ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กระแสความนิยมเรื่อง Ice bucket challenge เป็นอะไรที่บูมมากๆ เป็นเทรนด์ที่หลายๆ คนกำลังติดตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนดังแทบทุกวงการ หันมาทำหรือไม่ทำ รับคำท้าหรือไม่รับคำท้า
ก่อนไปเรื่องอื่นๆ ขอเอาที่มาของกิจกรรมนี้มาเล่ากันก่อนสักเล็กน้อย เป้าหมายของการรณรงค์นี้คือการหาเงินทุนให้กับการวิจัยและการค้นคว้าหาทางบำบัดรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือย่อๆ ว่า ALS
กิจกรรม Ice Bucket Challenge คือการนำน้ำเย็น ซึ่งอาจมีน้ำแข็งผสมอยู่ด้วยมารดหัวตนเอง เพื่อให้เข้าใจสภาวะร่างกายที่ชาอ่อนแรงเพราะความเย็นจัดของน้ำแข็ง เพื่อเข้าใจอาการของคนกล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้ประกอบกิจกรรมจะบริจาคเงินช่วยเหลือ แต่ก่อนที่จะทำเช่นนั้นจะต้องระบุชื่อคนที่ตนขอท้าทายให้ทำอย่างเดียวกันภายในเวลา 24 ชั่วโมงไว้ด้วย
ถ้าผู้ถูกท้า ไม่ทำตามคำท้าก็จะต้องบริจาคเงินให้กับองค์กรที่กำลังทำงานค้นคว้าวิจัยหาทางบำบัดรักษาโรคร้ายนี้
ผมว่า เวลามีกิจกรรมระดับสากลที่เป็นกระแสแบบนี้ มีคำถามที่น่าสนใจคือ ทำไมกิจกรรมนี้ได้รับการตอบรับ ได้รับการกระพือ กระจายวงกว้างขวางรวดเร็ว ยึดพื้นที่ในสื่อประเภทต่างๆจนกลายเป็นกระแสของโลกได้
กิจกรรมที่จะดึงคนมีส่วนร่วมได้กว้างขวาง มักเป็นกิจกรรมที่มีภาพของกิจกรรมเพื่อสังคม กิจกรรมการกุศล กิจกรรมเพื่อส่วนรวม กิจกรรมเพื่อมนุษยชาติ
ไอซ์บัคเก็ตครั้งนี้ มีภาพของกิจกรรมเพื่อบริจาคแก่องค์กรเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย เป็นจุดสำคัญที่ทำให้คนที่ได้รับคำท้าจะไม่ปฏิเสธ ไม่อยากปฏิเสธ ไม่กล้าปฏิเสธ เพราะมีนัยยะของการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ด้านการแพทย์
ที่สำคัญนี่คือพลังของเทคโนโลยีและโซเชียลมีเดีย ที่มีอิทธิพลไปทั้งโลก คนทุกชาติทุกภาษาไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก สามารถติดต่อถึงกันได้ในวินาทีเดียว
ข้อมูลข่าวสารทางโซเชียลมีเดีย และทางสื่ออย่างทีวีวิทยุ สร้างกระแสให้เกิดขึ้นในโลกได้อย่างน่าทึ่ง ข่าวการตอบรับร่วมกิจกรรมของคนดัง ดารา เศรษฐี นักการเมือง และคนดังวงการต่างๆ เกิดขึ้นในหลายปะเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย คนดังจำนวนมากเป็นข่าว มี พื้นที่ในสื่อประเภทต่างๆ
การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และโซเชียลมีเดียในโลกทุกวันนี้ มีทั้งสองด้าน ทั้งด้านบวกและลบ สามารถสร้างกระแสทำเรื่องดีๆเพื่อผู้อื่นเพื่อเพื่อนมนุษย์ต่อสังคมและโลกได้ หรือจะเป็นเครื่องมือทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว เพื่อความดัง เพื่อมีพื้นที่ในสื่อ หรือเพื่อทำลายทำเรื่องเลวร้ายต่อสังคม ต่อเพื่อนมนุษย์ ต่อโลกก็ได้
ในทางจิตวิทยา การได้รับคำท้าหรือถูกเลือก จากคนที่อาจจะเป็นคนมีชื่อเสียง คนเป็นดารา หรือเพื่อนฝูง แสดงถึงการให้เกียรติ การระลึกถึง หรือเป็นคนที่รักใคร่ชอบพอ ว่าเมื่อต้องเลือกท้าคนอื่นอีกสามคน จะคิดถึงใครก่อนและเลือกใคร
ในต่างประเทศคนดังมากมาย ตั้งแต่เมสซี่ โฮเซ่ มูริญโญ่ บิล เกตต์ มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก และอีกเพียบต่างเข้าร่วมกินจกรรมนี้ โดยเฉพาะเหล่าคนดังที่เซ็นเช็คบริจาคด้วย แล้วยังราดน้ำใส่ตัวด้วย หลายคนทำผมซึ้งน้ำใจของพวกเขา
สำหรับในประเทศไทยคนดังตั้งแต่อากู๋แห่งแกรมมี่ ผู้ประกาศสาวอย่างคุณปานระพี ทางช่องสาม อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และดาราและคนดังอีกมากมายที่มาร่วมในกิจกรรมนี้ พร้อมๆกับการเป็นข่าว
แต่ก็มีบางส่วนเหมือนกันที่ไม่เล่นด้วย เลือกที่จะบริจาคอย่างเดียวเมื่อได้รับคำท้า เช่น โน้ส อุดม นิชคุณ หรือที่ต่างประเทศที่ทำคลิปมาได้เท่มาอย่างแพทริค สจ็วต ดารารุ่นใหญ่ ที่เซ็นเช็คสดๆในคลิป แล้วเอาถังที่เต็มไปด้วยน้ำแข็งออกมาพร้อมกับแก้วน้ำในมือ ก่อนจะเอาน้ำแข็งใส่แก้ว แล้วรินสุราลงไปก็ซัดไปหนึ่งแก้ว เอาเถอะครับของแบบนี้อยู่ที่ความสมัครใจ และลีลาของแต่ละคน
จริงๆกิจกรรมแบบนี้มองในเชิงสร้างสรรค์เป็นอะไรที่ดีเหมือนกันนะครับ ยิ่งมันดังเป็นเทรนด์ไปทั่วโลกแบบนี้มองในเชิงการตลาดถือว่าประสบความสำเร็จมาก และทำให้ยอดบริจาคเพื่อช่วยผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงสูงขึ้นเรื่อยๆในหลายประเทศรวมถึงในประเทศไทยด้วย
แต่ในขณะเดียวกันกิจกรรมนี้ก็ควรเล่นอย่างมีสติ เช่น คนสุขภาพไม่ดี คนป่วยเป็นหวัดอยู่ก็ไม่ควรเล่น หรือเด็กไปก็ควรเล่นอย่างระมัดระวัง เพราะมีคนบาดเจ็บจากกิจกรรมนี้ได้เหมือนกัน บางคนมีความเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์แต่ใช้ทรัพยากรน้ำมากไปไหม
ที่อินเดีย มีคนนำกิจกรรมนี้ไปต่อยอด แทนที่จะใช้น้ำแข็งราด เป็น Ice Bucket เขาเปลี่ยนเป็น Rice Bucketแทน เขาเอาข้าวมาบริจาคให้คนทุกข์คนยากจน โดยไม่ใช่น้ำแข็งเป็นอุปกรณ์ประกอบกิจกรรม
การจัดแคมเปญอะไรสักอย่าง แล้วทำให้คนทั้งโลกสนใจและทำตามมากขนาดนี้ได้เป็นอะไรที่ช่างคิดสร้างสรรค์น่าสนใจ ยิ่งเป็นกิจกรรมต่อส่วนรวมยิ่งเป็นอะไรที่ผมสนับสนุนมากครับ และอยากเห็นกิจกรรมเพื่อเพื่อนมนุษย์ขยายตัวไปอีกในหลายๆเรื่อง และทำกันต่อไปเรื่อยๆ
แต่สิ่งที่ผมกลัวและน่าห่วงก็คือว่ากิจกรรมนี้จะอยู่ได้ไม่นานนัก เป็นกระแส ชนิดที่ว่ามาไวไปไว ดูอย่างก่อนหน้านี้ การแพลงกิ้ง หรือการนั่งแบบพับเพียบไทยแลนด์ ที่ทั้งสองอย่างนี้มาเป็นแค่เทรนด์ไม่นานก็หายไปกับกาลเวลา
ตอนนี้คนดังหลายคนทั่วโลกและในไทยเองต่างก็ทำกิจกรรมนี้กันอย่างแพร่หลาย จนบางครั้งดูเหมือนเป็นการทำไปเพื่อความสนุกสนานเท่านั้น ผมไม่อยากใช้คำว่าคึกคะนอง เพราะบางท่านก็อายุมากกันแล้ว แต่ในขณะเดียวกัน บางคนกลับไม่ตอบรับไม่ทำเลยให้เหตุผลต่างๆกัน รวมถึงบางคนที่บริจาคเงินอย่างเดียวเลย คนเราไม่เหมือนกัน ก็แตกต่างหลากหลายกันไปแบบนี้ละครับ เป็นธรรมดาโลก
เอาเถอะครับไม่ว่าจะคิด จะทำอะไรยังไง ก็เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล แต่เมื่อมันทำเพื่อการกุศลผมมองว่าก็ยังดีกว่าทำอะไรที่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ใครจะรับคำท้า แล้วทำคลิปเผยแพร่ หรือใครจะบริจาคโดยไม่ถูกท้าก็ได้นะครับ
ก่อนไปเรื่องอื่นๆ ขอเอาที่มาของกิจกรรมนี้มาเล่ากันก่อนสักเล็กน้อย เป้าหมายของการรณรงค์นี้คือการหาเงินทุนให้กับการวิจัยและการค้นคว้าหาทางบำบัดรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือย่อๆ ว่า ALS
กิจกรรม Ice Bucket Challenge คือการนำน้ำเย็น ซึ่งอาจมีน้ำแข็งผสมอยู่ด้วยมารดหัวตนเอง เพื่อให้เข้าใจสภาวะร่างกายที่ชาอ่อนแรงเพราะความเย็นจัดของน้ำแข็ง เพื่อเข้าใจอาการของคนกล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้ประกอบกิจกรรมจะบริจาคเงินช่วยเหลือ แต่ก่อนที่จะทำเช่นนั้นจะต้องระบุชื่อคนที่ตนขอท้าทายให้ทำอย่างเดียวกันภายในเวลา 24 ชั่วโมงไว้ด้วย
ถ้าผู้ถูกท้า ไม่ทำตามคำท้าก็จะต้องบริจาคเงินให้กับองค์กรที่กำลังทำงานค้นคว้าวิจัยหาทางบำบัดรักษาโรคร้ายนี้
ผมว่า เวลามีกิจกรรมระดับสากลที่เป็นกระแสแบบนี้ มีคำถามที่น่าสนใจคือ ทำไมกิจกรรมนี้ได้รับการตอบรับ ได้รับการกระพือ กระจายวงกว้างขวางรวดเร็ว ยึดพื้นที่ในสื่อประเภทต่างๆจนกลายเป็นกระแสของโลกได้
กิจกรรมที่จะดึงคนมีส่วนร่วมได้กว้างขวาง มักเป็นกิจกรรมที่มีภาพของกิจกรรมเพื่อสังคม กิจกรรมการกุศล กิจกรรมเพื่อส่วนรวม กิจกรรมเพื่อมนุษยชาติ
ไอซ์บัคเก็ตครั้งนี้ มีภาพของกิจกรรมเพื่อบริจาคแก่องค์กรเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย เป็นจุดสำคัญที่ทำให้คนที่ได้รับคำท้าจะไม่ปฏิเสธ ไม่อยากปฏิเสธ ไม่กล้าปฏิเสธ เพราะมีนัยยะของการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ด้านการแพทย์
ที่สำคัญนี่คือพลังของเทคโนโลยีและโซเชียลมีเดีย ที่มีอิทธิพลไปทั้งโลก คนทุกชาติทุกภาษาไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก สามารถติดต่อถึงกันได้ในวินาทีเดียว
ข้อมูลข่าวสารทางโซเชียลมีเดีย และทางสื่ออย่างทีวีวิทยุ สร้างกระแสให้เกิดขึ้นในโลกได้อย่างน่าทึ่ง ข่าวการตอบรับร่วมกิจกรรมของคนดัง ดารา เศรษฐี นักการเมือง และคนดังวงการต่างๆ เกิดขึ้นในหลายปะเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย คนดังจำนวนมากเป็นข่าว มี พื้นที่ในสื่อประเภทต่างๆ
การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และโซเชียลมีเดียในโลกทุกวันนี้ มีทั้งสองด้าน ทั้งด้านบวกและลบ สามารถสร้างกระแสทำเรื่องดีๆเพื่อผู้อื่นเพื่อเพื่อนมนุษย์ต่อสังคมและโลกได้ หรือจะเป็นเครื่องมือทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว เพื่อความดัง เพื่อมีพื้นที่ในสื่อ หรือเพื่อทำลายทำเรื่องเลวร้ายต่อสังคม ต่อเพื่อนมนุษย์ ต่อโลกก็ได้
ในทางจิตวิทยา การได้รับคำท้าหรือถูกเลือก จากคนที่อาจจะเป็นคนมีชื่อเสียง คนเป็นดารา หรือเพื่อนฝูง แสดงถึงการให้เกียรติ การระลึกถึง หรือเป็นคนที่รักใคร่ชอบพอ ว่าเมื่อต้องเลือกท้าคนอื่นอีกสามคน จะคิดถึงใครก่อนและเลือกใคร
ในต่างประเทศคนดังมากมาย ตั้งแต่เมสซี่ โฮเซ่ มูริญโญ่ บิล เกตต์ มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก และอีกเพียบต่างเข้าร่วมกินจกรรมนี้ โดยเฉพาะเหล่าคนดังที่เซ็นเช็คบริจาคด้วย แล้วยังราดน้ำใส่ตัวด้วย หลายคนทำผมซึ้งน้ำใจของพวกเขา
สำหรับในประเทศไทยคนดังตั้งแต่อากู๋แห่งแกรมมี่ ผู้ประกาศสาวอย่างคุณปานระพี ทางช่องสาม อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และดาราและคนดังอีกมากมายที่มาร่วมในกิจกรรมนี้ พร้อมๆกับการเป็นข่าว
แต่ก็มีบางส่วนเหมือนกันที่ไม่เล่นด้วย เลือกที่จะบริจาคอย่างเดียวเมื่อได้รับคำท้า เช่น โน้ส อุดม นิชคุณ หรือที่ต่างประเทศที่ทำคลิปมาได้เท่มาอย่างแพทริค สจ็วต ดารารุ่นใหญ่ ที่เซ็นเช็คสดๆในคลิป แล้วเอาถังที่เต็มไปด้วยน้ำแข็งออกมาพร้อมกับแก้วน้ำในมือ ก่อนจะเอาน้ำแข็งใส่แก้ว แล้วรินสุราลงไปก็ซัดไปหนึ่งแก้ว เอาเถอะครับของแบบนี้อยู่ที่ความสมัครใจ และลีลาของแต่ละคน
จริงๆกิจกรรมแบบนี้มองในเชิงสร้างสรรค์เป็นอะไรที่ดีเหมือนกันนะครับ ยิ่งมันดังเป็นเทรนด์ไปทั่วโลกแบบนี้มองในเชิงการตลาดถือว่าประสบความสำเร็จมาก และทำให้ยอดบริจาคเพื่อช่วยผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงสูงขึ้นเรื่อยๆในหลายประเทศรวมถึงในประเทศไทยด้วย
แต่ในขณะเดียวกันกิจกรรมนี้ก็ควรเล่นอย่างมีสติ เช่น คนสุขภาพไม่ดี คนป่วยเป็นหวัดอยู่ก็ไม่ควรเล่น หรือเด็กไปก็ควรเล่นอย่างระมัดระวัง เพราะมีคนบาดเจ็บจากกิจกรรมนี้ได้เหมือนกัน บางคนมีความเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์แต่ใช้ทรัพยากรน้ำมากไปไหม
ที่อินเดีย มีคนนำกิจกรรมนี้ไปต่อยอด แทนที่จะใช้น้ำแข็งราด เป็น Ice Bucket เขาเปลี่ยนเป็น Rice Bucketแทน เขาเอาข้าวมาบริจาคให้คนทุกข์คนยากจน โดยไม่ใช่น้ำแข็งเป็นอุปกรณ์ประกอบกิจกรรม
การจัดแคมเปญอะไรสักอย่าง แล้วทำให้คนทั้งโลกสนใจและทำตามมากขนาดนี้ได้เป็นอะไรที่ช่างคิดสร้างสรรค์น่าสนใจ ยิ่งเป็นกิจกรรมต่อส่วนรวมยิ่งเป็นอะไรที่ผมสนับสนุนมากครับ และอยากเห็นกิจกรรมเพื่อเพื่อนมนุษย์ขยายตัวไปอีกในหลายๆเรื่อง และทำกันต่อไปเรื่อยๆ
แต่สิ่งที่ผมกลัวและน่าห่วงก็คือว่ากิจกรรมนี้จะอยู่ได้ไม่นานนัก เป็นกระแส ชนิดที่ว่ามาไวไปไว ดูอย่างก่อนหน้านี้ การแพลงกิ้ง หรือการนั่งแบบพับเพียบไทยแลนด์ ที่ทั้งสองอย่างนี้มาเป็นแค่เทรนด์ไม่นานก็หายไปกับกาลเวลา
ตอนนี้คนดังหลายคนทั่วโลกและในไทยเองต่างก็ทำกิจกรรมนี้กันอย่างแพร่หลาย จนบางครั้งดูเหมือนเป็นการทำไปเพื่อความสนุกสนานเท่านั้น ผมไม่อยากใช้คำว่าคึกคะนอง เพราะบางท่านก็อายุมากกันแล้ว แต่ในขณะเดียวกัน บางคนกลับไม่ตอบรับไม่ทำเลยให้เหตุผลต่างๆกัน รวมถึงบางคนที่บริจาคเงินอย่างเดียวเลย คนเราไม่เหมือนกัน ก็แตกต่างหลากหลายกันไปแบบนี้ละครับ เป็นธรรมดาโลก
เอาเถอะครับไม่ว่าจะคิด จะทำอะไรยังไง ก็เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล แต่เมื่อมันทำเพื่อการกุศลผมมองว่าก็ยังดีกว่าทำอะไรที่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ใครจะรับคำท้า แล้วทำคลิปเผยแพร่ หรือใครจะบริจาคโดยไม่ถูกท้าก็ได้นะครับ