลุ่มข้าราชการดังกล่าวจะเข้าแจ้งความ
วันนี้ (28 พ.ค.) เมื่อเวลา 15.30 น.ที่ สน.ดุสิต นายบำเหน็จ ทิพย์อักษร อายุ 55 ปี อยู่บ้านเลขที่ 19 ต.ทรัพย์พระยา อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู และบุคคลากรทางการศึกษา (สกสค.) กระทรวงศึกษาธิการ พร้อมข้าราชการประมาณ 10 คน เดินทางเข้าพบ พ.ต.ท.เอกพล ทวิชวงศ์ชัยกุล พนักงานสอบสวน (สบ.2) สน.ดุสิต เพื่อแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษให้ทางตำรวจประสานงานให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ชุมนุมคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่บริเวณถนนราชดำเนินหน้าสำนักงานองค์การสหประชาชาติ ย้ายการชุมนุมจากบนถนนราชดำเนินให้ไปอยู่ที่อื่น เนื่องจากข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ นายบำเหน็จได้นำรายชื่อข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการที่ได้รับผลกระทบต่อการปิดถนนของกลุ่มพันธมิตรฯ จำนวน 143 คน มามอบให้พนักงานสอบสวนไว้เป็นหลักฐาน
นายบำเหน็จให้การว่า ในวันนี้มาแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษให้ทางตำรวจ สน.ดุสิต ประสานกับกลุ่มพันธมิตรฯ ให้ย้ายออกจากถนนราชดำเนิน เนื่องจากทางข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการจำนวนมากได้รับความเดือดร้อนจากการจราจรติดขัด โดยตนได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากปกติจะเข้ากระทรวงฯ ทางด้านประตูด้านหน้า ถนนราชดำเนิน แต่หลังจากมีการชุมนุม ประตูปิด ต้องไปเข้าทางประตูถนนราชสีมาแทน อีกทั้งเมื่อจะไปติดต่อราชการที่ทำเนียบรัฐบาล จากเดิมที่เคยขับรถออกไปทางประตูหน้าได้นั้น ในวันนี้ต้องเดินเลาะคลองไปจนถึงทำเนียบฯ โดยเฉพาะเมื่อวานนี้ (27 พ.ค.) ต้องเดินไปกลับประมาณ 3-4 เที่ยว สร้างปัญหาให้กับตนเป็นอย่างมาก อีกทั้งทุกวันนี้ก็ต้องตื่นแต่เช้า เพราะบ้านอยู่คลอง 4 ทุกวันนี้ ต้องเผื่อเวลาออกจากบ้านตั้งแต่ตี 4 และต้องใช้เวลามาถึงที่ทำงานประมาณช่วง 06.00 น. ซึ่งหากออกล่าช้ากว่านั้น การจราจรบริเวณดังกล่าวจะติดขัดเป็นอย่างมาก จากเดิมที่เคยออกจากบ้านได้ช่วง 06.00 น.และมาถึงที่ทำงานโดยใช้เวลาเพียง 1 ชม.เท่านั้นก็เข้าทำงานได้แล้ว
นาายบำเหน็จ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ บรรดาลูกน้องอีกหลายคนที่มาทำงานสายเนื่องจากรถประจำทางต้องอ้อมไปอีกทาง และใครมาตอกบัตรเกินเวลา 08.30 น.ก็ต้องชี้แจง จึงสร้างความเดือดร้อนให้ข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการเป็นอย่างมาก
“ผมเองไม่ขัดข้องที่กลุ่มพันธมิตรฯ จะเรียกร้องในการต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นสิทธิ แต่น่าจะอยู่ในพื้นฐานที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ใคร โดยส่วนตัวผมเป็นคนชอบเรื่องประชาธิปไตย และตอนนี้ประชาชนก็รู้แล้วว่ามีการชุมนุมดังกล่าว แต่ประชาชนก็น่าจะรู้ดีว่าควรจะแก้ไขหรือไม่ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมก็เป็นปัญญาชนกันแล้ว น่าจะรู้ว่า อะไรที่ทำให้คนอื่นต้องเดือดร้อน ซึ่งผมอยากให้กลุ่มผู้ชุมนุมย้ายไปอยู่บริเวณไหนก็ได้ แต่อย่ากีดขวางการจราจร ไม่ใช่ปิดถนนแบบนี้” นายบำเหน็จกล่าว
ด้าน พ.ต.ท.เอกพล กล่าวว่า เบื้องต้นได้รับแจ้งความและลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานแล้ว จากนั้นจะนำเรื่องเสนอผู้บังคับบัญชาให้เป็นผู้พิจารณาต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าในคดีที่นายบำเหน็จนำข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการเข้าแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน สน.ดุสิต ในวันนี้นั้น ทางศูนย์วิทยุกรุงเทพของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ศูนย์วิทยุพระนคร ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และศูนย์วิทยุพระราม 9 ได้ออกวิทยุสื่อสารแจ้งให้สื่อมวลชนทราบว่า “ศูนย์วิทยุได้รับแจ้งจาก พ.ต.ท.พิพัฒน์ บุญพิทักษ์ สว.ฝอ.บก.อก.บช.น. หรือสารวัตรประชาสัมพันธ์ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) แจ้งว่าในวันนี้ เวลา 15.30 น.จะมีตัวแทนจากข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการที่ได้รับผลกระทบด้านการจราจรจากการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ เข้าแจ้งความที่ สน.ดุสิต หากสื่อมวลชนใดไม่ติดว.29 (ไม่ติดราชการ หรืองานอื่น) และต้องการ ว.8 (รายละเอียด) ให้เดินทางไปที่ สน.ดุสิต ในเวลานี้” ทั้งนี้ ข้อความดังกล่าวได้ออกวิทยุสื่อสารแจ้งต่อสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ถึง 2 รอบ
มีรายงานจากกองบัญชาการตำรวจนครบาลแจ้งว่า การออกวิทยุสื่อสารให้สื่อมวลชนไปทำข่าวที่ สน.ดุสิต ในครั้งนี้ ทาง พ.ต.ท.พิพัฒน์ ได้รับคำสั่งมาจากนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ให้ดำเนินการอีกชั้นหนึ่ง อีกทั้งการแจ้งทางวิทยุสื่อสารดังกล่าวได้แจ้งก่อนเวลาที่นายบำเหน็จจะเดินทางไปแจ้งความด้วย ซึ่งตามปกติแผนกประชาสัมพันธ์ของ บช.น.จะออกวิทยุสื่อสารแจ้งสื่อมวลชนต่อกรณีที่ “นาย” จะแถลงข่าว หรือออกตรวจตราสถานที่ต่างๆ ยังไม่เคยปรากฏว่า แผนกประชาสัมพันธ์ บช.น. จะออกวิทยุสื่อสารในลักษณะที่เกิดขึ้นว่าใครจะไปแจ้งความในเวลานั้นเวลานี้เป็นต้น
วันนี้ (28 พ.ค.) เมื่อเวลา 15.30 น.ที่ สน.ดุสิต นายบำเหน็จ ทิพย์อักษร อายุ 55 ปี อยู่บ้านเลขที่ 19 ต.ทรัพย์พระยา อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู และบุคคลากรทางการศึกษา (สกสค.) กระทรวงศึกษาธิการ พร้อมข้าราชการประมาณ 10 คน เดินทางเข้าพบ พ.ต.ท.เอกพล ทวิชวงศ์ชัยกุล พนักงานสอบสวน (สบ.2) สน.ดุสิต เพื่อแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษให้ทางตำรวจประสานงานให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ชุมนุมคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่บริเวณถนนราชดำเนินหน้าสำนักงานองค์การสหประชาชาติ ย้ายการชุมนุมจากบนถนนราชดำเนินให้ไปอยู่ที่อื่น เนื่องจากข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ นายบำเหน็จได้นำรายชื่อข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการที่ได้รับผลกระทบต่อการปิดถนนของกลุ่มพันธมิตรฯ จำนวน 143 คน มามอบให้พนักงานสอบสวนไว้เป็นหลักฐาน
นายบำเหน็จให้การว่า ในวันนี้มาแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษให้ทางตำรวจ สน.ดุสิต ประสานกับกลุ่มพันธมิตรฯ ให้ย้ายออกจากถนนราชดำเนิน เนื่องจากทางข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการจำนวนมากได้รับความเดือดร้อนจากการจราจรติดขัด โดยตนได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากปกติจะเข้ากระทรวงฯ ทางด้านประตูด้านหน้า ถนนราชดำเนิน แต่หลังจากมีการชุมนุม ประตูปิด ต้องไปเข้าทางประตูถนนราชสีมาแทน อีกทั้งเมื่อจะไปติดต่อราชการที่ทำเนียบรัฐบาล จากเดิมที่เคยขับรถออกไปทางประตูหน้าได้นั้น ในวันนี้ต้องเดินเลาะคลองไปจนถึงทำเนียบฯ โดยเฉพาะเมื่อวานนี้ (27 พ.ค.) ต้องเดินไปกลับประมาณ 3-4 เที่ยว สร้างปัญหาให้กับตนเป็นอย่างมาก อีกทั้งทุกวันนี้ก็ต้องตื่นแต่เช้า เพราะบ้านอยู่คลอง 4 ทุกวันนี้ ต้องเผื่อเวลาออกจากบ้านตั้งแต่ตี 4 และต้องใช้เวลามาถึงที่ทำงานประมาณช่วง 06.00 น. ซึ่งหากออกล่าช้ากว่านั้น การจราจรบริเวณดังกล่าวจะติดขัดเป็นอย่างมาก จากเดิมที่เคยออกจากบ้านได้ช่วง 06.00 น.และมาถึงที่ทำงานโดยใช้เวลาเพียง 1 ชม.เท่านั้นก็เข้าทำงานได้แล้ว
นาายบำเหน็จ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ บรรดาลูกน้องอีกหลายคนที่มาทำงานสายเนื่องจากรถประจำทางต้องอ้อมไปอีกทาง และใครมาตอกบัตรเกินเวลา 08.30 น.ก็ต้องชี้แจง จึงสร้างความเดือดร้อนให้ข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการเป็นอย่างมาก
“ผมเองไม่ขัดข้องที่กลุ่มพันธมิตรฯ จะเรียกร้องในการต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นสิทธิ แต่น่าจะอยู่ในพื้นฐานที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ใคร โดยส่วนตัวผมเป็นคนชอบเรื่องประชาธิปไตย และตอนนี้ประชาชนก็รู้แล้วว่ามีการชุมนุมดังกล่าว แต่ประชาชนก็น่าจะรู้ดีว่าควรจะแก้ไขหรือไม่ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมก็เป็นปัญญาชนกันแล้ว น่าจะรู้ว่า อะไรที่ทำให้คนอื่นต้องเดือดร้อน ซึ่งผมอยากให้กลุ่มผู้ชุมนุมย้ายไปอยู่บริเวณไหนก็ได้ แต่อย่ากีดขวางการจราจร ไม่ใช่ปิดถนนแบบนี้” นายบำเหน็จกล่าว
ด้าน พ.ต.ท.เอกพล กล่าวว่า เบื้องต้นได้รับแจ้งความและลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานแล้ว จากนั้นจะนำเรื่องเสนอผู้บังคับบัญชาให้เป็นผู้พิจารณาต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าในคดีที่นายบำเหน็จนำข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการเข้าแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน สน.ดุสิต ในวันนี้นั้น ทางศูนย์วิทยุกรุงเทพของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ศูนย์วิทยุพระนคร ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และศูนย์วิทยุพระราม 9 ได้ออกวิทยุสื่อสารแจ้งให้สื่อมวลชนทราบว่า “ศูนย์วิทยุได้รับแจ้งจาก พ.ต.ท.พิพัฒน์ บุญพิทักษ์ สว.ฝอ.บก.อก.บช.น. หรือสารวัตรประชาสัมพันธ์ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) แจ้งว่าในวันนี้ เวลา 15.30 น.จะมีตัวแทนจากข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการที่ได้รับผลกระทบด้านการจราจรจากการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ เข้าแจ้งความที่ สน.ดุสิต หากสื่อมวลชนใดไม่ติดว.29 (ไม่ติดราชการ หรืองานอื่น) และต้องการ ว.8 (รายละเอียด) ให้เดินทางไปที่ สน.ดุสิต ในเวลานี้” ทั้งนี้ ข้อความดังกล่าวได้ออกวิทยุสื่อสารแจ้งต่อสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ถึง 2 รอบ
มีรายงานจากกองบัญชาการตำรวจนครบาลแจ้งว่า การออกวิทยุสื่อสารให้สื่อมวลชนไปทำข่าวที่ สน.ดุสิต ในครั้งนี้ ทาง พ.ต.ท.พิพัฒน์ ได้รับคำสั่งมาจากนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ให้ดำเนินการอีกชั้นหนึ่ง อีกทั้งการแจ้งทางวิทยุสื่อสารดังกล่าวได้แจ้งก่อนเวลาที่นายบำเหน็จจะเดินทางไปแจ้งความด้วย ซึ่งตามปกติแผนกประชาสัมพันธ์ของ บช.น.จะออกวิทยุสื่อสารแจ้งสื่อมวลชนต่อกรณีที่ “นาย” จะแถลงข่าว หรือออกตรวจตราสถานที่ต่างๆ ยังไม่เคยปรากฏว่า แผนกประชาสัมพันธ์ บช.น. จะออกวิทยุสื่อสารในลักษณะที่เกิดขึ้นว่าใครจะไปแจ้งความในเวลานั้นเวลานี้เป็นต้น