กระแสข่าวขาใหญ่เรือนจำบางขวาง เตรียมลงขันจ้างวานฆ่าอธิบดีกรมราชทัณฑ์"นัทธี จิตสว่าง" โดยตั้งค่าหัวรางวัลไว้ที่ตัวเลข 7 หลัก เพราะไปขัดกลุ่มผลประโยชน์ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า เบื้องหลังกำแพงสูงตระหง่านของคุกบางขวางแห่งนี้ นักโทษในร่างทรงของผู้มีอิทธิพลยังหลงเหลืออยู่อีกหรือ ? ถึงได้เหิมเกริมจ้างฆ่าได้แม้กระทั่งคนระดับอธิบดี ฯ ส่งผลให้กรมราชทัณฑ์ในวันนี้ ต้องเร่งปฏิรูประบบราชการ รวมทั้งหามาตราการ กำราบขาใหญ่ เพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม...
เรือนจำหรือทัณฑสถานในประเทศไทย ปัจจุบันมีอยู่ทั้งสิ้น 152 แห่ง แบ่งออกเป็น... เรือนจำความมั่นคงสูง 3 แห่ง, เรือนจำกลางประจำเขต 9 แห่ง, เรือนจำจังหวัด 77 แห่ง, เรือนจำชั่วคราว 26 แห่ง และเรือนจำพิเศษ 4 แห่ง ขณะที่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษมี 6 แห่ง, ทัณฑสถานวัยหนุ่ม 4 แห่ง และทัณฑสถานเปิด 6 แห่ง ส่วนสถานกักขังกลางมี 2 แห่ง ,สถานกักกันมี 1 แห่ง และเรือนจำกลางอีก 14 แห่ง และหนึ่งในนั้นคือเรือนจำกลางบางขวาง

****เปิดประตูคุกบางขวาง
ที่ต้องกล่าวถึงคุกบางขวาง แดนสนธยาที่”คนในอยากออก คนนอกไม่อยากเข้า” เพราะเบื้องหลังกำแพงสูงตระหง่านแห่งนี้ ใช้เป็นสถานที่คุมขังนักโทษเด็ดขาด ที่มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป จนถึงโทษประหารชีวิต ปัจจุบันเรือนจำบางขวาง มีผู้ต้องขังเป็นรวมทั้งสิ้น 6,338 คน แยกเป็นผู้ต้องขังที่ต้องโทษประหารชีวิตจำนวน 870คน อยู่ระหว่างอุทธรณ์จำนวน 546 คน อยู่ระหว่างฎีกาจำนวน 220 คน และนักโทษเด็ดขาดรอประหารชีวิต จำนวน 104 คน ....
แต่ไม่ว่าจะผู้กระทำผิดจะยิ่งใหญ่ มียศและศักดิ์ศรีเพียงใด แต่เมื่อเดินเข้าสู่ประตูเรือนจำบางขวางแล้ว สรรพนามนำหน้าชื่อ “(น.ช.) จะถูกใช้เรียกขานเท่าเทียมกัน สำหรับชีวิตคนคุก นรกแห่งการพันธนาการ? “
เพราะเป็นสถานที่กักขังนักโทษคดีอุกฉกรรจ์ “นักโทษบางรายเข้าไป จะไม่สามารถกลับออกมาได้อีกตลอดชั่วชีวิต “ เรือนจำแห่งนี้จึงต้องมั่นคงแข็งแรงที่สุดของประเทศ ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 136 ไร่ มีไฟฟ้าแรงสูงขนาด 3,500โวลต์ รอบรั้วกำแพงสูง 6 เมตร มี 20 หอคอย พร้อมพลแม่นปืนเฝ้าตลอด 24 ชั่วโมง
เรือนจำบางขวางถูกแบ่งเขตออกเป็น 14 แดน แต่สำหรับแดนใหญ่และแยกขังนักโทษมีด้วยกัน 6 แดนประกอบด้วยแดน 1 ใช้ควบคุมนักโทษประหารชีวิตและจำคุกตลอดชีวิต แดน 2 เป็นแดนแรกรับผู้ต้องขังใหม่ แดน 3 สำหรับขังผู้ต้องโทษต่ำกว่าตลอดชีวิต แดน 4 สำหรับขังนักโทษต่ำกว่า 50 ปีลงมา แดน 5 เป็นแดนวัยหนุ่มควบคุมผู้ต้องโทษอายุไม่เกิน 25 ปี และแดน 6 ใช้ควบคุมผู้ต้องขังต่ำกว่าตลอดชีวิตลงมา
*** จำแนกดีกรีนักโทษ
สภาพความเป็นอยู่ภายในคุกบางขวาง แม้จะต่างจากโลกภายนอกอย่างสิ้นเชิง” แต่วิถีชีวิตความเป็นอยู่เพื่อเอาตัวรอด ซึ่งถือเป็นธรรมดาสามัญของสัตว์โลก เฉกเช่นชีวิตของคนคุก ที่ถูกห้อมล้อมด้วยกำแพงสูงตระหง่านแห่งนี้ “ พฤติกรรมของคนคุกจึงถูกจัดแบ่งไว้เป็น 11 ประเภท” เช่นพวกเก๋าคุก ,ขาใหญ่ ,เบาปัญญา,พวกเพี้ยน,พวกหัวหมอ,พวกอิทธิพล,พวกแท็กซี่,พวกขี้ยา, พวกพ่อค้า,พวกน้องและพวกเสือเดียว
แต่ที่น่าสนใจ คือ”พวกเก๋าคุก” คืออยู่คุกมานานเสมือนคุกเป็นบ้าน ส่วนใหญ่ต้องโทษในคดีปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ฉ้อโกงและยาเสพติด พวกนี้จะเคยชินต่อความผิดซ้ำซากไม่เกรงกลัวการลงโทษ ชอบก่อเหตุทะเลาะวิวาท ไม่เกรงกลัวเจ้าหน้าที่
“พวกขาใหญ่” คือพวกที่มีเส้นสาย มักได้รับการฝากฝังดูแลจากผู้ใหญ่และนักการเมืองจนได้รับความอำนวยสะดวกเป็นพวกที่เคยรู้จักกับเจ้าหน้าที่มาก่อนและมีอิทธิพลทางการเงิน มีพื้นฐานทางการศึกษาดีส่วนโทษแห่งการกระทำผิด มักเป็นคดีเกี่ยวกับคดีเศรษฐกิจเช่นคดีเช็ค คดีแชร์ และมีผู้ต้องโทษรายอื่นไว้ใช้งาน และมักทำตัวเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่เป็นสายแจ้งข้อมูลและประจบเจ้าหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง
“พวกอิทธิพล” คือพวกที่เคยทรงอิทธพลมาก่อนแต่มาต้องคดีในภายหลัง ส่วนใหญ่จะต้องโทษในคดีค้าของเถื่อน ค้าประเวณี จะอยู่เรือนจำเพื่อฆ่าเวลา และมักสั่งสมบารมีทำตัวเป็นผู้มีอำนาจโดยใช้เงินเป็นตัวหว่าน และอยู่เบื้องหลังในการฝ่าฝืนกฏของเรือนจำเช่น ค้ายาเสพติด เป็นเจ้ามือบ่อน โดยจะมีพวกขี้ยา พวกเบาปัญญา พวกแท็กซี่ ตกเป็นสมุนของพวกอิทธิพล
พวกเก๋าคุก-ขาใหญ่-อิทธพล ซึ่งมีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับเจ้าหน้าที่ จนถูกตั้งฉายาว่า เป็นเจ้าแห่งมาเฟีย เพราะทั้งสองฝ่ายต่างคอยเกื้อหนุน อุปถัมภ์ค้ำจุนซึ่งกันและกัน “พวกมาเฟียบางขวาง มีหัวหน้าระดับซี 7 ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายควบคุม ส่วนในกรมราชทัณฑ์มีเจ้าแห่งมาเฟียระดับซี 9 ตำแหน่งรองอธิบดีฯ ที่ซื้อตำแหน่งมาด้วยเงิน 12 ล้านบาท จึงต้องขอดคุกพิเศษขายจนเกลี้ยง “ จากข้อเขียนของสุรชัย แซ่ด่าน จากเรื่องผ่าคุก ซึ่งได้ตีพิมพ์ขึ้นเมื่อวันที่ 1 ก.พ.2546 ย่อมสะท้อนให้เห็นว่าพวกขาใหญ่ หรือพวกอิทธิพล จะเหิมเกริมไปไม่ได้ หากเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์เข้มแข็งและดูแลนักโทษทุกคนอย่างทัดเทียมและเสมอภาค

****เปิดปูมขาใหญ่ คดีดังในอดีต
สำหรับนักโทษขาใหญ่ที่ถูกควบคุมในเรือนจำกลางบางขวาง ที่ถูกขึ้นบัญชีดำและจะต้องโยกย้ายไปควบคุมที่เรือนจำความมั่นคงสูง อาทิ พ.ต.เฉลิมชัย มัจฉากล่ำ หรือ ผู้พันตึ๋ง ที่ถูกศาลชั้นต้นตัดสินประหารชีวิตในคดีร่วมฆ่า นายปรีณะ ลีพัฒธนะพันธ์ อดีตผู้ว่าฯจ.ยโสธร , เสริม สาครราช อดีตนักศึกษาแพทย์ ที่ศาลชั้นต้นตัดสินประหารชีวิตในคดีฆ่า น.ส.เจนจิรา พลอยองุ่นศรี นักศึกษาแพทย์แฟนสาว,นพ.วิสุทธิ์ บุญเกษมสันติ ศาลชั้นต้นตัดสินประหารชีวิตคดีฆ่า พ.ญ.ผัสพร บุญเกษมสันติ ภรรยา,พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ ถูกศาลชั้นต้นตัดสินจำคุกตลอดชีวิตในคดีอุ้มฆ่าสองแม่ลูก ตระกูลศรีธนะขันธ์ ,นายวิศิษฎ์ พึ่งรัศมี มาเฟียตลาดไนท์บาซาร์ จ.เชียงใหม่ หัวหน้าซุ้มมือปืนภาคเหนือ และ นายทวี พุทธจันทร์ ผู้ต้องขังในคดีจ้างวานฆ่าอดีต ผอ.อสมท.ที่ก่อนหน้านี้ทางเรือนจำบางขวางได้ย้ายไปขังไว้ที่เรือนจำกลางคลองไผ่ และย้ายนักโทษที่เป็นอดีตมือปืนรับจ้างในซุ้มจังหวัดทางภาคเหนือจำนวน 5 คน ไปไว้ยังเรือนจำความมั่นคงสูงในจังหวัดพิษณุโลก
****จลาจลบางขวาง ฝีมือขาใหญ่
ในอดีตจนถึงปัจจุบัน นักโทษที่สร้างปัญหาให้กับเจ้าหน้าที่มากที่สุด เห็นจะเป็นพวกขาใหญ่และพวกอิทธิพล นอกจากจะมีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับเจ้าหน้าที่ มักจะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังในการฝ่าฝืนกฏและกระทำความผิดอยู่บ่อยครั้ง ทั้งค้ายาเสพติด เปิดบ่อนการพนันและมั่วสุมทางเพศฯลฯ ในอดีตที่ผ่านมาเหตุการณ์ การจลาจลครั้งใหญ่ ในช่วงการอภัยโทษ ก็เกิดจากฝีมือของนักโทษเหล่านี้ทั้งสิ้นเช่น การจลาจลที่เรือนจำคลองเปรม และบางขวางเมื่อปี 2517 และเหตุจลาจลเดือนสิงหาคม 2528 มีผู้เสียชีวิตถึง 10 คน
แต่ในปัจจุบันนี้เรือนจำบางขวางประสบปัญหาผู้ต้องขังลักลอบใช้โทรศัพท์ติดต่อสั่งยาบ้าจากในคุก เพราะร้อยละ 90 ล้วนแต่ต้องขังในคดียาเสพติดทั้งสิ้น แม้ว่าทางเรือนจำจะมีการควบคุมอย่างเข้มงวดและอาจตัดระบบสัญญาณโทรศัพท์ในเรือนจำทั้งหมด แต่ปัจจุบันติดขัดที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยหรือบริษัท ทศท.คอร์เปอเรชั่น จำกัด ไม่สามารถเข้ามาดำเนินการได้เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากประชาชน ว่าการติดตั้งดังกล่าวไปรบกวนสัณญาณการใช้โทรศัพท์ของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงเรือนจำ
หลายคดีที่ เจ้าหน้าที่สามารถจับกุมนักค้ายาเสพติดได้ แล้วมักให้การซัดทอดว่าผู้ต้องขังในเรือนจำเป็นผู้สั่งยาบ้า อย่างคดียาเสพติดเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 47 เจ้าหน้าที่จับกุมนายบรรหาร ใจแช่มชื่นดีเลิศ พร้อมยาบ้า 298,000 เม็ด และสารไอซ์ 15 ก.ก. ที่ห้างเทสโก้โลตัส สาขาถนนศรีนครินทร์ จ.สมุทรปราการ และขยายผลจนสามารถ จับกุมพระฉัตรชัย กิจจาสาโร หรือนายขวัญวิรัติ นันทิวิริยะชัย อายุ 34 ปี ซึ่งทราบว่าเป็นเครือข่ายของ นายปกรณ์ ตั้งสีฟ้า ซึ่งเป็นผู้ต้องขังคดียาเสพติด โดยมีใบสั่งจากคุกแห่งนี้นั่นเอง
****ล้างบางคุกบางขวาง ชนวนจ้างสังหาร
แนวโน้มการกระทำความผิดภายในเรือจำ เริ่มทวีความรุนแรงมายิ่งขึ้น ประกอบกับความแออัดของจำนวนนักโทษ ปฏิบัติการล้างคุกบางขวางโดยฝีมือของนายนัทธี จิตสว่าง อธิบดีกรมราชทัณฑ์จึงเริ่มขึ้น “ตั้งแต่จัดทำบัญชีนักโทษขาใหญ่ 2,000 คน เพื่อย้ายนักโทษออกจากไปควบคุมยังเรือนจำที่มีความมั่นคงสูงในต่างจังหวัด” เช่นเรือนจำกลางจังหวัดนครศรีธรรมราช เรือนจำกลางจังหวัดเชียงใหม่ เรือจำกลางคลองไผ่ จ.ปทุมธานี เพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม
“พร้อมตั้งกรรมการสอบสวนเจ้าหน้าที่หรือผู้คุมเรือนจำบางขวาง จำนวน 40 คนเพราะมีพฤติกรรมเข้าข่ายมาเฟีย” และอาจพิจารณโทษขั้นวินัยจนถึงอาญา จากการเข้าตรวจสอบเมื่อวันที่ 18 ส.ค. ที่ผ่านมาพบว่าภายในเรือนจำแห่งนี้มีการต่อเติมห้องขังผิดระเบียบในหลายแดน จึงได้สั่งให้รื้อถอนและทุบทิ้งห้องพักที่นักโทษขาใหญ่ใช้เป็นที่พักผ่อน โดยเฉพาะห้องพักที่นักโทษสร้างขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ที่แดน 1 แดน 2 หรือแดนประหาร จำนวนกว่า 20 ห้อง
พร้อมทั้งจะปรับปรุงแดนคุมขังให้เป็นระเบียบมีความทันสมัยโดยการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้มากยิ่ง ปรับปรุงเรือนจำเป็นแดนความมั่นคงสูง ติดกล้องวงจรปิดและลวดกั้นปล่อยกระแสไฟฟ้าแรงสูงป้องกันการหลบหนี
**** แดน 11 ขุมนรกด่านสุดท้าย
ในจำนวน14 แดน ของเรือนจำบางขวาง แดน 11 ถือว่าเป็นแดนที่ไม่มีนักโทษคนใดอยากจะย่างกรายเข้าไป เพราะเป็นแดนประหาร... ซึ่งตั้งอยู่ติดกับวัดบางแพรกใต้ ก่อนเดินเข้าสู่หลักประหารนักโทษจะต้องพนมมือหันหน้าไปทางทิศนี้ เพื่อกราบลาต่อสิ่งศักดิ์แห่งพุทธศาสนา “ก่อนที่วิญญาณจะถูกกระชากออกร่าง ภายในกี่ไม่กี่อึดใจข้างหน้านี้”
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อพ.ศ. 2478 รัฐบาลได้เปลี่ยนวิธีการประหารจากการใช้มีดฟันคอมาเป็นการยิงเสียให้ตาย โดยนักโทษรายแรกซึ่งถูกประหารคนแรกด้วยปืนเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2478 คือ ส.ท.สวัสดิ์ มะหมัด จากบัดนั้นจนถึงบัดนี้ มีจำนวนนักโทษซึ่งถูกประหารไปแล้ว 275 ราย ในจำนวนนี้มีนักโทษหญิง 2 ราย สำหรับอดีตเพชฌฆาต ผู้ที่เคยทำหน้าที่ลั่นกระสุนส่งวิญญาณนักโทษในหลักประหารตั้งแต่ปี 2478 ประกอบด้วย นายเหรียญ เพิ่มกำลังเมือง,ทิพย์ มียศ,เพี้ยนคนแรงดี,มุ่ย จุ้ยเจริญ,ประถม เครือเพ่ง,ธิญโญ จันทร์โอทานและเชาวเรศน์ จารุบุณย์
จนกระทั่งเมื่อปีพ.ศ. 2546 ที่ผ่านมา ได้มีการแก้ไขประมวลกฏหมายอาญา(ฉบับที่ 16) พ.ศ.2546 มาตรา 19 ให้เปลี่ยนการประหารชีวิตจากยิงเป้ามาเป็นแบบฉีดยาหรือสารพิษ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2546 “จนกระทั่งการประหารชีวิตแบบฉีดสารพิษครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 ธ.ค.2546 โดยมี 4 นักโทษประหารชีวิต เดินเข้าสู่หลักประหารแบบไม่ต้องเสียเลือดเนื้ออีกต่อไป ....
เรือนจำหรือทัณฑสถานในประเทศไทย ปัจจุบันมีอยู่ทั้งสิ้น 152 แห่ง แบ่งออกเป็น... เรือนจำความมั่นคงสูง 3 แห่ง, เรือนจำกลางประจำเขต 9 แห่ง, เรือนจำจังหวัด 77 แห่ง, เรือนจำชั่วคราว 26 แห่ง และเรือนจำพิเศษ 4 แห่ง ขณะที่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษมี 6 แห่ง, ทัณฑสถานวัยหนุ่ม 4 แห่ง และทัณฑสถานเปิด 6 แห่ง ส่วนสถานกักขังกลางมี 2 แห่ง ,สถานกักกันมี 1 แห่ง และเรือนจำกลางอีก 14 แห่ง และหนึ่งในนั้นคือเรือนจำกลางบางขวาง
****เปิดประตูคุกบางขวาง
ที่ต้องกล่าวถึงคุกบางขวาง แดนสนธยาที่”คนในอยากออก คนนอกไม่อยากเข้า” เพราะเบื้องหลังกำแพงสูงตระหง่านแห่งนี้ ใช้เป็นสถานที่คุมขังนักโทษเด็ดขาด ที่มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป จนถึงโทษประหารชีวิต ปัจจุบันเรือนจำบางขวาง มีผู้ต้องขังเป็นรวมทั้งสิ้น 6,338 คน แยกเป็นผู้ต้องขังที่ต้องโทษประหารชีวิตจำนวน 870คน อยู่ระหว่างอุทธรณ์จำนวน 546 คน อยู่ระหว่างฎีกาจำนวน 220 คน และนักโทษเด็ดขาดรอประหารชีวิต จำนวน 104 คน ....
แต่ไม่ว่าจะผู้กระทำผิดจะยิ่งใหญ่ มียศและศักดิ์ศรีเพียงใด แต่เมื่อเดินเข้าสู่ประตูเรือนจำบางขวางแล้ว สรรพนามนำหน้าชื่อ “(น.ช.) จะถูกใช้เรียกขานเท่าเทียมกัน สำหรับชีวิตคนคุก นรกแห่งการพันธนาการ? “
เพราะเป็นสถานที่กักขังนักโทษคดีอุกฉกรรจ์ “นักโทษบางรายเข้าไป จะไม่สามารถกลับออกมาได้อีกตลอดชั่วชีวิต “ เรือนจำแห่งนี้จึงต้องมั่นคงแข็งแรงที่สุดของประเทศ ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 136 ไร่ มีไฟฟ้าแรงสูงขนาด 3,500โวลต์ รอบรั้วกำแพงสูง 6 เมตร มี 20 หอคอย พร้อมพลแม่นปืนเฝ้าตลอด 24 ชั่วโมง
เรือนจำบางขวางถูกแบ่งเขตออกเป็น 14 แดน แต่สำหรับแดนใหญ่และแยกขังนักโทษมีด้วยกัน 6 แดนประกอบด้วยแดน 1 ใช้ควบคุมนักโทษประหารชีวิตและจำคุกตลอดชีวิต แดน 2 เป็นแดนแรกรับผู้ต้องขังใหม่ แดน 3 สำหรับขังผู้ต้องโทษต่ำกว่าตลอดชีวิต แดน 4 สำหรับขังนักโทษต่ำกว่า 50 ปีลงมา แดน 5 เป็นแดนวัยหนุ่มควบคุมผู้ต้องโทษอายุไม่เกิน 25 ปี และแดน 6 ใช้ควบคุมผู้ต้องขังต่ำกว่าตลอดชีวิตลงมา
*** จำแนกดีกรีนักโทษ
สภาพความเป็นอยู่ภายในคุกบางขวาง แม้จะต่างจากโลกภายนอกอย่างสิ้นเชิง” แต่วิถีชีวิตความเป็นอยู่เพื่อเอาตัวรอด ซึ่งถือเป็นธรรมดาสามัญของสัตว์โลก เฉกเช่นชีวิตของคนคุก ที่ถูกห้อมล้อมด้วยกำแพงสูงตระหง่านแห่งนี้ “ พฤติกรรมของคนคุกจึงถูกจัดแบ่งไว้เป็น 11 ประเภท” เช่นพวกเก๋าคุก ,ขาใหญ่ ,เบาปัญญา,พวกเพี้ยน,พวกหัวหมอ,พวกอิทธิพล,พวกแท็กซี่,พวกขี้ยา, พวกพ่อค้า,พวกน้องและพวกเสือเดียว
แต่ที่น่าสนใจ คือ”พวกเก๋าคุก” คืออยู่คุกมานานเสมือนคุกเป็นบ้าน ส่วนใหญ่ต้องโทษในคดีปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ฉ้อโกงและยาเสพติด พวกนี้จะเคยชินต่อความผิดซ้ำซากไม่เกรงกลัวการลงโทษ ชอบก่อเหตุทะเลาะวิวาท ไม่เกรงกลัวเจ้าหน้าที่
“พวกขาใหญ่” คือพวกที่มีเส้นสาย มักได้รับการฝากฝังดูแลจากผู้ใหญ่และนักการเมืองจนได้รับความอำนวยสะดวกเป็นพวกที่เคยรู้จักกับเจ้าหน้าที่มาก่อนและมีอิทธิพลทางการเงิน มีพื้นฐานทางการศึกษาดีส่วนโทษแห่งการกระทำผิด มักเป็นคดีเกี่ยวกับคดีเศรษฐกิจเช่นคดีเช็ค คดีแชร์ และมีผู้ต้องโทษรายอื่นไว้ใช้งาน และมักทำตัวเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่เป็นสายแจ้งข้อมูลและประจบเจ้าหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง
“พวกอิทธิพล” คือพวกที่เคยทรงอิทธพลมาก่อนแต่มาต้องคดีในภายหลัง ส่วนใหญ่จะต้องโทษในคดีค้าของเถื่อน ค้าประเวณี จะอยู่เรือนจำเพื่อฆ่าเวลา และมักสั่งสมบารมีทำตัวเป็นผู้มีอำนาจโดยใช้เงินเป็นตัวหว่าน และอยู่เบื้องหลังในการฝ่าฝืนกฏของเรือนจำเช่น ค้ายาเสพติด เป็นเจ้ามือบ่อน โดยจะมีพวกขี้ยา พวกเบาปัญญา พวกแท็กซี่ ตกเป็นสมุนของพวกอิทธิพล
พวกเก๋าคุก-ขาใหญ่-อิทธพล ซึ่งมีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับเจ้าหน้าที่ จนถูกตั้งฉายาว่า เป็นเจ้าแห่งมาเฟีย เพราะทั้งสองฝ่ายต่างคอยเกื้อหนุน อุปถัมภ์ค้ำจุนซึ่งกันและกัน “พวกมาเฟียบางขวาง มีหัวหน้าระดับซี 7 ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายควบคุม ส่วนในกรมราชทัณฑ์มีเจ้าแห่งมาเฟียระดับซี 9 ตำแหน่งรองอธิบดีฯ ที่ซื้อตำแหน่งมาด้วยเงิน 12 ล้านบาท จึงต้องขอดคุกพิเศษขายจนเกลี้ยง “ จากข้อเขียนของสุรชัย แซ่ด่าน จากเรื่องผ่าคุก ซึ่งได้ตีพิมพ์ขึ้นเมื่อวันที่ 1 ก.พ.2546 ย่อมสะท้อนให้เห็นว่าพวกขาใหญ่ หรือพวกอิทธิพล จะเหิมเกริมไปไม่ได้ หากเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์เข้มแข็งและดูแลนักโทษทุกคนอย่างทัดเทียมและเสมอภาค
****เปิดปูมขาใหญ่ คดีดังในอดีต
สำหรับนักโทษขาใหญ่ที่ถูกควบคุมในเรือนจำกลางบางขวาง ที่ถูกขึ้นบัญชีดำและจะต้องโยกย้ายไปควบคุมที่เรือนจำความมั่นคงสูง อาทิ พ.ต.เฉลิมชัย มัจฉากล่ำ หรือ ผู้พันตึ๋ง ที่ถูกศาลชั้นต้นตัดสินประหารชีวิตในคดีร่วมฆ่า นายปรีณะ ลีพัฒธนะพันธ์ อดีตผู้ว่าฯจ.ยโสธร , เสริม สาครราช อดีตนักศึกษาแพทย์ ที่ศาลชั้นต้นตัดสินประหารชีวิตในคดีฆ่า น.ส.เจนจิรา พลอยองุ่นศรี นักศึกษาแพทย์แฟนสาว,นพ.วิสุทธิ์ บุญเกษมสันติ ศาลชั้นต้นตัดสินประหารชีวิตคดีฆ่า พ.ญ.ผัสพร บุญเกษมสันติ ภรรยา,พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ ถูกศาลชั้นต้นตัดสินจำคุกตลอดชีวิตในคดีอุ้มฆ่าสองแม่ลูก ตระกูลศรีธนะขันธ์ ,นายวิศิษฎ์ พึ่งรัศมี มาเฟียตลาดไนท์บาซาร์ จ.เชียงใหม่ หัวหน้าซุ้มมือปืนภาคเหนือ และ นายทวี พุทธจันทร์ ผู้ต้องขังในคดีจ้างวานฆ่าอดีต ผอ.อสมท.ที่ก่อนหน้านี้ทางเรือนจำบางขวางได้ย้ายไปขังไว้ที่เรือนจำกลางคลองไผ่ และย้ายนักโทษที่เป็นอดีตมือปืนรับจ้างในซุ้มจังหวัดทางภาคเหนือจำนวน 5 คน ไปไว้ยังเรือนจำความมั่นคงสูงในจังหวัดพิษณุโลก
****จลาจลบางขวาง ฝีมือขาใหญ่
ในอดีตจนถึงปัจจุบัน นักโทษที่สร้างปัญหาให้กับเจ้าหน้าที่มากที่สุด เห็นจะเป็นพวกขาใหญ่และพวกอิทธิพล นอกจากจะมีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับเจ้าหน้าที่ มักจะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังในการฝ่าฝืนกฏและกระทำความผิดอยู่บ่อยครั้ง ทั้งค้ายาเสพติด เปิดบ่อนการพนันและมั่วสุมทางเพศฯลฯ ในอดีตที่ผ่านมาเหตุการณ์ การจลาจลครั้งใหญ่ ในช่วงการอภัยโทษ ก็เกิดจากฝีมือของนักโทษเหล่านี้ทั้งสิ้นเช่น การจลาจลที่เรือนจำคลองเปรม และบางขวางเมื่อปี 2517 และเหตุจลาจลเดือนสิงหาคม 2528 มีผู้เสียชีวิตถึง 10 คน
แต่ในปัจจุบันนี้เรือนจำบางขวางประสบปัญหาผู้ต้องขังลักลอบใช้โทรศัพท์ติดต่อสั่งยาบ้าจากในคุก เพราะร้อยละ 90 ล้วนแต่ต้องขังในคดียาเสพติดทั้งสิ้น แม้ว่าทางเรือนจำจะมีการควบคุมอย่างเข้มงวดและอาจตัดระบบสัญญาณโทรศัพท์ในเรือนจำทั้งหมด แต่ปัจจุบันติดขัดที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยหรือบริษัท ทศท.คอร์เปอเรชั่น จำกัด ไม่สามารถเข้ามาดำเนินการได้เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากประชาชน ว่าการติดตั้งดังกล่าวไปรบกวนสัณญาณการใช้โทรศัพท์ของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงเรือนจำ
หลายคดีที่ เจ้าหน้าที่สามารถจับกุมนักค้ายาเสพติดได้ แล้วมักให้การซัดทอดว่าผู้ต้องขังในเรือนจำเป็นผู้สั่งยาบ้า อย่างคดียาเสพติดเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 47 เจ้าหน้าที่จับกุมนายบรรหาร ใจแช่มชื่นดีเลิศ พร้อมยาบ้า 298,000 เม็ด และสารไอซ์ 15 ก.ก. ที่ห้างเทสโก้โลตัส สาขาถนนศรีนครินทร์ จ.สมุทรปราการ และขยายผลจนสามารถ จับกุมพระฉัตรชัย กิจจาสาโร หรือนายขวัญวิรัติ นันทิวิริยะชัย อายุ 34 ปี ซึ่งทราบว่าเป็นเครือข่ายของ นายปกรณ์ ตั้งสีฟ้า ซึ่งเป็นผู้ต้องขังคดียาเสพติด โดยมีใบสั่งจากคุกแห่งนี้นั่นเอง
****ล้างบางคุกบางขวาง ชนวนจ้างสังหาร
แนวโน้มการกระทำความผิดภายในเรือจำ เริ่มทวีความรุนแรงมายิ่งขึ้น ประกอบกับความแออัดของจำนวนนักโทษ ปฏิบัติการล้างคุกบางขวางโดยฝีมือของนายนัทธี จิตสว่าง อธิบดีกรมราชทัณฑ์จึงเริ่มขึ้น “ตั้งแต่จัดทำบัญชีนักโทษขาใหญ่ 2,000 คน เพื่อย้ายนักโทษออกจากไปควบคุมยังเรือนจำที่มีความมั่นคงสูงในต่างจังหวัด” เช่นเรือนจำกลางจังหวัดนครศรีธรรมราช เรือนจำกลางจังหวัดเชียงใหม่ เรือจำกลางคลองไผ่ จ.ปทุมธานี เพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม
“พร้อมตั้งกรรมการสอบสวนเจ้าหน้าที่หรือผู้คุมเรือนจำบางขวาง จำนวน 40 คนเพราะมีพฤติกรรมเข้าข่ายมาเฟีย” และอาจพิจารณโทษขั้นวินัยจนถึงอาญา จากการเข้าตรวจสอบเมื่อวันที่ 18 ส.ค. ที่ผ่านมาพบว่าภายในเรือนจำแห่งนี้มีการต่อเติมห้องขังผิดระเบียบในหลายแดน จึงได้สั่งให้รื้อถอนและทุบทิ้งห้องพักที่นักโทษขาใหญ่ใช้เป็นที่พักผ่อน โดยเฉพาะห้องพักที่นักโทษสร้างขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ที่แดน 1 แดน 2 หรือแดนประหาร จำนวนกว่า 20 ห้อง
พร้อมทั้งจะปรับปรุงแดนคุมขังให้เป็นระเบียบมีความทันสมัยโดยการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้มากยิ่ง ปรับปรุงเรือนจำเป็นแดนความมั่นคงสูง ติดกล้องวงจรปิดและลวดกั้นปล่อยกระแสไฟฟ้าแรงสูงป้องกันการหลบหนี
**** แดน 11 ขุมนรกด่านสุดท้าย
ในจำนวน14 แดน ของเรือนจำบางขวาง แดน 11 ถือว่าเป็นแดนที่ไม่มีนักโทษคนใดอยากจะย่างกรายเข้าไป เพราะเป็นแดนประหาร... ซึ่งตั้งอยู่ติดกับวัดบางแพรกใต้ ก่อนเดินเข้าสู่หลักประหารนักโทษจะต้องพนมมือหันหน้าไปทางทิศนี้ เพื่อกราบลาต่อสิ่งศักดิ์แห่งพุทธศาสนา “ก่อนที่วิญญาณจะถูกกระชากออกร่าง ภายในกี่ไม่กี่อึดใจข้างหน้านี้”
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อพ.ศ. 2478 รัฐบาลได้เปลี่ยนวิธีการประหารจากการใช้มีดฟันคอมาเป็นการยิงเสียให้ตาย โดยนักโทษรายแรกซึ่งถูกประหารคนแรกด้วยปืนเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2478 คือ ส.ท.สวัสดิ์ มะหมัด จากบัดนั้นจนถึงบัดนี้ มีจำนวนนักโทษซึ่งถูกประหารไปแล้ว 275 ราย ในจำนวนนี้มีนักโทษหญิง 2 ราย สำหรับอดีตเพชฌฆาต ผู้ที่เคยทำหน้าที่ลั่นกระสุนส่งวิญญาณนักโทษในหลักประหารตั้งแต่ปี 2478 ประกอบด้วย นายเหรียญ เพิ่มกำลังเมือง,ทิพย์ มียศ,เพี้ยนคนแรงดี,มุ่ย จุ้ยเจริญ,ประถม เครือเพ่ง,ธิญโญ จันทร์โอทานและเชาวเรศน์ จารุบุณย์
จนกระทั่งเมื่อปีพ.ศ. 2546 ที่ผ่านมา ได้มีการแก้ไขประมวลกฏหมายอาญา(ฉบับที่ 16) พ.ศ.2546 มาตรา 19 ให้เปลี่ยนการประหารชีวิตจากยิงเป้ามาเป็นแบบฉีดยาหรือสารพิษ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2546 “จนกระทั่งการประหารชีวิตแบบฉีดสารพิษครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 ธ.ค.2546 โดยมี 4 นักโทษประหารชีวิต เดินเข้าสู่หลักประหารแบบไม่ต้องเสียเลือดเนื้ออีกต่อไป ....