สถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ ยากยิ่งที่จะเดาสุ่มสี่สุ่มห้าได้ว่า จะออกมาในทิศทางไหน แต่หากมองย้อนกลับไปในอดีต มวลชนที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง มักหลีกหนีไม่พ้นที่จะต้องประจันหนา หรือบางครั้งก็ต้องถึงกับปะทะกับคนของรัฐเป็นด่านแรก นั่นก็คือ "ตำรวจ" เพราะตำรวจถือได้ว่า เป็นผู้ที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด (แต่ไม่รู้ทำไมจึงมีบางคนเกลียดตำรวจเป็นที่สุดเช่นกัน)
จริงดังว่า ตำรวจมักจะถูกคำสั่งให้ไปต้อนรับกลุ่มมวลชนเป็นด่านแรก และกลุ่มมวลชนส่วนใหญ่ ก็มักที่จะมุ่งหน้า เข้าสู่กรุงเทพมหานคร อันเป็นศูนย์กลางราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม ตำรวจนครบาล หรือตำรวจในสังกัด กองบัญชาการตำรวจนครบาล จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะต้องรับผิดชอบต่อมามาร่วมชุมนุมของมวลชน ทั้งมวลชนฝ่ายที่รัฐบาลกะเกณฑ์กันมาเอง หรือมวลชนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยต่อการสั่งการและปฏิบัติราชการของคนในซีกรัฐบาล
นอกเหนือจากมวลชนกลุ่มหลักที่กล่าวมาทั้ง 2 กลุ่มแล้ว ยังมีกลุ่มที่รวมตัวกันเพื่อปากท้องของตัวเอง อาทิ กลุ่มรถมินิบัส กลุ่มรถแท็กซี่-สามล้อ กลุ่มผู้ประกอบการรถตู้ และอีกหลายๆกลุ่ม ที่หากถูกกดดันในเรื่องที่พวกเขาต้องสูญเสียผลประโยชยน์แล้ว ก็มักจะมาชุมนุมขอความเป็นธรรม ขอข้อต่อรอง อะไรหลากหลายอย่าง
การรวมตัวของกลุ่มมวลชนในสถานะที่ถูกเรียกว่า"ม็อบ"นั้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับผู้ที่จะเข้าไปดูแลความสงบเรียบร้อย นั่นก็คือ ตำรวจนครบาล โดยเฉพาะกับหน่วยงานที่มีชื่อว่า กองบังคับกาารตำรวจปฏิบัติการพิเศษ (บก.ตปพ.) ซึ่งจะต้องส่งกำลังในสังกัด ไปคอยดูแล ไม่ให้ผู้ชุมนุมก่อเหตุรุนแรง หรือก่อเหตุที่อาจไม่สามารถคะเนขึ้นได้ เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยให้ได้มากที่สุด ซึ่งในข้อเท็จจริงแล้ว ก็เพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มมวลชนที่มาชุมนุมกันนั่นเอง
ในระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา ตำรวจนครบาลต้องทำงานกันอย่างหนัก เพราะไม่ว่าจะเป็นการส่งกำลังตำรวจไปดูแลความเรียบร้อยให้กับรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรหลายครั้ง ตั้งแต่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสวนลุมพินีสถาน จนถึงการชุมนุมใหญ่ที่ลานพระราชวังดุสทิต หรือลานพระบรมรูปทรงม้า มาจนถึงการชุมนุมล่าสุดที่บริเวณท้องพระสุเมรุ หรือท้องสนามหลวง ตำรวจนครบาลต้องมีการระดมกำลังกันมาทั้งวันทั้งคืน อากาศก็ร้อน เครื่องแบบก็หนัก ร่างกายดูเหนอะหนะ หน้ามัน เมื่อยล้า แต่ก็ต้องทน เพราะเป็นคำสั่งและหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติในความเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์
เหตุการณ์ชุมนุมของมวลชนหลายครั้ง หลายสถานที่ผ่านไปด้วยดี แม้จะมีอะไรให้สดุดบ้างเล็กน้อย แต่ก็ดูเหมือนว่า ทั้งสองฝ่ายทั้งกลุ่มมวลชน และกลุ่มตำรวจดูจะเห็นใจและเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น ด้วยตำรวจมีความละมุนละหม่อมในการเข้าไปเจรจาแก้ปัญหา เมื่อเกิดเหตุการณ์เล็กๆน้อยๆขึ้นในบางจุด
หลังเหตุการณ์ชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในคืนวันที่ 26 ก.พ.ผ่านพ้นไปด้วยดี ซึ่งถัดมาในวันรุ่งขึ้น กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีมติว่า จะนัดชุมนุมใหญ่ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ลงจากเก้าอี้ให้ได้อีกครั้งในวันที่ 5 มี.ค.นั้น ดูเหมือนว่า ตำรวจนครบาลถอนหายใจเฮือกใหญ่ ที่จะได้พักผ่อนเอาแรงอีกหลายวัน (ราว 1 สัปดาห์) และฝันดังกล่าวมลายหายไปสิ้น เมื่อนายกรัฐมนตรี นายใหญ่ของพวกเขาประกาศว่าจะจัดเวทีปราศรัยที่ท้องสนามหลวงในวันที่ 3 มี.ค. ซึ่งคะเนกันว่าจะมีคน(ถูกเกณฑ์)มาเป็นจำนวนมากนั้น ภาระอันหนักอึ้งตกไปอยู่กับตำรวจนครบาลอีกครั้ง
ไม่เป็นไร ไม่เท่าไหร่ ก็ตำรวจนครบาลของ"บิ๊กตึ๋ง"พล.ต.ท.วิโรจน์ จันทรังษี ผบช.น. ผ่านศึกมวลชนมาจนชินแล้ว จะท้อนิดหน่อยก็คงตรงที่จะต้องเหนื่อนกันอีกแล้ว(โว้ย) นั่นเองเท่านั้น และถ้าตำรวจคิดกันจริงตามนั้น ก็ขอเป็นกำลังใจให้เต็มที่ แต่ทว่า...การณ์กลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น เมื่อปรากฏข่าวว่า กลุ่มชาวบ้าน-เกษตรกรในพื้นที่ อ.แม่สาย, อ.เชียงแสน และ อ.แม่จัน และอีกหลายอำเภอในจ.เชียงราย ทยอยมารวมตัว กว่า 10,000 คน โดยนำรถอีแต๋นและเครื่องขยายเสียงมาสนับสนุนการทำงานของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งทั้งหมด พร้อมจะเคลื่อนพลเดินทัพเข้ากทม.ด้วยรถอีแต๋นดังที่ว่ากันในวันนี้ (2 มี.ค.)
นอกจากนี้ ยังมีข่าวว่า ยังมีประชาชนอีกจำนวนมากรอมาร่วมชุมนุมและจะเดินทางเข้า กทม.ในบ่ายวันนี้ด้วยรถอีแต๋น จากนั้นประชาชนจากทุกอำเภอของจังหวัด เดินทางมาร่วมตลอดเส้นทางขบวนที่ไปตามถนนพหลโยธิน โดยมีรถตำรวจคอยขับนำอำนวยความสะดวกให้ด้วย และนายยงยุทธ ติยะไพรัช รักษาการ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีกำหนดพบประชาชนเปิดปราศรัยใหญ่ที่ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย ค่ำนี้ คาดว่ากลุ่มม็อบรถอีแต๋นที่เดินทางไป กทม. อาจใช้เวลาหลายวันและอาจจะมีจำนวนมากหากรวมกับหลายจังหวัดนับแสนคน
หากการเคลื่อนทัพเข้ากรุงด้วยขบวน"รถอีแต๋น" เป็นจริง ผู้ที่ลำบากใจสุดๆคงหนีไม่พ้น "ตำรวจนครบาล"อีกนั่นแหละ เพราะหากยังจำกันได้ เมื่อต้นเดือนส.ค. 2548 สตช.มีคำสั่งด่วนถึงตำรวจทุกหน่วยทั่วประเทศ ให้ยับยั้ง “รถอีแต๋น” บุกเข้ากรุงมาชุมนุมประท้วงเด็ดขาด โดยให้สกัดกั้นทุกวิถีทาง รวมทั้งให้งัดกฎหมายมาบังคับใช้อย่างเด็ดขาด เพราะสร้างปัญหาเดือดร้อนด้านการจราจร หากหน่วยงานไหนไม่ถือปฏิบัติหรือย่อหย่อนจะถูกพิจารณาโทษ
คำสั่งดังกล่าวระบุรายละเอียดไว้ว่า พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผบ.ตร.มีคำสั่งด่วน ที่ 0008.2/3836 ลงวันที่ 28 ก.ค.2548 ไปยังรอง ผบ.ตร. ผู้ช่วย ผบ.ตร. หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า บช.น. บช.ภ.1-9 บช.ก. บช.ส. และหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติทุกหน่วย เรื่องแนวทางการแก้ไขปัญหาการชุมนุมเรียกร้องของเกษตรกร ภายหลังจากเมื่อวันที่ 24-27 ก.ค.ที่ผ่านมาได้มีกลุ่มเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย จากภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ เดินทางมาชุมนุมกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อกดดันเร่งรัดให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาหนี้สิน โดยใช้รถที่ใช้ในการเกษตรกรรม หรือรถอีแต๋น และรถกระบะเป็นยานพาหนะ ซึ่งรถอีแต๋นของกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงได้สร้างปัญหาด้านการจราจร และสร้างความเดือนร้อนเป็นอย่างมาก กระทั่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางไปพบกลุ่มผู้ชุมนุม และเจรจาให้เกิดความพอใจจนสลายตัวไปเมื่อวันที่ 27 ก.ค.
ในคำสั่งดังกล่าวสรุปแนวทางปฏิบัติไว้ 7 ข้อ ประกอบด้วย
1.ให้ ผบก. และหัวหน้าสถานีตำรวจในพื้นที่ทุกแห่ง ประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันหาข้อมูลและร่วมกันวางแผนด้วยกำหนดมาตรการในการที่จะระงับยับยั้งมิให้มีการชุมนุมเรียกร้องในลักษณะนี้อีก โดยให้กรณีนี้เป็นกรณีศึกษา และเมื่อมีการวางแผนและกำหนดมาตรการแล้ว ให้มีการประชุมชี้แจงและซักซ้อมแก่ผู้เกี่ยวข้องให้ทราบ และถือปฏิบัติ
2.หากมีข้อมูลข่าวสาร หรือสิ่งบอกเหตุว่าจะมีการชุมนุมประท้วง และเดินทางเข้ามาใน กทม. ให้ทำการสืบสวนหาข่าวว่ามีองค์กรใดที่ชักนำ ผู้ใดเป็นแกนนำ รวมทั้งข้อเรียกร้อง วันเวลา สถานที่ในการรวมตัวชุมนุม จำนวนผู้ที่คาดว่าจะมาชุมนุม รวมถึงจำนวนรถอีแต๋นที่จะนำมาใช้ในการรวมตัวเรียกร้อง มีหรือไม่ จำนวนเท่าไร หากมีให้หารายละเอียดเกี่ยวกับเจ้าของ และข้อมูลของรถที่จะนำมาร่วมการชุมนุมเท่าที่จะทำได้ และรายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น จนถึง ศปก.ตร.โดยด่วนที่สุด
3.หากมีการรวมตัวกัน หรือนัดแนะจะเดินทางมาร่วมชุมนุมใน กทม. ให้ ผบก.ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เจรจายับยั้งบุคคลเหล่านั้นให้ได้ หากกลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางจะเข้าชุมนุมใน กทม. ให้ร่วมปฏิบัติการตามแผนที่วางไว้ในข้อแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องขัดขวางไม่ให้นำรถอีแต๋นเข้ามาเป็นอันขาด หากจำเป็นต้องใช้มาตรการทางกฎหมาย เช่น กฎหมายเกี่ยวกับรถยนต์ ขนส่ง ทางหลวง หรืออื่นๆ สามารถนำมาใช้ได้เต็มรูปแบบ หากมีหลุดเล็ดลอดไปได้ต้องแจ้งไปยังท้องที่ข้างหน้า ในเส้นทางผ่านให้ทราบต่อๆ กันไป รวมถึงวางแผนในการจัดพื้นที่ เมื่อนำรถของกลางไปจอด หรือวิธีการนำรถไปจอด เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยมากที่สุด รวมทั้งมาตรการรับมือกรณีมีเหตุลุกลามที่อาจมีหรือคาดว่าจะมีด้วย
4.ให้ผู้บัญชาการภาค ผู้บังคับการภูธรจังหวัด ผู้กำกับการ หรือหัวหน้าสถานีตำรวจ ที่มีราษฎรจะไปชุมนุมเรียกร้อง และเส้นทางที่ใช้ผ่านเข้า กทม. เป็นผู้อำนวยการควบคุมสั่งการการปฏิบัติด้วยตนเองทุกครั้ง ตั้งแต่ต้นจนจบ หากมีปัญหาในการปฏิบัติ ให้ผู้บังคับบัญชาสูงสุด ณ จุดที่มีปัญหา พิจารณาสั่งการแก้ไขให้ได้
5.เมื่อขบวนสามารถเล็ดลอดเข้ามาในเขต กทม.ได้ ให้เป็นหน้าที่ของ บช.น.รับผิดชอบดำเนินการตามแผนที่เคยปฏิบัติต่อไป จนกว่าผู้ชุมนุมจะเดินทางกลับหมดสิ้น
6.มาตรการนี้ ให้มีการประสานงานและแจ้งข่าวสารระหว่างหน่วยต่างๆ รวมทั้งรายงาน ศปก.ตร.ทุกระยะตลอดเวลา
7.ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ขึ้นอยู่กับการเอาใจใส่ดำเนินการอย่างจริงจังของผู้บังคับบัญชาระหว่าง บช., บก. และสถานีตำรวจทุกระดับ รวมทั้งยุทธวิธี หรือกลวิธีต่างๆ ที่จะนำมาใช้ให้บรรลุผล หากท้องที่ใดไม่เอาใจใส่หรือย่อหย่อนจนเกิดความเสียหาย จะพิจารณาข้อบกพร่องของผู้รับผิดชอบทุกรายไป
อย่างไรก็ตาม กลุ่มเกษตรกรที่จะขับ"รถอีแต๋น"มาร่วมให้กำลังใจนายกรัฐมนตรีในวันนี้(3 มี.ค.)นั้น หากมองไปที่คำสั่งดังกล่าวก็ย่อมเกิดความลำบากใจให้กับตำรวจนครบาลเป็นแน่ เพราะหากจะยึดถือคำสั่งที่ว่าอย่างเคร่งครัด ก็อาจจะไปขัดใจใครบางคนที่มีอำนาจเหนือกว่าได้ แต่หากปล่อยให้เข้ามา แน่นอน การจราจรจะเป็นเช่นใด ให้นึกภาพกันเอาเอง
การชุมนุมของกลุ่มมวลชนในหลายครั้งที่ผ่านมา เชื่อแน่ว่า ตำรวจย่อมลำบากใจมากที่สุด ดังจะเห็นได้จาก เมื่อการชุมนุมในวันที่ 4 ก.พ.ผ่านพ้นไป กลุ่มพันธมิตรได้รวมตัวกัน และประกาศว่าจะมาร่วมชุมนุมกันอีกครั้งในวันที่ 11 ก.พ. ในขณะเดียวกัน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีประกาศกร้าว ห้ามชุมนุมกันบริเวรลานพระบรมรูปอีก โดยอ้างการจราจรติดขัดซึ่งกลุ่มมวลชนก็ยืนยันที่จะชุมนุม ซึ่งครั้งนั้น เชื่อได้ว่า ตำรวจลำบากใจเป็นที่สุด แต่ในที่สุดแล้ว ตำรวจก็เลือกที่จะยืนอยู่ข้างประชาชน และการชุมนุมของกลุ่มมวลชนก็เป็นไปอย่างสงบ
มาในครั้งนี้ รัฐบาลจัดชุมนุมเอง ตำรวจก็ต้องไปคอยดูแลความสงบเรียบร้อยให้อีก และยังไม่รู้ว่า กลุ่มที่จะมาชุมนุม จะ(ถูกบังคับ)ให้อยู่เพื่อไปเผชิญหน้ากับกลุ่มมวลชนที่ประกาศไว้แต่ต้นในวันที่ 5 มี.ค.ด้วยหรือเปล่า ครั้นจะไปไล่ให้กลับ ก็จะถูกมองว่า แปรพักตร์ไปเข้าข้างฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล แต่หากจะปล่อยให้อยู่ต่อ ก็เกรงอาจจะเกิดเหตุอะไรขึ้นก็ได้ และความซวยคงหนีไม่พ้นคนที่เป็นตำรวจ เฮ้อ...ลำบากใจจริง
สุดท้าย อาจจะมีตำรวจนครบาลอีกหลายหลายคน และหลายร้อย หลายพันคน ที่เหน็ดเหนื่อยกายามาหลายครั้ง หลายหน มาคราวนี้ยังจะต้องมาเหน็ดเหนื่อยใจอีก จึงอาจอยากจะตะโกนให้กู่ก้องนครบาลว่า "กูก็จะไม่ไหวแล้วโว้ย"เมื่อไหร่(ทักษิณ)จะลาออกเสียที...ฮา!









จริงดังว่า ตำรวจมักจะถูกคำสั่งให้ไปต้อนรับกลุ่มมวลชนเป็นด่านแรก และกลุ่มมวลชนส่วนใหญ่ ก็มักที่จะมุ่งหน้า เข้าสู่กรุงเทพมหานคร อันเป็นศูนย์กลางราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม ตำรวจนครบาล หรือตำรวจในสังกัด กองบัญชาการตำรวจนครบาล จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะต้องรับผิดชอบต่อมามาร่วมชุมนุมของมวลชน ทั้งมวลชนฝ่ายที่รัฐบาลกะเกณฑ์กันมาเอง หรือมวลชนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยต่อการสั่งการและปฏิบัติราชการของคนในซีกรัฐบาล
นอกเหนือจากมวลชนกลุ่มหลักที่กล่าวมาทั้ง 2 กลุ่มแล้ว ยังมีกลุ่มที่รวมตัวกันเพื่อปากท้องของตัวเอง อาทิ กลุ่มรถมินิบัส กลุ่มรถแท็กซี่-สามล้อ กลุ่มผู้ประกอบการรถตู้ และอีกหลายๆกลุ่ม ที่หากถูกกดดันในเรื่องที่พวกเขาต้องสูญเสียผลประโยชยน์แล้ว ก็มักจะมาชุมนุมขอความเป็นธรรม ขอข้อต่อรอง อะไรหลากหลายอย่าง
การรวมตัวของกลุ่มมวลชนในสถานะที่ถูกเรียกว่า"ม็อบ"นั้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับผู้ที่จะเข้าไปดูแลความสงบเรียบร้อย นั่นก็คือ ตำรวจนครบาล โดยเฉพาะกับหน่วยงานที่มีชื่อว่า กองบังคับกาารตำรวจปฏิบัติการพิเศษ (บก.ตปพ.) ซึ่งจะต้องส่งกำลังในสังกัด ไปคอยดูแล ไม่ให้ผู้ชุมนุมก่อเหตุรุนแรง หรือก่อเหตุที่อาจไม่สามารถคะเนขึ้นได้ เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยให้ได้มากที่สุด ซึ่งในข้อเท็จจริงแล้ว ก็เพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มมวลชนที่มาชุมนุมกันนั่นเอง
ในระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา ตำรวจนครบาลต้องทำงานกันอย่างหนัก เพราะไม่ว่าจะเป็นการส่งกำลังตำรวจไปดูแลความเรียบร้อยให้กับรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรหลายครั้ง ตั้งแต่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสวนลุมพินีสถาน จนถึงการชุมนุมใหญ่ที่ลานพระราชวังดุสทิต หรือลานพระบรมรูปทรงม้า มาจนถึงการชุมนุมล่าสุดที่บริเวณท้องพระสุเมรุ หรือท้องสนามหลวง ตำรวจนครบาลต้องมีการระดมกำลังกันมาทั้งวันทั้งคืน อากาศก็ร้อน เครื่องแบบก็หนัก ร่างกายดูเหนอะหนะ หน้ามัน เมื่อยล้า แต่ก็ต้องทน เพราะเป็นคำสั่งและหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติในความเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์
เหตุการณ์ชุมนุมของมวลชนหลายครั้ง หลายสถานที่ผ่านไปด้วยดี แม้จะมีอะไรให้สดุดบ้างเล็กน้อย แต่ก็ดูเหมือนว่า ทั้งสองฝ่ายทั้งกลุ่มมวลชน และกลุ่มตำรวจดูจะเห็นใจและเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น ด้วยตำรวจมีความละมุนละหม่อมในการเข้าไปเจรจาแก้ปัญหา เมื่อเกิดเหตุการณ์เล็กๆน้อยๆขึ้นในบางจุด
หลังเหตุการณ์ชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในคืนวันที่ 26 ก.พ.ผ่านพ้นไปด้วยดี ซึ่งถัดมาในวันรุ่งขึ้น กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีมติว่า จะนัดชุมนุมใหญ่ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ลงจากเก้าอี้ให้ได้อีกครั้งในวันที่ 5 มี.ค.นั้น ดูเหมือนว่า ตำรวจนครบาลถอนหายใจเฮือกใหญ่ ที่จะได้พักผ่อนเอาแรงอีกหลายวัน (ราว 1 สัปดาห์) และฝันดังกล่าวมลายหายไปสิ้น เมื่อนายกรัฐมนตรี นายใหญ่ของพวกเขาประกาศว่าจะจัดเวทีปราศรัยที่ท้องสนามหลวงในวันที่ 3 มี.ค. ซึ่งคะเนกันว่าจะมีคน(ถูกเกณฑ์)มาเป็นจำนวนมากนั้น ภาระอันหนักอึ้งตกไปอยู่กับตำรวจนครบาลอีกครั้ง
ไม่เป็นไร ไม่เท่าไหร่ ก็ตำรวจนครบาลของ"บิ๊กตึ๋ง"พล.ต.ท.วิโรจน์ จันทรังษี ผบช.น. ผ่านศึกมวลชนมาจนชินแล้ว จะท้อนิดหน่อยก็คงตรงที่จะต้องเหนื่อนกันอีกแล้ว(โว้ย) นั่นเองเท่านั้น และถ้าตำรวจคิดกันจริงตามนั้น ก็ขอเป็นกำลังใจให้เต็มที่ แต่ทว่า...การณ์กลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น เมื่อปรากฏข่าวว่า กลุ่มชาวบ้าน-เกษตรกรในพื้นที่ อ.แม่สาย, อ.เชียงแสน และ อ.แม่จัน และอีกหลายอำเภอในจ.เชียงราย ทยอยมารวมตัว กว่า 10,000 คน โดยนำรถอีแต๋นและเครื่องขยายเสียงมาสนับสนุนการทำงานของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งทั้งหมด พร้อมจะเคลื่อนพลเดินทัพเข้ากทม.ด้วยรถอีแต๋นดังที่ว่ากันในวันนี้ (2 มี.ค.)
นอกจากนี้ ยังมีข่าวว่า ยังมีประชาชนอีกจำนวนมากรอมาร่วมชุมนุมและจะเดินทางเข้า กทม.ในบ่ายวันนี้ด้วยรถอีแต๋น จากนั้นประชาชนจากทุกอำเภอของจังหวัด เดินทางมาร่วมตลอดเส้นทางขบวนที่ไปตามถนนพหลโยธิน โดยมีรถตำรวจคอยขับนำอำนวยความสะดวกให้ด้วย และนายยงยุทธ ติยะไพรัช รักษาการ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีกำหนดพบประชาชนเปิดปราศรัยใหญ่ที่ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย ค่ำนี้ คาดว่ากลุ่มม็อบรถอีแต๋นที่เดินทางไป กทม. อาจใช้เวลาหลายวันและอาจจะมีจำนวนมากหากรวมกับหลายจังหวัดนับแสนคน
หากการเคลื่อนทัพเข้ากรุงด้วยขบวน"รถอีแต๋น" เป็นจริง ผู้ที่ลำบากใจสุดๆคงหนีไม่พ้น "ตำรวจนครบาล"อีกนั่นแหละ เพราะหากยังจำกันได้ เมื่อต้นเดือนส.ค. 2548 สตช.มีคำสั่งด่วนถึงตำรวจทุกหน่วยทั่วประเทศ ให้ยับยั้ง “รถอีแต๋น” บุกเข้ากรุงมาชุมนุมประท้วงเด็ดขาด โดยให้สกัดกั้นทุกวิถีทาง รวมทั้งให้งัดกฎหมายมาบังคับใช้อย่างเด็ดขาด เพราะสร้างปัญหาเดือดร้อนด้านการจราจร หากหน่วยงานไหนไม่ถือปฏิบัติหรือย่อหย่อนจะถูกพิจารณาโทษ
คำสั่งดังกล่าวระบุรายละเอียดไว้ว่า พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผบ.ตร.มีคำสั่งด่วน ที่ 0008.2/3836 ลงวันที่ 28 ก.ค.2548 ไปยังรอง ผบ.ตร. ผู้ช่วย ผบ.ตร. หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า บช.น. บช.ภ.1-9 บช.ก. บช.ส. และหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติทุกหน่วย เรื่องแนวทางการแก้ไขปัญหาการชุมนุมเรียกร้องของเกษตรกร ภายหลังจากเมื่อวันที่ 24-27 ก.ค.ที่ผ่านมาได้มีกลุ่มเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย จากภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ เดินทางมาชุมนุมกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อกดดันเร่งรัดให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาหนี้สิน โดยใช้รถที่ใช้ในการเกษตรกรรม หรือรถอีแต๋น และรถกระบะเป็นยานพาหนะ ซึ่งรถอีแต๋นของกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงได้สร้างปัญหาด้านการจราจร และสร้างความเดือนร้อนเป็นอย่างมาก กระทั่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางไปพบกลุ่มผู้ชุมนุม และเจรจาให้เกิดความพอใจจนสลายตัวไปเมื่อวันที่ 27 ก.ค.
ในคำสั่งดังกล่าวสรุปแนวทางปฏิบัติไว้ 7 ข้อ ประกอบด้วย
1.ให้ ผบก. และหัวหน้าสถานีตำรวจในพื้นที่ทุกแห่ง ประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันหาข้อมูลและร่วมกันวางแผนด้วยกำหนดมาตรการในการที่จะระงับยับยั้งมิให้มีการชุมนุมเรียกร้องในลักษณะนี้อีก โดยให้กรณีนี้เป็นกรณีศึกษา และเมื่อมีการวางแผนและกำหนดมาตรการแล้ว ให้มีการประชุมชี้แจงและซักซ้อมแก่ผู้เกี่ยวข้องให้ทราบ และถือปฏิบัติ
2.หากมีข้อมูลข่าวสาร หรือสิ่งบอกเหตุว่าจะมีการชุมนุมประท้วง และเดินทางเข้ามาใน กทม. ให้ทำการสืบสวนหาข่าวว่ามีองค์กรใดที่ชักนำ ผู้ใดเป็นแกนนำ รวมทั้งข้อเรียกร้อง วันเวลา สถานที่ในการรวมตัวชุมนุม จำนวนผู้ที่คาดว่าจะมาชุมนุม รวมถึงจำนวนรถอีแต๋นที่จะนำมาใช้ในการรวมตัวเรียกร้อง มีหรือไม่ จำนวนเท่าไร หากมีให้หารายละเอียดเกี่ยวกับเจ้าของ และข้อมูลของรถที่จะนำมาร่วมการชุมนุมเท่าที่จะทำได้ และรายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น จนถึง ศปก.ตร.โดยด่วนที่สุด
3.หากมีการรวมตัวกัน หรือนัดแนะจะเดินทางมาร่วมชุมนุมใน กทม. ให้ ผบก.ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เจรจายับยั้งบุคคลเหล่านั้นให้ได้ หากกลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางจะเข้าชุมนุมใน กทม. ให้ร่วมปฏิบัติการตามแผนที่วางไว้ในข้อแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องขัดขวางไม่ให้นำรถอีแต๋นเข้ามาเป็นอันขาด หากจำเป็นต้องใช้มาตรการทางกฎหมาย เช่น กฎหมายเกี่ยวกับรถยนต์ ขนส่ง ทางหลวง หรืออื่นๆ สามารถนำมาใช้ได้เต็มรูปแบบ หากมีหลุดเล็ดลอดไปได้ต้องแจ้งไปยังท้องที่ข้างหน้า ในเส้นทางผ่านให้ทราบต่อๆ กันไป รวมถึงวางแผนในการจัดพื้นที่ เมื่อนำรถของกลางไปจอด หรือวิธีการนำรถไปจอด เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยมากที่สุด รวมทั้งมาตรการรับมือกรณีมีเหตุลุกลามที่อาจมีหรือคาดว่าจะมีด้วย
4.ให้ผู้บัญชาการภาค ผู้บังคับการภูธรจังหวัด ผู้กำกับการ หรือหัวหน้าสถานีตำรวจ ที่มีราษฎรจะไปชุมนุมเรียกร้อง และเส้นทางที่ใช้ผ่านเข้า กทม. เป็นผู้อำนวยการควบคุมสั่งการการปฏิบัติด้วยตนเองทุกครั้ง ตั้งแต่ต้นจนจบ หากมีปัญหาในการปฏิบัติ ให้ผู้บังคับบัญชาสูงสุด ณ จุดที่มีปัญหา พิจารณาสั่งการแก้ไขให้ได้
5.เมื่อขบวนสามารถเล็ดลอดเข้ามาในเขต กทม.ได้ ให้เป็นหน้าที่ของ บช.น.รับผิดชอบดำเนินการตามแผนที่เคยปฏิบัติต่อไป จนกว่าผู้ชุมนุมจะเดินทางกลับหมดสิ้น
6.มาตรการนี้ ให้มีการประสานงานและแจ้งข่าวสารระหว่างหน่วยต่างๆ รวมทั้งรายงาน ศปก.ตร.ทุกระยะตลอดเวลา
7.ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ขึ้นอยู่กับการเอาใจใส่ดำเนินการอย่างจริงจังของผู้บังคับบัญชาระหว่าง บช., บก. และสถานีตำรวจทุกระดับ รวมทั้งยุทธวิธี หรือกลวิธีต่างๆ ที่จะนำมาใช้ให้บรรลุผล หากท้องที่ใดไม่เอาใจใส่หรือย่อหย่อนจนเกิดความเสียหาย จะพิจารณาข้อบกพร่องของผู้รับผิดชอบทุกรายไป
อย่างไรก็ตาม กลุ่มเกษตรกรที่จะขับ"รถอีแต๋น"มาร่วมให้กำลังใจนายกรัฐมนตรีในวันนี้(3 มี.ค.)นั้น หากมองไปที่คำสั่งดังกล่าวก็ย่อมเกิดความลำบากใจให้กับตำรวจนครบาลเป็นแน่ เพราะหากจะยึดถือคำสั่งที่ว่าอย่างเคร่งครัด ก็อาจจะไปขัดใจใครบางคนที่มีอำนาจเหนือกว่าได้ แต่หากปล่อยให้เข้ามา แน่นอน การจราจรจะเป็นเช่นใด ให้นึกภาพกันเอาเอง
การชุมนุมของกลุ่มมวลชนในหลายครั้งที่ผ่านมา เชื่อแน่ว่า ตำรวจย่อมลำบากใจมากที่สุด ดังจะเห็นได้จาก เมื่อการชุมนุมในวันที่ 4 ก.พ.ผ่านพ้นไป กลุ่มพันธมิตรได้รวมตัวกัน และประกาศว่าจะมาร่วมชุมนุมกันอีกครั้งในวันที่ 11 ก.พ. ในขณะเดียวกัน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีประกาศกร้าว ห้ามชุมนุมกันบริเวรลานพระบรมรูปอีก โดยอ้างการจราจรติดขัดซึ่งกลุ่มมวลชนก็ยืนยันที่จะชุมนุม ซึ่งครั้งนั้น เชื่อได้ว่า ตำรวจลำบากใจเป็นที่สุด แต่ในที่สุดแล้ว ตำรวจก็เลือกที่จะยืนอยู่ข้างประชาชน และการชุมนุมของกลุ่มมวลชนก็เป็นไปอย่างสงบ
มาในครั้งนี้ รัฐบาลจัดชุมนุมเอง ตำรวจก็ต้องไปคอยดูแลความสงบเรียบร้อยให้อีก และยังไม่รู้ว่า กลุ่มที่จะมาชุมนุม จะ(ถูกบังคับ)ให้อยู่เพื่อไปเผชิญหน้ากับกลุ่มมวลชนที่ประกาศไว้แต่ต้นในวันที่ 5 มี.ค.ด้วยหรือเปล่า ครั้นจะไปไล่ให้กลับ ก็จะถูกมองว่า แปรพักตร์ไปเข้าข้างฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล แต่หากจะปล่อยให้อยู่ต่อ ก็เกรงอาจจะเกิดเหตุอะไรขึ้นก็ได้ และความซวยคงหนีไม่พ้นคนที่เป็นตำรวจ เฮ้อ...ลำบากใจจริง
สุดท้าย อาจจะมีตำรวจนครบาลอีกหลายหลายคน และหลายร้อย หลายพันคน ที่เหน็ดเหนื่อยกายามาหลายครั้ง หลายหน มาคราวนี้ยังจะต้องมาเหน็ดเหนื่อยใจอีก จึงอาจอยากจะตะโกนให้กู่ก้องนครบาลว่า "กูก็จะไม่ไหวแล้วโว้ย"เมื่อไหร่(ทักษิณ)จะลาออกเสียที...ฮา!