ร้อนที่สุดในรอบสัปดาห์คงไม่มีประเด็นอะไรเกินกว่าเรื่องการกวดขันวินัยจราจรเพื่อลดอุบัติเหตุตามที่นายกฯ ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 กำหนดมาตรการเกี่ยวกับการใช้รถยนต์หลายเรื่อง เช่น เรื่องการบังคับให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารทุกคนในรถต้องคาดเข็ดขัดนิรภัยทุกที่นั่งโดยไม่มียกเว้น
หากที่ “สะเทือน” ผู้คนมากที่สุด เห็นจะเป็นมาตรการเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วย “การใช้รถยนต์ให้ถูกประเภท” ซึ่งความจริงเป็นเรื่องเก่าที่มีมาก่อนการประกาศใช้มาตรา 44 แล้ว เพียงแต่มีการอะลุ้มอล่วยจนกลายเป็นละเลยมาตลอดหลายสิบปี
ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่บ้านเมืองจึงอาศัยจังหวะเดียวกับที่มีการประกาศใช้มาตรา 44 เพื่อการกวดขันวินัยและความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน กำหนดแนวทางในการใช้รถปิ๊กอัพ หรือรถกระบะว่า ต่อไปนี้ กระบะหลังนั้นห้ามใช้เพื่อการนั่งโดยสาร เนื่องจากโดยวัตถุประสงค์อันแท้จริงแล้ว กระบะหลังนั้นออกแบบมาเพื่อการบรรทุกสิ่งของ
ดังนั้น การเอา “คน” ไปบรรทุกหรือโดยสารในกระบะรถ จึงถือเป็นการ “ใช้รถยนต์ผิดประเภท” ที่มีโทษปรับตามกฎหมาย
นอกจากนั้นการนั่งในส่วนแคปของตัวรถก็จะไปติดปัญหาตามมาตรา 44 ที่ คสช.ประกาศออกมาอีกที่กำหนดให้ผู้โดยสารทุกที่นั่งจะต้องคาดเข็มขัดนิรภัย ดังนั้น เมื่อที่นั่งในส่วนแคปของรถนั้นไม่มีเข็มขัดนิรภัยให้คาด ก็ย่อมไม่สามารถใช้โดยสารได้เช่นกัน
นี่เป็นผลของการตีความกฎหมาย ทั้งตามพระราชบัญญัติรถยนต์เดิม และตามประกาศของ คสช.ที่กำหนดมาตรการขึ้นมาใหม่
พูดง่ายๆ คือ รถกระบะนั้นนั่งได้แค่สองที่นั่ง เท่ากับจักรยานยนต์คันหนึ่งเท่านั้นเอง
และนี่คือเรื่องที่ทำให้ผู้คน “เดือด” กันทั้งประเทศ แสดงสะท้อนผ่านทั้งในโลกโซเชียลและในสังคมนอกจอ
นั่นก็เพราะว่า ประเทศไทยถือเป็นประเทศหนึ่งที่มีรถกระบะบนท้องถนนมากที่สุด จนมีผู้กล่าวว่าเป็นอันดับสองรองจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งข้อมูลนี้ไม่ทราบว่ามีที่มาจากไหน
แต่ถ้าพิจารณากันตามข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก มีนาคม 2560 มีการจดทะเบียนรถปิ๊กอัพรวม 6.3 ล้านคัน เมื่อเทียบกับประชากรราว 67 ล้านคน นี่ก็อาจเรียกว่า สัดส่วนรถกระบะต่อประชาชนชาวไทยอยู่ที่ราวๆ 1 คันต่อประชากร 10 คนเลยทีเดียว
ก็ไม่น่าแปลกใจเท่าไรนัก เพราะเราก็ทราบกันดีว่า ในต่างจังหวัดนั้น รถปิ๊กอัพหรือรถกระบะเป็นพาหนะหลักของผู้คน เนื่องด้วยความเป็นรถอเนกประสงค์ของมันที่เอาไว้ขนส่งสินค้าหรือขนข้าวของต่างๆ ก็ได้ ให้คนนั่งก็ได้
เรียกว่าเราใช้รถกระบะกันในลักษณะของรถอเนกประสงค์มาอย่างนี้ตั้งแต่แรกมีรถชนิดนี้เลยกระมัง แม้ว่าถ้ากล่าวกันอย่างเคร่งครัดแล้ว ก็ถือเป็นการใช้รถยนต์อย่างผิดวัตถุประสงค์จริงๆ
และหากจะพูดกันตรงๆ ก็อาจจะต้องยอมรับว่าการโดยสารรถกระบะในลักษณะดังกล่าวนั้น เป็นวิถีชีวิตของคนในต่างจังหวัด ในสังคมเกษตรกรรม
ดังนั้น มาตรการเพื่อความปลอดภัยที่ประกาศเปรี้ยงมานี้ จึงถูกตีความ ขยายความไปจนเป็นเรื่องว่าเป็นการ “รังแกคนจน” โดยบรรดาผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองซึ่งไม่เข้าใจสภาพความเป็นจริงในสังคม
อันที่จริงเรื่องนี้ต้องมองสองมุม คือ ในแง่มุมของความปลอดภัย และในแง่มุมของความเป็นจริงในสังคม
แง่เรื่องความเป็นจริงในสังคมนั้นก็อย่างที่พูดไปแล้ว ส่วนเรื่องของความปลอดภัยก็คงไม่มีใครเถียง ว่าการนั่งในส่วนกระบะหรือแคปของรถกระบะนั้น หากมีอุบัติเหตุอะไรขึ้นมาจะมากจะน้อย ก็จะเกิดสภาพอย่างที่เขาเรียกกันว่า “เทกระจาด” กันนั่นแหละ
และถ้ายังไม่ลืมกัน โศกนาฏกรรมรถตู้ที่บ้านบึงเมื่อช่วงปีใหม่ที่ตายกัน 20 กว่าคนนั้น คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งก็เป็นรถกระบะ และส่วนหนึ่งของผู้ตาย ก็ได้แก่ผู้ที่โดยสารมาส่วนกระบะท้ายรถนั่นเอง
ดังนั้น การใช้มาตรการตามมาตรา 44 ที่ประกาศมานั้น ก็มีวัตถุประสงค์เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและร่างกายของประชาชนนั่นเอง และเป็นการกำหนดมาตรการตามหลักมาตรฐานความปลอดภัยสากลด้วย
หากเราจะอ้างความจำเป็นในสังคมมาเป็นข้ออ้างในการละเลยกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย เราก็คงทำอะไรไม่ได้นอกจากรอนับศพจากอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลวันหยุดยาวกันต่อไป
และเราคงไม่สามารถก้าวไปไหนได้ หากเราจะอ้างแต่ความเป็นจริงของสังคมเป็นข้ออ้างที่จะไม่ยอมเปลี่ยนอะไร เราจะปฏิรูป ซึ่งได้แก่การเปลี่ยนแปลงแก้ไขปัญหาที่เกิดจากความผิดพลาดบกพร่องของ “สังคม” ที่ผ่านมาได้อย่างไร
เพียงแต่การปฏิรูปหรือเปลี่ยนแปลงนั้นก็ต้องทำกันแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือพูดง่ายๆ ว่านำเอาหลัก “รัฐศาสตร์” มาใช้คู่กับการแก้ไขกฎหมายซึ่งเป็นวิธีทางแบบ “นิติศาสตร์”
และถ้ามองในแง่ของความเป็นธรรมแล้ว ก็ต้องพิจารณาเรื่องกฎหมายไม่มีผลย้อนหลังให้กว้างออกไปด้วยว่า ในวันที่ผู้คนเขาซื้อรถปิ๊กอัพมานั้น เขาเข้าใจโดยสุจริตว่าสามารถที่จะใช้บรรทุกของก็ได้ บรรทุกคนก็ได้ อยู่ดีๆ สิ่งที่เขาซื้อมาและใช้สอยอย่างถูกกฎหมายมานาน มาประกาศให้เป็นเรื่องผิดกฎหมาย อันนี้ก็ไม่เป็นธรรม
หลักรัฐศาสตร์ในการกำหนดนโยบายการบังคับใช้กฎหมายนั้นก็เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง การใช้กฎหมายแบบทันใจจนเป็นการหักด้ามพร้าด้วยเข่านั้น รังแต่จะทำให้ประชาชนเดือดร้อนหรือเกิดความสับสน และการบังคับใช้กฎหมายแบบนั้นก็ไม่มีวันบรรลุผล เพราะประชาชนต่อต้าน
การ “ถอย” ลงมาก่อนของรัฐบาลและฝ่ายรัฐหลังจากมีกระแสต้านประเด็นร้อนนั้น จึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว
อย่างไรก็ตาม หากเราจะปฏิรูปเรื่องการจราจรและความปลอดภัยบนท้องถนน เราก็ต้องยอมรับว่าสภาพสังคมที่ผ่านมาของเรามีปัญหา และถ้าเราไม่แก้ที่ต้นเหตุ เราก็ไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้
การพัฒนาโครงสร้างการคมนาคมหรือขนส่งมวลชนที่สะดวก เข้าถึงง่าย ราคาไม่แพงนั้นเป็นสิ่งที่จะทำต้องกันต่อไป
ส่วนการบังคับให้ใช้รถกันอย่างถูกต้องตามประเภทของรถ อย่างที่มันควรจะเป็น ก็เป็นสิ่งที่จะต้องค่อยๆ ปรับค่อยๆ ทำควบคู่กันได้
เพียงแต่โจทย์ใหญ่ของทางรัฐบาลและราชการคือ เราจะเปลี่ยนผ่านประเทศที่ใช้รถปิ๊กอัพหรือกระบะเป็นรถโดยสารอเนกประสงค์ และมีรถลักษณะนี้อยู่ 6 ล้านกว่าคัน ให้ปรับไปสู่การใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์จริงแท้ตามประเภทของรถได้อย่างไร
นี่คือโจทย์ใหญ่ที่ต้องค่อยๆ หาวิธีปรับเพื่อลดความขัดแย้งระหว่าง “สิ่งที่ควรจะเป็น” ตามกฎหมาย กับ “สิ่งที่เป็นอยู่” ในสังคม.
หากที่ “สะเทือน” ผู้คนมากที่สุด เห็นจะเป็นมาตรการเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วย “การใช้รถยนต์ให้ถูกประเภท” ซึ่งความจริงเป็นเรื่องเก่าที่มีมาก่อนการประกาศใช้มาตรา 44 แล้ว เพียงแต่มีการอะลุ้มอล่วยจนกลายเป็นละเลยมาตลอดหลายสิบปี
ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่บ้านเมืองจึงอาศัยจังหวะเดียวกับที่มีการประกาศใช้มาตรา 44 เพื่อการกวดขันวินัยและความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน กำหนดแนวทางในการใช้รถปิ๊กอัพ หรือรถกระบะว่า ต่อไปนี้ กระบะหลังนั้นห้ามใช้เพื่อการนั่งโดยสาร เนื่องจากโดยวัตถุประสงค์อันแท้จริงแล้ว กระบะหลังนั้นออกแบบมาเพื่อการบรรทุกสิ่งของ
ดังนั้น การเอา “คน” ไปบรรทุกหรือโดยสารในกระบะรถ จึงถือเป็นการ “ใช้รถยนต์ผิดประเภท” ที่มีโทษปรับตามกฎหมาย
นอกจากนั้นการนั่งในส่วนแคปของตัวรถก็จะไปติดปัญหาตามมาตรา 44 ที่ คสช.ประกาศออกมาอีกที่กำหนดให้ผู้โดยสารทุกที่นั่งจะต้องคาดเข็มขัดนิรภัย ดังนั้น เมื่อที่นั่งในส่วนแคปของรถนั้นไม่มีเข็มขัดนิรภัยให้คาด ก็ย่อมไม่สามารถใช้โดยสารได้เช่นกัน
นี่เป็นผลของการตีความกฎหมาย ทั้งตามพระราชบัญญัติรถยนต์เดิม และตามประกาศของ คสช.ที่กำหนดมาตรการขึ้นมาใหม่
พูดง่ายๆ คือ รถกระบะนั้นนั่งได้แค่สองที่นั่ง เท่ากับจักรยานยนต์คันหนึ่งเท่านั้นเอง
และนี่คือเรื่องที่ทำให้ผู้คน “เดือด” กันทั้งประเทศ แสดงสะท้อนผ่านทั้งในโลกโซเชียลและในสังคมนอกจอ
นั่นก็เพราะว่า ประเทศไทยถือเป็นประเทศหนึ่งที่มีรถกระบะบนท้องถนนมากที่สุด จนมีผู้กล่าวว่าเป็นอันดับสองรองจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งข้อมูลนี้ไม่ทราบว่ามีที่มาจากไหน
แต่ถ้าพิจารณากันตามข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก มีนาคม 2560 มีการจดทะเบียนรถปิ๊กอัพรวม 6.3 ล้านคัน เมื่อเทียบกับประชากรราว 67 ล้านคน นี่ก็อาจเรียกว่า สัดส่วนรถกระบะต่อประชาชนชาวไทยอยู่ที่ราวๆ 1 คันต่อประชากร 10 คนเลยทีเดียว
ก็ไม่น่าแปลกใจเท่าไรนัก เพราะเราก็ทราบกันดีว่า ในต่างจังหวัดนั้น รถปิ๊กอัพหรือรถกระบะเป็นพาหนะหลักของผู้คน เนื่องด้วยความเป็นรถอเนกประสงค์ของมันที่เอาไว้ขนส่งสินค้าหรือขนข้าวของต่างๆ ก็ได้ ให้คนนั่งก็ได้
เรียกว่าเราใช้รถกระบะกันในลักษณะของรถอเนกประสงค์มาอย่างนี้ตั้งแต่แรกมีรถชนิดนี้เลยกระมัง แม้ว่าถ้ากล่าวกันอย่างเคร่งครัดแล้ว ก็ถือเป็นการใช้รถยนต์อย่างผิดวัตถุประสงค์จริงๆ
และหากจะพูดกันตรงๆ ก็อาจจะต้องยอมรับว่าการโดยสารรถกระบะในลักษณะดังกล่าวนั้น เป็นวิถีชีวิตของคนในต่างจังหวัด ในสังคมเกษตรกรรม
ดังนั้น มาตรการเพื่อความปลอดภัยที่ประกาศเปรี้ยงมานี้ จึงถูกตีความ ขยายความไปจนเป็นเรื่องว่าเป็นการ “รังแกคนจน” โดยบรรดาผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองซึ่งไม่เข้าใจสภาพความเป็นจริงในสังคม
อันที่จริงเรื่องนี้ต้องมองสองมุม คือ ในแง่มุมของความปลอดภัย และในแง่มุมของความเป็นจริงในสังคม
แง่เรื่องความเป็นจริงในสังคมนั้นก็อย่างที่พูดไปแล้ว ส่วนเรื่องของความปลอดภัยก็คงไม่มีใครเถียง ว่าการนั่งในส่วนกระบะหรือแคปของรถกระบะนั้น หากมีอุบัติเหตุอะไรขึ้นมาจะมากจะน้อย ก็จะเกิดสภาพอย่างที่เขาเรียกกันว่า “เทกระจาด” กันนั่นแหละ
และถ้ายังไม่ลืมกัน โศกนาฏกรรมรถตู้ที่บ้านบึงเมื่อช่วงปีใหม่ที่ตายกัน 20 กว่าคนนั้น คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งก็เป็นรถกระบะ และส่วนหนึ่งของผู้ตาย ก็ได้แก่ผู้ที่โดยสารมาส่วนกระบะท้ายรถนั่นเอง
ดังนั้น การใช้มาตรการตามมาตรา 44 ที่ประกาศมานั้น ก็มีวัตถุประสงค์เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและร่างกายของประชาชนนั่นเอง และเป็นการกำหนดมาตรการตามหลักมาตรฐานความปลอดภัยสากลด้วย
หากเราจะอ้างความจำเป็นในสังคมมาเป็นข้ออ้างในการละเลยกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย เราก็คงทำอะไรไม่ได้นอกจากรอนับศพจากอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลวันหยุดยาวกันต่อไป
และเราคงไม่สามารถก้าวไปไหนได้ หากเราจะอ้างแต่ความเป็นจริงของสังคมเป็นข้ออ้างที่จะไม่ยอมเปลี่ยนอะไร เราจะปฏิรูป ซึ่งได้แก่การเปลี่ยนแปลงแก้ไขปัญหาที่เกิดจากความผิดพลาดบกพร่องของ “สังคม” ที่ผ่านมาได้อย่างไร
เพียงแต่การปฏิรูปหรือเปลี่ยนแปลงนั้นก็ต้องทำกันแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือพูดง่ายๆ ว่านำเอาหลัก “รัฐศาสตร์” มาใช้คู่กับการแก้ไขกฎหมายซึ่งเป็นวิธีทางแบบ “นิติศาสตร์”
และถ้ามองในแง่ของความเป็นธรรมแล้ว ก็ต้องพิจารณาเรื่องกฎหมายไม่มีผลย้อนหลังให้กว้างออกไปด้วยว่า ในวันที่ผู้คนเขาซื้อรถปิ๊กอัพมานั้น เขาเข้าใจโดยสุจริตว่าสามารถที่จะใช้บรรทุกของก็ได้ บรรทุกคนก็ได้ อยู่ดีๆ สิ่งที่เขาซื้อมาและใช้สอยอย่างถูกกฎหมายมานาน มาประกาศให้เป็นเรื่องผิดกฎหมาย อันนี้ก็ไม่เป็นธรรม
หลักรัฐศาสตร์ในการกำหนดนโยบายการบังคับใช้กฎหมายนั้นก็เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง การใช้กฎหมายแบบทันใจจนเป็นการหักด้ามพร้าด้วยเข่านั้น รังแต่จะทำให้ประชาชนเดือดร้อนหรือเกิดความสับสน และการบังคับใช้กฎหมายแบบนั้นก็ไม่มีวันบรรลุผล เพราะประชาชนต่อต้าน
การ “ถอย” ลงมาก่อนของรัฐบาลและฝ่ายรัฐหลังจากมีกระแสต้านประเด็นร้อนนั้น จึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว
อย่างไรก็ตาม หากเราจะปฏิรูปเรื่องการจราจรและความปลอดภัยบนท้องถนน เราก็ต้องยอมรับว่าสภาพสังคมที่ผ่านมาของเรามีปัญหา และถ้าเราไม่แก้ที่ต้นเหตุ เราก็ไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้
การพัฒนาโครงสร้างการคมนาคมหรือขนส่งมวลชนที่สะดวก เข้าถึงง่าย ราคาไม่แพงนั้นเป็นสิ่งที่จะทำต้องกันต่อไป
ส่วนการบังคับให้ใช้รถกันอย่างถูกต้องตามประเภทของรถ อย่างที่มันควรจะเป็น ก็เป็นสิ่งที่จะต้องค่อยๆ ปรับค่อยๆ ทำควบคู่กันได้
เพียงแต่โจทย์ใหญ่ของทางรัฐบาลและราชการคือ เราจะเปลี่ยนผ่านประเทศที่ใช้รถปิ๊กอัพหรือกระบะเป็นรถโดยสารอเนกประสงค์ และมีรถลักษณะนี้อยู่ 6 ล้านกว่าคัน ให้ปรับไปสู่การใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์จริงแท้ตามประเภทของรถได้อย่างไร
นี่คือโจทย์ใหญ่ที่ต้องค่อยๆ หาวิธีปรับเพื่อลดความขัดแย้งระหว่าง “สิ่งที่ควรจะเป็น” ตามกฎหมาย กับ “สิ่งที่เป็นอยู่” ในสังคม.