จากต้นปี 2548 เป็นต้นมา หลังจากที่"แก๊งปุกปุย"ล่อลวงเด็กให้ไปขาย"พวงมาลัย"ตามสี่แยกไฟแดงใหญ่ๆ ที่การจราจรหนาแน่น ซึ่งตำรวจสน.ห้วยขวาง สามารถจับกุมนายจตุพล ใบเงิน อายุ 20 ปี กับนายน้อย อายุ 17 ปี ที่กำลังคุมเด็กอายุ 10 -15 ปี ราว 4-5 คน ขายดอกกุหลาบอยู่ที่บริเวณสี่แยกห้วยขวาง ถนนรัชดาภิเษก ได้เมื่อกลางดึกวันที่ 23 ม.ค.2548 ดำเนินคดีในข้อหาพรากผู้เยาว์อายุไม่เกิน 15 ปี และหน่วงเหนี่ยวกักขังไปแล้ว ไม่ปรากฏว่า มี่ข่าวคราวเกี่ยวกับเด็กขายพวงมาลัยตามสี่แยกไฟแดงอีก
ถัดจากนั้นมาปีกว่า เย็นวันที่ 26 มิ.ย. 2549 ที่เพิ่งผ่านมา ด.ญ.อนัญญา หรือน้องลี่ วัย 9 ขวบ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดพระยายัง ถูกรถบรรทุก 6 ล้อ เฉี่ยวชนและถูกล้อหลังทับศีรษะ เสียชีวิตคาชุดนักเรียน โดยตะกร้าใส่ดอกจำปีตกกระจายเกลื่อนถนน บริเวณสี่แยกตึกชัย ถนนราชวิถี เป็นที่น่าสังเวช และสลดหดหู่กับผู้พบเห็น
ภาพที่พ่อแม่ของน้องลี่ร่ำไห้ประคองกอดลูก เสมือนจะยิ่งซ้ำเติมและบาดลึกเข้าไปในหัวใจของผู้พบเห็นเหตุการณ์ เสียงวิพากษ์วิจารณ์ของคนที่รู้จักครอบครัวน้องลี่ ค่อยๆเริ่มเล็ดลอดออกมา บ้างก็ว่า น่าสงสารเด็ก ที่ต้องมาเดินขายดอกไม้กลางสี่แยก เอาเงินไปเรียนหนังสือและให้พ่อแม่ที่ยอมทำงานทำการ บ้างก็ว่า เด็กถูกบังคับให้มาขายดอกจำปีกลางสี่แยกโดยต้องได้เงินตามเป้าที่ถูกกำหนด ไม่ว่าจะต้องใช้เวลาดึกดื่นถึงเพียงไหน ไม่เช่นนั้น จะถูกผู้เป็นพ่อ ตีประจานกลางสี่แยกโดยไม่แคร์สายตาผู้ใช้รถใช้ถนน บางครั้งน้องลี่ ขอเวลาไปทำการบ้าน หรือเล่นกับเพื่อนในวันเดียวกันบ้าง ผู้เป็นพ่อก็ไม่ยอม บังคับให้ขายดอกไม้ให้ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ จากนั้นก็จะนำเงินจากน้ำพักน้ำแรงของน้องลี่ ไปซื้อหาเหล้าดวดกัน 2 ผัวเมีย
ข่าวยังแจ้งอีกว่า ญาติๆของน้องลี่ เคยปรึกษากัน เพื่อนำเรื่องที่น้องลี่ต้องเผชิญไปร้องเรียน แต่ถูกผู้เป็นแม่น้องลี่ ร้องขอไว้ ด้วยเกรงว่า สามี ซึ่งเป็นพ่อของน้องลี่ จะทำร้ายร่างกาย ทำให้น้องลี่ต้องกลายเป็นกำลังหลักในการหาเลี้ยงครอบครัวกับน้องอีก 1 คน
เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด ซึ่งนอกจากน้องลี่ จะต้องเป็นฝ่ายหาเลี้ยงครอบครัว แทนที่จะต้องเป็นหน้าที่ของผู้ให้กำเนิดแล้ว น้องลี่ ยังต้องเผชิญกับโชคร้ายที่มาเกิดขึ้นครั้งนี้
เหตุการณ์ที่บรรดา"หนูน้อยขายพวงมาลัย"ต้องสังเวยชีวิตกลางสี่แยก ไม่ได้เพิ่งเคยเกิดขึ้นครั้งนี้เป็นครั้งแรก ครั้งที่สอง หรือครั้งที่สาม แต่เกิดขึ้นหลายครั้งหลายครา ต่างวันต่างเวลากัน เมื่อเกิดขึ้นครั้งหนึ่ง ผู้เกี่ยวข้องก็จะหาหนทาง หาวิธีป้องกัน หาวิธีแก้ปัญหากันไปเฉพาะหน้า สุดท้ายก็เพียงแค่ไฟไหม้ฟาง ตัวอย่างเห็นได้ชัด เมื่อครั้งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพประชุมเอเปค มีการจัดระเบียบบรรดาเด็กขายพวงมาลัยตามแยกสัญญาณไฟแดง เพื่อรักษาหน้าของประเทศ แต่ไม่ได้ต้องการแก้ปัญหาเพื่อเยียวยาคนในประเทศ ซึ่งเมื่อการประชุมผ่านพ้นไป ตั้งแต่นั้นมา เกือบทุกสี่แยกก็ยังมีเด็กขายพวงมาลัยประจำอยู่ตามแยกต่างๆเช่นเดิม
แม้ว่า พระราชบัญญัติการจราจรทางบกพ.ศ.2522 มาตรา 110 บัญญัติไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดซื้อ ขาย แจกจ่าย หรือเรี่ยไรในทางเดินรถ หรือออกไปกลางทางโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือเป็นการกีดขวางการจราจร ซึ่งหากฝ่าฝืน ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินห้าร้อยบาท โดยอำนาจดังกล่าว เจ้าพนักงานจราจรมีสิทธิที่จะดำเนินการได้
แต่ก็นั่นแหละ หากมีการเข้มงวด ดำเนินการอย่างจริงจัง ใครจะเป็นผู้หาอาชีพรองรับบุคคลกลุ่มนี้ได้ มีคำถามว่า ทำไมพ่อแม่เด็ก จึงปล่อยให้เด็กตัวเล็กๆ ต้องตากแดด ตากฝน เสี่ยงชีวิต เพื่อแลกกับเงิน 10 -20 บาท ซึ่งก็จะได้รับคำตอบว่า ถ้าเด็กตัวโต ก็จะไม่ได้รับความสงสารจากผู้ซื้อ กรณีนี้ จึงไม่สามารถแก้ปัญหาที่จะไม่ให้เด็กตัวเล็กๆไปเสี่ยงชีวิตได้
สุดท้ายแล้วก็ได้แต่หวังเพียงว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ"น้องลี่" จะไม่เกิดขึ้นกับเด็กขายพวงมาลัยตามสี่แยกอีก "น้องลี่ หรือด.ญ.อนัญญา" ที่แปลตามศัพท์ว่า "มิใช่อื่น" หรืออาจจะแปลตามอรรถว่า "หนึ่งเดียว" ก็ไม่น่าจะผิดความหมายนัก ซึ่งขอให้ด.ญ.อนัญญา เป็นหนึ่งเดียวสุดท้าย ที่ต้องตกเป็นเหยื่อที่ผู้ใหญ่หยิบยื่นให้ ขอเฝ้าภาวนาให้"น้องลี่"หลับให้สบายสู่สุคติ เพราะเธอ"มิใช่อื่น"... ด้วยเธอเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ได้แต่รอวันเยียวยามานานแสนนาน....


ถัดจากนั้นมาปีกว่า เย็นวันที่ 26 มิ.ย. 2549 ที่เพิ่งผ่านมา ด.ญ.อนัญญา หรือน้องลี่ วัย 9 ขวบ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดพระยายัง ถูกรถบรรทุก 6 ล้อ เฉี่ยวชนและถูกล้อหลังทับศีรษะ เสียชีวิตคาชุดนักเรียน โดยตะกร้าใส่ดอกจำปีตกกระจายเกลื่อนถนน บริเวณสี่แยกตึกชัย ถนนราชวิถี เป็นที่น่าสังเวช และสลดหดหู่กับผู้พบเห็น
ภาพที่พ่อแม่ของน้องลี่ร่ำไห้ประคองกอดลูก เสมือนจะยิ่งซ้ำเติมและบาดลึกเข้าไปในหัวใจของผู้พบเห็นเหตุการณ์ เสียงวิพากษ์วิจารณ์ของคนที่รู้จักครอบครัวน้องลี่ ค่อยๆเริ่มเล็ดลอดออกมา บ้างก็ว่า น่าสงสารเด็ก ที่ต้องมาเดินขายดอกไม้กลางสี่แยก เอาเงินไปเรียนหนังสือและให้พ่อแม่ที่ยอมทำงานทำการ บ้างก็ว่า เด็กถูกบังคับให้มาขายดอกจำปีกลางสี่แยกโดยต้องได้เงินตามเป้าที่ถูกกำหนด ไม่ว่าจะต้องใช้เวลาดึกดื่นถึงเพียงไหน ไม่เช่นนั้น จะถูกผู้เป็นพ่อ ตีประจานกลางสี่แยกโดยไม่แคร์สายตาผู้ใช้รถใช้ถนน บางครั้งน้องลี่ ขอเวลาไปทำการบ้าน หรือเล่นกับเพื่อนในวันเดียวกันบ้าง ผู้เป็นพ่อก็ไม่ยอม บังคับให้ขายดอกไม้ให้ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ จากนั้นก็จะนำเงินจากน้ำพักน้ำแรงของน้องลี่ ไปซื้อหาเหล้าดวดกัน 2 ผัวเมีย
ข่าวยังแจ้งอีกว่า ญาติๆของน้องลี่ เคยปรึกษากัน เพื่อนำเรื่องที่น้องลี่ต้องเผชิญไปร้องเรียน แต่ถูกผู้เป็นแม่น้องลี่ ร้องขอไว้ ด้วยเกรงว่า สามี ซึ่งเป็นพ่อของน้องลี่ จะทำร้ายร่างกาย ทำให้น้องลี่ต้องกลายเป็นกำลังหลักในการหาเลี้ยงครอบครัวกับน้องอีก 1 คน
เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด ซึ่งนอกจากน้องลี่ จะต้องเป็นฝ่ายหาเลี้ยงครอบครัว แทนที่จะต้องเป็นหน้าที่ของผู้ให้กำเนิดแล้ว น้องลี่ ยังต้องเผชิญกับโชคร้ายที่มาเกิดขึ้นครั้งนี้
เหตุการณ์ที่บรรดา"หนูน้อยขายพวงมาลัย"ต้องสังเวยชีวิตกลางสี่แยก ไม่ได้เพิ่งเคยเกิดขึ้นครั้งนี้เป็นครั้งแรก ครั้งที่สอง หรือครั้งที่สาม แต่เกิดขึ้นหลายครั้งหลายครา ต่างวันต่างเวลากัน เมื่อเกิดขึ้นครั้งหนึ่ง ผู้เกี่ยวข้องก็จะหาหนทาง หาวิธีป้องกัน หาวิธีแก้ปัญหากันไปเฉพาะหน้า สุดท้ายก็เพียงแค่ไฟไหม้ฟาง ตัวอย่างเห็นได้ชัด เมื่อครั้งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพประชุมเอเปค มีการจัดระเบียบบรรดาเด็กขายพวงมาลัยตามแยกสัญญาณไฟแดง เพื่อรักษาหน้าของประเทศ แต่ไม่ได้ต้องการแก้ปัญหาเพื่อเยียวยาคนในประเทศ ซึ่งเมื่อการประชุมผ่านพ้นไป ตั้งแต่นั้นมา เกือบทุกสี่แยกก็ยังมีเด็กขายพวงมาลัยประจำอยู่ตามแยกต่างๆเช่นเดิม
แม้ว่า พระราชบัญญัติการจราจรทางบกพ.ศ.2522 มาตรา 110 บัญญัติไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดซื้อ ขาย แจกจ่าย หรือเรี่ยไรในทางเดินรถ หรือออกไปกลางทางโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือเป็นการกีดขวางการจราจร ซึ่งหากฝ่าฝืน ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินห้าร้อยบาท โดยอำนาจดังกล่าว เจ้าพนักงานจราจรมีสิทธิที่จะดำเนินการได้
แต่ก็นั่นแหละ หากมีการเข้มงวด ดำเนินการอย่างจริงจัง ใครจะเป็นผู้หาอาชีพรองรับบุคคลกลุ่มนี้ได้ มีคำถามว่า ทำไมพ่อแม่เด็ก จึงปล่อยให้เด็กตัวเล็กๆ ต้องตากแดด ตากฝน เสี่ยงชีวิต เพื่อแลกกับเงิน 10 -20 บาท ซึ่งก็จะได้รับคำตอบว่า ถ้าเด็กตัวโต ก็จะไม่ได้รับความสงสารจากผู้ซื้อ กรณีนี้ จึงไม่สามารถแก้ปัญหาที่จะไม่ให้เด็กตัวเล็กๆไปเสี่ยงชีวิตได้
สุดท้ายแล้วก็ได้แต่หวังเพียงว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ"น้องลี่" จะไม่เกิดขึ้นกับเด็กขายพวงมาลัยตามสี่แยกอีก "น้องลี่ หรือด.ญ.อนัญญา" ที่แปลตามศัพท์ว่า "มิใช่อื่น" หรืออาจจะแปลตามอรรถว่า "หนึ่งเดียว" ก็ไม่น่าจะผิดความหมายนัก ซึ่งขอให้ด.ญ.อนัญญา เป็นหนึ่งเดียวสุดท้าย ที่ต้องตกเป็นเหยื่อที่ผู้ใหญ่หยิบยื่นให้ ขอเฝ้าภาวนาให้"น้องลี่"หลับให้สบายสู่สุคติ เพราะเธอ"มิใช่อื่น"... ด้วยเธอเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ได้แต่รอวันเยียวยามานานแสนนาน....