รองอธิบดีกรมพินิจฯ ชี้ปัญหาเด็กยกพวกตีกันในสถานพินิจฯ ต้นตอปัญหาไม่ใช่เด็ก แต่เป็นผู้ต้องหากลุ่มวัยรุ่นบรรลุนิติภาวะ ตั้งแก๊งเช็คบิลคู่อริ จึงไม่กลัวกฎระเบียบที่บังคับใช้กับเด็กเล็ก เบื้องต้นเตรียมนำนักจิตวิทยาและนักสังคมสงเคราะห์ร่วมสอบสวนคัดแยกเด็ก หาข้อมูลที่แท้จริง
วันนี้ (12 ต.ค.) ที่กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน นายสุรินทร์ เสถียรมาศ รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กล่าวถึงกรณีเยาวชนในสถานพินิจฯจังหวัดราชบุรี ยกพวกตีกันและทำลายทรัพย์สินของทางราชการว่า หลังเกิดเหตุตนได้เดินทางไปยังสถานพินิจฯ จ.ราชบุรี เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งหมด ในเบื้องต้นพบว่าเยาวชนในสถานพินิจฯ ได้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มเยาวชน จ.ราชบุรี กับกลุ่มเยาวชน จ.เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ โดยทั้ง 2 กลุ่มมีเหตุวิวาทกันตั้งแต่วันที่ 10 ต.ค.ที่ผ่านมา จากนั้นเจ้าหน้าที่ของสถานพินิจฯได้เข้ามาไกล่เกลี่ยจนสามารถยุติข้อพิพาทได้ แต่ก็เกิดเหตุทะเลาะวิวาทซ้ำขึ้นอีกครั้งในช่วงเย็นของวันที่ 11 ต.ค. โดยระหว่างนำตัวเยาวชนมารับประทานอาหารเย็นกลุ่มคู่อริได้ก่อเหตุเข้าไปทำลายล็อกเกอร์เก็บของใช้ส่วนตัวของอีกฝ่ายหนึ่ง จนทำให้เกิดเหตุวิวาทบานปลาย เยาวชนทั้ง 2 กลุ่ม ไม่มีอาวุธจึงได้ทำลายมุ้งลวดในหอนอนเพื่อนำกรอบอะลูมิเนียมมาเป็นอาวุธใช้ทำร้ายฝ่ายตรงข้าม ภายหลังเมื่อเจ้าหน้าที่เข้าระงับเหตุ จึงพบว่าสภาพหอนอนเสียหาย จนไม่สามารถนำเยาวชนเข้าไปนอนได้ จึงต้องนำเยาวชนทั้งหมดรวม 609 รายไปฝากควบคุมตัวไว้ที่เรือนจำกลางราชบุรี
นายสุรินทร์ กล่าวอีกว่า ในการรับตัวเยาวชนกลับจากเรือนจำ สถานพินิจฯ จะทำการคัดแยกโดยให้นักจิตวิทยาและนักสังคมสงเคราะห์มาร่วมสอบสวน เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งเป็นปัญหาของการเกิดข้อพิพาท โดยยอมรับว่าเยาวชนในสถานพินิจฯมักจับกลุ่มและแบ่งพวกออกตามจังหวัดนิยม ใครมาจากจังหวัดใดก็จะพยายามรวมตัวกันเพื่อสร้างอิทธิพล ที่สำคัญเยาวชนบางกลุ่มก็มีเหตุขัดแย้งกันมาก่อนที่จะถูกส่งตัวมาควบคุมตัว เมื่อถูกจับมารวมกันจึงพยายามเข้ามาเช็คบิลกันในสถานพินิจฯ ทั้งนี้ปัญหาการทะเลาะวิวาทของเยาวชนที่เกิดขึ้น คล้ายกับปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานพินิจฯ จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเยาวชนจาก จ.สุราษฎร์ฯ ทะเลาะวิวาทกับเยาวชน จ.นครศรีธรรมราช รวมถึงศูนย์ฝึกพิษณุโลก ซึ่งเกิดเหตุวิวาทระหว่างเยาวชนจากจังหวัดภาคเหนือกับเยาวชนในจังหวัดภาคกลาง
“ต้องยอมรับว่าปัญหาของสถานพินิจฯต่างไปจากอดีต สมัยก่อนเราดูแลเด็กที่กระทำความผิด แต่ขณะนี้มีเยาวชนอายุ 18-24 ปี ถูกส่งตัวเข้ามาควบคุมเกินครึ่ง ในสถานพินิจฯ จ.ราชบุรี มีเยาวชนที่เป็นผู้ใหญ่ บรรลุนิติภาวะแล้วกว่า 300 คน ส่วนที่เหลือประมาณ 200 คนเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงยากต่อการควบคุมดูแลเพราะระเบียบของกรมพินิจฯ ออกแบบไว้เพื่อดูแลเด็ก จึงไม่สามารถนำไปบังคับใช้กับผู้ใหญ่” นายสุรินทร์กล่าว


วันนี้ (12 ต.ค.) ที่กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน นายสุรินทร์ เสถียรมาศ รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กล่าวถึงกรณีเยาวชนในสถานพินิจฯจังหวัดราชบุรี ยกพวกตีกันและทำลายทรัพย์สินของทางราชการว่า หลังเกิดเหตุตนได้เดินทางไปยังสถานพินิจฯ จ.ราชบุรี เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งหมด ในเบื้องต้นพบว่าเยาวชนในสถานพินิจฯ ได้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มเยาวชน จ.ราชบุรี กับกลุ่มเยาวชน จ.เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ โดยทั้ง 2 กลุ่มมีเหตุวิวาทกันตั้งแต่วันที่ 10 ต.ค.ที่ผ่านมา จากนั้นเจ้าหน้าที่ของสถานพินิจฯได้เข้ามาไกล่เกลี่ยจนสามารถยุติข้อพิพาทได้ แต่ก็เกิดเหตุทะเลาะวิวาทซ้ำขึ้นอีกครั้งในช่วงเย็นของวันที่ 11 ต.ค. โดยระหว่างนำตัวเยาวชนมารับประทานอาหารเย็นกลุ่มคู่อริได้ก่อเหตุเข้าไปทำลายล็อกเกอร์เก็บของใช้ส่วนตัวของอีกฝ่ายหนึ่ง จนทำให้เกิดเหตุวิวาทบานปลาย เยาวชนทั้ง 2 กลุ่ม ไม่มีอาวุธจึงได้ทำลายมุ้งลวดในหอนอนเพื่อนำกรอบอะลูมิเนียมมาเป็นอาวุธใช้ทำร้ายฝ่ายตรงข้าม ภายหลังเมื่อเจ้าหน้าที่เข้าระงับเหตุ จึงพบว่าสภาพหอนอนเสียหาย จนไม่สามารถนำเยาวชนเข้าไปนอนได้ จึงต้องนำเยาวชนทั้งหมดรวม 609 รายไปฝากควบคุมตัวไว้ที่เรือนจำกลางราชบุรี
นายสุรินทร์ กล่าวอีกว่า ในการรับตัวเยาวชนกลับจากเรือนจำ สถานพินิจฯ จะทำการคัดแยกโดยให้นักจิตวิทยาและนักสังคมสงเคราะห์มาร่วมสอบสวน เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งเป็นปัญหาของการเกิดข้อพิพาท โดยยอมรับว่าเยาวชนในสถานพินิจฯมักจับกลุ่มและแบ่งพวกออกตามจังหวัดนิยม ใครมาจากจังหวัดใดก็จะพยายามรวมตัวกันเพื่อสร้างอิทธิพล ที่สำคัญเยาวชนบางกลุ่มก็มีเหตุขัดแย้งกันมาก่อนที่จะถูกส่งตัวมาควบคุมตัว เมื่อถูกจับมารวมกันจึงพยายามเข้ามาเช็คบิลกันในสถานพินิจฯ ทั้งนี้ปัญหาการทะเลาะวิวาทของเยาวชนที่เกิดขึ้น คล้ายกับปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานพินิจฯ จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเยาวชนจาก จ.สุราษฎร์ฯ ทะเลาะวิวาทกับเยาวชน จ.นครศรีธรรมราช รวมถึงศูนย์ฝึกพิษณุโลก ซึ่งเกิดเหตุวิวาทระหว่างเยาวชนจากจังหวัดภาคเหนือกับเยาวชนในจังหวัดภาคกลาง
“ต้องยอมรับว่าปัญหาของสถานพินิจฯต่างไปจากอดีต สมัยก่อนเราดูแลเด็กที่กระทำความผิด แต่ขณะนี้มีเยาวชนอายุ 18-24 ปี ถูกส่งตัวเข้ามาควบคุมเกินครึ่ง ในสถานพินิจฯ จ.ราชบุรี มีเยาวชนที่เป็นผู้ใหญ่ บรรลุนิติภาวะแล้วกว่า 300 คน ส่วนที่เหลือประมาณ 200 คนเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงยากต่อการควบคุมดูแลเพราะระเบียบของกรมพินิจฯ ออกแบบไว้เพื่อดูแลเด็ก จึงไม่สามารถนำไปบังคับใช้กับผู้ใหญ่” นายสุรินทร์กล่าว