xs
xsm
sm
md
lg

“มือปราบสายเดี่ยว" ภาค 2

เผยแพร่:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม

ในสถานการณ์
ท่าบางลำพู


นโยบายคุมเข้มสถานบันเทิงประเภท ดิสโก้เธค ผับ-บาร์ โดยเฉพาะมาตราการควบคุมเสียงไม่ให้ดังเกิน 90 เดซิเบล ดูเหมือนว่าจะมีเพียง กทม. หน่วยงานเดียวที่เดินหน้าสานงานต่อเพียงลำพัง และถือเป็น"แม่งานหลัก” ที่เอาจริงเอาจัง ทั้งเรียกประชุมและออกสุ่มตรวจสถานบริการ

เริ่มต้นด้วย การเชิญตัวแทนจาก กองบัญชาการตำรวจนครบาลและผู้ประกอบการสถานบริการกว่า 1,700 แห่ง ในเขต กทม. มาร่วมประชุมปรับความเข้าใจถึงแนวทางการปฏิบัติในแก้ไขปัญหามลพิษะทางเสียงในสถานบริการและปัญหาอาคารสถานที่ ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขจะหันไปเน้นเรื่องการสั่งห้ามร้านประกอบการจำหน่ายสุรา-บุหรี่แก่เด็กอายุไม่เกิน 18 ปี

ทั้งๆที่มาตราการเหล่านี้ถือเป็นนโยบาย"จัดระเบียบสังคม" ที่ต้องเดินควบคู่กันไปอย่างเช่นในสมัย ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ อดีตรมว.มหาดไทย ที่เคยกระทำมา จึงไม่แน่ใจว่ามาตราการนี้ จะเป็นนโยบายลูบหน้าปะจมูก ประเภทต่างคนต่างทำอีกหรือไม่ ?

กทม.ประกาศ"เปรี้ยง” ว่าจะดำเนินการสุ่มตรวจสถานบริการหากพบว่ามีการละเลย กทม.ก็จะใช้มาตรการทางกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 โดยมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท จำคุกไม่เกิน 6 เดือน และหากพบว่ามีการจงใจฝ่าฝืนจะใช้มาตรการสั่งปิดและเพิกถอนใบอนุญาตในที่สุด ฝ่าฝืนเปิดเพลงดังเกินกำหนด ตำรวจก็จะเปรียบ เทียบปรับ หากไม่ได้ผลผู้ประกอบการยังกระทำผิดซ้ำ ตำรวจก็จะอาศัยคำสั่งคณะปฏิวัติฉบับที่ 5 สั่งปิดในทันที ..

ซึ่งดูแล้วมาตรการควบคุมเสียงในสถานบริการน่าจะเกิดผลเป็นรูปธรรม หาก กทม.ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและจริงจัง และขอให้ลืมภาพลักษณ์เก่าๆ เพราะต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาบ้านเมืองเรามีกฏหมายกำหนดรองรับอยู่แล้ว แต่เพราะความหย่อนยานจึงไม่ได้นำมาใช้บังคับเท่านั้น

เช่นเดียวกับมาตราการการจัด”ระเบียบสังคม”ในสมัย"มือปราบสายเดี่ยว” ดร.ปุ ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ได้หยิบยกพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2547 ขึ้นมาปรับปรุงให้ทันยุคทันสมัย

แต่เมื่อสิ้นยุค มท. 1”มือปราบสายเดี่ยว” มาตรการ"จัดระเบียบสังคม” ก็ล้มหายตายจากไปจากความทรงจำ.... เช่นเดียวกับกฏหมายที่มีรองรับอยู่แล้ว แต่ไม่ได้นำมาใช้บังคับก็เท่านั้น

การเดินสายออกสุ่มตรวจสถานบริการภายใต้การนำทีมของ ผู้ว่าฯกทม.คนใหม่อย่าง “หล่อเล็ก อภิรักษ์ โกษะโยธิน” เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.ที่ผ่านมา ผลการสุ่มในพื้นที่เขตห้วยขวางพบว่า มีสถานประกอบการที่ได้รับการตรวจสอบมีทั้งสิ้น 49 แห่ง พบว่าผ่านเกณฑ์การตรวจเสียง โดยเปิดระดับไม่เกิน 90 เดซิเบล จำนวน 40 แห่ง (81.63%) แต่พบปัญหาในด้านแสงสว่าง เนื่องจากมีสถานประกอบการที่ผ่านเกณฑ์ เพียง 18 แห่ง (36.73%) การระบายอากาศมีผ่านเกณฑ์ 29 แห่ง (59.18%) ทางหนีไฟ หรือทางออกฉุกเฉินผ่านเกณฑ์ 27 แห่ง (55.10%)

แม้ว่าในภาพรวมจะพอดูดีในเรื่องคุณภาพชีวิต แต่กทม.ต้องไม่ลืมว่า ย่านรัชดาภิเษกและห้วยขวาง การสุ่มในพื้นที่ที่อยู่ในเขตโซนนิ่งซึ่งอยู่ในเขตควบคุม ย่อมมีมาตราฐานสูงกว่าสถานบันเทิงในรูปแอบแฝงและอยู่นอกพื้นที่เขตควบคุม

ดังนั้นการสุ่มตรวจและเอาผิดกับสถาบันเทิงที่ฝ่าฝืน ต้องดำเนินการแบบปูพรม เพื่อป้องกันข้อครหา"เลือกที่รักมักที่ชัง” และต้องสวมบท"มือปราบสายเดี่ยว ภาค 2” เดินสายออกตรวจจับอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำกฏหมายที่ใช้ควบคุมสถานบริการออกมาใช้บังคับอย่างจริงจัง
กำลังโหลดความคิดเห็น