“สุวณา” เผย “ยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที” เหยื่อถูกหินปาหัวแตกสามารถใช้สิทธิยื่นขอรับเงินช่วยเหลือจากกรมคุ้มครองสิทธิฯได้ เพราะเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา ถูกทำร้ายร่างกายโดยไม่ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทะเลาะวิวาท ขณะเดียวกันพร้อมดูแลผู้ชุมนุมที่ไม่ร่วมก่อเหตุทะเลาะวิวาท ยัน พร้อมผลักดันตั้งศูนย์จัดการความขัดแย้ง เพื่อช่วยเยียวยาผู้เสียหายจากคดีอาญาต่อไป
วันนี้ (27 พ.ค.) นางสุวณา สุวรรณจูฑะ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณี นายยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที พิธีกรของเอเอสทีวี ถูกกลุ่มผู้ต่อต้านการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯขว้างหินถูกศีรษะแตกเลือดอาบ ว่า เบื้องต้นจากข้อมูลที่ได้รับทราบจากข่าวประเมินได้ว่า นายยุทธิยง เป็นผู้เสียหายในคดีอาญา เพราะถูกทำร้ายร่างกายโดยไม่ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทะเลาะวิวาท ดังนั้น นายยุทธิยง สามารถใช้สิทธิยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือจากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้
อย่างไรก็ตาม คดีดังกล่าวเป็นคดีทำร้ายร่างกาย จะต้องรอให้พนักงานสอบสวน สรุปสำนวนคดีและสืบสวนนำตัวคนร้ายมาดำเนินคดี จากนั้นคณะกรรมการพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือจะร่วมกันวิเคราะห์ว่า นายยุทธิยง ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุทะเลาะวิวาทจริงหรือไม่
สำหรับความขัดแย้งในการแสดงความเห็นทางการเมืองที่มีอยู่ในขณะนี้ แม้จะเป็นสิทธิที่ประชาชนสามารถแสดงออก ซึ่งเป็นความคิดเห็นของแต่ละคนได้อย่างเสรี แต่ไม่มีฝ่ายใดมีสิทธิจะทำร้ายร่างกายหรือทำละเมิดผู้อื่น หากมีการชุมนุมโดยสงบ มีผู้ขึ้นปราศรัยบนเวที ถูกขว้างปาสิ่งของใส่จนกระทั่งได้รับบาดเจ็บ ก็มีสิทธิตามกฎหมายที่จะร้องขอค่าชดเชยจากรัฐ ในฐานะเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาได้
สำหรับการช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายจากคดีอาญา และการให้ความรู้เรื่องสิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนไม่ให้เกิดการทำละเมิด กรมคุ้มครองสิทธิฯ เตรียมที่จะจัดตั้งศูนย์คุ้มครองสิทธิ ซึ่งศูนย์นี้จะว่าจ้างบุคลากรภายนอกเข้ามาบริหารงานศูนย์ มีภารกิจเป็นศูนย์จัดการความขัดแย้ง โดยจะใช้วิธีสรรหาผู้จัดการศูนย์ และให้ผู้จัดการศูนย์วางแผนบริหารจัดการศูนย์คุ้มครองสิทธินี้ ให้เข้าจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในกรณีต่างๆได้ทันท่วงที
ทั้งนี้ เดิมกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ มีการตั้งทีมเคลื่อนที่เร็ว 24 ชั่วโมง เพื่อเข้าช่วยเหลือผู้เสียหายในคดีอาญาได้รวดเร็ว แต่ผลการทำงานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ตนจึงคิดโครงการจัดตั้งศูนย์คุ้มครองสิทธิขึ้น เพื่อให้การช่วยเหลือและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิของตนเองและการไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น เป็นไปอย่างกว้างขวาง เบื้องต้นกำหนดระยะเวลาดำเนินงานของศูนย์คุ้มครองสิทธิ 2 ปี
วันนี้ (27 พ.ค.) นางสุวณา สุวรรณจูฑะ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณี นายยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที พิธีกรของเอเอสทีวี ถูกกลุ่มผู้ต่อต้านการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯขว้างหินถูกศีรษะแตกเลือดอาบ ว่า เบื้องต้นจากข้อมูลที่ได้รับทราบจากข่าวประเมินได้ว่า นายยุทธิยง เป็นผู้เสียหายในคดีอาญา เพราะถูกทำร้ายร่างกายโดยไม่ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทะเลาะวิวาท ดังนั้น นายยุทธิยง สามารถใช้สิทธิยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือจากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้
อย่างไรก็ตาม คดีดังกล่าวเป็นคดีทำร้ายร่างกาย จะต้องรอให้พนักงานสอบสวน สรุปสำนวนคดีและสืบสวนนำตัวคนร้ายมาดำเนินคดี จากนั้นคณะกรรมการพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือจะร่วมกันวิเคราะห์ว่า นายยุทธิยง ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุทะเลาะวิวาทจริงหรือไม่
สำหรับความขัดแย้งในการแสดงความเห็นทางการเมืองที่มีอยู่ในขณะนี้ แม้จะเป็นสิทธิที่ประชาชนสามารถแสดงออก ซึ่งเป็นความคิดเห็นของแต่ละคนได้อย่างเสรี แต่ไม่มีฝ่ายใดมีสิทธิจะทำร้ายร่างกายหรือทำละเมิดผู้อื่น หากมีการชุมนุมโดยสงบ มีผู้ขึ้นปราศรัยบนเวที ถูกขว้างปาสิ่งของใส่จนกระทั่งได้รับบาดเจ็บ ก็มีสิทธิตามกฎหมายที่จะร้องขอค่าชดเชยจากรัฐ ในฐานะเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาได้
สำหรับการช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายจากคดีอาญา และการให้ความรู้เรื่องสิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนไม่ให้เกิดการทำละเมิด กรมคุ้มครองสิทธิฯ เตรียมที่จะจัดตั้งศูนย์คุ้มครองสิทธิ ซึ่งศูนย์นี้จะว่าจ้างบุคลากรภายนอกเข้ามาบริหารงานศูนย์ มีภารกิจเป็นศูนย์จัดการความขัดแย้ง โดยจะใช้วิธีสรรหาผู้จัดการศูนย์ และให้ผู้จัดการศูนย์วางแผนบริหารจัดการศูนย์คุ้มครองสิทธินี้ ให้เข้าจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในกรณีต่างๆได้ทันท่วงที
ทั้งนี้ เดิมกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ มีการตั้งทีมเคลื่อนที่เร็ว 24 ชั่วโมง เพื่อเข้าช่วยเหลือผู้เสียหายในคดีอาญาได้รวดเร็ว แต่ผลการทำงานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ตนจึงคิดโครงการจัดตั้งศูนย์คุ้มครองสิทธิขึ้น เพื่อให้การช่วยเหลือและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิของตนเองและการไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น เป็นไปอย่างกว้างขวาง เบื้องต้นกำหนดระยะเวลาดำเนินงานของศูนย์คุ้มครองสิทธิ 2 ปี