หลังจากที่ประกาศใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 44 วางมาตรการผ่านคำสั่งของหัวหน้า คสช.ขึ้นมาเพื่อทดแทนกฎอัยการศึกไปเมื่อวันพุธที่แล้ว (1 เมษายน 2558)
หนึ่งสัปดาห์พอดีไม่ขาดไม่เกิน ก็มีคำสั่งหัวหน้า คสช.ตามมาตรา 44 นี้ขึ้นมาอีกฉบับ ซึ่งถือเป็น “ยาแรง” เพื่อแก้ปัญหาหมักหมมหลายๆ เรื่องทำให้การปฏิรูปที่ผ่านมาของ คสช. เหมือนจะไม่บรรลุผล หรือเหมือนเงื้อง่าราคาแพง แทงก็แทงไม่เข้า
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องลอตเตอรี่เกินราคา การจัดระเบียบการจราจร เรื่องรถตู้ แผงลอยบนทางเท้าไปจนถึงเรื่องการบุกรุกทำลายป่า การทุจริตคอร์รัปชัน การลักลอบครอบครองอาวุธสงคราม
ทั้งหมดที่กล่าวไปนี้ คือสิ่งที่ คสช.เคย “ขึงขัง” ว่าจะทำ แต่ก็ทำได้แค่ช่วงแรกๆ พอตอนหลังก็กลับสู่สภาพเดิม ไม่มีใครกวดขัน
ดูจากประกาศเจตนารมณ์การออกคำสั่งฉบับล่าสุดนี้ จะเห็นว่าเป็นไปเพราะ “...ยังคงมีการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่คุ้มครองประโยชน์สาธารณะและประชาชนโดยส่วนรวมเป็นจำนวนมาก และการบังคับใช้กฎหมายยังเป็นไปอย่างไม่เคร่งครัดและไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ส่งผลให้เป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ และก่อให้เกิดปัญหาความไม่สงบเรียบร้อยในเรื่องต่างๆ เช่น การบุกรุกที่สาธารณะ ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ การใช้ประโยชน์ในพื้นที่สาธารณะกีดขวางทางจราจร ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนในการใช้ชีวิตประจำวัน...”
จึงต้อง “...กำหนดมาตรการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย...”
ส่วนเนื้อหาของประกาศดังกล่าวนั้น ก็ได้แก่ หากรัฐมนตรีที่กำกับดูแลกฎหมายที่คุ้มครองประโยชน์สาธารณะ และประชาชนโดยส่วนรวม เห็นว่ามีปัญหาในการบังคับใช้กฎหมาย อาจจะเรียกให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารเข้าไปช่วยในการกำกับดูแลและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายก็ได้ (คำสั่งข้อ 1) และให้ทหารที่ได้รับมอบหมายให้เข้ามาช่วยนั้นเข้าปฏิบัติเป็นเจ้าพนักงานใดๆ เพื่อการบังคับใช้กฎหมายนั้นเลยก็ได้ (คำสั่งข้อ 2) โดยให้ข้าราชการพลเรือนและตำรวจเป็นฝ่ายผู้ช่วย หากไม่ช่วยดำเนินการจนเกิดความเสียหาย ถือว่ามีความผิดวินัยร้ายแรง (คำสั่งข้อ 3)
เรียกว่าคำสั่งนี้เป็นยาแรงมากทีเดียว และเป็นการใช้ยา “ขวดเขียว” ติดสลากเบอร์ 44 เพื่อเข้าไปแก้ปัญหาทุกโรคที่ยังแก้ไขไม่ได้ หรือรักษาไม่หายอย่างเรื้อรัง
เพราะปัญหาหลายอย่างที่ คสช.จะเข้ามาแก้ไขนั้น บางครั้งเป็นปัญหาใหญ่หมักหมมมานาน และเกิดจากอิทธิพลที่ซับซ้อน
ส่วนการแก้ปัญหานั้นแม้จะมีคำสั่งจากทาง คสช.แต่ผู้รับไปปฏิบัติก็ต้องเป็นฝ่ายข้าราชการประจำที่เป็น “เจ้าภาพหลัก” โดยมีทหารเป็นฝ่ายสนับสนุน
ซึ่งก็อาจหวังอะไรไม่ได้มาก เพราะทางฝ่ายข้าราชการนั้น บางคนก็ยังมีมุมมอง หรือยังคิดว่าทหาร หรือ คสช.นั้น “มาไม่นานก็ไป” อย่างดีก็ไม่เกินปีสองปีจากนี้
แต่ “อิทธิพล” ของนักการเมือง ซึ่งรวมถึงนักการเมืองท้องถิ่นต่างหาก ที่อยู่ยั้งยืนยง เช่นที่ปรากฏเป็นข่าวใหม่ๆ ก่อนการใช้บังคับคำสั่งหัวหน้า คสช.นี้ ก็ปรากฏว่า “ทีมพยัคฆ์ไพร” ของเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ที่ร่วมสนธิกำลังกับตำรวจและทหาร สามารถเข้าไปยึดพื้นที่แปลงยางพาราขนาดใหญ่พื้นที่ร่วม 6,000 ไร่บนพื้นที่ต้นน้ำที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งพบว่าส่วนหนึ่งเป็นของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งหนึ่งทางภาคอีสาน
น่าสนใจว่ามีการตรวจพบการบุกรุกครั้งแรกตั้งแต่ปี 2552 ที่ผ่านมา อีก 6 ปี จึงพบว่ายังมีการบุกรุกอยู่ และลุกลามไปจนเป็นพื้นที่กว้างเป็นพันเป็นหมื่นไร่ในป่าต้นน้ำ
แสดงให้เห็นว่า อิทธิพลของนักการเมืองท้องถิ่นรายนั้นสามารถปกคลุมปิดตาการบุกรุกป่าเป็นหมื่นไร่ได้จริงๆ
หรือที่มีการดำเนินคดีกับรีสอร์ต “โบนันซ่า” เขาใหญ่ ซึ่งพบว่ามีการบุกรุกเขตป่าเข้าไปทำสนามแข่งรถกันอย่างใหญ่โต
และน่าคิดว่า โบนันซ่านี้เป็นของนักธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกันบ้างกับฝ่ายเสื้อแดง เพราะครั้งหนึ่งเคยมีการจัดชุมนุมใหญ่และเล่นคอนเสิร์ตของแนวร่วมเสื้อแดง นปช. และอีกหลายกลุ่มในพื้นที่รีสอร์ตดังกล่าว
สนามแข่งรถที่ว่านี้ก็คงจะไม่ได้เพิ่งสร้างเป็นแน่ แต่ทำไมเพิ่งจะมาพบเอาในตอนนี้ นั่นก็เป็นเรื่องที่ฝ่ายข้าราชการประจำอาจจะต้องเตรียมหาคำตอบดีๆ
คำสั่งของหัวหน้า คสช.ฉบับนี้ ก็เหมือนเป็นการสั่งให้ข้าราชการประจำนั้น “หลีก” ทางให้ทหารเข้าไปแก้ปัญหาได้เต็มตัวมากขึ้น
โดยที่เรื่องจะใช้มาตรการยาแรงนี้ได้ จะจำกัดอยู่ที่เรื่องการบุกรุกที่สาธารณะป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ การใช้ประโยชน์ในพื้นที่สาธารณะกีดขวางทางจราจร ทําให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนในการใช้ชีวิตประจำวัน และเรื่องอื่นๆ ที่จะเป็นประโยชน์แก่สาธารณชน
ซึ่งปัญหาต่างๆ ที่ คสช.เคยประกาศว่าจะเข้ามาแก้ไขนั้น ก็อยู่ในเกณฑ์ที่จะใช้บังคับได้จริงทั้งสิ้น ทั้งเรื่องวินรถตู้กีดขวางการจราจร เรื่องแผงลอยรุกล้ำทางเดินเท้าจนคนต้องไปเดินบนถนนให้เสี่ยงถูกรถชน รวมทั้งเรื่องการบุกรุกป่าที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว ส่วนเรื่อง “หวยเกินราคา” นั้นก็ก้ำกึ่งว่าอาจจะเข้าเงื่อนไขหรือไม่ก็ได้
ต่อไปเราอาจจะเห็นเจ้าหน้าที่ทหารเข้าไปไล่รื้อแผงลอยที่เรื้อรังมาเป็นสิบปีในจุดต่างๆ หรืออย่างร้านอาหารริมเขื่อนลำตะคองที่โอ้โลมปฏิโลมขอให้รื้อขอให้ย้ายกันอยู่นานไม่สำเร็จ ก็มีทหารเข้าไปช่วยจัดการแบบวันเดียวจบ
แต่นั่นแหละ การปฏิบัติการต่างๆ ของทางฝ่ายทหาร ก็ควรต้องมีมาตรการให้ประชาชนทั่วไปที่ไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องมั่นใจว่า เป็นการกระทำไปโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายจริงๆ ไม่เกินกว่าเหตุ เป็นการใช้บังคับกฎหมายที่เคยย่อหย่อนมานานเท่านั้นเอง ไม่ใช่อำนาจพิเศษอะไร
ซึ่งถ้า “ยาแรง” นี้รักษาโรคหรือปัญหาเรื้อรังเหล่านั้นได้ ก็น่าจะเรียกศรัทธาจากประชาชนคืนมาได้ตามสมควร จากที่เริ่มมีเสียงบ่นเบาๆ ถึงความผิดหวังให้ได้ยินออกมาบ้างแล้ว
แต่ถ้าใช้ “ยาแรงเบอร์ 44” นี้แล้วก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้อีก ฝ่าย คสช.และรัฐบาลอาจต้องเรียกยาแก้ปวดหัวมากินกันขนานใหญ่แน่.
หนึ่งสัปดาห์พอดีไม่ขาดไม่เกิน ก็มีคำสั่งหัวหน้า คสช.ตามมาตรา 44 นี้ขึ้นมาอีกฉบับ ซึ่งถือเป็น “ยาแรง” เพื่อแก้ปัญหาหมักหมมหลายๆ เรื่องทำให้การปฏิรูปที่ผ่านมาของ คสช. เหมือนจะไม่บรรลุผล หรือเหมือนเงื้อง่าราคาแพง แทงก็แทงไม่เข้า
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องลอตเตอรี่เกินราคา การจัดระเบียบการจราจร เรื่องรถตู้ แผงลอยบนทางเท้าไปจนถึงเรื่องการบุกรุกทำลายป่า การทุจริตคอร์รัปชัน การลักลอบครอบครองอาวุธสงคราม
ทั้งหมดที่กล่าวไปนี้ คือสิ่งที่ คสช.เคย “ขึงขัง” ว่าจะทำ แต่ก็ทำได้แค่ช่วงแรกๆ พอตอนหลังก็กลับสู่สภาพเดิม ไม่มีใครกวดขัน
ดูจากประกาศเจตนารมณ์การออกคำสั่งฉบับล่าสุดนี้ จะเห็นว่าเป็นไปเพราะ “...ยังคงมีการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่คุ้มครองประโยชน์สาธารณะและประชาชนโดยส่วนรวมเป็นจำนวนมาก และการบังคับใช้กฎหมายยังเป็นไปอย่างไม่เคร่งครัดและไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ส่งผลให้เป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ และก่อให้เกิดปัญหาความไม่สงบเรียบร้อยในเรื่องต่างๆ เช่น การบุกรุกที่สาธารณะ ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ การใช้ประโยชน์ในพื้นที่สาธารณะกีดขวางทางจราจร ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนในการใช้ชีวิตประจำวัน...”
จึงต้อง “...กำหนดมาตรการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย...”
ส่วนเนื้อหาของประกาศดังกล่าวนั้น ก็ได้แก่ หากรัฐมนตรีที่กำกับดูแลกฎหมายที่คุ้มครองประโยชน์สาธารณะ และประชาชนโดยส่วนรวม เห็นว่ามีปัญหาในการบังคับใช้กฎหมาย อาจจะเรียกให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารเข้าไปช่วยในการกำกับดูแลและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายก็ได้ (คำสั่งข้อ 1) และให้ทหารที่ได้รับมอบหมายให้เข้ามาช่วยนั้นเข้าปฏิบัติเป็นเจ้าพนักงานใดๆ เพื่อการบังคับใช้กฎหมายนั้นเลยก็ได้ (คำสั่งข้อ 2) โดยให้ข้าราชการพลเรือนและตำรวจเป็นฝ่ายผู้ช่วย หากไม่ช่วยดำเนินการจนเกิดความเสียหาย ถือว่ามีความผิดวินัยร้ายแรง (คำสั่งข้อ 3)
เรียกว่าคำสั่งนี้เป็นยาแรงมากทีเดียว และเป็นการใช้ยา “ขวดเขียว” ติดสลากเบอร์ 44 เพื่อเข้าไปแก้ปัญหาทุกโรคที่ยังแก้ไขไม่ได้ หรือรักษาไม่หายอย่างเรื้อรัง
เพราะปัญหาหลายอย่างที่ คสช.จะเข้ามาแก้ไขนั้น บางครั้งเป็นปัญหาใหญ่หมักหมมมานาน และเกิดจากอิทธิพลที่ซับซ้อน
ส่วนการแก้ปัญหานั้นแม้จะมีคำสั่งจากทาง คสช.แต่ผู้รับไปปฏิบัติก็ต้องเป็นฝ่ายข้าราชการประจำที่เป็น “เจ้าภาพหลัก” โดยมีทหารเป็นฝ่ายสนับสนุน
ซึ่งก็อาจหวังอะไรไม่ได้มาก เพราะทางฝ่ายข้าราชการนั้น บางคนก็ยังมีมุมมอง หรือยังคิดว่าทหาร หรือ คสช.นั้น “มาไม่นานก็ไป” อย่างดีก็ไม่เกินปีสองปีจากนี้
แต่ “อิทธิพล” ของนักการเมือง ซึ่งรวมถึงนักการเมืองท้องถิ่นต่างหาก ที่อยู่ยั้งยืนยง เช่นที่ปรากฏเป็นข่าวใหม่ๆ ก่อนการใช้บังคับคำสั่งหัวหน้า คสช.นี้ ก็ปรากฏว่า “ทีมพยัคฆ์ไพร” ของเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ที่ร่วมสนธิกำลังกับตำรวจและทหาร สามารถเข้าไปยึดพื้นที่แปลงยางพาราขนาดใหญ่พื้นที่ร่วม 6,000 ไร่บนพื้นที่ต้นน้ำที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งพบว่าส่วนหนึ่งเป็นของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งหนึ่งทางภาคอีสาน
น่าสนใจว่ามีการตรวจพบการบุกรุกครั้งแรกตั้งแต่ปี 2552 ที่ผ่านมา อีก 6 ปี จึงพบว่ายังมีการบุกรุกอยู่ และลุกลามไปจนเป็นพื้นที่กว้างเป็นพันเป็นหมื่นไร่ในป่าต้นน้ำ
แสดงให้เห็นว่า อิทธิพลของนักการเมืองท้องถิ่นรายนั้นสามารถปกคลุมปิดตาการบุกรุกป่าเป็นหมื่นไร่ได้จริงๆ
หรือที่มีการดำเนินคดีกับรีสอร์ต “โบนันซ่า” เขาใหญ่ ซึ่งพบว่ามีการบุกรุกเขตป่าเข้าไปทำสนามแข่งรถกันอย่างใหญ่โต
และน่าคิดว่า โบนันซ่านี้เป็นของนักธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกันบ้างกับฝ่ายเสื้อแดง เพราะครั้งหนึ่งเคยมีการจัดชุมนุมใหญ่และเล่นคอนเสิร์ตของแนวร่วมเสื้อแดง นปช. และอีกหลายกลุ่มในพื้นที่รีสอร์ตดังกล่าว
สนามแข่งรถที่ว่านี้ก็คงจะไม่ได้เพิ่งสร้างเป็นแน่ แต่ทำไมเพิ่งจะมาพบเอาในตอนนี้ นั่นก็เป็นเรื่องที่ฝ่ายข้าราชการประจำอาจจะต้องเตรียมหาคำตอบดีๆ
คำสั่งของหัวหน้า คสช.ฉบับนี้ ก็เหมือนเป็นการสั่งให้ข้าราชการประจำนั้น “หลีก” ทางให้ทหารเข้าไปแก้ปัญหาได้เต็มตัวมากขึ้น
โดยที่เรื่องจะใช้มาตรการยาแรงนี้ได้ จะจำกัดอยู่ที่เรื่องการบุกรุกที่สาธารณะป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ การใช้ประโยชน์ในพื้นที่สาธารณะกีดขวางทางจราจร ทําให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนในการใช้ชีวิตประจำวัน และเรื่องอื่นๆ ที่จะเป็นประโยชน์แก่สาธารณชน
ซึ่งปัญหาต่างๆ ที่ คสช.เคยประกาศว่าจะเข้ามาแก้ไขนั้น ก็อยู่ในเกณฑ์ที่จะใช้บังคับได้จริงทั้งสิ้น ทั้งเรื่องวินรถตู้กีดขวางการจราจร เรื่องแผงลอยรุกล้ำทางเดินเท้าจนคนต้องไปเดินบนถนนให้เสี่ยงถูกรถชน รวมทั้งเรื่องการบุกรุกป่าที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว ส่วนเรื่อง “หวยเกินราคา” นั้นก็ก้ำกึ่งว่าอาจจะเข้าเงื่อนไขหรือไม่ก็ได้
ต่อไปเราอาจจะเห็นเจ้าหน้าที่ทหารเข้าไปไล่รื้อแผงลอยที่เรื้อรังมาเป็นสิบปีในจุดต่างๆ หรืออย่างร้านอาหารริมเขื่อนลำตะคองที่โอ้โลมปฏิโลมขอให้รื้อขอให้ย้ายกันอยู่นานไม่สำเร็จ ก็มีทหารเข้าไปช่วยจัดการแบบวันเดียวจบ
แต่นั่นแหละ การปฏิบัติการต่างๆ ของทางฝ่ายทหาร ก็ควรต้องมีมาตรการให้ประชาชนทั่วไปที่ไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องมั่นใจว่า เป็นการกระทำไปโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายจริงๆ ไม่เกินกว่าเหตุ เป็นการใช้บังคับกฎหมายที่เคยย่อหย่อนมานานเท่านั้นเอง ไม่ใช่อำนาจพิเศษอะไร
ซึ่งถ้า “ยาแรง” นี้รักษาโรคหรือปัญหาเรื้อรังเหล่านั้นได้ ก็น่าจะเรียกศรัทธาจากประชาชนคืนมาได้ตามสมควร จากที่เริ่มมีเสียงบ่นเบาๆ ถึงความผิดหวังให้ได้ยินออกมาบ้างแล้ว
แต่ถ้าใช้ “ยาแรงเบอร์ 44” นี้แล้วก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้อีก ฝ่าย คสช.และรัฐบาลอาจต้องเรียกยาแก้ปวดหัวมากินกันขนานใหญ่แน่.