เมื่อมีคดีอาชญากรรมร้ายแรงเกิดขึ้นเมื่อไร ประเด็นที่จะถูกยกขึ้นมาถกเถียงกันทุกครั้ง ก็คือเรื่องของ “การลงโทษประหารชีวิต”
ล่าสุดนี้ ก็ได้แก่คดีสะเทือนขวัญ ฆ่าล้างครอบครัวผู้ใหญ่บ้านรวม 8 ศพ ที่จังหวัดกระบี่ ซึ่งพฤติกรรมเหี้ยมโหดที่ทำให้สังคมรับไม่ได้ ก็คือเหยื่อส่วนหนึ่งเป็นเด็กไร้เดียงสา ที่บังเอิญไปเที่ยวเล่นอยู่บ้านที่เกิดเหตุเท่านั้นเอง
พฤติกรรมเหี้ยมโหดของคนร้าย ถึงกับทำให้พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ที่ลงพื้นที่ไปสืบสวนจับกุมด้วยตนเอง ถึงกับกล่าวว่า ไม่หวังจับเป็น ถ้าผู้ต้องหาต่อสู้เป็นต้องวิสามัญแน่ๆ แต่เนื่องจากผู้ต้องหาไม่สู้ จึงต้องเข้าสู่กระบวนยุติธรรมกันไป
แต่กระนั้น ท่าน ผบ.ตร. ก็ยังหวังว่า คดีนี้ศาลจะต้องลงโทษประหาร ตามข้อกฎหมายและพฤติการณ์ความร้ายแรงโหดเหี้ยมที่ก่อขึ้น
เสียงของ ผบ.ตร. ก็เหมือนกับพูดแทนคนไทยทุกคนที่ติดตามข่าวน่าสะเทือนขวัญนี้ ที่คิดว่าไม่มีโทษทัณฑ์ใดที่ผู้กระทำความผิดสมควรที่จะชดใช้ไปมากกว่าชีวิตอีกแล้ว
อย่างไรก็ตาม “การประหารชีวิต” ในทางความเป็นจริงนั้นไม่ได้กระทำได้ง่ายนักแม้ในที่สุดจะมีคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดในประหารชีวิตก็ตาม
เพราะการบังคับโทษประหารชีวิตของไทยเราว่างเว้นมาแล้วกว่า 8 ปี เนื่องด้วยเหตุผลทาง “มนุษยธรรม” ตามหลักสากล
เรื่องนี้ทนายความชื่อดัง นายเกิดผล แก้วเกิด ออกมาให้ความเห็นผ่าน Facebook ส่วนตัวของเขาว่า
เชื่อว่าการประหารชีวิต “บังฟัต” นายซูริก์ฟัต บ้านนบวงศ์สกุล จะไม่เกิดขึ้นจริง
สืบเนื่องจากประเทศไทย เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ และในการประชุมของคณะกรรมาธิการที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ ในข้อมติเกี่ยวกับการพักการใช้โทษประหารชีวิต
และเรียกร้องให้รัฐบาลไทยให้สัตยาบันรับรองพิธีสารเลือกรับฉบับที่สองของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ที่สำคัญคือขอให้ประเทศไทยพักการบังคับโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ
โดยการยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัตินั้นมีเกณฑ์ว่า หากไม่มีการประหารชีวิตเกิดขึ้นจริง ภายในระยะเวลา 10 ปี นับแต่การประหารชีวิตนักโทษประหารรายสุดท้าย ก็จะถือว่าประเทศนั้นไม่มีโทษประหารชีวิตแล้วในทางปฏิบัติ
ในขณะนี้ประเทศไทยไม่มีการประหารชีวิตนักโทษมาแล้ว นับตั้งแต่ พ.ศ. 2552 นับถึงปัจจุบันนี้ก็เป็นเวลา 8 ปีแล้ว เหลืออีกเพียง 2 ปี หากไม่มีการประหารชีวิตจริง ก็จะถือว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ไม่มีโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ ตามกติการะหว่างประเทศของสหประชาชาติดังกล่าว
ซึ่งสิ่งที่ทนายเกิดผลเปิดเผย ก็ตรงกันกับที่ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมายคือ ดร.วิษณุ เครืองาม เคยให้สัมภาษณ์ไว้ในตอนที่มีข่าวสะเทือนขวัญฆ่าหั่นศพ น.ส.วริศรา กลิ่นจุ้ย ที่เขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น เมื่อราวปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
โดย ดร.วิษณุ เปิดเผยว่า โทษประหารชีวิตมีอยู่ในกฎหมาย แต่เราได้รับปากในที่ประชุมกรรมการสิทธิมนุษยชนที่กรุงเจนีวา ซึ่งขอร้องให้เรายกเลิก แต่เรายังยกเลิกไม่ได้ แต่ความผิดใหม่จะไม่กำหนดโทษประหารชีวิต และจะทยอยเปลี่ยนจากโทษที่บังคับให้ประหารชีวิตอย่างเดียว ให้มีทางเลือกจำคุกตลอดชีวิตได้
สรุปได้ว่า แม้ตามกฎหมายแล้ว โทษของ “บังฟัต” หรือใครก็ตามที่กำหนดไว้ถึงประหารชีวิต ในทางปฏิบัติจริงก็อาจจะไม่มีการประหารชีวิตก็ได้ ด้วยเพราะรัฐบาลไทยพยายามที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติในเรื่องของการยกเลิกโทษประหารนี้
เรื่องนี้จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า การที่อยู่ดีๆ รัฐบาลไปตกลงกับนานาอารยประเทศว่าจะดำเนินรอยตามแนวทางอัน “ศิวิไลซ์” ด้วยการเข้าไปผูกพันกับข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อยกเลิกโทษประหารในทางปฏิบัตินี้ ได้มีการประเมินความเป็นไปในทางความเป็นจริงของประเทศไทยโดยรอบด้าน และที่สำคัญอย่างยิ่ง ได้ “ถามคนไทย” แล้วหรือยัง
แนวคิดในทางสิทธิมนุษยชนอันเป็นสากลนั้นปฏิเสธโทษประหารชีวิต เนื่องจากเป็นโทษที่รุนแรง ไม่เคารพสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และหากลงโทษไปแล้วมีความผิดพลาดจะแก้ไขไม่ได้
ในหลายประเทศได้ทยอยกันยกเลิกโทษประหารนี้ไปแล้ว โดยเฉพาะประเทศตะวันตก เช่นในยุโรป หรือแม้แต่ในอาเซียน ประเทศอย่างกัมพูชาเองก็ยกเลิกโทษประหารชีวิตไปแล้ว
หากพิจารณาในหลักการ โดยนำเอาเรื่องสิทธิมนุษยชนหรือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มาเป็นที่ตั้ง การยกเลิกโทษประหารชีวิตนั้นก็มีเหตุผลตามแนวคิดเช่นนั้น
แต่ถ้าเรามาพิจารณาตามความเป็นจริง และเอาเรื่องของ “ประโยชน์สาธารณะ” หรือประโยชน์ส่วนรวมมาร่วมพิจารณาแล้ว การยกเลิกโทษประหารชีวิตนั้นเป็นประโยชน์ต่อสังคมและส่วนรวมหรือไม่
หลักการลงโทษทางอาญา มี 4 ประการ คือ (1) การแก้แค้นทดแทนให้ผู้เสียหายและสังคม (2) การข่มขู่ผู้กระทำความผิดให้หวั่นเกรงต่อการลงโทษ (3) การรักษาความปลอดภัยให้แก่สังคมด้วยการกันเอาผู้กระทำความผิดออกจากสังคม และสุดท้ายคือ (4) การแก้ไขเยียวยาพฤติกรรมของผู้กระทำความผิดให้กลับเข้าสู่สังคมได้ใหม่
การลงโทษประหารชีวิตนั้นจะเห็นว่า เป็นการตอบสนองขั้นสูงสุดต่อวัตถุประสงค์ในการลงโทษอาญาประการที่ 1 - 3 กล่าวคือ แก้แค้นให้สังคมโดยการใช้ชีวิตของผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์เป็นการชดใช้แทนชีวิตที่เขาได้พรากไปจากผู้อื่น การข่มขู่ให้คนไม่กล้ากระทำความผิดร้ายแรงด้วยความตาย ซึ่งเป็นความกลัวสูงสุดของมนุษย์ และการตัดเอาผู้กระทำความผิดอุกฉกรรรจ์ออกไปจากสังคมได้ตลอดกาล
จะมีเพียงแต่วัตถุประสงค์ในการแก้ไขเยียวยาพฤติกรรมของผู้กระทำความผิดเท่านั้นที่ไม่สามารถเป็นไปได้โดยสภาพ เพราะเมื่อเลือกที่จะลงโทษประหารแก่ผู้กระทำความผิดแล้ว ก็ย่อมแน่นอนว่าไม่ให้โอกาสใดๆ ในการกลับตัวอีก
การยกเลิกโทษประหารตามหลักความเป็นอารยะนั้น ต้องถามก่อนว่า แล้วเราจะตอบสนองวัตถุประสงค์ของการลงโทษอาญาได้อย่างไร
ผู้เสียหายหรือสังคมจะได้รับความรู้สึกว่า กฎหมายหรืออำนาจรัฐได้ช่วยแก้แค้นแทนแล้วหรือไม่ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดนั้นพรากชีวิตของคนที่เขารักไปอย่างไม่มีวันกลับแต่ยังคงมีชีวิตอยู่ รอวันที่จะพ้นโทษกลับเข้ามาสู่สังคม
และการไม่มีโทษประหาร จะทำให้คนที่คิดกระทำความผิดนั้นหวาดเกรงต่อกฎหมายจนไม่กล้ากระทำความผิดร้ายแรงหรือไม่ เพราะแม้ว่ายังมีโทษประหารอยู่ ก็ไม่เห็นว่าจะมีใครเกรงกลัวต่อ “กฎหมาย” เลย เพราะคงรู้กันดีว่าเป็นโทษที่มีอยู่ในกฎหมายไปอย่างนั้นเอง ไม่มีการประหารชีวิตจริงๆ
นอกจากนั้น การลงโทษจำคุกที่มีในปัจจุบัน สามารถสร้างความปลอดภัยให้สังคมได้หรือไม่ สามารถกันตัวผู้กระทำความผิดไม่ให้มาทำอันตรายแก่ผู้คนสุจริตชนหรือไม่ ในเมื่อโทษที่ลงจริงกับผู้กระทำความผิดนั้น ต่อให้เป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต ก็รู้กันว่าติดคุกกันจริงๆ ไม่กี่ปีเท่านั้นก็ได้กลับออกมา
รวมถึงกระบวนการราชทัณฑ์ของเราสามารถกล่อมเกลาแก้ไขไม่ให้ผู้กระทำความผิดทั้งหลายออกมากระทำผิดซ้ำได้จริงหรือ
กี่คดีแล้วที่ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นนักโทษซ้ำซาก เข้าออกคุกเป็นว่าเล่น ออกมาก็กระทำความผิดใหม่ กลับเข้าไปในคุกจนพ้นโทษออกมาก็กระทำความผิดแบบเดิมต่อ โดยไม่รู้จักเข็ดหลาบ โดยเฉพาะคดีที่เกี่ยวกับความผิดทางเพศ เช่น การฆ่าข่มขืน และความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สิน เช่น ลักทรัพย์ วิ่ง ชิง ปล้น ก็มักปรากฏว่าผู้กระทำความผิดนั้นส่วนใหญ่ก็เคยกระทำความผิด เคยติดคุกและพ้นโทษมากระทำความผิดซ้ำอีก
เราต้องทบทวนว่า ความเป็นอารยะของประเทศนั้น ชี้วัดกันด้วยการไม่มีโทษประหารชีวิตจริงหรือ ในเมื่อประเทศที่ถือว่าเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าในทุกๆ ด้าน อย่างประเทศญี่ปุ่น ก็ยังคงมีโทษประหารอยู่ แถมวิธีการประหารก็ใช้วิธีการ “แขวนคอ” ไม่ใช่ใจดีอย่างประเทศไทยที่ฉีดยานอนหลับให้ค่อยๆ ตายไป
ประเทศจะเป็นอารยะหรือศิวิไลซ์ตามหลักสิทธิมนุษยชน แต่ประชาชนคนสุจริตในประเทศอยู่ไม่เป็นสุขเข้านอนกันตาไม่หลับ เพราะไม่รู้ว่าจะถูกลากไปข่มขืนฆ่า หรือถูกผู้ร้ายมาฆ่าล้างโคตรเมื่อไร เพราะไม่มีใครกลัวกฎหมาย และการบังคับโทษแก้ไขพฤติกรรมของผู้กระทำความผิดก็ล้มเหลว
รัฐบาลที่ตัดสินใจปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยไม่ได้ถามประชาชนก่อน ก็ไม่ต่างจากการ “บังคับ” ให้เราต้องเป็นอารยะไปตามชาวบ้านเขา โดยไม่มองตามความเป็นจริงของสังคม อีกทั้งไม่มีมาตรการเพื่อรักษาความสงบปลอดภัยใดๆ มารองรับ.
ล่าสุดนี้ ก็ได้แก่คดีสะเทือนขวัญ ฆ่าล้างครอบครัวผู้ใหญ่บ้านรวม 8 ศพ ที่จังหวัดกระบี่ ซึ่งพฤติกรรมเหี้ยมโหดที่ทำให้สังคมรับไม่ได้ ก็คือเหยื่อส่วนหนึ่งเป็นเด็กไร้เดียงสา ที่บังเอิญไปเที่ยวเล่นอยู่บ้านที่เกิดเหตุเท่านั้นเอง
พฤติกรรมเหี้ยมโหดของคนร้าย ถึงกับทำให้พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ที่ลงพื้นที่ไปสืบสวนจับกุมด้วยตนเอง ถึงกับกล่าวว่า ไม่หวังจับเป็น ถ้าผู้ต้องหาต่อสู้เป็นต้องวิสามัญแน่ๆ แต่เนื่องจากผู้ต้องหาไม่สู้ จึงต้องเข้าสู่กระบวนยุติธรรมกันไป
แต่กระนั้น ท่าน ผบ.ตร. ก็ยังหวังว่า คดีนี้ศาลจะต้องลงโทษประหาร ตามข้อกฎหมายและพฤติการณ์ความร้ายแรงโหดเหี้ยมที่ก่อขึ้น
เสียงของ ผบ.ตร. ก็เหมือนกับพูดแทนคนไทยทุกคนที่ติดตามข่าวน่าสะเทือนขวัญนี้ ที่คิดว่าไม่มีโทษทัณฑ์ใดที่ผู้กระทำความผิดสมควรที่จะชดใช้ไปมากกว่าชีวิตอีกแล้ว
อย่างไรก็ตาม “การประหารชีวิต” ในทางความเป็นจริงนั้นไม่ได้กระทำได้ง่ายนักแม้ในที่สุดจะมีคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดในประหารชีวิตก็ตาม
เพราะการบังคับโทษประหารชีวิตของไทยเราว่างเว้นมาแล้วกว่า 8 ปี เนื่องด้วยเหตุผลทาง “มนุษยธรรม” ตามหลักสากล
เรื่องนี้ทนายความชื่อดัง นายเกิดผล แก้วเกิด ออกมาให้ความเห็นผ่าน Facebook ส่วนตัวของเขาว่า
เชื่อว่าการประหารชีวิต “บังฟัต” นายซูริก์ฟัต บ้านนบวงศ์สกุล จะไม่เกิดขึ้นจริง
สืบเนื่องจากประเทศไทย เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ และในการประชุมของคณะกรรมาธิการที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ ในข้อมติเกี่ยวกับการพักการใช้โทษประหารชีวิต
และเรียกร้องให้รัฐบาลไทยให้สัตยาบันรับรองพิธีสารเลือกรับฉบับที่สองของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ที่สำคัญคือขอให้ประเทศไทยพักการบังคับโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ
โดยการยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัตินั้นมีเกณฑ์ว่า หากไม่มีการประหารชีวิตเกิดขึ้นจริง ภายในระยะเวลา 10 ปี นับแต่การประหารชีวิตนักโทษประหารรายสุดท้าย ก็จะถือว่าประเทศนั้นไม่มีโทษประหารชีวิตแล้วในทางปฏิบัติ
ในขณะนี้ประเทศไทยไม่มีการประหารชีวิตนักโทษมาแล้ว นับตั้งแต่ พ.ศ. 2552 นับถึงปัจจุบันนี้ก็เป็นเวลา 8 ปีแล้ว เหลืออีกเพียง 2 ปี หากไม่มีการประหารชีวิตจริง ก็จะถือว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ไม่มีโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ ตามกติการะหว่างประเทศของสหประชาชาติดังกล่าว
ซึ่งสิ่งที่ทนายเกิดผลเปิดเผย ก็ตรงกันกับที่ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมายคือ ดร.วิษณุ เครืองาม เคยให้สัมภาษณ์ไว้ในตอนที่มีข่าวสะเทือนขวัญฆ่าหั่นศพ น.ส.วริศรา กลิ่นจุ้ย ที่เขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น เมื่อราวปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
โดย ดร.วิษณุ เปิดเผยว่า โทษประหารชีวิตมีอยู่ในกฎหมาย แต่เราได้รับปากในที่ประชุมกรรมการสิทธิมนุษยชนที่กรุงเจนีวา ซึ่งขอร้องให้เรายกเลิก แต่เรายังยกเลิกไม่ได้ แต่ความผิดใหม่จะไม่กำหนดโทษประหารชีวิต และจะทยอยเปลี่ยนจากโทษที่บังคับให้ประหารชีวิตอย่างเดียว ให้มีทางเลือกจำคุกตลอดชีวิตได้
สรุปได้ว่า แม้ตามกฎหมายแล้ว โทษของ “บังฟัต” หรือใครก็ตามที่กำหนดไว้ถึงประหารชีวิต ในทางปฏิบัติจริงก็อาจจะไม่มีการประหารชีวิตก็ได้ ด้วยเพราะรัฐบาลไทยพยายามที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติในเรื่องของการยกเลิกโทษประหารนี้
เรื่องนี้จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า การที่อยู่ดีๆ รัฐบาลไปตกลงกับนานาอารยประเทศว่าจะดำเนินรอยตามแนวทางอัน “ศิวิไลซ์” ด้วยการเข้าไปผูกพันกับข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อยกเลิกโทษประหารในทางปฏิบัตินี้ ได้มีการประเมินความเป็นไปในทางความเป็นจริงของประเทศไทยโดยรอบด้าน และที่สำคัญอย่างยิ่ง ได้ “ถามคนไทย” แล้วหรือยัง
แนวคิดในทางสิทธิมนุษยชนอันเป็นสากลนั้นปฏิเสธโทษประหารชีวิต เนื่องจากเป็นโทษที่รุนแรง ไม่เคารพสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และหากลงโทษไปแล้วมีความผิดพลาดจะแก้ไขไม่ได้
ในหลายประเทศได้ทยอยกันยกเลิกโทษประหารนี้ไปแล้ว โดยเฉพาะประเทศตะวันตก เช่นในยุโรป หรือแม้แต่ในอาเซียน ประเทศอย่างกัมพูชาเองก็ยกเลิกโทษประหารชีวิตไปแล้ว
หากพิจารณาในหลักการ โดยนำเอาเรื่องสิทธิมนุษยชนหรือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มาเป็นที่ตั้ง การยกเลิกโทษประหารชีวิตนั้นก็มีเหตุผลตามแนวคิดเช่นนั้น
แต่ถ้าเรามาพิจารณาตามความเป็นจริง และเอาเรื่องของ “ประโยชน์สาธารณะ” หรือประโยชน์ส่วนรวมมาร่วมพิจารณาแล้ว การยกเลิกโทษประหารชีวิตนั้นเป็นประโยชน์ต่อสังคมและส่วนรวมหรือไม่
หลักการลงโทษทางอาญา มี 4 ประการ คือ (1) การแก้แค้นทดแทนให้ผู้เสียหายและสังคม (2) การข่มขู่ผู้กระทำความผิดให้หวั่นเกรงต่อการลงโทษ (3) การรักษาความปลอดภัยให้แก่สังคมด้วยการกันเอาผู้กระทำความผิดออกจากสังคม และสุดท้ายคือ (4) การแก้ไขเยียวยาพฤติกรรมของผู้กระทำความผิดให้กลับเข้าสู่สังคมได้ใหม่
การลงโทษประหารชีวิตนั้นจะเห็นว่า เป็นการตอบสนองขั้นสูงสุดต่อวัตถุประสงค์ในการลงโทษอาญาประการที่ 1 - 3 กล่าวคือ แก้แค้นให้สังคมโดยการใช้ชีวิตของผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์เป็นการชดใช้แทนชีวิตที่เขาได้พรากไปจากผู้อื่น การข่มขู่ให้คนไม่กล้ากระทำความผิดร้ายแรงด้วยความตาย ซึ่งเป็นความกลัวสูงสุดของมนุษย์ และการตัดเอาผู้กระทำความผิดอุกฉกรรรจ์ออกไปจากสังคมได้ตลอดกาล
จะมีเพียงแต่วัตถุประสงค์ในการแก้ไขเยียวยาพฤติกรรมของผู้กระทำความผิดเท่านั้นที่ไม่สามารถเป็นไปได้โดยสภาพ เพราะเมื่อเลือกที่จะลงโทษประหารแก่ผู้กระทำความผิดแล้ว ก็ย่อมแน่นอนว่าไม่ให้โอกาสใดๆ ในการกลับตัวอีก
การยกเลิกโทษประหารตามหลักความเป็นอารยะนั้น ต้องถามก่อนว่า แล้วเราจะตอบสนองวัตถุประสงค์ของการลงโทษอาญาได้อย่างไร
ผู้เสียหายหรือสังคมจะได้รับความรู้สึกว่า กฎหมายหรืออำนาจรัฐได้ช่วยแก้แค้นแทนแล้วหรือไม่ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดนั้นพรากชีวิตของคนที่เขารักไปอย่างไม่มีวันกลับแต่ยังคงมีชีวิตอยู่ รอวันที่จะพ้นโทษกลับเข้ามาสู่สังคม
และการไม่มีโทษประหาร จะทำให้คนที่คิดกระทำความผิดนั้นหวาดเกรงต่อกฎหมายจนไม่กล้ากระทำความผิดร้ายแรงหรือไม่ เพราะแม้ว่ายังมีโทษประหารอยู่ ก็ไม่เห็นว่าจะมีใครเกรงกลัวต่อ “กฎหมาย” เลย เพราะคงรู้กันดีว่าเป็นโทษที่มีอยู่ในกฎหมายไปอย่างนั้นเอง ไม่มีการประหารชีวิตจริงๆ
นอกจากนั้น การลงโทษจำคุกที่มีในปัจจุบัน สามารถสร้างความปลอดภัยให้สังคมได้หรือไม่ สามารถกันตัวผู้กระทำความผิดไม่ให้มาทำอันตรายแก่ผู้คนสุจริตชนหรือไม่ ในเมื่อโทษที่ลงจริงกับผู้กระทำความผิดนั้น ต่อให้เป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต ก็รู้กันว่าติดคุกกันจริงๆ ไม่กี่ปีเท่านั้นก็ได้กลับออกมา
รวมถึงกระบวนการราชทัณฑ์ของเราสามารถกล่อมเกลาแก้ไขไม่ให้ผู้กระทำความผิดทั้งหลายออกมากระทำผิดซ้ำได้จริงหรือ
กี่คดีแล้วที่ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นนักโทษซ้ำซาก เข้าออกคุกเป็นว่าเล่น ออกมาก็กระทำความผิดใหม่ กลับเข้าไปในคุกจนพ้นโทษออกมาก็กระทำความผิดแบบเดิมต่อ โดยไม่รู้จักเข็ดหลาบ โดยเฉพาะคดีที่เกี่ยวกับความผิดทางเพศ เช่น การฆ่าข่มขืน และความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สิน เช่น ลักทรัพย์ วิ่ง ชิง ปล้น ก็มักปรากฏว่าผู้กระทำความผิดนั้นส่วนใหญ่ก็เคยกระทำความผิด เคยติดคุกและพ้นโทษมากระทำความผิดซ้ำอีก
เราต้องทบทวนว่า ความเป็นอารยะของประเทศนั้น ชี้วัดกันด้วยการไม่มีโทษประหารชีวิตจริงหรือ ในเมื่อประเทศที่ถือว่าเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าในทุกๆ ด้าน อย่างประเทศญี่ปุ่น ก็ยังคงมีโทษประหารอยู่ แถมวิธีการประหารก็ใช้วิธีการ “แขวนคอ” ไม่ใช่ใจดีอย่างประเทศไทยที่ฉีดยานอนหลับให้ค่อยๆ ตายไป
ประเทศจะเป็นอารยะหรือศิวิไลซ์ตามหลักสิทธิมนุษยชน แต่ประชาชนคนสุจริตในประเทศอยู่ไม่เป็นสุขเข้านอนกันตาไม่หลับ เพราะไม่รู้ว่าจะถูกลากไปข่มขืนฆ่า หรือถูกผู้ร้ายมาฆ่าล้างโคตรเมื่อไร เพราะไม่มีใครกลัวกฎหมาย และการบังคับโทษแก้ไขพฤติกรรมของผู้กระทำความผิดก็ล้มเหลว
รัฐบาลที่ตัดสินใจปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยไม่ได้ถามประชาชนก่อน ก็ไม่ต่างจากการ “บังคับ” ให้เราต้องเป็นอารยะไปตามชาวบ้านเขา โดยไม่มองตามความเป็นจริงของสังคม อีกทั้งไม่มีมาตรการเพื่อรักษาความสงบปลอดภัยใดๆ มารองรับ.