ปลัด ยธ.สั่งดีเอสไอ-ปปง.ตรวจสอบการจัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัว อาจเข้าข่ายฉ้อโกงประชาชน หลังสำนักพระราชวัง ระบุ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดสร้าง
วันนี้ (14 ธ.ค.) นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยถึงกรณีที่สำนักพระราชวัง ชี้แจงว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัว ที่มีการติดป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ทั่วกรุงเทพฯ โดยระบุว่า รายได้จากการจัดสร้าง จะนำเข้าสมทบทุนมูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ เพื่อจัดสร้างอุโบสถสองกษัตริย์ พร้อมกับมีการนำตราพระมงกุฎประทับไว้หลังองค์พระ และแอบอ้างว่า ได้ใช้มวลสารจากดอกไม้พระราชทาน ว่า ได้สั่งการให้ พ.อ.ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ประสานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เข้าไปดูแลและตรวจสอบ ว่า มีการฉ้อโกงประชาชนหรือไม่ โดยตนกำชับให้เร่งเก็บข้อมูลให้เร็วที่สุดไม่ให้ปัญหาลุกลามบานปลาย เพราะหากมีการหลอกลวงประชาชน ความเสียหายจะเกิดขึ้นกับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นศาสนา สถาบัน และประชาชน ที่ถูกฉ้อโกง
โดยในช่วงบ่ายวันนี้ (14 ธ.ค.) ดีเอสไอ ได้จัดชุดสืบสวนเข้าหารือกับสำนักพระราชวัง เพื่อรวบรวมข้อมูล และแบ่งทีมไปหารือกับกรมการศาสนา เพื่อขอหลักฐานเกี่ยวกับระเบียบในการจัดสร้างวัตถุมงคล รวมถึงส่งชุดไปรวบรวมข้อมูลจากวัดสุทัศน์เทพวรารามวรมหาวิหาร และมูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์
พ.อ.ปิยะวัฒก์ กล่าวว่า จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น พบว่า กรณีดังกล่าวอาจเข้าข่ายเป็นคดีฉ้อโกงประชาชน ซึ่ง เป็นหนึ่งในมูลฐานความผิดตามกฎหมายฟอกเงิน ของ ปปง.จึงถือเป็นคดีพิเศษ ที่ดีเอสไอสามารถเข้าสืบสวนรวบรวมหลักฐานได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการชี้แจงของสำนักพระราชวัง ว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัว เว็บไซต์หลายแห่งที่เปิดรับจองพระสมเด็จเหนือหัวได้ประกาศปิดการซื้อขายและการโฆษณาผ่านเว็บไซต์แล้ว โดยมีประชาชนผู้เสียหายที่เช่าพระสมเด็จเหนือหัวไปบูชา เข้ามาเขียนกระทู้ตำหนิผู้จัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัว พร้อมทั้งเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเข้ามาดำเนินคดี ส่วนบรรยากาศในวัดสุทัศน์ และมูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในวัดสุทัศน์ ไม่มีการติดป้ายโฆษณาให้เช่าพระสมเด็จเหนือหัวแล้ว แต่ป้ายโฆษณายังคงมีปรากฎให้เห็นตามร้านค้าโดยรอบวัดสุทัศน์ฯและถนนหลายสายในเขตกรุงเทพฯ
รายงานข่าวเปิดเผยว่า จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น วัดสุทัศน์ และมูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ยืนยันว่า ถูกแอบอ้างชื่อไปใช้ในการจัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัว โดยผู้จัดสร้างพระเคยบวชเป็นเณรที่วัดสุทัศน์แล้วสึกออกไป
สำหรับแผ่นพับโฆษณาพระสมเด็จเหนือหัว มีรายละเอียดเกี่ยวกับความสำคัญของมวลสารที่ใช้ผสมลงในองค์พระ โดยระบุว่า เป็นดอกไม้จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานเป็นเครื่องบูชากัณฑ์เทศน์ในการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายบูรพกษัติยาธิราช รวมทั้งพิธีการปลุกเสกที่ยิ่งใหญ่ พร้อมทั้งบรรยายวัตถุประสงค์ในการจัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัว ที่จะนำเงินไปสร้างอุโบสถสองกษัตริย์ ซึ่งเปรียบเสมือนการสร้างอนุสรณ์ชิ้นสำคัญเป็นตำนานคู่ประวัติศาสตร์ชาติไทย แต่ไม่ได้ระบุสถานที่จัดสร้าง โดยพระสมเด็จเหนือหัวจัดทำให้เช้าบูชา แบ่งเป็น 5 สี 5 ภาค ได้แก่ สีขาววัดระฆัง ภาคกลาง สีเขียวพระแก้ว ภาคอีสาน สีเหลือง ภาคเหนือ สีชมพูทิพย์ ภาคตะวันออก และสีน้ำทะเล ภาคใต้ โดยเปิดให้เช่าบูชาองค์ละ 999 บาท
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 13 ธ.ค.ที่ผ่านมา สำนักพระราชวัง ออกชี้แจงถึงกรณีที่ขณะนี้มีกลุ่มแอบอ้าง จัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัว และมีการระบุว่า รายได้จากการจัดสร้างจะนำเข้าสมทบทุนมูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ เพื่อจัดโครงการสร้างอุโบสถ สองกษัตริย์ พร้อมกับมีการนำตราพระมงกุฎประทับไว้หลังองค์พระ ทั้งนี้ การจัดสร้างดังกล่าว ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับทางสำนักพระราชวังแต่อย่างใด
พร้อมกันนี้ เมื่อมีการตรวจสอบไปยังมูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปรากฏว่า ทางมูลนิธิไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดสร้าง และการที่ผู้จัดสร้างนำตราพระมงกุฎไปประทับหลังองค์พระนั้น ถือว่าผิดกฎหมาย เพราะไม่มีการขอพระราชทานอนุญาต จากทางสำนักพระราชวัง
ขณะที่มวลสารในการจัดสร้างที่มีการอ้างว่า เป็นดอกไม้พระราชทานนั้น ทางสำนักพระราชวังได้ชี้แจงว่า ตั้งแต่มีการจัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัว ปรากฏว่า ทางผู้จัดสร้างไม่เคยขอพระราชทานดอกไม้เพื่อนำไปใช้เป็นมวลสาร เรื่องที่เกิดขึ้นจึงเป็นการแอบอ้างและทำให้ประชาชนเข้าใจผิด
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบถึงขั้นตอนการจัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัว ปรากฏว่า ไม่มีการระบุผู้จัดสร้างที่ชัดเจน ทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิดว่า พระสมเด็จเหนือหัว เกี่ยวข้องกับทางสำนักพระราชวัง และทำให้เกิดความเสียหายกับทางสำนักพระราชวังเป็นอย่างมาก



วันนี้ (14 ธ.ค.) นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยถึงกรณีที่สำนักพระราชวัง ชี้แจงว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัว ที่มีการติดป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ทั่วกรุงเทพฯ โดยระบุว่า รายได้จากการจัดสร้าง จะนำเข้าสมทบทุนมูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ เพื่อจัดสร้างอุโบสถสองกษัตริย์ พร้อมกับมีการนำตราพระมงกุฎประทับไว้หลังองค์พระ และแอบอ้างว่า ได้ใช้มวลสารจากดอกไม้พระราชทาน ว่า ได้สั่งการให้ พ.อ.ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ประสานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เข้าไปดูแลและตรวจสอบ ว่า มีการฉ้อโกงประชาชนหรือไม่ โดยตนกำชับให้เร่งเก็บข้อมูลให้เร็วที่สุดไม่ให้ปัญหาลุกลามบานปลาย เพราะหากมีการหลอกลวงประชาชน ความเสียหายจะเกิดขึ้นกับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นศาสนา สถาบัน และประชาชน ที่ถูกฉ้อโกง
โดยในช่วงบ่ายวันนี้ (14 ธ.ค.) ดีเอสไอ ได้จัดชุดสืบสวนเข้าหารือกับสำนักพระราชวัง เพื่อรวบรวมข้อมูล และแบ่งทีมไปหารือกับกรมการศาสนา เพื่อขอหลักฐานเกี่ยวกับระเบียบในการจัดสร้างวัตถุมงคล รวมถึงส่งชุดไปรวบรวมข้อมูลจากวัดสุทัศน์เทพวรารามวรมหาวิหาร และมูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์
พ.อ.ปิยะวัฒก์ กล่าวว่า จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น พบว่า กรณีดังกล่าวอาจเข้าข่ายเป็นคดีฉ้อโกงประชาชน ซึ่ง เป็นหนึ่งในมูลฐานความผิดตามกฎหมายฟอกเงิน ของ ปปง.จึงถือเป็นคดีพิเศษ ที่ดีเอสไอสามารถเข้าสืบสวนรวบรวมหลักฐานได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการชี้แจงของสำนักพระราชวัง ว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัว เว็บไซต์หลายแห่งที่เปิดรับจองพระสมเด็จเหนือหัวได้ประกาศปิดการซื้อขายและการโฆษณาผ่านเว็บไซต์แล้ว โดยมีประชาชนผู้เสียหายที่เช่าพระสมเด็จเหนือหัวไปบูชา เข้ามาเขียนกระทู้ตำหนิผู้จัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัว พร้อมทั้งเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเข้ามาดำเนินคดี ส่วนบรรยากาศในวัดสุทัศน์ และมูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในวัดสุทัศน์ ไม่มีการติดป้ายโฆษณาให้เช่าพระสมเด็จเหนือหัวแล้ว แต่ป้ายโฆษณายังคงมีปรากฎให้เห็นตามร้านค้าโดยรอบวัดสุทัศน์ฯและถนนหลายสายในเขตกรุงเทพฯ
รายงานข่าวเปิดเผยว่า จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น วัดสุทัศน์ และมูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ยืนยันว่า ถูกแอบอ้างชื่อไปใช้ในการจัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัว โดยผู้จัดสร้างพระเคยบวชเป็นเณรที่วัดสุทัศน์แล้วสึกออกไป
สำหรับแผ่นพับโฆษณาพระสมเด็จเหนือหัว มีรายละเอียดเกี่ยวกับความสำคัญของมวลสารที่ใช้ผสมลงในองค์พระ โดยระบุว่า เป็นดอกไม้จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานเป็นเครื่องบูชากัณฑ์เทศน์ในการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายบูรพกษัติยาธิราช รวมทั้งพิธีการปลุกเสกที่ยิ่งใหญ่ พร้อมทั้งบรรยายวัตถุประสงค์ในการจัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัว ที่จะนำเงินไปสร้างอุโบสถสองกษัตริย์ ซึ่งเปรียบเสมือนการสร้างอนุสรณ์ชิ้นสำคัญเป็นตำนานคู่ประวัติศาสตร์ชาติไทย แต่ไม่ได้ระบุสถานที่จัดสร้าง โดยพระสมเด็จเหนือหัวจัดทำให้เช้าบูชา แบ่งเป็น 5 สี 5 ภาค ได้แก่ สีขาววัดระฆัง ภาคกลาง สีเขียวพระแก้ว ภาคอีสาน สีเหลือง ภาคเหนือ สีชมพูทิพย์ ภาคตะวันออก และสีน้ำทะเล ภาคใต้ โดยเปิดให้เช่าบูชาองค์ละ 999 บาท
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 13 ธ.ค.ที่ผ่านมา สำนักพระราชวัง ออกชี้แจงถึงกรณีที่ขณะนี้มีกลุ่มแอบอ้าง จัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัว และมีการระบุว่า รายได้จากการจัดสร้างจะนำเข้าสมทบทุนมูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ เพื่อจัดโครงการสร้างอุโบสถ สองกษัตริย์ พร้อมกับมีการนำตราพระมงกุฎประทับไว้หลังองค์พระ ทั้งนี้ การจัดสร้างดังกล่าว ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับทางสำนักพระราชวังแต่อย่างใด
พร้อมกันนี้ เมื่อมีการตรวจสอบไปยังมูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปรากฏว่า ทางมูลนิธิไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดสร้าง และการที่ผู้จัดสร้างนำตราพระมงกุฎไปประทับหลังองค์พระนั้น ถือว่าผิดกฎหมาย เพราะไม่มีการขอพระราชทานอนุญาต จากทางสำนักพระราชวัง
ขณะที่มวลสารในการจัดสร้างที่มีการอ้างว่า เป็นดอกไม้พระราชทานนั้น ทางสำนักพระราชวังได้ชี้แจงว่า ตั้งแต่มีการจัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัว ปรากฏว่า ทางผู้จัดสร้างไม่เคยขอพระราชทานดอกไม้เพื่อนำไปใช้เป็นมวลสาร เรื่องที่เกิดขึ้นจึงเป็นการแอบอ้างและทำให้ประชาชนเข้าใจผิด
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบถึงขั้นตอนการจัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัว ปรากฏว่า ไม่มีการระบุผู้จัดสร้างที่ชัดเจน ทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิดว่า พระสมเด็จเหนือหัว เกี่ยวข้องกับทางสำนักพระราชวัง และทำให้เกิดความเสียหายกับทางสำนักพระราชวังเป็นอย่างมาก