มีสถานที่ที่ทุกคนไม่อยากไป แต่ก็ต้องไป นั่นก็คือ เมรุเผาศพ หรือสุสาน ที่ทุกคนต้องได้ไปใช้บริการกันเป็นครั้งสุดท้าย หลายคนคงจะรู้และไม่รู้ว่า หน่วยงานราชการระดับกองทัพนั้น จะมี"ฌาปนสถาน"หรือ "เมรุเผา" ซึ่งจัดเป็นหนึ่งในสวัสดิการของกองทัพที่ให้กับกำลังพล อย่างกองทัพบกก็จะมี "ฌาปนสถานกองทัพบก" ตั้งอยู่ที่วัดโสมนัสราชวรวิหาร แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. รวมทั้งวัดในต่างจังหวัดที่ทางกองทัพบกได้คัดเลือกให้เป็นฌาปนสถานกองทัพบกของจังหวัดนั้นๆ
ในส่วนของกองทัพอากาศ ก็จะมี"ฌาปนสถานกองทัพอากาศ" ตั้งอยู่ที่วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร แขวงหลักสี่ เขตบางเขน กทม. กองทัพเรือนั้น "ฌาปนสถานกองทัพเรือ"ตั้งอยู่ที่วัดเครือวัลย์วรวิหาร แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กทม. และก็เช่นเดียวกันในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก็มี"ฌาปนสถานตำรวจ" ตั้งอยู่ที่วัดตรีทศเทพวรวิหาร แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กทม.
เข้าใจเป็นการส่วนตัวเบื้องต้นว่า การจัดตั้ง"ฌาปนสถาน"ของกองทัพ รวมถึงของสำนักงานตำรวจแห่งชาตินั้น ก็ด้วยสมัยก่อน ยังคงมีทหาร ตำรวจ ที่ได้สละชีพเพื่อชาติจำนวนมาก ทางกองทัพจึงได้จัดตั้ง"ฌาปนสถาน"ของกองทัพขึ้น เพื่อความสะดวกในการนำศพทหารหาญ และตำรวจผู้กล้ามาบำเพ็ญกุศลและฌาปนกิจในวัดที่ได้จัดตั้งนั้น แต่ทว่า ปัจจุบัน ไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะดูเหมือนว่า วัดที่ได้เอ่ยชื่อมาข้างต้น ปัจจุบันกลับเป็นที่ตั้งบำเพ็ญกุศลศพของนายทหาร นายตำรวจระดับสูงเสียมากกว่าจะเป็นสวัสดิการให้กับกำลังพล และหากเข้าใจผิดต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ ซึ่งหวังว่าจะได้รับคำชี้แนะและข้อเท็จจริงจากผู้รู้ เพื่อนำมาประดับสติปัญญาต่อไป
ขอเอ่ยถึงและขอแนะนำ"ฌาปนสถานตำรวจ"เสียก่อน เพื่อให้ได้รู้ว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีหน่วยงานดังกล่าวอยู่ในสังกัด โดยผู้ดูแล ก็มักได้รับการสัพยอกกันเล่นๆว่าเป็น"สารวัตรสัปเหร่อ" เป็นต้น แต่อันที่จริง หน่วยงานนี้ มีความสำคัญไม่น้อย เนื่องจากต้องคอยดูแล และจัดการอย่างสมเกียรติให้กับผู้วายชนม์ ที่ได้สร้างคุณงามความดีไว้ในอดีตให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือกรมตำรวจในยุคก่อน
เดิมที กรมตำรวจยังไม่เคยมีฌาปนสถานของตนเองมาก่อน แต่ก็ปรารถนาจะให้มีมานานแล้ว นับตั้งแต่สมัย พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นอธิบดีกรมตำรวจ ได้ดำริที่จะตั้งฌาปนสถานของกรมตำรวจที่วัดอินทรวิหาร แต่มีอุปสรรคบางประการ โครงการดังกล่าวจึงได้ระงับไป ต่อมาสมัย พล.ต.อ.ประเสริฐ รุจิวงศ์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจ ได้หาวัดที่จะตั้งฌาปนสถานขึ้นอีก โดยมีการหาวัดที่เหมาะสม เช่น วัดปทุมวนาราม วัดเสมียนนารี แต่ก็มีอุปสรรคขัดข้องไม่สามารถสร้างฌาปนสถานที่วัดดังกล่าวได้ จนถึง “วัดตรีทศเทพ” ซึ่งพระมหาสำลี เจ้าอาวาสในสมัยนั้น ได้ทำหนังสือมอบหมายให้ทางกรมตำรวจจัดสร้างฌาปนสถานตำรวจขึ้นที่วัด เมื่อ พ.ศ.2514 จึงได้มีการดำเนินการจัดการก่อสร้าง โดยสร้างศาลาใหญ่จำนวน 1 หลัง ศาลาเล็ก 5 หลัง และที่สำคัญ "เมรุเผาศพ" ซึ่งมีการสั่งเตาเผาชนิดลดกลิ่นแบบทันสมัยจากประเทศเยอรมนี เพื่อลดควันและกลิ่น ที่จะเป็นการรบกวนชาวบ้านในละแวกใกล้เคียง จากนั้นจึงได้ทำการก่อสร้างที่เก็บศพเพิ่มเติมอีกจำนวน 200 ที่ รวมถึงที่ทำการเจ้าหน้าที่ โรงครัว ที่จอดรถ ที่เก็บวัสดุสิ่งของ เพื่อความสะดวกในการดำเนินงาน
พ.ต.ต.หญิงกิ่งทอง เลิศอมรชัย สว.ฝ่ายสวัสดิการ 2 กองสวัสดิการ (งานฌาปนกิจและพิธีการ) ซึ่งรับผิดชอบดูแลฌาปนสถานตำรวจ บอกกับเราว่า ฌาปนกิจสถานวัดตรีทศเทพฯ สังกัดฝ่ายสวัสดิการ 2 กองบังคับการสวัสดิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำ 6 นาย เป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร 2 นาย และนายตำรวจชั้นประทวน 4 นาย นอกจากนี้ยังมีลูกจ้างชั่วคราวรายวัน อีกจำนวน 14 คน ที่คอยดูแลแต่ละศาลา ซึ่งมีศาลาทั้งหมด จำนวน 6 ศาลา ประกอบด้วย ศาลา 1 ,2 ,3 ,4 และ ศาลา 5 ซึ่งมี 2 ชั้น และสุดท้ายคือ"เมรุเผาศพ"
เมื่อพูดถึงการให้บริการนั้น พ.ต.ต.หญิงกิ่งทองบอกว่า ฌาปนสถานตำรวจจะให้บริการทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจและบุคคลทั่วไป แต่หากในกรณีที่ศาลาเต็ม และมีผู้ขอใช้บริการเป็นชาวบ้านกับตำรวจ ทางงานฌาปนสถานจะสงวนสิทธิ์ให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจก่อน ส่วนอัตราค่าบริการนั้นจะลดราคา 50 เปอร์เซ็นต์ สำหรับข้าราชการตำรวจที่เป็นสมาชิกฌาปนกิจ ลด 40 เปอร์เซ็นต์ และ 30 เปอร์เซ็นต์ สำหรับครอบครัวตำรวจ ซึ่งจำกัดเฉพาะบิดา มารดา ภรรยาหรือสามี และบุตร ส่วนประชาชนทั่วไปเก็บค่าบริการเต็มราคา
“บางคนเข้าใจว่ารู้จักกับตำรวจ ให้ตำรวจจองให้แล้วจะได้รับส่วนลด ในส่วนนี้ไม่สามารถทำได้ เพราะทางฌาปนสถานจะมีการตรวจเอกสารก่อนทุกครั้ง”พ.ต.ต.หญิงกิ่งทองกล่าว
สว.ฝ่ายสวัสดิการ 2 บอกกับเราอีกว่า ปัจจุบันที่ฌาปนสถานตำรวจที่วัดตรีทศเทพฯ ค่อนข้างคับแคบและสถานที่จำกัด จึงมีฌาปนสถานตำรวจเพิ่มอีกหนึ่งแห่งที่วัดบางบอน ตั้งอยู่ถนนเอกชัย แขวงบางบอน เขตบางบอน กทม.ให้บริการเช่นเดียวกับฌาปนสถานวัดตรีทศเทพฯ แต่สะดวกที่ไม่ต้องเสียค่าเช่าศาลา เสียเพียงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เท่านั้น เป็นการเพิ่มความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะขอใช้บริการ
พ.ต.ต.หญิงกิ่งทองบอกอีกว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ประจำฌาปนสถานตำรวจแห่งนี้ ยังต้องทราบเรื่องพิธีกรรมต่าง ๆ ในการตั้งศพบำเพ็ญกุศล เพื่อแนะนำแก่ผู้ที่มาใช้บริการได้ รวมถึงให้คำแนะค่าใช้จ่ายส่วนที่ไม่จำเป็นอีกด้วย เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย ส่วนการทำงานนั้นหากไม่มีศพเข้ามาก็จะเลิกงานตามเวลาราชการ แต่หากมีศพเข้ามาก็ต้องเข้าเวรอยู่ดูแลจนกว่าจะเสร็จพิธี โดยพิธีศพนั้นจะเริ่มสวดพระอภิธรรมในเวลา 19.00 น. เสร็จประมาณ 19.30 น. หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ดูแลศาลาจะทำความสะอาด ก่อนที่จะปิดศาลา โดยส่วนนี้จะได้รับเป็นค่าล่วงเวลา ส่วนวันเสาร์หรืออาทิตย์จะสลับกันเข้าเวร เพราะลูกจ้างต้องมาทำงาน ถึงแม้ว่าจะไม่มีศพเข้ามาก็อาจจะต้องมีการปรับปรุงหรือทำความสะอาดศาลารวมถึงพื้นที่โดบรอยด้วย ส่วนเมรุเผาศพนั้น มีเตาเผามีจำนวน 2 เตา สำหรับเผาศพโดยมีเตาเผาควันเพื่อลดกลิ่นและควันที่จะไปรบกวนชาวบ้านละแวกใกล้เคียง ส่วนเวลาเผานั้นจะเผา 3 เวลาคือ เวลา 14.00 น. 16.00 น. และ 17.00 น.
คงพอจะรู้จักและเห็นหน้าค่าตาของ"ฌาปนสถานตำรวจ"กันพอสมควรแล้ว อย่างไรก็ตาม มีเรื่องที่น่าสลดใจเกิดขึ้น เมื่อ ส.ต.ต.สมหวัง ไข่แก้ว ผบ.หมู่ กก.3 บก.ส. 3 ซึ่งเพิ่งจบจากโรงเรียนตำรวจภูธรภาค 9 มาบรรจุประจำยังกองบัญชาการตำรวจสันติบาลได้ไม่นาน ได้เดินทางกลับไปเยี่ยมแม่ ที่พิการขาขาดยังจ.ตรัง แต่เกิดประสบเคราะห์ร้าย ถูกทำร้ายร่างกายจนเสียชีวิตไปเมื่อกลางดึกวันที่ 2 ส.ค.ที่ผ่านมา และเป็นที่น่าสลดใจยิ่งขึ้นเมื่อ ครอบครัวของส.ต.ต.สมหวัง ไม่มีเงินแม้แต่จะซื้อโลงศพ และน้ำยาฉีดกันศพเน่า เพื่อนๆตำรวจในสังกัดต้องช่วยกันเรี่ยไร เนื่องจากส.ต.ต.สมหวัง ยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่จะถูกหักเงินเดือนทุกเดือน ทางกองบังคับการสวัสดิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงไม่สามารถช่วยอนุเคราะห์ในเรื่องดังกล่าวได้
เมื่อหันกลับมามองดูที่"ฌาปนสถานตำรวจ"ในแต่ละคืน ที่มีการตั้งศพบำเพ็ญกุศลนายตำรวจผู้วายชนม์ เฉพาะแค่พวงหรีดที่นำมาแสดงการไว้อาลัยพวงหนึ่งๆนั้น สนนราคามิใช่น้อย ศาลาบำเพ็ญกุศลศาลาหนึ่งถูกประดับด้วยพวงหรีดจำนวนมาก บางครั้งล้นออกมานอกศาลา แต่กับกรณีของส.ต.ต.สมหวัง เลือดตำรวจ เลือดสีกากีขนานแท้เช่นกัน ไม่มีเงินแม้แต่ค่าโลงศพ!
สุดท้าย ในช่วงนี้ เป็นช่วงที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่ระหว่างการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้าย ซึ่งต้องขอฝากนายตำรวจทุกนายไว้ว่า ไม่มีอะไรดีไปกว่าการทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์อย่างแท้จริง เพราะยศก็ดี ตำแหน่งหน้าที่ก็ดี ล้วนแต่เป็นแค่"หัวโขน" เป็นฉากหนึ่งใน"ละครชีวิต"เท่านั้น สุดท้ายทุกผู้ทุกนามก็ล้วนต้องมาลงที่"ฌาปนสถาน"ด้วยกันทั้งนั้น และขอฝากข้อสะกิตเตือนใจไว้เล็กน้อยในตอนท้าย
(เมื่อ)ทั้งสองขายังกล้าแข็ง
มีแรงมุ่งมั่นฟันฝ่า
ก้าวเดินว่องไวไปมา
ดูสง่าน่าภิรมย์
เมื่อวัยครั้งนั้นผันผ่าน
เนิ่นนานสู่วัยใกล้ล้ม
ทั่วกายาไม่น่าชม
เส้นผมชัดเจนเป็นสีขาว
กำลังเริ่มลดถดถอย
ต้องคอยอาศัยไม้เท้า
เป็นเพื่อนแท้ยามแก่เฒ่า
เป็นเงาตามตนจนตาย
"สัจจธรรม"อันล้ำเลิศ
ได้มาเกิดประเสริฐหลาย
"วัฏฏะ"หมุนเวียนเปลี่ยนไป
ชีวิตไม่เที่ยงแท้แน่นอน
จุดหมายปลายทางสุดท้าย
ต้องกลายไปเป็นเหยื่อหนอน
ทิ้งร่างกลางเพลิงเชิงตะกอน
"ละครชีวิต"ปิดฉากลง






ในส่วนของกองทัพอากาศ ก็จะมี"ฌาปนสถานกองทัพอากาศ" ตั้งอยู่ที่วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร แขวงหลักสี่ เขตบางเขน กทม. กองทัพเรือนั้น "ฌาปนสถานกองทัพเรือ"ตั้งอยู่ที่วัดเครือวัลย์วรวิหาร แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กทม. และก็เช่นเดียวกันในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก็มี"ฌาปนสถานตำรวจ" ตั้งอยู่ที่วัดตรีทศเทพวรวิหาร แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กทม.
เข้าใจเป็นการส่วนตัวเบื้องต้นว่า การจัดตั้ง"ฌาปนสถาน"ของกองทัพ รวมถึงของสำนักงานตำรวจแห่งชาตินั้น ก็ด้วยสมัยก่อน ยังคงมีทหาร ตำรวจ ที่ได้สละชีพเพื่อชาติจำนวนมาก ทางกองทัพจึงได้จัดตั้ง"ฌาปนสถาน"ของกองทัพขึ้น เพื่อความสะดวกในการนำศพทหารหาญ และตำรวจผู้กล้ามาบำเพ็ญกุศลและฌาปนกิจในวัดที่ได้จัดตั้งนั้น แต่ทว่า ปัจจุบัน ไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะดูเหมือนว่า วัดที่ได้เอ่ยชื่อมาข้างต้น ปัจจุบันกลับเป็นที่ตั้งบำเพ็ญกุศลศพของนายทหาร นายตำรวจระดับสูงเสียมากกว่าจะเป็นสวัสดิการให้กับกำลังพล และหากเข้าใจผิดต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ ซึ่งหวังว่าจะได้รับคำชี้แนะและข้อเท็จจริงจากผู้รู้ เพื่อนำมาประดับสติปัญญาต่อไป
ขอเอ่ยถึงและขอแนะนำ"ฌาปนสถานตำรวจ"เสียก่อน เพื่อให้ได้รู้ว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีหน่วยงานดังกล่าวอยู่ในสังกัด โดยผู้ดูแล ก็มักได้รับการสัพยอกกันเล่นๆว่าเป็น"สารวัตรสัปเหร่อ" เป็นต้น แต่อันที่จริง หน่วยงานนี้ มีความสำคัญไม่น้อย เนื่องจากต้องคอยดูแล และจัดการอย่างสมเกียรติให้กับผู้วายชนม์ ที่ได้สร้างคุณงามความดีไว้ในอดีตให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือกรมตำรวจในยุคก่อน
เดิมที กรมตำรวจยังไม่เคยมีฌาปนสถานของตนเองมาก่อน แต่ก็ปรารถนาจะให้มีมานานแล้ว นับตั้งแต่สมัย พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นอธิบดีกรมตำรวจ ได้ดำริที่จะตั้งฌาปนสถานของกรมตำรวจที่วัดอินทรวิหาร แต่มีอุปสรรคบางประการ โครงการดังกล่าวจึงได้ระงับไป ต่อมาสมัย พล.ต.อ.ประเสริฐ รุจิวงศ์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจ ได้หาวัดที่จะตั้งฌาปนสถานขึ้นอีก โดยมีการหาวัดที่เหมาะสม เช่น วัดปทุมวนาราม วัดเสมียนนารี แต่ก็มีอุปสรรคขัดข้องไม่สามารถสร้างฌาปนสถานที่วัดดังกล่าวได้ จนถึง “วัดตรีทศเทพ” ซึ่งพระมหาสำลี เจ้าอาวาสในสมัยนั้น ได้ทำหนังสือมอบหมายให้ทางกรมตำรวจจัดสร้างฌาปนสถานตำรวจขึ้นที่วัด เมื่อ พ.ศ.2514 จึงได้มีการดำเนินการจัดการก่อสร้าง โดยสร้างศาลาใหญ่จำนวน 1 หลัง ศาลาเล็ก 5 หลัง และที่สำคัญ "เมรุเผาศพ" ซึ่งมีการสั่งเตาเผาชนิดลดกลิ่นแบบทันสมัยจากประเทศเยอรมนี เพื่อลดควันและกลิ่น ที่จะเป็นการรบกวนชาวบ้านในละแวกใกล้เคียง จากนั้นจึงได้ทำการก่อสร้างที่เก็บศพเพิ่มเติมอีกจำนวน 200 ที่ รวมถึงที่ทำการเจ้าหน้าที่ โรงครัว ที่จอดรถ ที่เก็บวัสดุสิ่งของ เพื่อความสะดวกในการดำเนินงาน
พ.ต.ต.หญิงกิ่งทอง เลิศอมรชัย สว.ฝ่ายสวัสดิการ 2 กองสวัสดิการ (งานฌาปนกิจและพิธีการ) ซึ่งรับผิดชอบดูแลฌาปนสถานตำรวจ บอกกับเราว่า ฌาปนกิจสถานวัดตรีทศเทพฯ สังกัดฝ่ายสวัสดิการ 2 กองบังคับการสวัสดิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำ 6 นาย เป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร 2 นาย และนายตำรวจชั้นประทวน 4 นาย นอกจากนี้ยังมีลูกจ้างชั่วคราวรายวัน อีกจำนวน 14 คน ที่คอยดูแลแต่ละศาลา ซึ่งมีศาลาทั้งหมด จำนวน 6 ศาลา ประกอบด้วย ศาลา 1 ,2 ,3 ,4 และ ศาลา 5 ซึ่งมี 2 ชั้น และสุดท้ายคือ"เมรุเผาศพ"
เมื่อพูดถึงการให้บริการนั้น พ.ต.ต.หญิงกิ่งทองบอกว่า ฌาปนสถานตำรวจจะให้บริการทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจและบุคคลทั่วไป แต่หากในกรณีที่ศาลาเต็ม และมีผู้ขอใช้บริการเป็นชาวบ้านกับตำรวจ ทางงานฌาปนสถานจะสงวนสิทธิ์ให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจก่อน ส่วนอัตราค่าบริการนั้นจะลดราคา 50 เปอร์เซ็นต์ สำหรับข้าราชการตำรวจที่เป็นสมาชิกฌาปนกิจ ลด 40 เปอร์เซ็นต์ และ 30 เปอร์เซ็นต์ สำหรับครอบครัวตำรวจ ซึ่งจำกัดเฉพาะบิดา มารดา ภรรยาหรือสามี และบุตร ส่วนประชาชนทั่วไปเก็บค่าบริการเต็มราคา
“บางคนเข้าใจว่ารู้จักกับตำรวจ ให้ตำรวจจองให้แล้วจะได้รับส่วนลด ในส่วนนี้ไม่สามารถทำได้ เพราะทางฌาปนสถานจะมีการตรวจเอกสารก่อนทุกครั้ง”พ.ต.ต.หญิงกิ่งทองกล่าว
สว.ฝ่ายสวัสดิการ 2 บอกกับเราอีกว่า ปัจจุบันที่ฌาปนสถานตำรวจที่วัดตรีทศเทพฯ ค่อนข้างคับแคบและสถานที่จำกัด จึงมีฌาปนสถานตำรวจเพิ่มอีกหนึ่งแห่งที่วัดบางบอน ตั้งอยู่ถนนเอกชัย แขวงบางบอน เขตบางบอน กทม.ให้บริการเช่นเดียวกับฌาปนสถานวัดตรีทศเทพฯ แต่สะดวกที่ไม่ต้องเสียค่าเช่าศาลา เสียเพียงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เท่านั้น เป็นการเพิ่มความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะขอใช้บริการ
พ.ต.ต.หญิงกิ่งทองบอกอีกว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ประจำฌาปนสถานตำรวจแห่งนี้ ยังต้องทราบเรื่องพิธีกรรมต่าง ๆ ในการตั้งศพบำเพ็ญกุศล เพื่อแนะนำแก่ผู้ที่มาใช้บริการได้ รวมถึงให้คำแนะค่าใช้จ่ายส่วนที่ไม่จำเป็นอีกด้วย เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย ส่วนการทำงานนั้นหากไม่มีศพเข้ามาก็จะเลิกงานตามเวลาราชการ แต่หากมีศพเข้ามาก็ต้องเข้าเวรอยู่ดูแลจนกว่าจะเสร็จพิธี โดยพิธีศพนั้นจะเริ่มสวดพระอภิธรรมในเวลา 19.00 น. เสร็จประมาณ 19.30 น. หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ดูแลศาลาจะทำความสะอาด ก่อนที่จะปิดศาลา โดยส่วนนี้จะได้รับเป็นค่าล่วงเวลา ส่วนวันเสาร์หรืออาทิตย์จะสลับกันเข้าเวร เพราะลูกจ้างต้องมาทำงาน ถึงแม้ว่าจะไม่มีศพเข้ามาก็อาจจะต้องมีการปรับปรุงหรือทำความสะอาดศาลารวมถึงพื้นที่โดบรอยด้วย ส่วนเมรุเผาศพนั้น มีเตาเผามีจำนวน 2 เตา สำหรับเผาศพโดยมีเตาเผาควันเพื่อลดกลิ่นและควันที่จะไปรบกวนชาวบ้านละแวกใกล้เคียง ส่วนเวลาเผานั้นจะเผา 3 เวลาคือ เวลา 14.00 น. 16.00 น. และ 17.00 น.
คงพอจะรู้จักและเห็นหน้าค่าตาของ"ฌาปนสถานตำรวจ"กันพอสมควรแล้ว อย่างไรก็ตาม มีเรื่องที่น่าสลดใจเกิดขึ้น เมื่อ ส.ต.ต.สมหวัง ไข่แก้ว ผบ.หมู่ กก.3 บก.ส. 3 ซึ่งเพิ่งจบจากโรงเรียนตำรวจภูธรภาค 9 มาบรรจุประจำยังกองบัญชาการตำรวจสันติบาลได้ไม่นาน ได้เดินทางกลับไปเยี่ยมแม่ ที่พิการขาขาดยังจ.ตรัง แต่เกิดประสบเคราะห์ร้าย ถูกทำร้ายร่างกายจนเสียชีวิตไปเมื่อกลางดึกวันที่ 2 ส.ค.ที่ผ่านมา และเป็นที่น่าสลดใจยิ่งขึ้นเมื่อ ครอบครัวของส.ต.ต.สมหวัง ไม่มีเงินแม้แต่จะซื้อโลงศพ และน้ำยาฉีดกันศพเน่า เพื่อนๆตำรวจในสังกัดต้องช่วยกันเรี่ยไร เนื่องจากส.ต.ต.สมหวัง ยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่จะถูกหักเงินเดือนทุกเดือน ทางกองบังคับการสวัสดิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงไม่สามารถช่วยอนุเคราะห์ในเรื่องดังกล่าวได้
เมื่อหันกลับมามองดูที่"ฌาปนสถานตำรวจ"ในแต่ละคืน ที่มีการตั้งศพบำเพ็ญกุศลนายตำรวจผู้วายชนม์ เฉพาะแค่พวงหรีดที่นำมาแสดงการไว้อาลัยพวงหนึ่งๆนั้น สนนราคามิใช่น้อย ศาลาบำเพ็ญกุศลศาลาหนึ่งถูกประดับด้วยพวงหรีดจำนวนมาก บางครั้งล้นออกมานอกศาลา แต่กับกรณีของส.ต.ต.สมหวัง เลือดตำรวจ เลือดสีกากีขนานแท้เช่นกัน ไม่มีเงินแม้แต่ค่าโลงศพ!
สุดท้าย ในช่วงนี้ เป็นช่วงที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่ระหว่างการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้าย ซึ่งต้องขอฝากนายตำรวจทุกนายไว้ว่า ไม่มีอะไรดีไปกว่าการทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์อย่างแท้จริง เพราะยศก็ดี ตำแหน่งหน้าที่ก็ดี ล้วนแต่เป็นแค่"หัวโขน" เป็นฉากหนึ่งใน"ละครชีวิต"เท่านั้น สุดท้ายทุกผู้ทุกนามก็ล้วนต้องมาลงที่"ฌาปนสถาน"ด้วยกันทั้งนั้น และขอฝากข้อสะกิตเตือนใจไว้เล็กน้อยในตอนท้าย
(เมื่อ)ทั้งสองขายังกล้าแข็ง
มีแรงมุ่งมั่นฟันฝ่า
ก้าวเดินว่องไวไปมา
ดูสง่าน่าภิรมย์
เมื่อวัยครั้งนั้นผันผ่าน
เนิ่นนานสู่วัยใกล้ล้ม
ทั่วกายาไม่น่าชม
เส้นผมชัดเจนเป็นสีขาว
กำลังเริ่มลดถดถอย
ต้องคอยอาศัยไม้เท้า
เป็นเพื่อนแท้ยามแก่เฒ่า
เป็นเงาตามตนจนตาย
"สัจจธรรม"อันล้ำเลิศ
ได้มาเกิดประเสริฐหลาย
"วัฏฏะ"หมุนเวียนเปลี่ยนไป
ชีวิตไม่เที่ยงแท้แน่นอน
จุดหมายปลายทางสุดท้าย
ต้องกลายไปเป็นเหยื่อหนอน
ทิ้งร่างกลางเพลิงเชิงตะกอน
"ละครชีวิต"ปิดฉากลง