เมื่อเอ่ยถึงชื่อของ พล.ต.ต.วิสุทธิ์ วานิชบุตร ผบก.ปศท.(กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี) หลายคนคงคิดถึงผลงานในการปราบปรามซีดีเถื่อน หนังโป๊ ของละเมิดลิขสิทธิ์ จนได้รับฉายา “มือปราบน้องแนท” “มือปราบโป๊เปลือย” ฯลฯ มาแล้ว ในสมัยที่เคยดำรงตำแหน่งเป็น รอง ผบก.ปดส. แม้ว่าในวันนี้จะขึ้นมาเป็น ผบก.ปศท. แต่ก็ยังคงไม่ทิ้งภาพของการเป็นมือปราบและยังคงสร้างกระแสให้สังคมได้ตื่นตัวในผลงานใหม่ในการจับปลาปักเป้า ภัยใกล้ตัวที่ประชาชนหลายคนคาดไม่ถึงอย่างจิงจังและต่อเนื่องจนได้รับฉายาใหม่ว่า “มือปราบปลาปักเป้า”
พล.ต.ต.วิสุทธิ์ บอกว่า รู้สึกภูมิใจกับฉายาใหม่ที่ได้รับเพราะทำให้ประชาชนได้รู้ถึงพิษภัยของเรื่องที่ใกล้ตัว ที่ประชาชนยังไม่ทราบ โดยก่อนที่จะมาจับกุมปลาปักเป้าอย่างจริงจังนั้น ตนก็ไม่ทราบถึงพิษภัยของมันมาก่อนเช่นกัน จนกระทั่งไปจับซีดีเถื่อนที่ ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร จึงพบว่ามีการขนปลาปักเป้าเป็นจำนวนมากเพื่อนำไปแล่ขายให้ประชาชนกิน เมื่อกลับมาจึงได้ศึกษาข้อมูลและพบว่าปลาเหล่านี้เป็นปลาที่ผิดกฎหมายห้ามจำหน่าย และหากบริโภคก็อาจทำให้ตายได้ จึงได้ดำเนินการปราบปรามและจับกุม
“ตามรายงานทางวิชาการปลาปักเป้าเป็นปลาที่มีพิษรุนแรงต่อระบบประสาททำให้ผู้ที่บริโภคกล้ามเนื้อเป็นอัมพาต และมักเสียชีวิต โดยพิษของมันทนความร้อนได้มากว่า 200 องศาเซลเซียส เมื่อนำไปปรุงอาหารพิษจึงไม่สลาย ซึ่งพิษนี้มีอันตรายมากกว่าไซนาไนด์ถึง 1,200 เท่า พิษของปลาปักเป้าเพียงตัวเดียวสามารถฆ่าคนได้ถึง 30 คนทีเดียว อีกทั้งยังไม่มีเซรุ่มแก้พิษได้ จึงถือว่าเป็นอันตรายมากที่มีผู้ลักลอบนำปลาเหล่านี้มาแล่เพื่อเป็นอาหาร หรือแปรรูปเป็นลูกชิ้น ทอดมัน หรือเดี๋ยวนี้ก็พบว่าไปทำปลาร้า และนำไปดัดแปลงทำอาหารได้หลายชนิดหากไม่เข้าไปดูแลจับกุมก็จะมีการลักลอบผลิตอยู่เรื่อยๆ เพราะต้นทุนถูกกว่าปลาชนิดอื่นมาก” พล.ต.ต.วิสุทธิ์ บอกด้วยความเป็นห่วง
พล.ต.ต.วิสุทธิ์ บอกอีกว่า กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ไม่ได้เพียงดูแลเรื่องคดีที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังดูแลในเรื่องของอาหาร ยา และการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ ทางพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ผบ.ตร.ก็ได้กำชับให้ดูแลในเรื่องนี้ เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวประชาชน และหากเรื่องใดที่เกี่ยวกับผู้บริโภคในลักษณะนี้ เราก็ดูแลปราบปรามเช่นกัน ทั้งเครื่องสำอางปลอม ผ้าเบรกปลอม ฯลฯ เราก็จับ เพียงแต่ปลาปักเป้าเป็นเหมือนเรื่องใกล้ตัวที่คนยังไม่ค่อยทราบ การปราบปรามจับกุมจึงเป็นกระแสทำให้ประชาชนตื่นตัว
พล.ต.ต.วิสุทธิ์ ยังเล่าถึงการจับปลาปักเป้าว่า เมื่อถูกนำมาแปรรูปแล้วเป็นเรื่องยากที่จะทราบว่าเป็นเนื้ออะไรเพราะเนื้อปลาปักเป้าที่นำมาแล่หนังออกจนหมดแล้วจะคล้ายกับเนื้อไก่มาก เราเคยไปจับกุมปลาปักเป้าที่แล่แล้วหากไม่พบชิ้นส่วนที่เป็นหนังปลาก็จะไม่รู้เลย ยิ่งเมื่อดัดแปลงไปทำอาหารอย่างอื่น เช่น ลูกชิ้น ทอดมัน ก็จะยิ่งไม่ทราบเลยว่าทำมาจากอะไรการจับกุมจึงยากมากยิ่งขึ้น จึงขอเตือนผู้ที่จะขายให้นึกถึงผู้ที่บริโภคที่อาจได้รับพิษเข้าไปจนถึงตายได้ ซึ่งการเข้ามาจับกุมปราบปรามจึงมีส่วนช่วยอย่างมากในการลดการลักลอบผลิตปลาปักเป้า
ผบก.ปศท. ยังฝากเตือนถึงประชาชนอีกว่า สำหรับผู้ที่มีอาการต่อไปนี้ขอให้ทราบว่าถูกพิษจากการบริโภคปลาปักเป้า ขออย่าให้นิ่งนอนใจว่าเป็นการแพ้อาหารทะเล หรือผงชูรสขอให้รีบไปพบแพทย์เนื่องจากอันตราย คือ 1.มีอาการชาที่หน้า ริมฝีปาก ลิ้น ปลายนิ้วมือ คลื่นไส้อาเจียน 2.ชามากขึ้น แขนขาไม่มีแรง จนยืนหรือเดินไม่ได้ 3.กล้ามเนื้อกระตุกคล้ายชัก เดินเซ พูดไม่ได้เพราะกล่องเสียงเป็นอัมพาต 4.กล้ามเนื้อเป็นอัมพาตหายใจไม่ออก หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องหัวใจจะหยุดเต้นและเสียชีวิตในที่สุด
“นับตั้งแต่เข้ามาทำงานที่ ปศท. เราได้จับกุมปลาปักเป้ามาแล้วประมาณ 20 ครั้ง ครั้งละไม่ต่ำกว่า 2 ตัน บางครั้งถึง 10 ตันก็มี หากไม่มีการกวดขันคาดว่าจะมีเนื้อปลาปักเป้าออกไปสู่ผู้บริโภคไม่ต่ำกว่า 1,000 ตันต่อวัน ซึ่งจะมีทุกที่ ที่มีสะพานปลา พบแหล่งใหญ่ที่ สมุทรสาครและระยอง แม้ว่าการจับกุมจะยากและไม่มีใครอยากทำเพราะว่าต้องทำสำนวนให้เสร็จและทำลายปลาในครึ่งวัน ไม่เช่นนั้นปลาจะเน่า อีกทั้งการทำลายก็ต้องเช่าเมรุตามวัดใกล้ๆ เพื่อเผาหรือกลบฝัง ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง บางครั้งก็ต้องจ่ายเอง แต่ก็รู้สึกดีใจที่มีส่วนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนทราบ และจะปราบปรามอย่างเข้มงวดต่อไป” พล.ต.ต.วิสุทธิ์ กล่าว
ปลาปักเป้าก็ถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนให้ความสนใจมากขึ้น หากไม่มีหน่วยงานเข้ามาดูแลปราบปรามประชาชนที่ไม่ทราบก็อาจต้องเสียชีวิตเพราะพิษของปลาเหล่านี้ เมื่อไปจับกุมดูแลตอนนั้นก็คงสายไปเหมือนวัวหายล้อมคอกเช่นกรณีอื่นๆ ก็ขอสนับสนุนให้ “ผู้การวิสุทธ์” สร้างผลงานปราบปรามเช่นนี้ต่อไป
พล.ต.ต.วิสุทธิ์ บอกว่า รู้สึกภูมิใจกับฉายาใหม่ที่ได้รับเพราะทำให้ประชาชนได้รู้ถึงพิษภัยของเรื่องที่ใกล้ตัว ที่ประชาชนยังไม่ทราบ โดยก่อนที่จะมาจับกุมปลาปักเป้าอย่างจริงจังนั้น ตนก็ไม่ทราบถึงพิษภัยของมันมาก่อนเช่นกัน จนกระทั่งไปจับซีดีเถื่อนที่ ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร จึงพบว่ามีการขนปลาปักเป้าเป็นจำนวนมากเพื่อนำไปแล่ขายให้ประชาชนกิน เมื่อกลับมาจึงได้ศึกษาข้อมูลและพบว่าปลาเหล่านี้เป็นปลาที่ผิดกฎหมายห้ามจำหน่าย และหากบริโภคก็อาจทำให้ตายได้ จึงได้ดำเนินการปราบปรามและจับกุม
“ตามรายงานทางวิชาการปลาปักเป้าเป็นปลาที่มีพิษรุนแรงต่อระบบประสาททำให้ผู้ที่บริโภคกล้ามเนื้อเป็นอัมพาต และมักเสียชีวิต โดยพิษของมันทนความร้อนได้มากว่า 200 องศาเซลเซียส เมื่อนำไปปรุงอาหารพิษจึงไม่สลาย ซึ่งพิษนี้มีอันตรายมากกว่าไซนาไนด์ถึง 1,200 เท่า พิษของปลาปักเป้าเพียงตัวเดียวสามารถฆ่าคนได้ถึง 30 คนทีเดียว อีกทั้งยังไม่มีเซรุ่มแก้พิษได้ จึงถือว่าเป็นอันตรายมากที่มีผู้ลักลอบนำปลาเหล่านี้มาแล่เพื่อเป็นอาหาร หรือแปรรูปเป็นลูกชิ้น ทอดมัน หรือเดี๋ยวนี้ก็พบว่าไปทำปลาร้า และนำไปดัดแปลงทำอาหารได้หลายชนิดหากไม่เข้าไปดูแลจับกุมก็จะมีการลักลอบผลิตอยู่เรื่อยๆ เพราะต้นทุนถูกกว่าปลาชนิดอื่นมาก” พล.ต.ต.วิสุทธิ์ บอกด้วยความเป็นห่วง
พล.ต.ต.วิสุทธิ์ บอกอีกว่า กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ไม่ได้เพียงดูแลเรื่องคดีที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังดูแลในเรื่องของอาหาร ยา และการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ ทางพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ผบ.ตร.ก็ได้กำชับให้ดูแลในเรื่องนี้ เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวประชาชน และหากเรื่องใดที่เกี่ยวกับผู้บริโภคในลักษณะนี้ เราก็ดูแลปราบปรามเช่นกัน ทั้งเครื่องสำอางปลอม ผ้าเบรกปลอม ฯลฯ เราก็จับ เพียงแต่ปลาปักเป้าเป็นเหมือนเรื่องใกล้ตัวที่คนยังไม่ค่อยทราบ การปราบปรามจับกุมจึงเป็นกระแสทำให้ประชาชนตื่นตัว
พล.ต.ต.วิสุทธิ์ ยังเล่าถึงการจับปลาปักเป้าว่า เมื่อถูกนำมาแปรรูปแล้วเป็นเรื่องยากที่จะทราบว่าเป็นเนื้ออะไรเพราะเนื้อปลาปักเป้าที่นำมาแล่หนังออกจนหมดแล้วจะคล้ายกับเนื้อไก่มาก เราเคยไปจับกุมปลาปักเป้าที่แล่แล้วหากไม่พบชิ้นส่วนที่เป็นหนังปลาก็จะไม่รู้เลย ยิ่งเมื่อดัดแปลงไปทำอาหารอย่างอื่น เช่น ลูกชิ้น ทอดมัน ก็จะยิ่งไม่ทราบเลยว่าทำมาจากอะไรการจับกุมจึงยากมากยิ่งขึ้น จึงขอเตือนผู้ที่จะขายให้นึกถึงผู้ที่บริโภคที่อาจได้รับพิษเข้าไปจนถึงตายได้ ซึ่งการเข้ามาจับกุมปราบปรามจึงมีส่วนช่วยอย่างมากในการลดการลักลอบผลิตปลาปักเป้า
ผบก.ปศท. ยังฝากเตือนถึงประชาชนอีกว่า สำหรับผู้ที่มีอาการต่อไปนี้ขอให้ทราบว่าถูกพิษจากการบริโภคปลาปักเป้า ขออย่าให้นิ่งนอนใจว่าเป็นการแพ้อาหารทะเล หรือผงชูรสขอให้รีบไปพบแพทย์เนื่องจากอันตราย คือ 1.มีอาการชาที่หน้า ริมฝีปาก ลิ้น ปลายนิ้วมือ คลื่นไส้อาเจียน 2.ชามากขึ้น แขนขาไม่มีแรง จนยืนหรือเดินไม่ได้ 3.กล้ามเนื้อกระตุกคล้ายชัก เดินเซ พูดไม่ได้เพราะกล่องเสียงเป็นอัมพาต 4.กล้ามเนื้อเป็นอัมพาตหายใจไม่ออก หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องหัวใจจะหยุดเต้นและเสียชีวิตในที่สุด
“นับตั้งแต่เข้ามาทำงานที่ ปศท. เราได้จับกุมปลาปักเป้ามาแล้วประมาณ 20 ครั้ง ครั้งละไม่ต่ำกว่า 2 ตัน บางครั้งถึง 10 ตันก็มี หากไม่มีการกวดขันคาดว่าจะมีเนื้อปลาปักเป้าออกไปสู่ผู้บริโภคไม่ต่ำกว่า 1,000 ตันต่อวัน ซึ่งจะมีทุกที่ ที่มีสะพานปลา พบแหล่งใหญ่ที่ สมุทรสาครและระยอง แม้ว่าการจับกุมจะยากและไม่มีใครอยากทำเพราะว่าต้องทำสำนวนให้เสร็จและทำลายปลาในครึ่งวัน ไม่เช่นนั้นปลาจะเน่า อีกทั้งการทำลายก็ต้องเช่าเมรุตามวัดใกล้ๆ เพื่อเผาหรือกลบฝัง ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง บางครั้งก็ต้องจ่ายเอง แต่ก็รู้สึกดีใจที่มีส่วนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนทราบ และจะปราบปรามอย่างเข้มงวดต่อไป” พล.ต.ต.วิสุทธิ์ กล่าว
ปลาปักเป้าก็ถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนให้ความสนใจมากขึ้น หากไม่มีหน่วยงานเข้ามาดูแลปราบปรามประชาชนที่ไม่ทราบก็อาจต้องเสียชีวิตเพราะพิษของปลาเหล่านี้ เมื่อไปจับกุมดูแลตอนนั้นก็คงสายไปเหมือนวัวหายล้อมคอกเช่นกรณีอื่นๆ ก็ขอสนับสนุนให้ “ผู้การวิสุทธ์” สร้างผลงานปราบปรามเช่นนี้ต่อไป