วันที่ 13 ตุลาคม ของทุกปี ถือเป็นวันตำรวจ ซึ่งในปี 2550 นี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ภายใต้การนำของพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวช ผบ.ตร. ได้จัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของเหล่าข้าราชการตำรวจ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และวันตำรวจประจำปี 2550 ซึ่งถือเป็นปีพิเศษ โดยพิธีดังกล่าวจัดขึ้นที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน หัวหมาก ทีมข่าวอาชญากรรม ขอนำ"ตำนานตำรวจไทย" มาเสนอพอสังเขป
ประวัติศาสตร์ของ "ตำรวจ" ในประเทศไทยนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 4 ยุค ดังนี้
ยุคแรกของกิจการตำรวจ
มีหลักฐานยืนยันที่แน่ชัดในสมัยอยุธยา แผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราระเบียบการปกครองบ้านเมืองเป็น 4 เหล่า เรียกว่า "จตุสดมภ์" ได้แก่ กรมเวียง กรมวัง กรมคลัง และกรมนา พร้อมทั้งโปรดเกล้าฯให้มีตำรวจด้วย โดยแบ่งเป็น ตำรวจพระนครบาล ตำรวจภูธร โดยขึ้นกับกรมเวียง และตำรวจหลวง ให้ขึ้นกับกรมวัง นอกจากนี้ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการตราศักดินาขจองตำรวจไว้เป็นบรรทัดฐานเช่นเดียวกับข้าราชการฝ่ายอื่น นับเป็นยุคแรกแห่งประวัติศาสตร์กิจการตำรวจไทย
ตำรวจยุคปฏิรูป
เป็นยุคที่ 2 ของกิจการตำรวจ ช่วงระหว่าง พ.ศ.2403-2475 เป็นยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงของประเทศ รวมทั้งการปฏิรูประบบการปกครองของประเทศไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาสู่ระบอบประชาธิปไตย อันเนื่องมาจากการแผ่ขยายอาณาเขตของอารยธรรมตะวันตกในสังคมไทย ทำให้กิจการตำรวจจำเป็นต้องมีการปรับปรุงให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพสังคมในขณะนั้น ต่อมาปี พ.ศ.2405 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการว่าจ้าง กัปตัน เอส.เจ.เบิร์ดเอมส์ (Capt.S.J.Bird Ames) ชาวอังกฤษ จัดตั้งกองตำรวจสำหรับรักษาความสงบเรียบร้อย ภายในเขตนครหลวงตามแบบยุโรปขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกว่า "กองโปลิศ" ให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพระนครบาล ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการขยายงานตำรวจจากเขตนครหลวงไปสู่ส่วนภูมิภาค โดยจัดตั้งเป็น กรมตำรวจภูธร ขึ้น ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย เพื่อขยายงานป้องกันและปราบปรามโจรผู้ร้ายตลอดจนรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับพี่น้องประชาชนได้อย่างทั่วถึง ต่อมาได้มีการรวมเป็นกรมเดียวกันในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2458 เรียกว่า "กรมตำรวจภูธรและกรมพลตระเวน" โดยให้ขี้นกับกระทรวงมหาดไทย นับแต่นั้นจึงถึงกันว่า วันที่ 13 ตุลาคม ของทุกปี คือ "วันตำรวจ"
ตำรวจสมัยประชาธิปไตย
ยุคที่ 3 ในการเปลี่ยนแปลงกิจการตำรวจไทยนั้น มิได้เปลี่ยนเฉพาะโครงสร้างและหน้าที่ แต่มีการเปลี่ยนชื่อเรียกหน่วยงานควบคู่ไปด้วยอยู่เสมอ ภายหลังจากได้รวมกันเป็น "กรมตำรวจภูธรและพลตระเวน" แล้ว ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น "กรมตำรวจภูธร" จากนั้นในปี พ.ศ. 2475 จึงเป็นเปลี่ยนนามหน่วยเป็น "กรมตำรวจ" กิจการตำรวจยุคที่ 3 นี้ ได้ถือตามประกาศเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ พ.ศ.2475 โดยแบ่งกิจการตำรวจออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นหน่วยบริหารงานส่วนกลางและสำนักบริหารของอธิบดีกรมตำรวจ ส่วนที่ 2 คือตำรวจนครบาล ส่วนที่ 3 คือ ตำรวจภูธร ส่วนที่ 4 คือ ตำรวจสันติบาล ซึ่งการแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ นี้ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขอีกหลายครั้ง แต่หลักการใหญ่ก็ยังคงแบ่งงานตำรวจออกเป็น 4 ส่วนเช่นเดิม โดยยึดตามคุณภาพปริมาณของงานที่รับผิดชอบ และความผันแปรของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย จนกระทั่งปี พ.ศ.2541 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่กับกิจการตำรวจไทย "กรมตำรวจ" ซึ่งเป็นที่รู้จักของคนไทยมา 80 กว่าปี ได้รับการปรับโอนไปเป็น "สำนักงานตำรวจแห่งชาติ" เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2541 ภายใต้การบริหารงานของ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจคนสุดท้าย และเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนแรก
" สำนักงานตำรวจแห่งชาติ "ตำรวจยุค 2000
ในภาพรวมจะเห็นได้ว่า พัฒนาการของกิจการตำรวจในแต่ละยุคที่ผ่านมานั้น จะเป็นไปในลักษณะที่สอดคล้องเหมาะสมกับกระแสสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ก่อนที่จะเข้าสู่ปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ.2000) ประวัติศาสตร์ของกิจการตำรวจก็ปรับเปลี่ยนโฉมครั้งใหม่อีกครั้ง แต่ครั้งนี้ได้ยึดถือตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนมาเป็นหลักในการดำเนินการ ความพยายามในการปรับปรุงโครงสร้างกรมตำรวจนี้มีมาตั้งแต่ พ.ศ.2522 โดยได้มีการพิจารณารูปแบบองค์การตำรวจในหลายรูปแบบ ในที่สุดได้พิจารณาเห็นว่า รูปแบบสำนักงานตำรวจแห่งชาติตามแนวทางของตำรวจญี่ปุ่นมีความสอดคล้องกับประเทศไทย ต่อมาได้มีประกาศ "พระราชกฤษฎีกาโอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย ไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2541" มีฐานะเป็นกรม อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2541 เป็นต้นไป ด้วยเหตุนี้จึงถือว่า วันที่ 17 ตุลาคม ของทุกปี เป็น "วันสถาปนาตำรวจแห่งชาติ"
ผู้นำตำรวจ
นับตั้งแต่การจัดตั้งกรมตำรวจ และการรวม กรมตำรวจภูธร และกรมพลตระเวน เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2458 ได้มีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมตำรวจ ตามลำดับดังนี้
1. กัปตัน เอส.เย.เอมส์ พ.ศ. 2403-2435
2. พระยาอรรคราชวราทร (ภัสดา บุรณศิริ) พ.ศ. 2435-2440
3. นาย เอ.เย.ยาดิน พ.ศ. 2440-2447
4. มหาอำมาตย์โท อีริกเซ็นต์ เย ลอสัน พ.ศ. 2447-2456
5. พลตรีพระยาวาสุเทพ พ.ศ. 2456-2458
6. พล.ท.พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าคำรบ พ.ศ. 2458-2472
7. พล.ต.ท. พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช ) พ.ศ. 2472-2475
8. พ.ต.อ. พระยาบุเรศผดุงกิจ (รวย พรหโมบล ) พ.ศ. 2475-2476
9. พ.ต.อ. พระยาอนุสรณ์ธุระการ (จ่าง วัจนะพุกกะ ) พ.ศ. 2476-2479
10. พล.ต.อ. หลวงอดุล อดุลเดชจรัส พ.ศ. 2479-2488
11. พล.ต.ท. พระรามอินทรา (ดวง จุลัยยานนท์ ) พ.ศ. 2488-2489
12. พล.ต.ต. พระพิจารณ์พลกิจ (ยู่เซ็ก ดุละลัมภะ ) พ.ศ. 2489-2490
13. พล.ต.อ. หลวงชาติตระการโกศล (เจียม ลิมปิชาติ ) พ.ศ. 2490-2494
14. พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ พ.ศ. 2494-2500
15. พล.ต.อ.ไสว ไสวแสนยากร พ.ศ. 2500-2502
16. จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.ศ. 2502-2506
17. พล.ต.อ. ประเสริฐ รุจิรวงศ์ พ.ศ. 2506-2515
18. จอมพล ประภาส จารุเสถียร พ.ศ. 2515-2516
19. พล.ต.อ. ประจวบ สุนทรางกูร พ.ศ. 2516-2517
20. พล.ต.อ. พจน์ เภกะนันทน์ พ.ศ. 2517-2518
21. พล.ต.อ. ศรีสุข มหินทรเทพ พ.ศ. 2518-2518
22. พล.ต.อ. มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น พ.ศ. 2519-2524
23. พล.ต.อ. สุรพล จุลละพราหมณ์ พ.ศ. 2524-2525
24. พล.ต.อ. ณรงค์ มหานนท์ พ.ศ. 2525-2530
25. พล.ต.อ. เภา สารสิน พ.ศ. 2530-2532
26. พล.ต.อ. แสวง ธีระสวัสดิ์ พ.ศ. 2532-2534
27. พล.ต.อ. สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ พ.ศ. 2534-2536
28. พล.ต.อ. ประทิน สันติประภพ พ.ศ. 2536-2537
29. พล.ต.อ. พจน์ บุณยะจินดา พ.ศ. 2537-2539
30. พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก พ.ศ. 2539 - 16 ต.ค. 2541
ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
1. พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก 16 ต.ค. 2541- 2543
2. พล.ต.อ. พรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์ พ.ศ. 2543- 2544
3. พล.ต.อ. สันต์ ศรุตานนท์ พ.ศ. 2544- 2547
4. พล.ต.อ. โกวิท วัฒนะพ.ศ. 2547- 2549
5 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส 1 ต.ค. 2550 - ปัจจุบัน
ความหมายของคำว่า "ตำรวจ"
“ตำรวจ” ตามที่ระบุไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 คือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ตรวจตรารักษาความสงบ จับกุม และ
ปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย” หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ตำรวจ ก็คือ ผู้มีหน้าที่พิทักษ์สันติราษฎร์ ตามที่ได้ยินได้ฟังกันอยู่เสมอ คำว่า “พิทักษ์” แปลว่า ดูแล
คุ้มครอง พลเมืองของประเทศ ดังนั้น ตำรวจจึงเป็นผู้ที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบอันใหญ่หลวงในการดูแลคุ้มครอง ให้เกิดความสงบสุขแก่พลเมืองของประเทศ
"ประเสริฐ เมฆมณี" ได้ให้ความหมายของคำว่า “ตำรวจ” ว่า คำนี้ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “POLICE” มีพื้นฐานมาจากคำว่า
“WATCH MAN” โดย หมายถึง ผู้ตรวจตรา ซึ่งถือกำเนิดมาจาก “การจัดระบบตรวจตราและคุ้มครอง” (WATCH ANDWARD SYSTEN) ของ
ตำรวจอังกฤษ และยังมีประวัติความเป็นมาคล้ายคลึงกับคำว่า “RATTLE WATH” หรือหน่วยตรวจตราคุ้มภัยแก่ประชาชนของตำรวจสหรัฐอเมริกาแต่เดิมด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังได้มีการวิเคราะห์ความหมายของตำรวจ แยกเป็นรายตัวสระ และอักษร คำว่า POLICE นี้ พระเจ้าชาร์ล ที่ 5 แห่งประเทศฝรั่งเศส ได้ทรงวิเคราะห์ศัพท์ แยกเป็นรายอักษร ดังนี้
P มาจาก Politeness หมายถึง ความสุภาพเรียบร้อย
O มาจาก Obedience หมายถึง เชื่อฟังคำสั่ง
L มาจาก Legal Knowledge หมายถึง รู้กฎหมาย
I มาจาก Investigation หมายถึง การสืบสวน สอบสวน
C มาจาก Cooperation หมายถึง ความร่วมมือ สามัคคีในหน้าที่
E มาจาก Energy หมายถึง ความเข้มแข็งต่อการงานในหน้าที่
นอกจากนั้น ได้พิจารณาวิเคราะห์ความหมายของคำว่า “ตรวจ” ซึ่งต่อมาได้แปลงเป็น “ตำรวจ” ได้ดังนี้
ต หมายถึง ตรวจตรา จับกุมผู้กระทำผิดตามหน้าที่
า หมายถึง อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
ร หมายถึง ระงับเหตุ รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
ว หมายถึง วาจาดี มีกริยาสุภาพ
จ หมายถึง จรรยาดี มีศีลธรรม
หน้าที่ และความรับผิดชอบของตำรวจ
ตามประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี เล่มที่ 1 ภาคที่ 1 ลักษณะที่ 1 บทที่ 1 กำหนดหน้าที่ทั่วไปของตำรวจไว้ดังนี้
1. รักษาความสงบเรียบร้อยทั้งภายในและภายนอก เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน
2. รักษากฎหมายที่เกี่ยวแก่การกระทำผิดในทางอาญา
3. บำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้แก่ประชาชน
4. ดูแลรักษาผลประโยชน์ของสาธารณะ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ.2487 กำหนดถึงอำนาจหน้าที่ของตำรวจไว้พอสรุปได้ดังนี้
1. ตำรวจ เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รักษาความสงบของประชาชน
2. ตำรวจ เป็นพนักงานสอบสวน ย่อมมีอำนาจสอบสวนคดีอาญาภายในเขตอำนาจของตนที่กำหนดไว้
3. ตำรวจ มีอำนาจในการจับกุมผู้กระทำผิดในคดีอาญาและการค้น
4. ตำรวจ มีอำนาจควบคุมตัวผู้กระทำผิดที่ถูกจับไว้ได้ตามกำหนดเวลาที่กฎหมายบัญญัติไว้
5. ตำรวจ มีอำนาจตรวจค้นเคหสถาน ที่อยู่อาศัย และสำนักงานของบุคคลอันเป็นที่รโหฐานตามเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สภ.อ.เชียงคำ จ.พะเยา





ประวัติศาสตร์ของ "ตำรวจ" ในประเทศไทยนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 4 ยุค ดังนี้
ยุคแรกของกิจการตำรวจ
มีหลักฐานยืนยันที่แน่ชัดในสมัยอยุธยา แผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราระเบียบการปกครองบ้านเมืองเป็น 4 เหล่า เรียกว่า "จตุสดมภ์" ได้แก่ กรมเวียง กรมวัง กรมคลัง และกรมนา พร้อมทั้งโปรดเกล้าฯให้มีตำรวจด้วย โดยแบ่งเป็น ตำรวจพระนครบาล ตำรวจภูธร โดยขึ้นกับกรมเวียง และตำรวจหลวง ให้ขึ้นกับกรมวัง นอกจากนี้ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการตราศักดินาขจองตำรวจไว้เป็นบรรทัดฐานเช่นเดียวกับข้าราชการฝ่ายอื่น นับเป็นยุคแรกแห่งประวัติศาสตร์กิจการตำรวจไทย
ตำรวจยุคปฏิรูป
เป็นยุคที่ 2 ของกิจการตำรวจ ช่วงระหว่าง พ.ศ.2403-2475 เป็นยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงของประเทศ รวมทั้งการปฏิรูประบบการปกครองของประเทศไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาสู่ระบอบประชาธิปไตย อันเนื่องมาจากการแผ่ขยายอาณาเขตของอารยธรรมตะวันตกในสังคมไทย ทำให้กิจการตำรวจจำเป็นต้องมีการปรับปรุงให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพสังคมในขณะนั้น ต่อมาปี พ.ศ.2405 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการว่าจ้าง กัปตัน เอส.เจ.เบิร์ดเอมส์ (Capt.S.J.Bird Ames) ชาวอังกฤษ จัดตั้งกองตำรวจสำหรับรักษาความสงบเรียบร้อย ภายในเขตนครหลวงตามแบบยุโรปขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกว่า "กองโปลิศ" ให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพระนครบาล ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการขยายงานตำรวจจากเขตนครหลวงไปสู่ส่วนภูมิภาค โดยจัดตั้งเป็น กรมตำรวจภูธร ขึ้น ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย เพื่อขยายงานป้องกันและปราบปรามโจรผู้ร้ายตลอดจนรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับพี่น้องประชาชนได้อย่างทั่วถึง ต่อมาได้มีการรวมเป็นกรมเดียวกันในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2458 เรียกว่า "กรมตำรวจภูธรและกรมพลตระเวน" โดยให้ขี้นกับกระทรวงมหาดไทย นับแต่นั้นจึงถึงกันว่า วันที่ 13 ตุลาคม ของทุกปี คือ "วันตำรวจ"
ตำรวจสมัยประชาธิปไตย
ยุคที่ 3 ในการเปลี่ยนแปลงกิจการตำรวจไทยนั้น มิได้เปลี่ยนเฉพาะโครงสร้างและหน้าที่ แต่มีการเปลี่ยนชื่อเรียกหน่วยงานควบคู่ไปด้วยอยู่เสมอ ภายหลังจากได้รวมกันเป็น "กรมตำรวจภูธรและพลตระเวน" แล้ว ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น "กรมตำรวจภูธร" จากนั้นในปี พ.ศ. 2475 จึงเป็นเปลี่ยนนามหน่วยเป็น "กรมตำรวจ" กิจการตำรวจยุคที่ 3 นี้ ได้ถือตามประกาศเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ พ.ศ.2475 โดยแบ่งกิจการตำรวจออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นหน่วยบริหารงานส่วนกลางและสำนักบริหารของอธิบดีกรมตำรวจ ส่วนที่ 2 คือตำรวจนครบาล ส่วนที่ 3 คือ ตำรวจภูธร ส่วนที่ 4 คือ ตำรวจสันติบาล ซึ่งการแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ นี้ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขอีกหลายครั้ง แต่หลักการใหญ่ก็ยังคงแบ่งงานตำรวจออกเป็น 4 ส่วนเช่นเดิม โดยยึดตามคุณภาพปริมาณของงานที่รับผิดชอบ และความผันแปรของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย จนกระทั่งปี พ.ศ.2541 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่กับกิจการตำรวจไทย "กรมตำรวจ" ซึ่งเป็นที่รู้จักของคนไทยมา 80 กว่าปี ได้รับการปรับโอนไปเป็น "สำนักงานตำรวจแห่งชาติ" เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2541 ภายใต้การบริหารงานของ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจคนสุดท้าย และเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนแรก
" สำนักงานตำรวจแห่งชาติ "ตำรวจยุค 2000
ในภาพรวมจะเห็นได้ว่า พัฒนาการของกิจการตำรวจในแต่ละยุคที่ผ่านมานั้น จะเป็นไปในลักษณะที่สอดคล้องเหมาะสมกับกระแสสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ก่อนที่จะเข้าสู่ปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ.2000) ประวัติศาสตร์ของกิจการตำรวจก็ปรับเปลี่ยนโฉมครั้งใหม่อีกครั้ง แต่ครั้งนี้ได้ยึดถือตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนมาเป็นหลักในการดำเนินการ ความพยายามในการปรับปรุงโครงสร้างกรมตำรวจนี้มีมาตั้งแต่ พ.ศ.2522 โดยได้มีการพิจารณารูปแบบองค์การตำรวจในหลายรูปแบบ ในที่สุดได้พิจารณาเห็นว่า รูปแบบสำนักงานตำรวจแห่งชาติตามแนวทางของตำรวจญี่ปุ่นมีความสอดคล้องกับประเทศไทย ต่อมาได้มีประกาศ "พระราชกฤษฎีกาโอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย ไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2541" มีฐานะเป็นกรม อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2541 เป็นต้นไป ด้วยเหตุนี้จึงถือว่า วันที่ 17 ตุลาคม ของทุกปี เป็น "วันสถาปนาตำรวจแห่งชาติ"
ผู้นำตำรวจ
นับตั้งแต่การจัดตั้งกรมตำรวจ และการรวม กรมตำรวจภูธร และกรมพลตระเวน เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2458 ได้มีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมตำรวจ ตามลำดับดังนี้
1. กัปตัน เอส.เย.เอมส์ พ.ศ. 2403-2435
2. พระยาอรรคราชวราทร (ภัสดา บุรณศิริ) พ.ศ. 2435-2440
3. นาย เอ.เย.ยาดิน พ.ศ. 2440-2447
4. มหาอำมาตย์โท อีริกเซ็นต์ เย ลอสัน พ.ศ. 2447-2456
5. พลตรีพระยาวาสุเทพ พ.ศ. 2456-2458
6. พล.ท.พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าคำรบ พ.ศ. 2458-2472
7. พล.ต.ท. พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช ) พ.ศ. 2472-2475
8. พ.ต.อ. พระยาบุเรศผดุงกิจ (รวย พรหโมบล ) พ.ศ. 2475-2476
9. พ.ต.อ. พระยาอนุสรณ์ธุระการ (จ่าง วัจนะพุกกะ ) พ.ศ. 2476-2479
10. พล.ต.อ. หลวงอดุล อดุลเดชจรัส พ.ศ. 2479-2488
11. พล.ต.ท. พระรามอินทรา (ดวง จุลัยยานนท์ ) พ.ศ. 2488-2489
12. พล.ต.ต. พระพิจารณ์พลกิจ (ยู่เซ็ก ดุละลัมภะ ) พ.ศ. 2489-2490
13. พล.ต.อ. หลวงชาติตระการโกศล (เจียม ลิมปิชาติ ) พ.ศ. 2490-2494
14. พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ พ.ศ. 2494-2500
15. พล.ต.อ.ไสว ไสวแสนยากร พ.ศ. 2500-2502
16. จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.ศ. 2502-2506
17. พล.ต.อ. ประเสริฐ รุจิรวงศ์ พ.ศ. 2506-2515
18. จอมพล ประภาส จารุเสถียร พ.ศ. 2515-2516
19. พล.ต.อ. ประจวบ สุนทรางกูร พ.ศ. 2516-2517
20. พล.ต.อ. พจน์ เภกะนันทน์ พ.ศ. 2517-2518
21. พล.ต.อ. ศรีสุข มหินทรเทพ พ.ศ. 2518-2518
22. พล.ต.อ. มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น พ.ศ. 2519-2524
23. พล.ต.อ. สุรพล จุลละพราหมณ์ พ.ศ. 2524-2525
24. พล.ต.อ. ณรงค์ มหานนท์ พ.ศ. 2525-2530
25. พล.ต.อ. เภา สารสิน พ.ศ. 2530-2532
26. พล.ต.อ. แสวง ธีระสวัสดิ์ พ.ศ. 2532-2534
27. พล.ต.อ. สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ พ.ศ. 2534-2536
28. พล.ต.อ. ประทิน สันติประภพ พ.ศ. 2536-2537
29. พล.ต.อ. พจน์ บุณยะจินดา พ.ศ. 2537-2539
30. พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก พ.ศ. 2539 - 16 ต.ค. 2541
ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
1. พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก 16 ต.ค. 2541- 2543
2. พล.ต.อ. พรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์ พ.ศ. 2543- 2544
3. พล.ต.อ. สันต์ ศรุตานนท์ พ.ศ. 2544- 2547
4. พล.ต.อ. โกวิท วัฒนะพ.ศ. 2547- 2549
5 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส 1 ต.ค. 2550 - ปัจจุบัน
ความหมายของคำว่า "ตำรวจ"
“ตำรวจ” ตามที่ระบุไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 คือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ตรวจตรารักษาความสงบ จับกุม และ
ปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย” หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ตำรวจ ก็คือ ผู้มีหน้าที่พิทักษ์สันติราษฎร์ ตามที่ได้ยินได้ฟังกันอยู่เสมอ คำว่า “พิทักษ์” แปลว่า ดูแล
คุ้มครอง พลเมืองของประเทศ ดังนั้น ตำรวจจึงเป็นผู้ที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบอันใหญ่หลวงในการดูแลคุ้มครอง ให้เกิดความสงบสุขแก่พลเมืองของประเทศ
"ประเสริฐ เมฆมณี" ได้ให้ความหมายของคำว่า “ตำรวจ” ว่า คำนี้ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “POLICE” มีพื้นฐานมาจากคำว่า
“WATCH MAN” โดย หมายถึง ผู้ตรวจตรา ซึ่งถือกำเนิดมาจาก “การจัดระบบตรวจตราและคุ้มครอง” (WATCH ANDWARD SYSTEN) ของ
ตำรวจอังกฤษ และยังมีประวัติความเป็นมาคล้ายคลึงกับคำว่า “RATTLE WATH” หรือหน่วยตรวจตราคุ้มภัยแก่ประชาชนของตำรวจสหรัฐอเมริกาแต่เดิมด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังได้มีการวิเคราะห์ความหมายของตำรวจ แยกเป็นรายตัวสระ และอักษร คำว่า POLICE นี้ พระเจ้าชาร์ล ที่ 5 แห่งประเทศฝรั่งเศส ได้ทรงวิเคราะห์ศัพท์ แยกเป็นรายอักษร ดังนี้
P มาจาก Politeness หมายถึง ความสุภาพเรียบร้อย
O มาจาก Obedience หมายถึง เชื่อฟังคำสั่ง
L มาจาก Legal Knowledge หมายถึง รู้กฎหมาย
I มาจาก Investigation หมายถึง การสืบสวน สอบสวน
C มาจาก Cooperation หมายถึง ความร่วมมือ สามัคคีในหน้าที่
E มาจาก Energy หมายถึง ความเข้มแข็งต่อการงานในหน้าที่
นอกจากนั้น ได้พิจารณาวิเคราะห์ความหมายของคำว่า “ตรวจ” ซึ่งต่อมาได้แปลงเป็น “ตำรวจ” ได้ดังนี้
ต หมายถึง ตรวจตรา จับกุมผู้กระทำผิดตามหน้าที่
า หมายถึง อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
ร หมายถึง ระงับเหตุ รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
ว หมายถึง วาจาดี มีกริยาสุภาพ
จ หมายถึง จรรยาดี มีศีลธรรม
หน้าที่ และความรับผิดชอบของตำรวจ
ตามประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี เล่มที่ 1 ภาคที่ 1 ลักษณะที่ 1 บทที่ 1 กำหนดหน้าที่ทั่วไปของตำรวจไว้ดังนี้
1. รักษาความสงบเรียบร้อยทั้งภายในและภายนอก เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน
2. รักษากฎหมายที่เกี่ยวแก่การกระทำผิดในทางอาญา
3. บำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้แก่ประชาชน
4. ดูแลรักษาผลประโยชน์ของสาธารณะ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ.2487 กำหนดถึงอำนาจหน้าที่ของตำรวจไว้พอสรุปได้ดังนี้
1. ตำรวจ เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รักษาความสงบของประชาชน
2. ตำรวจ เป็นพนักงานสอบสวน ย่อมมีอำนาจสอบสวนคดีอาญาภายในเขตอำนาจของตนที่กำหนดไว้
3. ตำรวจ มีอำนาจในการจับกุมผู้กระทำผิดในคดีอาญาและการค้น
4. ตำรวจ มีอำนาจควบคุมตัวผู้กระทำผิดที่ถูกจับไว้ได้ตามกำหนดเวลาที่กฎหมายบัญญัติไว้
5. ตำรวจ มีอำนาจตรวจค้นเคหสถาน ที่อยู่อาศัย และสำนักงานของบุคคลอันเป็นที่รโหฐานตามเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สภ.อ.เชียงคำ จ.พะเยา