xs
xsm
sm
md
lg

เปิดกลโกงเหลี่ยม “แม้ว-เมีย” ซุกหุ้น SC Asset ภาคพิสดาร

เผยแพร่:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม


เอกสารการแถลงข่าวผลการสอบสวนคดี การเปิดเผยข้อมูลของ บริษัท เอสซี แอสเซท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

วันที่ 19 มิ.ย. เวลา 13.30 น. นายสุนัย มโนมัยอุดม อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้แถลงข่าวความคืบหน้าเกี่ยวกับการสรุปสำนวนคดีบริษัท เอสซี แอสเซท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ณ ห้อง 25 A ชั้น 25 อาคารสุขประพฤติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ

นายสุนัย มโนมัยอุดม อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษแถลงว่า ตามที่คณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2550 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2550 ให้กรณีนิติบุคคล (บริษัท เอสซี แอสเซท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)) ปกปิดข้อมูลโครงสร้างการถือหุ้นในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และผู้ถือหุ้นมิได้รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นตามกฎหมายเป็นคดีพิเศษนั้น บัดนี้คณะพนักงานสอบสวนได้ประชุมสรุปสำนวนแล้ว ได้ความว่า manager

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับครอบครัว เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่บริษัท โอ เอ ไอ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ซึ่งปัจจุบันคือ บริษัท เอสซี แอสเซท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SC Asset) ต่อมาในช่วงกลางปี 2543 พ.ต.ท.ทักษิณ และภรรยา ได้ขายหุ้น SC Asset และหุ้นบางส่วนของบริษัทของครอบครัวอีก 5 แห่ง ได้แก่ 1.บริษัท พีที.คอร์ปอเรชั่น จำกัด 2.บริษัท เวิร์ธ ซัพพลาย จำกัด 3.บริษัท บี.พี.พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด 4.บริษัท เอส ซี เค เอสเทต จำกัด 5.บริษัท เอส ซี ออฟฟิส ปาร์ค จำกัด ให้แก่ Win Mark Limited ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนที่บริติช เวอร์จิน ไอส์แลนด์ (BVI) รวมมูลค่าทั้งสิ้น 1,527 ล้านบาท หลังจากนั้น วันที่ 11 สิงหาคม 2546 Win Mark ได้โอนหุ้น SC Asset ที่มีอยู่ทั้งหมดให้ Value Investment Mutual Fund Inc.(VIF)(หรือชื่อเดิม Value Asset Fund Limited :VAF) และวันที่ 1 กันยายน 2546 VIF ได้โอนหุ้น SC Asset ทั้งหมดให้แก่ Overseas Growth Fund Inc. (OGF) และ Offshorc Dynamic Fund Inc.(ODF) ต่อมา SC Asset ได้เข้าจดทะเบียนในตลสาดหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2546 ซึ่ง OGF และ ODF ได้ถือหุ้น SC Asset มาโดยตลอด จนกระทั่งประมาณเดือนเมษายน-สิงหาคม 2549 OGF และ ODF จึงได้ทยอยขายออกไปในตลาดหลักทรัพย์จนหมด manager

จากพฤติกรรมดังกล่าวข้างต้น ประกอบกับปรากฏว่า เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2546 VIF ได้สละสิทธิ์การซื้อหุ้นเพิ่มทุน SC Asset ในราคาพาร์ให้บุตรสาว 2 คนของ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้รับซื้อหุ้นเพิ่มทุน ทั้งที่ในการประชุมครั้งเดียวกันนั้น มีวาระให้เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไป เพื่อนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ด้วย การสละสิทธิ์ดังกล่าวเป็นเหตุให้ VIF ต้องเสียประโยชน์จากส่วนต่างของราคาหุ้น เมื่อ SC Asset ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประมาณ 71 ล้านบาทเศษ และต่อมาในปี 2547 Win Mark ได้โอนขายหุ้นของบริษัทครอบครัวชินวัตร 5 บริษัท ให้แก่ น.ส.พิณทองทา และบริษัทของครอบครัวชินวัตรอื่นอีก 2 บริษัท รวมเป็นเงิน 18.8 ล้านดอลลาร์ โดย Win Mark ไม่ได้รับประโยชน์จากการลงทุนและถือครองหุ้นเป็นระยะเวลานาน ทำให้มีข้อสงสัยว่า Win Mark VIF OGF และ ODF อาจเป็นนิติบุคคลอำพรางการถือหุ้น (Nominee) ของ พ.ต.ท.ทักษิณ กับครอบครัว manager

สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.ได้ส่งข้อมูลที่ได้รับจากการตรวจสอบมายังกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อสอบสวนหาพยานหลักฐานเพิ่มเติม ในการนี้ คณะพนักงานสอบสวน ซึ่งมีพนักงานอัยการ และผู้แทนสำนักงาน ก.ล.ต.เข้าร่วมเป็นที่ปรึกษาด้วย ได้สอบสวนในประเด็นข้อสงสัยต่างๆ แล้ว พบพยานหลักฐานที่ทำให้น่าเชื่อว่า Win Mark VIF OGF และ ODF อาจเป็นนิติบุคคลอำพรางการถือหุ้น (Nominee) ของ พ.ต.ท.ทักษิณ และภรรยา จึงแสดงว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และภรรยา เป็นเจ้าของหุ้นและเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจดำเนินการเกี่ยวกับหุ้น SC Asset และหุ้นของบริษัทในครอบครัวชินวัตรอีก 5 แห่ง ที่ถือโดยนิติบุคคลดังกล่าวมาโดยตลอด manager

จากข้อเท็จจริงข้างต้น จึงสรุปการสอบสวนได้ ดังนี้

1.SC Asset เปิดเผยข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อ ก.ล.ต.เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2546 ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย กล่าวคือ เปิดเผยว่า ครอบครัวชินวัตร ถือหุ้นใน SC Asset ร้อยละ 60.82 โดยมิได้นำหุ้นที่ถือแทนโดย OGF และ ODF มานับรวมกับการถือหุ้นของครอบครัว ซึ่งหากนับรวมแล้ว จะทำให้ครอบครัวชินวัตรร ถือหุ้นรวมทั้งหมดร้อยละ 79.87 ข้อมูลดังกล่าวถือเป็นข้อมูลที่มมีนัยสำคีญ เนื่องจากทำให้ผู้ลงทุนเข้าใจว่า ครอบครัวชินวัตรสามารถควบคุมได้เฉพาะมติที่ใช้เสียงข้างมาก ทั้งที่ตามข้อเท็จจริง สามารถควบคุมมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้ทั้งหมด แม้จะเป็นเรื่องที่ต้องใช้เสียงถึง 3 ใน 4 ของที่ประชุมผู้ถือหุ้น manager

การกระทำข้างต้นของบริษัท SC Asset เข้าข่ายความผิดมาตรา 278 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 และนางบุษบา ดามาพงศ์ อดีตผู้บริหารที่ร่วมลงนามรับรองความถูกต้องของแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าว เข้าข่ายกระทำผิดตามมาตรา 301 ประกอบ 278 แห่งประราชบัญญํติฉบับเดียวกัน manager

2.การที่ OGF และ ODF ซึ่งเป็นนิติบุคคลอำพรางการถือหุ้น (Nominee) ของ พ.ต.ท.ทักษิณ และภรรยา ขายหุ้น SC Asset ที่ถืออยู่ออกไปในตลาดหลักทรัพย์ ในปี 2549 ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ และภรรยา ซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริง มีหน้าที่ต้องรายงานการถือหุ้น SC Asset ตามมาตรา 246 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ทุกครั้งที่จำหน่ายหุ้นข้ามทุกร้อยละ 5 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วของกิจการนั้น โดยมีหน้าที่ต้องรายงานทั้งหมด 4 ครั้ง การไม่รายงานดังกล่าว ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ และภรรยา เข้าข่ายกระทำผิดตามมาตรา 298 ประกอบมาตรา 246 แห่งพ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ manager

ขณะนี้ พนักงานสอบสวนได้ออกหมายเรียกบริษัท SC Asset นางบุษบา ดามาพงศ์ พ.ต.ท.ทักษิณ และภรรยา มารับทราบข้อกล่าวหาแล้ว โดยให้มาในช่วงระหว่างวันที่ 26-29 มิถุนายน 2550 manager

นอกจากนี้ การสอบสวนยังพบว่า มีการกระทำที่อาจเข้าข่ายเป็นความผิดตามกฎหมายอื่น ซึ่งอยู่ในอำนาจคณะกรรมการ ป.ป.ช.กล่าวคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ไม่แสดงบัญชีรายการทรัพย์สินดังกล่าว จึงอาจเป็นการจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหรือหนี้สินอันเป็นเท็จ ซึ่งอาจเข้าข่ายเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 32, 33 และ 34 และ พ.ต.ท.ทักษิณ ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อาจกระทำการอันมีลักษณะเป็นเข้าไปบริหาร ครอบงำ หรือจัดหาผลประโยชน์ในหุ้นของบริษัทต่างๆ ที่กล่าวข้างต้น ซึ่งอาจเข้าข่ายเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2542 มาตรา 11 และมาตรา 17 ซึ่งจะได้ส่งเรื่องดังกล่าวไปยังคณะกรรมการ ป.ป.ช.ต่อไป manager

มาตราที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด

ความผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535

กรณีแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ไม่ถูกต้อง

มาตรา 65

การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน หรือบุคคลใดๆ จะกระทำได้ต่อเมื่อผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัดหรือเจ้าของหลักทรัพย์ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสำนักงานและแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าว มีผลใช้บังคับแล้ว manager

มาตรา 278

ผู้ใดแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้งในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นตามมาตรา 65 ในสาระสำคัญ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินสองเท่าของราคาขายของหลักทรัพย์ทั้งหมด ซึ่งผู้นั้นได้เสนอขาย แต่ทั้งนี้เงินค่าปรับต้องไม่น้อยกว่าห้าแสนบาทmanager

มาตรา 301

ในกรณีผู้กระทำความผิดตามมาตรา 278 เป็นนิติบุคคล ถ้าพิสูจน์ได้ว่าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการ การกระทำการ หรือไม่สั่งการ หรือไม่กระทำการอันเป็นหน้าที่ ที่ต้องกระทำของกรรมการ ผู้จัดการ หรือ บุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ผู้ใดผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นๆ ด้วยmanager

กรณีผู้ถือหุ้นรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ไม่ถูกต้อง

มาตรา 246

บุคคลใดได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการใดในลักษณะที่ทำให้ตน หรือบุคคลอื่นเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ในกิจการนั้นเพิ่มขึ้นหรือลดลงเมื่อรวมกันแล้ว มีจำนวนทุนร้อยละห้าของจำนวนหลักทรัพย์ที่จำหน่ายไปแล้วทั้งหมดของกิจการนั้น ไม่ว่าจะมีการลงทะเบียนการโอนหลักทรัพย์นั้นหรือไม่ และไม่ว่าการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของหลักทรัพย์นั้น จะมีจำนวนเท่าใด ในแต่ละครั้ง บุคคลนั้นต้องรายงานถึงจำนวนหลักทรัพย์ในทุกร้อยละห้าดังกล่าวต่อสำนักงานทุกครั้งที่ได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ภายในวันทำการถัดจากวันที่ได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการนั้น เว้นแต่ในกรณีการจำหน่ายที่ไม่มีผลทำให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร หรือธุรกิจของกิจการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต.ประกาศกำหนดmanager

มาตรา 258

หลักทรัพย์ของกิจการที่บุคคลหรือห้างหุ้นส่วนดังต่อไปนี้ ถืออยู่ให้นับรวมเป็นหลักทรัพย์ของบุคคลตามมาตรา 246 และมาตรา 247 ด้วยmanager

(1) คู่สมรสของบุคคลดังกล่าว
(2) บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว
(3) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) เป็นหุ้นส่วน
(4) ห้างหุ้นส่วนจำกัดที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหรือเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ที่มีหุ้นรวมกันเกินร้อยละสามสิบของหุ้นทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจำกัด manager
(5) บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) หรือห้างหุ้นส่วนตาม (3) หรือ (4) ถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละสามสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทหรือ
(6) บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) หรือห้างหุ้นส่วนตาม (3) หรือ (4) หรือบริษัทตาม (5) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละสามสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น
(7) นิติบุคคลที่บุคคลตาม มาตรา 246 และมาตรา 247 สามารถมีอำนาจในการจัดการในฐานะเป็นผู้แทนของนิติบุคคลmanager

มาตรา 298

ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 246 มาตรา 247 มาตรา 241 มาตรา 248 มาตรา 249 มาตรา 251 มาตรา 252 มาตรา 253 มาตรา 254 มาตรา 255 หรือ มาตรา 256 หรือ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตาม มาตรา 247 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือ ปรับไม่เกินห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฎิบัติให้ถูกต้อง หรือทั้งจำทั้งปรับmanager

ความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542

กรณีไม่แสดงรายการบัญชีรายการทรัพย์สินดังกล่าว จึงเป็นการจงใจยื่นบัญชีทรัพย์สินหรือหนี้สินอันเป็นเท็จเข้าข่ายเป็นความผิดตาม มาตรา 32, 33, 34 manager

ความผิดตาม พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2542

การกระทำอันมีลักษณะเป็นเข้าไปบริหาร ครอบงำ หรือจัดหาผลประโยชน์ในหุ้น SC Asset กับหุ้นของบริษัทครอบครัวชินวัตร เข้าข่ายเป็นความผิดตาม มาตรา 11, 17manager



กำลังโหลดความคิดเห็น