จารบุรุษ
"ข้าพระพุทธเจ้า ขอถวายสัตย์ปฏิญาณ ต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว และธงชัย ณ ที่นี้ว่า
ข้าพระพุทธเจ้า จักจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ
ข้าพระพุทธเจ้า จักยอมเสียสละทุกสิ่ง ทุกอย่าง เพื่อระงับทุกข์ และบำรุงสุข ให้แก่ประชาชน ตาม หน้าที่ของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์
ข้าพระพุทธเจ้า จักปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และยึดศีลธรรม เป็นหลักประจำใจ
ข้าพระพุทธเจ้า จักยึดมั่นอยู่ในวินัย และรักษาไว้ซึ่งระเบียบแบบแผน ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ข้าพระพุทธเจ้า จักเชื่อฟังคำสั่ง ของผู้บังคับบัญชา และจักปกครองผู้ใต้บังคับบัญชา ด้วยความเที่ยงธรรม อย่างเคร่งครัด"
คำถวายสัตย์ปฏิญาณของข้าราชการตำรวจในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตน และสวนสนามของเหล่าข้าราชการตำรวจ เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 และวันตำรวจ ประจำปี 2550 วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2550 ณ สนามราชมังคลากีฬาสถาน
ต้องยอมรับว่า พิธีดังกล่าว ถือเป็นเกียรติภูมิ และความภาคภูมิของเหล่าข้าราชการตำรวจทุกคน แม้บางคนจะไม่ได้เข้าร่วมพิธีในวันนั้นก็ตาม แต่ก็เชื่อว่า ส่วนหนึ่งของความเป็นตำรวจ ย่อมต้องภาคภูมิใจในหน่วยงานของตนเป็นสำคัญ หรือแม้แต่ประชาชน ที่เห็นงานพิธีผ่านการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ก็อดที่จะชื่นชมในความภาคภูมิใจนั้นไม่ได้
ว่ากันตามเนื้อผ้าแล้ว ต้องถือว่า งานนี้ จัดได้ยิ่งใหญ่ อลังการกว่าทุกปี หน่วยงานต่างๆของตำรวจทั้งหมด ต่างมีส่วนร่วมในงานนี้ ภาพที่ผ่านสายตาของประชาชน ทำให้ได้รู้ว่า ใช่จะมีแต่ตำรวจบนโรงพักเท่านั้น ยังมีตำรวจหน่วยอื่นที่คอยเฝ้าบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชน ทั้งยังทราบถึงวิวัฒนาการของวงการตำรวจไทย ซึ่งเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ผ่านการเล่าเรื่อง ด้วยขบวน"เล่าขานตำนานตำรวจไทย"
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส แม่ทัพใหญ่ของชาวสีกากีบอกว่า การจัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณและสวนสนามในครั้งนี้ เพื่อถวายเป็นราชสักการะ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา ขณะเดียวกันเพื่อสร้างความสามัคคี เป็นปึกแผ่นให้กับหน่วยงาน โดยเปิดโอกาสให้ทุกหน่วยเข้ามามีส่วนร่วม ยืนยันว่าเราจะเป็นตำรวจที่ดี ทำงานรับใช้องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ประเทศชาติ และประชาชน
“เชื่อว่าภาพที่เผยแพร่ออกไปจะทำให้ประชาชนเชื่อมั่นศรัทธาต่อตำรวจมากขึ้น ตำรวจเองก็จะกลมเกลียวสามัคคี ผนึกกำลังในการดูและประชาชน อยากฝากถึงตำรวจทุกคน ขอให้มีความสามัคคีผนึกกำลังดูแลพี่น้องประชาชน”
นมนามมาแล้วที่ไม่เห็นผู้นำตำรวจ ปลุกใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ผนึกกำลังกลมเกลียวสามัคคี โดยมีประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นที่ตั้ง การเรียกความเชื่อมั่นและศรัทธาต่อตำรวจ จะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยการกระทำของตำรวจเอง ซึ่งหากตำรวจส่วนใหญ่ ดำรงตนตามคำถวายสัตย์ปฏิญาณแล้วไซร้ ความเชื่อมั่นและศรัทธาของตำรวจต่อประชาชน อยู่เพียงแค่ปลายจมูกเท่านั้นเอง และนี่ เชื่อว่า เป็นปฐมบทของตำรวจที่จะเรียกความเชื่อมั่นและศรัทธาอันนั้นกลับคืนมา หลังตกผลึกอยู่ในวังวนแห่งการติฉินนินทามายาวนาน จนหลายคนเชื่อว่า น่าจะยากต่อการเยียวยาเสียด้วยซ้ำ
จากการได้พูดคุยกับตำรวจที่เข้าร่วมพิธีในวันนั้น ต่างรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในพิธี บางนายบอกว่า จะกลับไปเล่าให้ลูกหลานฟังถึงการถวายสัตย์ปฏิญาณในครั้งนี้ พร้อมจะดำรงตนให้เป็น “ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์”อย่างที่ได้ปฏิญาณตนไว้
อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าเสียดายว่า หนังสือที่ระลึกพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนฯ ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดพิมพ์ขึ้นนั้น มีเพียงจำนวนแค่ 10,000 เล่ม ที่สำคัญ ตำรวจที่เข้าร่วมพิธี กลับไม่ได้รับหนังสือดังกล่าว เพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึก ซึ่งรูปเล่มและเนื้อหา ภาพถ่ายค่อนข้างสมบูรณ์ ทั้งยังเชื่อว่า มีตำรวจอีกไม่น้อย ที่ไม่รู้ว่า ตำนานตำรวจไทยนั้นเป็นมาอย่างไร หากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะจัดพิมพ์ขึ้นมาใหม่ และส่งให้กับตำรวจที่เข้าร่วมพิธี ก็เชื่อว่า น่าจะมีประโยชน์ไม่น้อย
ทั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จากนี้ไป จะได้เห็นข่าวในทางลบของตำรวจน้อยลง ตรงกันข้าม การเข้าไปบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชนจะเป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งเมื่อนั้น การถวายสัตย์ปฏิญาณตนฯของเหล่าข้าราชการตำรวจ จะทวีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้นไปอีก







"ข้าพระพุทธเจ้า ขอถวายสัตย์ปฏิญาณ ต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว และธงชัย ณ ที่นี้ว่า
ข้าพระพุทธเจ้า จักจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ
ข้าพระพุทธเจ้า จักยอมเสียสละทุกสิ่ง ทุกอย่าง เพื่อระงับทุกข์ และบำรุงสุข ให้แก่ประชาชน ตาม หน้าที่ของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์
ข้าพระพุทธเจ้า จักปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และยึดศีลธรรม เป็นหลักประจำใจ
ข้าพระพุทธเจ้า จักยึดมั่นอยู่ในวินัย และรักษาไว้ซึ่งระเบียบแบบแผน ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ข้าพระพุทธเจ้า จักเชื่อฟังคำสั่ง ของผู้บังคับบัญชา และจักปกครองผู้ใต้บังคับบัญชา ด้วยความเที่ยงธรรม อย่างเคร่งครัด"
คำถวายสัตย์ปฏิญาณของข้าราชการตำรวจในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตน และสวนสนามของเหล่าข้าราชการตำรวจ เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 และวันตำรวจ ประจำปี 2550 วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2550 ณ สนามราชมังคลากีฬาสถาน
ต้องยอมรับว่า พิธีดังกล่าว ถือเป็นเกียรติภูมิ และความภาคภูมิของเหล่าข้าราชการตำรวจทุกคน แม้บางคนจะไม่ได้เข้าร่วมพิธีในวันนั้นก็ตาม แต่ก็เชื่อว่า ส่วนหนึ่งของความเป็นตำรวจ ย่อมต้องภาคภูมิใจในหน่วยงานของตนเป็นสำคัญ หรือแม้แต่ประชาชน ที่เห็นงานพิธีผ่านการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ก็อดที่จะชื่นชมในความภาคภูมิใจนั้นไม่ได้
ว่ากันตามเนื้อผ้าแล้ว ต้องถือว่า งานนี้ จัดได้ยิ่งใหญ่ อลังการกว่าทุกปี หน่วยงานต่างๆของตำรวจทั้งหมด ต่างมีส่วนร่วมในงานนี้ ภาพที่ผ่านสายตาของประชาชน ทำให้ได้รู้ว่า ใช่จะมีแต่ตำรวจบนโรงพักเท่านั้น ยังมีตำรวจหน่วยอื่นที่คอยเฝ้าบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชน ทั้งยังทราบถึงวิวัฒนาการของวงการตำรวจไทย ซึ่งเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ผ่านการเล่าเรื่อง ด้วยขบวน"เล่าขานตำนานตำรวจไทย"
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส แม่ทัพใหญ่ของชาวสีกากีบอกว่า การจัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณและสวนสนามในครั้งนี้ เพื่อถวายเป็นราชสักการะ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา ขณะเดียวกันเพื่อสร้างความสามัคคี เป็นปึกแผ่นให้กับหน่วยงาน โดยเปิดโอกาสให้ทุกหน่วยเข้ามามีส่วนร่วม ยืนยันว่าเราจะเป็นตำรวจที่ดี ทำงานรับใช้องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ประเทศชาติ และประชาชน
“เชื่อว่าภาพที่เผยแพร่ออกไปจะทำให้ประชาชนเชื่อมั่นศรัทธาต่อตำรวจมากขึ้น ตำรวจเองก็จะกลมเกลียวสามัคคี ผนึกกำลังในการดูและประชาชน อยากฝากถึงตำรวจทุกคน ขอให้มีความสามัคคีผนึกกำลังดูแลพี่น้องประชาชน”
นมนามมาแล้วที่ไม่เห็นผู้นำตำรวจ ปลุกใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ผนึกกำลังกลมเกลียวสามัคคี โดยมีประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นที่ตั้ง การเรียกความเชื่อมั่นและศรัทธาต่อตำรวจ จะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยการกระทำของตำรวจเอง ซึ่งหากตำรวจส่วนใหญ่ ดำรงตนตามคำถวายสัตย์ปฏิญาณแล้วไซร้ ความเชื่อมั่นและศรัทธาของตำรวจต่อประชาชน อยู่เพียงแค่ปลายจมูกเท่านั้นเอง และนี่ เชื่อว่า เป็นปฐมบทของตำรวจที่จะเรียกความเชื่อมั่นและศรัทธาอันนั้นกลับคืนมา หลังตกผลึกอยู่ในวังวนแห่งการติฉินนินทามายาวนาน จนหลายคนเชื่อว่า น่าจะยากต่อการเยียวยาเสียด้วยซ้ำ
จากการได้พูดคุยกับตำรวจที่เข้าร่วมพิธีในวันนั้น ต่างรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในพิธี บางนายบอกว่า จะกลับไปเล่าให้ลูกหลานฟังถึงการถวายสัตย์ปฏิญาณในครั้งนี้ พร้อมจะดำรงตนให้เป็น “ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์”อย่างที่ได้ปฏิญาณตนไว้
อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าเสียดายว่า หนังสือที่ระลึกพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนฯ ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดพิมพ์ขึ้นนั้น มีเพียงจำนวนแค่ 10,000 เล่ม ที่สำคัญ ตำรวจที่เข้าร่วมพิธี กลับไม่ได้รับหนังสือดังกล่าว เพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึก ซึ่งรูปเล่มและเนื้อหา ภาพถ่ายค่อนข้างสมบูรณ์ ทั้งยังเชื่อว่า มีตำรวจอีกไม่น้อย ที่ไม่รู้ว่า ตำนานตำรวจไทยนั้นเป็นมาอย่างไร หากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะจัดพิมพ์ขึ้นมาใหม่ และส่งให้กับตำรวจที่เข้าร่วมพิธี ก็เชื่อว่า น่าจะมีประโยชน์ไม่น้อย
ทั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จากนี้ไป จะได้เห็นข่าวในทางลบของตำรวจน้อยลง ตรงกันข้าม การเข้าไปบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชนจะเป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งเมื่อนั้น การถวายสัตย์ปฏิญาณตนฯของเหล่าข้าราชการตำรวจ จะทวีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้นไปอีก