รอบปี 2550 ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของวงการสีกากี เมื่อ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ถูกคำสั่งปลดกลางอากาศ ท่ามกลางเสียงชมเชยจากประชาชน ว่าทำถูกต้องแล้ว ขณะที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ได้รับแต่งตั้งเป็น ผบ.ตร.เพื่อมาลบภาพ รัฐตำรวจ ที่รัฐบาล"ทักษิณ"ได้ทำไว้
ปี 2550 ถือเป็นปีผลัดใบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ตวัดปากกาลงนามคำสั่งเด้ง พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผบ.ตร.พ้นจากตำแหน่ง ไปช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 ก.พ.2550 โดยให้ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ที่ปรึกษา (สบ.10) รักษาราชการแทน ซึ่งก่อนหน้าจะมีคำสั่งปลด ได้มีกระแสข่าวลือแพร่สะพัดหลายระลอก ชนิดที่ว่าแม้แต่ตัว พล.ต.อ.โกวิท เองก็แทบไม่เชื่อหู กระทั่งได้เห็นหนังสือคำสั่งปลดตัวจริงกับตาจึงก้มหน้าก้มตายอมรับชะตากรรม
สำหรับสาเหตุที่ทำให้ พล.ต.อ.โกวิท ต้องเก้าอี้หักกลางคันทั้งที่ยังเหลืออายุราชการอีก 7 เดือน มีด้วยกันหลายประการ อาทิ ความล่าช้าในการทำคดีระเบิด กทม. 9 จุด ช่วงวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ที่นอกจากจะไม่มีความคืบหน้าใดๆแล้วคดีระเบิดที่ตามมาอีกหลายครั้ง การดำเนินคดีกับระบอบทักษิณในคดีทุจริตต่างๆ ฯลฯ ที่สำคัญกรณีที่ค้านความรู้สึกของประชาชนมากที่สุด เมื่อ พล.ต.อ.โกวิท ปูนบำเหน็จ “พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ เทพจันดา ผกก.สส.น.6 หรือโอ๋ สืบ6” ขึ้นเป็นรองผู้บังคับการ
ย้อนกลับไปที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เจ้าของฉายา “วีระบุรุษนาแก” ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกเตะโด่งออกนอกสารบบ โดยหลังได้รับตำแหน่ง รรท.ผบ.ตร.ก็เดินหน้าทำงานต่างๆที่ยังคงคั่งค้างอย่างเต็มที่ สวนทางกับการทำงานของพล.ต.อ.โกวิทอย่างสิ้นเชิง ทำให้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 122/2550 ลงวันที่ 22 เม.ย.ที่ผ่านมา แต่งตั้งให้ พล.ต.อ.โกวิท ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ ระดับ 11 ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ตำแหน่ง ผบ.ตร.ว่างลง และสามารถที่จะตั้ง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส รักษาการ ผบ.ตร. มาดำรงตำแหน่งแทนได้อย่างชอบธรรม
อย่างไรก็ตามการโยกย้ายครั้งนี้ถือว่าเป็นการย้าย พล.ต.อ.โกวิท ขาดจากการเป็นข้าราชการตำรวจ ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่มีการโยกย้ายในลักษณะนี้ จึงเป็นเหตุให้ พล.ต.อ.โกวิท ยื่นฟ้อง พล.อ.สุรยุทธ์ กับศาลปกครอง เมื่อวันที่ 30 เม.ย.2550 โดบอ้างว่าถูกโยกย้ายอย่างไม่เป็นธรรมพร้อมกับได้อ้าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ว่าข้าราชการตำรวจจะไปเป็นข้าราชการพลเรือน หรือ ข้าราชการฝ่ายอื่นไม่ได้ หากเจ้าตัวไม่ยินยอม โดยพล.ต.อ.โกวิท ยื่นฟ้องถึง 3 ครั้ง จนกระทั่งเมื่อวันที่ 18 ต.ค.ศาลปกครองกลางได้สั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เนื่องจาก พล.ต.อ.โกวิทได้เกษียณอายุราชการไปแล้ว ถือว่าเหตุตามฟ้องได้หมดสิ้นไป ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดคดีความที่ยุ่งเหยิง ขณะเดียวกันก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 1 ต.ค.2550 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ได้ผงาดนั่งเก้าอี้ผบ.ตร.อย่างสง่างาม หลังต้องต่อสู้มาอย่างยาวนาน บนเส้นทางสีกากี
อันอำนาจวาสนาที่มีนั้น ไม่ได้มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด ฉะนั้น หากใส่เกียร์ว่าง หรือไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตัวเองที่ได้รับมอบหมายให้ดีแล้ว ชะตากรรมที่ต้องเผชิญในบั้นปลายชีวิตราชการคงจบอย่างไม่สวยงาม ดั่งเช่นที่อดีตอธิบดี และอดีต ผบ.ตร.หลายคนเคยได้รับ






ปี 2550 ถือเป็นปีผลัดใบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ตวัดปากกาลงนามคำสั่งเด้ง พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผบ.ตร.พ้นจากตำแหน่ง ไปช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 ก.พ.2550 โดยให้ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ที่ปรึกษา (สบ.10) รักษาราชการแทน ซึ่งก่อนหน้าจะมีคำสั่งปลด ได้มีกระแสข่าวลือแพร่สะพัดหลายระลอก ชนิดที่ว่าแม้แต่ตัว พล.ต.อ.โกวิท เองก็แทบไม่เชื่อหู กระทั่งได้เห็นหนังสือคำสั่งปลดตัวจริงกับตาจึงก้มหน้าก้มตายอมรับชะตากรรม
สำหรับสาเหตุที่ทำให้ พล.ต.อ.โกวิท ต้องเก้าอี้หักกลางคันทั้งที่ยังเหลืออายุราชการอีก 7 เดือน มีด้วยกันหลายประการ อาทิ ความล่าช้าในการทำคดีระเบิด กทม. 9 จุด ช่วงวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ที่นอกจากจะไม่มีความคืบหน้าใดๆแล้วคดีระเบิดที่ตามมาอีกหลายครั้ง การดำเนินคดีกับระบอบทักษิณในคดีทุจริตต่างๆ ฯลฯ ที่สำคัญกรณีที่ค้านความรู้สึกของประชาชนมากที่สุด เมื่อ พล.ต.อ.โกวิท ปูนบำเหน็จ “พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ เทพจันดา ผกก.สส.น.6 หรือโอ๋ สืบ6” ขึ้นเป็นรองผู้บังคับการ
ย้อนกลับไปที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เจ้าของฉายา “วีระบุรุษนาแก” ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกเตะโด่งออกนอกสารบบ โดยหลังได้รับตำแหน่ง รรท.ผบ.ตร.ก็เดินหน้าทำงานต่างๆที่ยังคงคั่งค้างอย่างเต็มที่ สวนทางกับการทำงานของพล.ต.อ.โกวิทอย่างสิ้นเชิง ทำให้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 122/2550 ลงวันที่ 22 เม.ย.ที่ผ่านมา แต่งตั้งให้ พล.ต.อ.โกวิท ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ ระดับ 11 ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ตำแหน่ง ผบ.ตร.ว่างลง และสามารถที่จะตั้ง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส รักษาการ ผบ.ตร. มาดำรงตำแหน่งแทนได้อย่างชอบธรรม
อย่างไรก็ตามการโยกย้ายครั้งนี้ถือว่าเป็นการย้าย พล.ต.อ.โกวิท ขาดจากการเป็นข้าราชการตำรวจ ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่มีการโยกย้ายในลักษณะนี้ จึงเป็นเหตุให้ พล.ต.อ.โกวิท ยื่นฟ้อง พล.อ.สุรยุทธ์ กับศาลปกครอง เมื่อวันที่ 30 เม.ย.2550 โดบอ้างว่าถูกโยกย้ายอย่างไม่เป็นธรรมพร้อมกับได้อ้าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ว่าข้าราชการตำรวจจะไปเป็นข้าราชการพลเรือน หรือ ข้าราชการฝ่ายอื่นไม่ได้ หากเจ้าตัวไม่ยินยอม โดยพล.ต.อ.โกวิท ยื่นฟ้องถึง 3 ครั้ง จนกระทั่งเมื่อวันที่ 18 ต.ค.ศาลปกครองกลางได้สั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เนื่องจาก พล.ต.อ.โกวิทได้เกษียณอายุราชการไปแล้ว ถือว่าเหตุตามฟ้องได้หมดสิ้นไป ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดคดีความที่ยุ่งเหยิง ขณะเดียวกันก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 1 ต.ค.2550 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ได้ผงาดนั่งเก้าอี้ผบ.ตร.อย่างสง่างาม หลังต้องต่อสู้มาอย่างยาวนาน บนเส้นทางสีกากี
อันอำนาจวาสนาที่มีนั้น ไม่ได้มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด ฉะนั้น หากใส่เกียร์ว่าง หรือไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตัวเองที่ได้รับมอบหมายให้ดีแล้ว ชะตากรรมที่ต้องเผชิญในบั้นปลายชีวิตราชการคงจบอย่างไม่สวยงาม ดั่งเช่นที่อดีตอธิบดี และอดีต ผบ.ตร.หลายคนเคยได้รับ