เมื่อมีความเปลี่ยนในสังคมและค่านิยมต่างๆ เกิดขึ้น สิ่งที่ตามมาแน่นอน ก็คือการปะทะกันระหว่างผู้ยังคงเชื่อในคุณค่าเก่า และผู้ที่เปลี่ยนแปลงความคิดความเชื่อและค่านิยมแบบใหม่ไปแล้ว
เรื่องหนึ่งที่เป็นปัญหา โดยเฉพาะในสังคมไทย และสังคมแบบเอเชีย คือ “ความเท่าเทียมกันทางเพศ”
ไม่ว่าจะเป็นความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงชาย และความเท่าเทียมกันระหว่างเพศทางเลือก กับชายจริงหญิงแท้
เรื่องแรกนั้น ในตอนนี้สำหรับประเทศไทยปัญหาถือว่าลดน้อยลงไปแล้ว เพราะการเลือกปฏิบัติหรือกีดกันระหว่างหญิงชายนั้นแทบไม่มี ถ้าจะเหลือบ้างก็น่าจะเพียงไม่กี่เรื่องเท่านั้น
ถ้าเทียบกับประเทศเอเชียนั้น ไทยเราน่าจะมีสถานะในเรื่องความเท่าเทียมทางเพศที่ดีกว่าประเทศอื่นอยู่มาก แม้แต่ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่มีความเจริญแล้วในทุกด้าน แต่เร็วๆ นี้ ก็มีการเปิดเผยว่า มีการตัดคะแนนสอบเข้าเป็นนักศึกษาแพทย์ผู้หญิง ของมหาวิทยาลัยแพทย์โตเกียว ซึ่งเป็นสถาบันใหญ่และมีชื่อเสียง รวมถึงเรื่องการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในวงงานญี่ปุ่นนั้นแม้จะเบาบางลงแล้ว แต่ก็ยังมีปัญหาอยู่ สะท้อนผ่านออกมาแม้แต่ในการ์ตูนหรือซีรีส์ประเภทสะท้อนสังคม
ส่วนประเทศไทยนั้น ปัจจุบันเรามีผู้หญิงดำรงตำแหน่งระดับสูงมากมาย เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด อธิบดีหรือปลัดกระทรวง หรืออย่างมีพรรคพวกในวงการผู้พิพากษาคาดการณ์ว่า ในอนาคตนั้นน่าจะมี “ประธานศาลฎีกา” ผู้หญิงแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้ผู้หญิงสอบเป็นผู้พิพากษาได้เร็วและได้คะแนนระดับสูง ซึ่งมีโอกาสขึ้นสู่ตำแหน่งประธานศาลฎีกาได้ในที่สุดเมื่ออาวุโสมาถึง (ส่วนรองประธานศาลฎีกาผู้หญิงนั้นมีกันมานานแล้ว)
และไม่ต้องไปพูดถึงอดีตนายกฯ หญิงคนแรก ที่กลายเป็นคนหนีคดีอาญาบ้านเมืองอยู่ แต่นั่นก็แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยเรานั้นไม่มีปัญหาเรื่องการกีดกันทางเพศระหว่างหญิงชาย หรือการเลือกปฏิบัติแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม เร็วๆ นี้ก็มี “ดรามา” กันเล็กๆ น้อยๆ เรื่องที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประกาศเลิกการรับสมัคร “นักเรียนนายร้อยตำรวจหญิง” ที่เคยรับต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งจะสิ้นสุดในปี 2562 หรือ 10 ปีพอดี โดยจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีการชี้แจงอย่างชัดเจนถึงเหตุผล ท่ามกลางการคัดค้านจากหลายฝ่าย
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอย่างไรก็ตาม แต่การที่มีพนักงานสอบสวนหญิงนั้นก็เป็นความจำเป็นตามกฎหมาย เพราะในทางกฎหมายแล้ว ในคดีบางประเภทกฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนว่าจะต้องใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานสอบสวนหญิง เช่นการค้นตัวผู้ต้องหาหญิง หรือการสอบสวนคดีการกระทำความผิดทางเพศ
ซึ่งก็ต้องรอฟังเหตุผลของทางตำรวจในเรื่องนี้ แต่อย่างไรก็ตาม การได้มาซึ่งตำรวจหญิงนั้น อาจจะไม่จำเป็นต้องมาจาก “โรงเรียนนายร้อย” เสมอไป เช่นอาจจะรับจากคนที่จบนิติศาสตร์หรือรัฐศาสตร์ สอบเข้าแล้วเอาไปฝึกทักษะพื้นฐานก็ได้ เพราะงานของตำรวจหญิงที่เคร่งครัดตามกฎหมายนี้เป็นงานเชิงคดี ไม่ใช่งานเชิงป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมโดยตรง
แต่การมีตำรวจหญิงที่ผ่านการเรียนจากโรงเรียนนายร้อยมาแบบเดียวกับเหล่าทัพหรือตำรวจชายนั้นก็เป็นประโยชน์กว่าแน่นอน แต่ก็ไม่รู้ว่าในเรื่องความคุ้มค่าหรือเรื่องอื่นๆ นั้นจะมีแง่มุมอะไรหรือไม่ ต้องรอให้ทางผู้รับผิดชอบหรือกำหนดนโยบายชี้แจงมานั่นแหละ
ส่วนที่ถือว่า ยังคงมีการต่อสู้กันในทางความคิดและกระแสสังคมอยู่อย่างเข้มข้นยังไม่ยุติชัดเจน ก็ได้แก่เรื่องความเสมอภาคเท่าเทียมระหว่างชายจริง หญิงแท้ กับเพศทางเลือก ได้แก่กลุ่มคนที่มีเพศสภาพไม่ตรงเพศกำเนิด เอาภาษาบ้านๆ ก็ได้แก่ กระเทย หรือคนรักร่วมเพศ ทั้งที่แสดงออกและไม่แสดงออก
แม้ว่าในทางการแพทย์ปัจจุบัน การมีเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิดที่ว่านั้น ไม่ถือว่าเป็นความผิดปกติทางเพศหรือทางจิตอีกต่อไปแล้ว โดยในทางการแพทย์และจิตวิทยาสมัยใหม่ ถือว่าเป็นเสรีภาพและทางเลือกทางเพศที่จะต้องเคารพ
และเริ่มมีการขยายสิทธิต่างๆ ให้แก่ผู้คนที่มีเพศสภาพไม่ตรงเพศกำเนิดมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นเร็วๆ นี้ จะมีการออกกฎหมายรับรองการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวของคู่รักเพศเดียวกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย คือถือว่ามีสิทธิหน้าที่เช่นเดียวกับคู่สมรสสามีภรรยาต่างเพศ เรียกว่าเทียบเท่าการจดทะเบียนสมรส (แต่กฎหมายจะใช้ชื่ออื่น)
แต่อย่างไรก็ตาม ความจริงที่ต้องยอมรับก็คือว่า การเปลี่ยนแปลงไปในเชิงรับรองสิทธิของบุคคลเพศทางเลือกข้างต้นนั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยผลของ “ค่านิยมอันเป็นกระแสสากล” หรือเรื่องสิทธิเสรีภาพ สิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียม รวมถึงเป็นผลมาจากกฎหมายซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากคุณค่าระดับสากลข้างต้นนั้น
หากในทาง “การยอมรับทางวัฒนธรรม” นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
โดยเฉพาะในไทย และสังคมเอเชียนั้น เรื่องของการมีเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิดนั้น ยังถือเป็นเรื่องที่ขัดต่อวัฒนธรรมประเพณี หรือในบางกรณีถึงขนาดขัดต่อหลักศาสนาอยู่ และถ้าประเทศที่ถือหลักศาสนาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกฎหมาย ก็ถือว่าผิดกฎหมายด้วย
ของไทยเรานั้นไม่ไปถึงขั้นนั้น และในเชิงวัฒนธรรมประเพณีของเรานั้นก็เริ่มเปิดใจเปิดกว้างกันมากขึ้นอยู่ แต่กระนั้น นิดๆ หน่อยๆ เรื่องนี้ก็ยังมีเขตแดนบางๆ อยู่
เมื่อเร็วๆ นี้ มี “ดรามา” กันในเรื่องนี้ ที่ว่า โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งแถวจังหวัดปทุมธานีนั้น ประกาศไม่รับสมัครผู้มาเป็นครูอาจารย์ จากบุคคลผู้มีเพศทางเลือก หรือมีพฤติกรรมรักร่วมเพศ
แน่นอนว่าเรื่องนี้เกิดความเห็นแตกต่างเป็นสองฝ่าย ฝ่ายแรกที่มองในแง่ของสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค สิทธิมนุษยชนตามค่านิยมแบบใหม่นั้น ก็มองว่า เรื่องนี้รับไม่ได้ เป็นการเลือกปฏิบัติทางเพศ กีดกันบุคคลเพศทางเลือก และถือว่าขัดรัฐธรรมนูญและผิดกฎหมาย (ซึ่งก็มีกฎหมายนั้นจริงๆ คือ พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558)
แต่ในอีกทางหนึ่ง ก็ยังมีผู้เห็นด้วย เพราะความละเอียดอ่อนในทางวัฒนธรรม และในฐานะของคำว่า “ครู” ซึ่งต้องทำงานกับเด็กๆ
อย่างว่าอย่างนั้นอย่างนี้เลย ในเรื่องนี้ละเอียดอ่อน อย่างที่ว่า ให้เป็นเรื่องว่า ปลัดกระทรวงสักคนเป็น “เกย์” สังคมไทยยังพอจะยอมรับได้เต็มใจ กว่า “ครูอนุบาล” สักคนเป็นเพศทางเลือก
เรื่องนี้เป็นเรื่องเชิงความรู้สึกและวัฒนธรรมจริงๆ ซึ่งชี้ถูกชี้ผิดได้ยาก
แน่นอนว่าถ้าเอาหลักสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมทางเพศมาชี้จับ ก็คงมองว่าคนที่ไม่ยอมรับความหลากหลายทางเพศนี้ “ผิด” หรือเป็นพวกเต่าล้านปี ล้าสมัย
แต่ก็นั่นแหละ “ความรู้สึก” มันเป็น “เหตุผล” อย่างหนึ่ง และเป็น “เหตุผล” ในตัวมันเองอยู่แล้ว
และเอาเข้าจริงๆ ถ้าใครสักคนลองทำวิจัย ไปเปิดโหวตแบบลับกันหน้าโรงเรียนอนุบาล ด้วยคำถามว่า “คุณยินดีให้คนเพศทางเลือกมาเป็นครูของลูกคุณหรือไม่” แล้วให้คนตอบเขียนคำตอบแล้วทิ้งลงกล่องแบบนิรนามไม่ต้องให้ใครเห็น บางทีเราอาจจะได้ “คำตอบ” ของสังคมในเรื่องนี้ก็ได้.
เรื่องหนึ่งที่เป็นปัญหา โดยเฉพาะในสังคมไทย และสังคมแบบเอเชีย คือ “ความเท่าเทียมกันทางเพศ”
ไม่ว่าจะเป็นความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงชาย และความเท่าเทียมกันระหว่างเพศทางเลือก กับชายจริงหญิงแท้
เรื่องแรกนั้น ในตอนนี้สำหรับประเทศไทยปัญหาถือว่าลดน้อยลงไปแล้ว เพราะการเลือกปฏิบัติหรือกีดกันระหว่างหญิงชายนั้นแทบไม่มี ถ้าจะเหลือบ้างก็น่าจะเพียงไม่กี่เรื่องเท่านั้น
ถ้าเทียบกับประเทศเอเชียนั้น ไทยเราน่าจะมีสถานะในเรื่องความเท่าเทียมทางเพศที่ดีกว่าประเทศอื่นอยู่มาก แม้แต่ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่มีความเจริญแล้วในทุกด้าน แต่เร็วๆ นี้ ก็มีการเปิดเผยว่า มีการตัดคะแนนสอบเข้าเป็นนักศึกษาแพทย์ผู้หญิง ของมหาวิทยาลัยแพทย์โตเกียว ซึ่งเป็นสถาบันใหญ่และมีชื่อเสียง รวมถึงเรื่องการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในวงงานญี่ปุ่นนั้นแม้จะเบาบางลงแล้ว แต่ก็ยังมีปัญหาอยู่ สะท้อนผ่านออกมาแม้แต่ในการ์ตูนหรือซีรีส์ประเภทสะท้อนสังคม
ส่วนประเทศไทยนั้น ปัจจุบันเรามีผู้หญิงดำรงตำแหน่งระดับสูงมากมาย เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด อธิบดีหรือปลัดกระทรวง หรืออย่างมีพรรคพวกในวงการผู้พิพากษาคาดการณ์ว่า ในอนาคตนั้นน่าจะมี “ประธานศาลฎีกา” ผู้หญิงแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้ผู้หญิงสอบเป็นผู้พิพากษาได้เร็วและได้คะแนนระดับสูง ซึ่งมีโอกาสขึ้นสู่ตำแหน่งประธานศาลฎีกาได้ในที่สุดเมื่ออาวุโสมาถึง (ส่วนรองประธานศาลฎีกาผู้หญิงนั้นมีกันมานานแล้ว)
และไม่ต้องไปพูดถึงอดีตนายกฯ หญิงคนแรก ที่กลายเป็นคนหนีคดีอาญาบ้านเมืองอยู่ แต่นั่นก็แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยเรานั้นไม่มีปัญหาเรื่องการกีดกันทางเพศระหว่างหญิงชาย หรือการเลือกปฏิบัติแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม เร็วๆ นี้ก็มี “ดรามา” กันเล็กๆ น้อยๆ เรื่องที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประกาศเลิกการรับสมัคร “นักเรียนนายร้อยตำรวจหญิง” ที่เคยรับต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งจะสิ้นสุดในปี 2562 หรือ 10 ปีพอดี โดยจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีการชี้แจงอย่างชัดเจนถึงเหตุผล ท่ามกลางการคัดค้านจากหลายฝ่าย
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอย่างไรก็ตาม แต่การที่มีพนักงานสอบสวนหญิงนั้นก็เป็นความจำเป็นตามกฎหมาย เพราะในทางกฎหมายแล้ว ในคดีบางประเภทกฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนว่าจะต้องใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานสอบสวนหญิง เช่นการค้นตัวผู้ต้องหาหญิง หรือการสอบสวนคดีการกระทำความผิดทางเพศ
ซึ่งก็ต้องรอฟังเหตุผลของทางตำรวจในเรื่องนี้ แต่อย่างไรก็ตาม การได้มาซึ่งตำรวจหญิงนั้น อาจจะไม่จำเป็นต้องมาจาก “โรงเรียนนายร้อย” เสมอไป เช่นอาจจะรับจากคนที่จบนิติศาสตร์หรือรัฐศาสตร์ สอบเข้าแล้วเอาไปฝึกทักษะพื้นฐานก็ได้ เพราะงานของตำรวจหญิงที่เคร่งครัดตามกฎหมายนี้เป็นงานเชิงคดี ไม่ใช่งานเชิงป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมโดยตรง
แต่การมีตำรวจหญิงที่ผ่านการเรียนจากโรงเรียนนายร้อยมาแบบเดียวกับเหล่าทัพหรือตำรวจชายนั้นก็เป็นประโยชน์กว่าแน่นอน แต่ก็ไม่รู้ว่าในเรื่องความคุ้มค่าหรือเรื่องอื่นๆ นั้นจะมีแง่มุมอะไรหรือไม่ ต้องรอให้ทางผู้รับผิดชอบหรือกำหนดนโยบายชี้แจงมานั่นแหละ
ส่วนที่ถือว่า ยังคงมีการต่อสู้กันในทางความคิดและกระแสสังคมอยู่อย่างเข้มข้นยังไม่ยุติชัดเจน ก็ได้แก่เรื่องความเสมอภาคเท่าเทียมระหว่างชายจริง หญิงแท้ กับเพศทางเลือก ได้แก่กลุ่มคนที่มีเพศสภาพไม่ตรงเพศกำเนิด เอาภาษาบ้านๆ ก็ได้แก่ กระเทย หรือคนรักร่วมเพศ ทั้งที่แสดงออกและไม่แสดงออก
แม้ว่าในทางการแพทย์ปัจจุบัน การมีเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิดที่ว่านั้น ไม่ถือว่าเป็นความผิดปกติทางเพศหรือทางจิตอีกต่อไปแล้ว โดยในทางการแพทย์และจิตวิทยาสมัยใหม่ ถือว่าเป็นเสรีภาพและทางเลือกทางเพศที่จะต้องเคารพ
และเริ่มมีการขยายสิทธิต่างๆ ให้แก่ผู้คนที่มีเพศสภาพไม่ตรงเพศกำเนิดมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นเร็วๆ นี้ จะมีการออกกฎหมายรับรองการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวของคู่รักเพศเดียวกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย คือถือว่ามีสิทธิหน้าที่เช่นเดียวกับคู่สมรสสามีภรรยาต่างเพศ เรียกว่าเทียบเท่าการจดทะเบียนสมรส (แต่กฎหมายจะใช้ชื่ออื่น)
แต่อย่างไรก็ตาม ความจริงที่ต้องยอมรับก็คือว่า การเปลี่ยนแปลงไปในเชิงรับรองสิทธิของบุคคลเพศทางเลือกข้างต้นนั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยผลของ “ค่านิยมอันเป็นกระแสสากล” หรือเรื่องสิทธิเสรีภาพ สิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียม รวมถึงเป็นผลมาจากกฎหมายซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากคุณค่าระดับสากลข้างต้นนั้น
หากในทาง “การยอมรับทางวัฒนธรรม” นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
โดยเฉพาะในไทย และสังคมเอเชียนั้น เรื่องของการมีเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิดนั้น ยังถือเป็นเรื่องที่ขัดต่อวัฒนธรรมประเพณี หรือในบางกรณีถึงขนาดขัดต่อหลักศาสนาอยู่ และถ้าประเทศที่ถือหลักศาสนาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกฎหมาย ก็ถือว่าผิดกฎหมายด้วย
ของไทยเรานั้นไม่ไปถึงขั้นนั้น และในเชิงวัฒนธรรมประเพณีของเรานั้นก็เริ่มเปิดใจเปิดกว้างกันมากขึ้นอยู่ แต่กระนั้น นิดๆ หน่อยๆ เรื่องนี้ก็ยังมีเขตแดนบางๆ อยู่
เมื่อเร็วๆ นี้ มี “ดรามา” กันในเรื่องนี้ ที่ว่า โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งแถวจังหวัดปทุมธานีนั้น ประกาศไม่รับสมัครผู้มาเป็นครูอาจารย์ จากบุคคลผู้มีเพศทางเลือก หรือมีพฤติกรรมรักร่วมเพศ
แน่นอนว่าเรื่องนี้เกิดความเห็นแตกต่างเป็นสองฝ่าย ฝ่ายแรกที่มองในแง่ของสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค สิทธิมนุษยชนตามค่านิยมแบบใหม่นั้น ก็มองว่า เรื่องนี้รับไม่ได้ เป็นการเลือกปฏิบัติทางเพศ กีดกันบุคคลเพศทางเลือก และถือว่าขัดรัฐธรรมนูญและผิดกฎหมาย (ซึ่งก็มีกฎหมายนั้นจริงๆ คือ พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558)
แต่ในอีกทางหนึ่ง ก็ยังมีผู้เห็นด้วย เพราะความละเอียดอ่อนในทางวัฒนธรรม และในฐานะของคำว่า “ครู” ซึ่งต้องทำงานกับเด็กๆ
อย่างว่าอย่างนั้นอย่างนี้เลย ในเรื่องนี้ละเอียดอ่อน อย่างที่ว่า ให้เป็นเรื่องว่า ปลัดกระทรวงสักคนเป็น “เกย์” สังคมไทยยังพอจะยอมรับได้เต็มใจ กว่า “ครูอนุบาล” สักคนเป็นเพศทางเลือก
เรื่องนี้เป็นเรื่องเชิงความรู้สึกและวัฒนธรรมจริงๆ ซึ่งชี้ถูกชี้ผิดได้ยาก
แน่นอนว่าถ้าเอาหลักสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมทางเพศมาชี้จับ ก็คงมองว่าคนที่ไม่ยอมรับความหลากหลายทางเพศนี้ “ผิด” หรือเป็นพวกเต่าล้านปี ล้าสมัย
แต่ก็นั่นแหละ “ความรู้สึก” มันเป็น “เหตุผล” อย่างหนึ่ง และเป็น “เหตุผล” ในตัวมันเองอยู่แล้ว
และเอาเข้าจริงๆ ถ้าใครสักคนลองทำวิจัย ไปเปิดโหวตแบบลับกันหน้าโรงเรียนอนุบาล ด้วยคำถามว่า “คุณยินดีให้คนเพศทางเลือกมาเป็นครูของลูกคุณหรือไม่” แล้วให้คนตอบเขียนคำตอบแล้วทิ้งลงกล่องแบบนิรนามไม่ต้องให้ใครเห็น บางทีเราอาจจะได้ “คำตอบ” ของสังคมในเรื่องนี้ก็ได้.