ตระกูล “วิชัยดิษฐ” เช็กบิลย้อนหลัง ฟ้องเรียกละเมิดร่วม 100 ล้าน “แอร์บัส” ตกที่สุราษฎร์ ชี้ ขาดความเฉลียว ผลิตเครื่องผิดพลาด เป็นเหตุให้อดีตเลขาธิการนายกฯ-ภรรยา ดับทั้งคู่
วันนี้ (29 มิ.ย.) เมื่อเวลา 11.00 น.ที่ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก นายรุจิระ บุนนาค ทนายความผู้รับมอบอำนาจจาก นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ, นายชุติพงษ์ วิชัยดิษฐ และนายสำรวม วิชัยดิษฐ (บิดานายธวัช วิชัยดิษฐ) เป็นโจทก์ที่ 1-3 ยื่นฟ้องบริษัทจำกัดร่วมทุนแอร์บัส (Airbus Societe Par Actions Simplifee) เป็นจำเลย ในความผิดฐานละเมิด เรียกค่าเสียหายเป็นจำนวนทุนทรัพย์ 99,434,246.59 บาท กรณีเครื่องบินแอร์บัส A310-204 ประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 11 ธ.ค.2541 เป็นเหตุให้ นายธวัช และนางวราภรณ์ วิชัยดิษฐ บิดาและมารดาของโจทก์ที่ 1-2 เสียชีวิต
ฟ้องโจทก์ระบุความผิดจำเลยสรุปว่า จำเลยเป็นบริษัทร่วมทุนในประเทศฝรั่งเศส ประกอบธุรกิจในการออกแบบและผลิตเครื่องบินแอร์บัส A310-204 สัญชาติไทย ทะเบียน เอชเอส-ทีไอเอ (HS-TIA) ซึ่งได้ประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกที่ จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 11 ธ.ค.2541 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 101 คน รวมทั้ง นายธวัช-นางวราภรณ์ วิชัยดิษฐ บิดา-มารดาของโจทก์ที่ 1-2 ซึ่ง นายธวัช ยังเป็นบุตรชายของโจทก์ที่ 3 นอกจากนี้ ยังมีผู้บาดเจ็บสาหัส 35 คน และบาดเจ็บเล็กน้อยอีก 10 คน โดยเครื่องบินลำดังกล่าวได้รับความเสียหายจนไม่อาจใช้การได้ต่อไป
คำฟ้องระบุต่อว่า จำเลยได้ออกแบบผลิตเครื่องบินลำดังกล่าวโดยขาดความละเอียดรอบคอบปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนี้มีหน้าที่รับผิดชอบอันสำคัญ เช่นจำเลยจะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ณ์เป็นเหตุให้ในขณะที่เครื่องบินเข้าสู่ภาวะร่วงหล่นได้ในทางสถานการณ์ และหากบังเอิญมีความผิดพลาดของระบบไฟฟ้าที่เกิดขึ้นขณะนั้นสามารถนำไปสู่อุบัติเหตุเครื่องบินตกไป โดยเครื่องบินดังกล่าวสามารถเข้าไปอยู่ในอาการหัวสูงได้ง่ายมากในขณะบินวนไปใหม่ นักบินจะทำการแก้ไขเพื่อให้เครื่องบินออกจากอาการลักษณะดังกล่าวได้ยากมาก และมีปัญหาทางด้านเทคนิคเกี่ยวกับระบบปักเงย นักบินจะไม่สามารถควบคุมแพนหางปรับได้ด้านหน้า ซึ่งจะทำการปรับตั้งใหม่โดยอัตโนมัติ และจะเป็นการเสริมสภาพให้เครื่องบินที่อยู่ในสภาพวิกฤตและคับขันนั้นให้อยู่ในสภาวะร่วงหล่นมากขึ้น
นอกจากนี้ เครื่องบินดังกล่าวยังมีระบบเตือนสภาวะร่วงหล่นและทั้งเครื่องวัดความเร็วในอากาศทำงานช้า โดยมีสัญญาณขาดหายไปเป็นช่วงๆ แต่ละช่วงขาดหายไปนานเกินสมควร เป็นเหตุให้นักบินผู้ควบคุมเครื่องบินลำดังกล่าวไม่ได้รับทราบข้อมูลและปัญหาอย่างเพียงพอ และระบบไฟฟ้าหลักที่สำคัญยิ่ง (A/C ESSENTIAL BUS) ได้มีการนำระบบอื่นๆ ที่ไม่สำคัญมาเข้า (Attach) มากเกินไป ยังใช้สายไฟในระบบโดยมีขนาดไม่เหมาะสม ใช้ค่าแรงบิดของสกรูผิดพลาด ทำให้มีโอกาสช็อต หรือล้มเหลวได้ง่าย ส่งผลทำให้ระบบต่างๆ ในเครื่องบินทำงานผิดพลาด
ท้ายคำฟ้อง โจทก์ทั้งสามเรียกร้องค่าเสียหาย ประกอบด้วย ค่าเสียหายที่เป็นสิทธิเรียกร้อง จากการที่ นายธวัช วิชัยดิษฐ ถูกทำให้ตาย นายธวัช ได้รับปริญญาตรี-ปริญญาโทในประเทศไทย, ปริญญาโทจากสหรัฐฯ 2 ปริญญา และปริญญาเอกจากสหรัฐฯ 1 ปริญญา นอกจากนี้ ยังได้ดำรงตำแหน่งสำคัญทั้งทางด้านการศึกษาและการเมือง เช่น รองศาสตราจารย์และอดีตคณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า, อดีตผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค, อดีต ส.ส.และอดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นจำนวน 32,826,027.40 บาท และค่าขาดไร้อุปการะเป็นจำนวน 26,608,219.19 บาท, ค่าเสียหายทางจิตใจเป็นจำนวน 40 ล้านบาท รวมเป็นค่าเสียหายทั้งสิ้น 99,434,246.59 บาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เหตุการณ์เครื่องบินตกในครั้งนั้น นายเจมส์-เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ นักร้องดังและผู้บริหารค่ายดนตรีมีฟ้าสังกัดเครือแกรมมี่ ซึ่งเคยโด่งดังจากบทเพลงวัยรุ่น “ข้าวมันไก่” และอีกหลายผลงานเพลง ได้เดินทางไปพร้อมกับเครื่องบินแอร์บัสลำดังกล่าวด้วย โดยเจมส์-เรืองศักดิ์ นั่งอยู่ส่วนท้ายของเครื่องบินแต่รอดตายอย่างปาฏิหาริย์ โดยได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย



วันนี้ (29 มิ.ย.) เมื่อเวลา 11.00 น.ที่ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก นายรุจิระ บุนนาค ทนายความผู้รับมอบอำนาจจาก นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ, นายชุติพงษ์ วิชัยดิษฐ และนายสำรวม วิชัยดิษฐ (บิดานายธวัช วิชัยดิษฐ) เป็นโจทก์ที่ 1-3 ยื่นฟ้องบริษัทจำกัดร่วมทุนแอร์บัส (Airbus Societe Par Actions Simplifee) เป็นจำเลย ในความผิดฐานละเมิด เรียกค่าเสียหายเป็นจำนวนทุนทรัพย์ 99,434,246.59 บาท กรณีเครื่องบินแอร์บัส A310-204 ประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 11 ธ.ค.2541 เป็นเหตุให้ นายธวัช และนางวราภรณ์ วิชัยดิษฐ บิดาและมารดาของโจทก์ที่ 1-2 เสียชีวิต
ฟ้องโจทก์ระบุความผิดจำเลยสรุปว่า จำเลยเป็นบริษัทร่วมทุนในประเทศฝรั่งเศส ประกอบธุรกิจในการออกแบบและผลิตเครื่องบินแอร์บัส A310-204 สัญชาติไทย ทะเบียน เอชเอส-ทีไอเอ (HS-TIA) ซึ่งได้ประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกที่ จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 11 ธ.ค.2541 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 101 คน รวมทั้ง นายธวัช-นางวราภรณ์ วิชัยดิษฐ บิดา-มารดาของโจทก์ที่ 1-2 ซึ่ง นายธวัช ยังเป็นบุตรชายของโจทก์ที่ 3 นอกจากนี้ ยังมีผู้บาดเจ็บสาหัส 35 คน และบาดเจ็บเล็กน้อยอีก 10 คน โดยเครื่องบินลำดังกล่าวได้รับความเสียหายจนไม่อาจใช้การได้ต่อไป
คำฟ้องระบุต่อว่า จำเลยได้ออกแบบผลิตเครื่องบินลำดังกล่าวโดยขาดความละเอียดรอบคอบปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนี้มีหน้าที่รับผิดชอบอันสำคัญ เช่นจำเลยจะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ณ์เป็นเหตุให้ในขณะที่เครื่องบินเข้าสู่ภาวะร่วงหล่นได้ในทางสถานการณ์ และหากบังเอิญมีความผิดพลาดของระบบไฟฟ้าที่เกิดขึ้นขณะนั้นสามารถนำไปสู่อุบัติเหตุเครื่องบินตกไป โดยเครื่องบินดังกล่าวสามารถเข้าไปอยู่ในอาการหัวสูงได้ง่ายมากในขณะบินวนไปใหม่ นักบินจะทำการแก้ไขเพื่อให้เครื่องบินออกจากอาการลักษณะดังกล่าวได้ยากมาก และมีปัญหาทางด้านเทคนิคเกี่ยวกับระบบปักเงย นักบินจะไม่สามารถควบคุมแพนหางปรับได้ด้านหน้า ซึ่งจะทำการปรับตั้งใหม่โดยอัตโนมัติ และจะเป็นการเสริมสภาพให้เครื่องบินที่อยู่ในสภาพวิกฤตและคับขันนั้นให้อยู่ในสภาวะร่วงหล่นมากขึ้น
นอกจากนี้ เครื่องบินดังกล่าวยังมีระบบเตือนสภาวะร่วงหล่นและทั้งเครื่องวัดความเร็วในอากาศทำงานช้า โดยมีสัญญาณขาดหายไปเป็นช่วงๆ แต่ละช่วงขาดหายไปนานเกินสมควร เป็นเหตุให้นักบินผู้ควบคุมเครื่องบินลำดังกล่าวไม่ได้รับทราบข้อมูลและปัญหาอย่างเพียงพอ และระบบไฟฟ้าหลักที่สำคัญยิ่ง (A/C ESSENTIAL BUS) ได้มีการนำระบบอื่นๆ ที่ไม่สำคัญมาเข้า (Attach) มากเกินไป ยังใช้สายไฟในระบบโดยมีขนาดไม่เหมาะสม ใช้ค่าแรงบิดของสกรูผิดพลาด ทำให้มีโอกาสช็อต หรือล้มเหลวได้ง่าย ส่งผลทำให้ระบบต่างๆ ในเครื่องบินทำงานผิดพลาด
ท้ายคำฟ้อง โจทก์ทั้งสามเรียกร้องค่าเสียหาย ประกอบด้วย ค่าเสียหายที่เป็นสิทธิเรียกร้อง จากการที่ นายธวัช วิชัยดิษฐ ถูกทำให้ตาย นายธวัช ได้รับปริญญาตรี-ปริญญาโทในประเทศไทย, ปริญญาโทจากสหรัฐฯ 2 ปริญญา และปริญญาเอกจากสหรัฐฯ 1 ปริญญา นอกจากนี้ ยังได้ดำรงตำแหน่งสำคัญทั้งทางด้านการศึกษาและการเมือง เช่น รองศาสตราจารย์และอดีตคณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า, อดีตผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค, อดีต ส.ส.และอดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นจำนวน 32,826,027.40 บาท และค่าขาดไร้อุปการะเป็นจำนวน 26,608,219.19 บาท, ค่าเสียหายทางจิตใจเป็นจำนวน 40 ล้านบาท รวมเป็นค่าเสียหายทั้งสิ้น 99,434,246.59 บาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เหตุการณ์เครื่องบินตกในครั้งนั้น นายเจมส์-เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ นักร้องดังและผู้บริหารค่ายดนตรีมีฟ้าสังกัดเครือแกรมมี่ ซึ่งเคยโด่งดังจากบทเพลงวัยรุ่น “ข้าวมันไก่” และอีกหลายผลงานเพลง ได้เดินทางไปพร้อมกับเครื่องบินแอร์บัสลำดังกล่าวด้วย โดยเจมส์-เรืองศักดิ์ นั่งอยู่ส่วนท้ายของเครื่องบินแต่รอดตายอย่างปาฏิหาริย์ โดยได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย