พระลูกวัดมกุฏฯ ฟ้องพระพรหมุนี (จุนท์ พราหมณ์พิทักษ์) รักษาการเจ้าอาวาส ละเว้นหน้าที่ ไม่จับสึก 4 พระลูกวัด จัดสร้างวัตถุมงคล แล้วเอาเงินเข้าย่าม
วันนี้ (10 เม.ย.) ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก พระสกล จิรวํโส, พระนเรศ คุณากโร, พระวทัญญู อธิมนฺติโก พระลูกวัด วัดมกุฎกษัตริยาราม ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พระพรหมุนี (จุนท์ ฉายา พฺรหฺมคุตฺโต นามสกุล พราหมณ์พิทักษ์) รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยราม และรักษาการคณะใหญ่คณะธรรมยุตนิกาย เป็นจำเลยในคดีดำที่ 1343/51 ความผิดฐาน ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปว่า เมื่อประมาณ พ.ศ.2550 ที่ประชุมของสงฆ์วัดมกุฏกษัตริยาราม ในวันปาติโมกข์ หรือ วันที่พระสงฆ์จะทำพิธีสวดทบทวนศีล 227 ข้อ ทุกวันพระขึ้น/แรม 15 ค่ำ ให้วินิจฉัยอธิกรณ์ หรือ อาปัตตาธิกรณ์ อันได้แก่ เหตุ, โทษ, คดี, เรื่องราว ตามพระธรรมวินัยของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากกรณีที่มีพระภิกษุในวัด 4 รูป คือ พระพิศาลมุนี (วรรณณรงค์ ฐิตญาโณ), พระราชวินัยโสภณ (บุญธรรม ปุญญมโย), พระครูสิทธิธรรมมงคล (พระมหาประพันธ์ ปภสฺสโร) และ พระกรกฤษณ์ กมลสุทโธ ที่ประพฤติผิดล่วงละเมิดพระธรรมวินัยข้อ อทินนาทาน อันติมวัตถุ คือ การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แก่ตน
โดยภิกษุทั้ง 4 ร่วมกันจัดสร้าง พระสมเด็จ หลังอัญเชิญพระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก และหลังอัญเชิญพระคาถาชินบัญชรจารึกพิเศษ และจัดสร้างพระเทวราชโพธิสัตว์ จอมจักรพรรดิทะเลใต้ อันเป็น วัตถุมงคลต่างๆ ให้เช่า แล้วไม่นำเงินซึ่งไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน ไปเป็นประโยชน์ส่วนตน และพวกซึ่งพระ 4 รูป ต้องขาดจากการเป็น ภิกษุ ต้องถูกจับสึกจากสมณเพศ ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลย ในการดำเนินการปกครองให้เป็นไปตามพระธรรมวินัย ตามระเบียบข้อบังคับ กฎหมายเถรสมาคม
โดยเฉพาะกรณีนี้ จะต้องมีการวินิจฉัยการลงนิคหกรรม (ชื่อกรรมที่สงฆ์ทำแก่ภิกษุที่ควรปราบปราม เพื่อให้เข็ดหลาบ) ซึ่งจำเลยต้องมีบัญชาออกคำสั่งให้พระ 4 รูป สละสมณเพศ แต่ปัจจุบันบุคคลทั้งสี่ ยังคงแต่งกายเป็นพระภิกษุ มีที่อยู่ และพำนักอาศัยอยู่ในวัดมกุฎกษัตริยาราม โดยไม่มีสิทธิ์ปฏิบัติตนเช่นเดียวกับพระภิกษุของวัดมกุฎกษัตริยาราม และยังคงหาเงินและผลประโยชน์อย่างเป็นขบวนการตลอดมา การที่จำเลยนิ่งเฉย ไม่สนใจควบคุมทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างคณะสงฆ์เป็นสองกลุ่ม แตกแยกจากความสามัคคี ต่างฝ่ายต่างไม่ร่วมลงอุโบสถสังฆกรรมร่วมกัน จนไม่อาจอยู่ร่วมกันในวัดได้อย่างผาสุก
อนึ่งโจทก์ทั้งสามได้ร่วมกันฟ้องจำเลย ก็เพื่อรักษาหลักพระธรรมวินัย เพื่อความสงบเรียบร้อยอันดีงาม ของคณะสงฆ์ เพื่อผดุงพุทธศาสนาให้ยั่งยืนสืบไป ซึ่งโจทก์ไม่มีทางใดที่จะดำเนินการเพื่อรักษาพระพุทธศาสนาที่ประชาชนคนไทยนับถือมากที่สุดไว้ได้แล้ว จึงต้องนำคดีมาสู่ศาลเพื่อขอบารมีศาลเป็นที่พึ่ง
ศาลรับคำฟ้องไว้พิจารณา และนัดไต่สวนมูลฟ้องโจทก์ในวันที่ 9 มิ.ย.นี้ เวลา 09.00
วันนี้ (10 เม.ย.) ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก พระสกล จิรวํโส, พระนเรศ คุณากโร, พระวทัญญู อธิมนฺติโก พระลูกวัด วัดมกุฎกษัตริยาราม ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พระพรหมุนี (จุนท์ ฉายา พฺรหฺมคุตฺโต นามสกุล พราหมณ์พิทักษ์) รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยราม และรักษาการคณะใหญ่คณะธรรมยุตนิกาย เป็นจำเลยในคดีดำที่ 1343/51 ความผิดฐาน ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปว่า เมื่อประมาณ พ.ศ.2550 ที่ประชุมของสงฆ์วัดมกุฏกษัตริยาราม ในวันปาติโมกข์ หรือ วันที่พระสงฆ์จะทำพิธีสวดทบทวนศีล 227 ข้อ ทุกวันพระขึ้น/แรม 15 ค่ำ ให้วินิจฉัยอธิกรณ์ หรือ อาปัตตาธิกรณ์ อันได้แก่ เหตุ, โทษ, คดี, เรื่องราว ตามพระธรรมวินัยของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากกรณีที่มีพระภิกษุในวัด 4 รูป คือ พระพิศาลมุนี (วรรณณรงค์ ฐิตญาโณ), พระราชวินัยโสภณ (บุญธรรม ปุญญมโย), พระครูสิทธิธรรมมงคล (พระมหาประพันธ์ ปภสฺสโร) และ พระกรกฤษณ์ กมลสุทโธ ที่ประพฤติผิดล่วงละเมิดพระธรรมวินัยข้อ อทินนาทาน อันติมวัตถุ คือ การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แก่ตน
โดยภิกษุทั้ง 4 ร่วมกันจัดสร้าง พระสมเด็จ หลังอัญเชิญพระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก และหลังอัญเชิญพระคาถาชินบัญชรจารึกพิเศษ และจัดสร้างพระเทวราชโพธิสัตว์ จอมจักรพรรดิทะเลใต้ อันเป็น วัตถุมงคลต่างๆ ให้เช่า แล้วไม่นำเงินซึ่งไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน ไปเป็นประโยชน์ส่วนตน และพวกซึ่งพระ 4 รูป ต้องขาดจากการเป็น ภิกษุ ต้องถูกจับสึกจากสมณเพศ ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลย ในการดำเนินการปกครองให้เป็นไปตามพระธรรมวินัย ตามระเบียบข้อบังคับ กฎหมายเถรสมาคม
โดยเฉพาะกรณีนี้ จะต้องมีการวินิจฉัยการลงนิคหกรรม (ชื่อกรรมที่สงฆ์ทำแก่ภิกษุที่ควรปราบปราม เพื่อให้เข็ดหลาบ) ซึ่งจำเลยต้องมีบัญชาออกคำสั่งให้พระ 4 รูป สละสมณเพศ แต่ปัจจุบันบุคคลทั้งสี่ ยังคงแต่งกายเป็นพระภิกษุ มีที่อยู่ และพำนักอาศัยอยู่ในวัดมกุฎกษัตริยาราม โดยไม่มีสิทธิ์ปฏิบัติตนเช่นเดียวกับพระภิกษุของวัดมกุฎกษัตริยาราม และยังคงหาเงินและผลประโยชน์อย่างเป็นขบวนการตลอดมา การที่จำเลยนิ่งเฉย ไม่สนใจควบคุมทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างคณะสงฆ์เป็นสองกลุ่ม แตกแยกจากความสามัคคี ต่างฝ่ายต่างไม่ร่วมลงอุโบสถสังฆกรรมร่วมกัน จนไม่อาจอยู่ร่วมกันในวัดได้อย่างผาสุก
อนึ่งโจทก์ทั้งสามได้ร่วมกันฟ้องจำเลย ก็เพื่อรักษาหลักพระธรรมวินัย เพื่อความสงบเรียบร้อยอันดีงาม ของคณะสงฆ์ เพื่อผดุงพุทธศาสนาให้ยั่งยืนสืบไป ซึ่งโจทก์ไม่มีทางใดที่จะดำเนินการเพื่อรักษาพระพุทธศาสนาที่ประชาชนคนไทยนับถือมากที่สุดไว้ได้แล้ว จึงต้องนำคดีมาสู่ศาลเพื่อขอบารมีศาลเป็นที่พึ่ง
ศาลรับคำฟ้องไว้พิจารณา และนัดไต่สวนมูลฟ้องโจทก์ในวันที่ 9 มิ.ย.นี้ เวลา 09.00