เดือนที่แล้ว ผมเพิ่งไปผจญภัยคนเดียวใน “รัฐไทรบุรี” มาครับ
ถ้าพูดไทรบุรี หลายคนอาจจะงง บ้างก็คุ้นๆ เหมือนเคยผ่านตาสมัยเรียนวิชาสังคมในชั้นมัธยมศึกษา นั่นคือ ๑ ใน ๔ อดีตจังหวัดทางตอนใต้สุดของสยามที่ถูกยกให้กับมหาอำนาจอังกฤษ ตาม “สนธิสัญญากรุงเทพ” ในสมัยรัชกาลที่ ๕ รวมปะลิส ,กลันตัน และตรังกานู ปัจจุบันก็คือภาคเหนือและภาคตะวันออกของสหพันธรัฐมาเลเซีย นั่นเอง และไทรบุรี นี้ก็คือรัฐเคดะห์ (Kedah) ตามที่คนพื้นเมืองเรียกมาช้านาน
อ๊ะอ๊ะ เรื่องนี้เก็บเอาไว้ก่อน เดี๋ยวเราค่อยมาคุยกันในโอกาสหน้าครับ
มีเพื่อนๆ และน้องๆ ผมหลายคนเข้ามาถามทางกล่องข้อความในเว็บไซต์เฟซบุ๊กส่วนตัวของผมว่า ระหว่างไปเที่ยวต่างประเทศกับบริษัททัวร์ หรือไปเป็นแบ็กแพคเกอร์ตะลอนเองแบบไหนดีกว่ากัน ซึ่งเอาจริงๆ แล้วผมมองว่า มันก็ดีทั้ง ๒ แบบนะ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่ที่สถานที่ที่เราจะไป และลักษณะนิสัยส่วนตัวของแต่ละคนด้วย ตามประสบการณ์ส่วนตัว (อันน้อยนิด) ที่ได้ไปทั้งเที่ยวคนเดียว กับมิตรสหาย และไปทำงานโดยมีทัวร์พาไป ก็พอจะได้ความเข้าใจในหลายๆ อย่าง
มาพูดถึง “ไปกับทัวร์” ก่อนครับ บ้านเรานี่มีบริษัทจัดทัวร์ท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศค่อนข้างเยอะ ซึ่งข้อแรกคือ หากจะเลือกทัวร์ต้องดูที่ใบอนุญาติก่อนว่ามีหรือไม่ ชื่อเสียงของบริษัทก็เป็นเรื่องสำคัญ ลองเสิร์ชดูประวัติ (ทั้งดีและไม่ดี) คร่าวๆ ในเว็บอย่าง กูเกิ้ล และอื่นๆ หรือ พันทิพดอทคอม ห้องบลูแพลนเน็ต นี่ก็จะพอมีข้อมูลผู้ที่ใช้บริการเว็บไซต์มารีวิวให้ได้อ่าน
แต่นั่นก็ยังไม่ใช่ประเด็นหลักครับ ปัญหาอยู่ที่สถานที่ที่คุณจะไปต่างหาก
อย่างงานไทยเที่ยวไทย ที่ศูนย์สิริกิติ์ นี่ก็มีบูทบริษัททัวร์หลายแห่งมาให้บริการเลือกกันสุดแท้แต่งบประมาณที่คุณมี ผมก็ไปเดินส่องๆ มามีมากมายหลายประเทศ ตั้งแต่ละแวกเพื่อนบ้านอาเซียน เอเซีย ยุโรป แอฟริกา อเมริกา ออสเตรเลีย (ยังไม่มีขั้วโลกนะ) จะกี่วัน กี่คืน พักหรูแค่ไหน อาหารจัดเต็มอย่างไร ก็เลือกดูเอาได้
ประเทศยอดฮิตอย่าง ญี่ปุ่น ช่วงนี้มีชาวไทยไปเที่ยวกันเยอะมากเนื่องจากปลอดวีซ่า อยู่ได้ตั้ง ๑๕ วัน บริษัททัวร์ต่างๆ ก็จะออกมาแข่งขันสร้างทริปให้เลือกกันมากมาย ซึ่งการไปกับทัวร์นี้ก็มีดีหลายอย่าง เช่น ทัวร์จะพาไปในแหล่งท่องเที่ยวหลักของเมือง มีไกด์แนะนำสถานที่ตลอดทาง บอกเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยให้ฟัง กินหรู อยู่สบาย คือ ไปเที่ยวจริงๆ ไม่ต้องคิดมาก ไม่ต้องกังวลอะไร อาจจะมีข้อด้อยตรงที่เวลาในการให้พักชมสถานที่มีน้อยไปหน่อย ไม่จุใจสำหรับคนที่อยากชมความงามตรงที่ที่เราชอบนานๆ
และด้วยความที่เป็นโปรแกรมซึ่งระบุไว้แล้ว เราอาจจะต้องจำยอมไปในสถานที่ที่ไม่ได้อยากไปกะเขาเลย วิธีที่ดีที่สุดในการเริ่มเลือกทัวร์ คือ ทำการบ้านเล็กๆ ดูในสิ่งที่เราอยากไป แล้วเลือกโปรแกรมทัวร์ที่ถูกใจที่สุด ส่วนถ้ามันต้องไปไอ้นั่นจริงๆ อย่างเช่นตอนผมไปเกาหลีใต้ ทัวร์พาไปดูจัมพ์โชว์ (การแสดงผสมศิลปะป้องกันตัว) ถ้าไม่อยากดูก็ไปเดินเที่ยวรอบๆ แล้วเจอกันที่โรงแรม หรือกลับมายังจุดนัดพบในเวลาที่กำหนดได้ หรือ ไปซื้อสินค้าซูเปอร์มาเก็ตก่อนขึ้นเครื่องบิน (คล้ายๆ เวลาเราขึ้นรถทัวร์แล้วเขาพาไปซื้อของฝากตามร้านที่ดีลกะบริษัททัวร์เอาไว้) ซึ่งจริงๆ ราคาแทบไม่ต่างกะเดินเข้าเซเว่นในเมืองเท่าไหร่ และถ้าไม่อยากซื้อก็รออยู่บนรถได้
แต่อย่างบางสถานที่ซึ่งอยู่ไกลเมือง ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวอื่นอยู่ใกล้และหาทางกลับยาก ก็ต้องจำยอมกันไปล่ะครับ ไม่แน่ว่า คุณอาจจะชอบมันก็ได้ (เช่น ตอนไปพิพิธภัณฑ์เทดดี้ แบร์ ของผม ไว้จะเล่าให้อ่านกัน)
แล้ว “ไปเที่ยวเอง” ล่ะ มันดียังไง ....
ก่อนจะไปถึงข้อดี ผมขอพูดถึงสิ่งที่คุณจะต้องทำก่อนดีกว่า อย่างแรกสุดคือคุณต้องมี “ความอยากที่จะไป” เลือกสถานที่ หาสมาชิกให้พร้อม ลองดูแหล่งท่องเที่ยวในละแวกเบื้องต้น แล้วจองตั๋วเครื่องบิน (กรณีที่อยากได้แบบราคาถูก ต้องจองหลายๆ เดือน แฟนเพจ arpae ช่วยคุณได้ค่อนข้างมาก) กลับมาวางแผนสถานที่ท่องเที่ยวอีกครั้ง รวมทั้งที่พัก (เดี๋ยวนี้มีจองตั๋วบวกโรงแรมราคาถูกมากๆ ด้วย แต่อาจไม่สะดวกสำหรับคนที่ร่อนเร่ไปหลายเมือง) เขียนแผนการเดินทางอย่างละเอียด ค่ารถ ที่พัก ค่าเข้าชมสถานที่ รวมถึงแหล่งของอร่อย ทำวีซ่า (ในบางประเทศ)
หรืออย่างหลายๆ ปีที่ผ่านมามีโปรโมชั่นสายการบินเข้ามาถล่มค่อนข้างมาก โดยเฉพาะปีนี้ยิ่งน่าจับตาในหลายๆ ยี่ห้อนัก ก็อาจจะต้องเปลี่ยนเป็นเลือกประเทศ และตารางการบิน ก่อนจัดแผนอื่นๆ ที่เหลืออยู่ ซึ่งผมก็มักใช้วิธีนี้มากกว่า (เน้นตั๋วถูกไว้ก่อน)
ที่เล่ามาก็แลดูค่อนข้างวุ่นวายมากๆ ครับ แต่สิ่งที่คุ้มคือคุณจะได้เรียนรู้ในเมืองที่คุณไปอย่างละเอียดเลยล่ะ ได้ไปในที่ๆ อยากไปจริงๆ แม้ไม่ได้ครบเท่ากับไปทัวร์ แต่ก็สามารถอยู่ได้นานตามใจฉัน ได้ฝึกภาษาและสัมผัสชีวิตของคนที่นั่น บางคนโหดหน่อยเจอพวกหลอกก็ถือเป็นประสบการณ์ชีวิตไป บ้างก็ไปไม่ทันรถ ต้องเข้าแถวรออะไรนานๆ มาก แต่สำหรับผมแล้วก็ถือว่าได้ใช้ชีวิตเสมือนพลเมืองเขาดี
ยิ่งถ้าได้ไปคนเดียว ยิ่งฝึกให้รู้จักตัวเอง และยังทดสอบไหวพริบการแก้ไขสถานการณ์ได้มากขึ้นด้วย ..... แม้จะเหงาบ้างก็เถอะ
แต่ก็ใช่ว่าบางที่จะแบ็กแพกแมนไปได้เสียทั้งหมด บางครั้งเราอาจจะต้องพึ่งทัวร์ในการให้บริการพาไปในป่า อุทยาน ภูเขา หรือเมืองที่ห่างไกลความเจริญมากๆ เช่นกัน หรือแม้กระทั่งการลดค่าใช้จ่าย และการเสียเวลาในการเดินทาง ทัวร์ (เฉพาะจุด) ก็สามารถทำได้
อย่างท่องเที่ยวไทย ผมจำได้ว่าเมื่อหลายปีมาแล้วไปเที่ยวเชียงใหม่กับเพื่อนๆ แล้วพอวันหลังๆ ผมขออยู่เที่ยวต่อคนเดียว แต่ด้วยความที่ตอนนั้น ไม่เคยศึกษาไปก่อนว่าเชียงใหม่มีอะไรน่าเที่ยว และสถานที่ส่วนใหญ่เช่น พระธาตุดอยสุเทพ เพื่อนๆ ก็พาไปกันหมดแล้ว ก็เลยได้อาศัยทัวร์ฝรั่ง นั่งรถตู้พาเที่ยว ขี่ช้าง ดูหมู่บ้านกะเหรี่ยง ชมน้ำตก อะไรประมาณนี้ ก็ตื่นตาตื่นใจดี ซึ่งหากจะไปตามโปรแกรมโดยไม่ได้ใช้บริการทัวร์นี้ อาจต้องใช้งบมากขึ้น และเสียเวลาพอสมควร
“แล้วถ้าจะเริ่มต้นเดินทางด้วยตัวเองล่ะ ที่ไหนดี”
ตัวผมเองเริ่มจากเมืองที่มีการคมนาคมสะดวก ไว้ก่อนครับ มีรถเมล์,รถไฟ,เรือ ถึงสถานที่ท่องเที่ยวง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก อย่าง ฮ่องกง ก็เป็น ๑ ในเมืองที่เที่ยวง่าย หรือ สิงคโปร์ โตเกียว โซล กัวลาลัมเปอร์ ก็เช่นกัน (แต่ที่พูดมา ยังไม่เคยไปเองนะ) พอได้เที่ยวครั้งแรกแล้วมันก็จะเริ่มเพิ่มเลเวลการเดินทางของเราเอง แต่ตรงนี้ก็แล้วแต่ความชอบของคนๆ นั้นด้วยว่า ชอบเที่ยวแบบไหน โลกนี้มีแหล่งท่องเที่ยวเยอะเหลือเกิน ในเมืองไทยนี่ผมเองก็ยังไปไม่ครบทุกจังหวัด กะว่าถ้ามีโอกาสก็จะลองท่องยุทธจักรในสยามดูบ้าง
พูดเรื่องท่องเที่ยวแล้วก็นึกถึงปัญหาที่กำลังฮิตอย่าง นักท่องเที่ยวจีน ที่มาป่วนในเมืองเชียงใหม่ ทั้งทิ้งไม่เป็นที่ อึแล้วไม่กด ทำเสียงดัง ลักลอบเข้าไปใช้บริการมหาวิทยาลัยเป็นที่ค้างแรม และอื่นๆ อีกมากมายจนตั้งเป็นแฟนเพจต่อว่ากันในเฟซบุ๊ก ก็ต้องย้อนมาดูคนในชาติเรากันบ้างว่า “เวลาไปเที่ยวแล้วมีพฤติกรรมแบบนี้หรือไม่” สิ่งหนึ่งที่กำลังมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักคือ พบว่า มีมนุษย์ป้า ไปสร้างปัญหาในต่างแดนไม่ต่างกับชาวจีนไม่เข้าเมืองตาหลิ่วเหมือนที่เราว่าเขา
ว่าแต่ “มนุษย์ป้า” คือใครวะ?
หลายคนอาจจะนิยามมนุษย์ป้าแตกต่างกันออกไป แต่สิ่งที่พอจะรวบรวมมาเพื่อบ่งบอกตัวตนของคนเหล่านี้คือ กลุ่มคนที่เอาแต่ใจตนเป็นหลัก ไม่นึกถึงส่วนรวม บางครั้งมักละเมิดกฏ หรือเอาเปรียบผู้อื่น แล้วแสร้งทำเป็นว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น หรือโวยวายเมื่อตนเสียประโยชน์ทั้งๆ ที่ตัวเองละเมิดสิทธิ์ผู้อื่นก่อน ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ชอบเนียนแซงคิว หยิบจับสิ่งของทั้งๆ ที่มีป้ายห้าม ทิ้งขยะไม่เป็นที่ ฯลฯ
ที่ต้องเป็นมนุษย์ป้า ไม่ได้เหยียดเพศหรือวัยแต่อย่างไร แต่ส่วนใหญ่ที่เจอมักจะเป็นหญิงสูงวัยกระทำการ ผู้ชายแก่ๆ นี่ก็มีครับ ผมเคยเจอบนรถเมล์ ตอนนั้นผมลุกให้หญิงชรามานั่งแทน แล้วตานี่อายุน่าจะยังไม่ถึงวัยเกษียณรีบเนียนแทรกนั่งทันที ผมได้แต่ยืนเอ๋อ แล้วมองหน้าพลางส่ายหัว ตานี่แกก็ทำไม่รู้ไม่ชี้ราวกับโลกนี้มีเพียงเขาผู้เดียว
มนุษย์ป้าล่าสุดไปโผล่ไกลในต่างแดน เมื่อเริ่มมีการแชร์เรื่องราวไม่ดีของคนไทยไปเที่ยวแล้วทำไว้ผ่านทางเว็บบอร์ดต่างๆ โดยเฉพาะที่ประเทศ ญี่ปุ่น หลังจากเปิดฟรีวีซ่า ก็มีนักท่องเที่ยวสยามแห่เข้าไปกันมากมาย และแน่นอนว่า มากคนก็มากความ คนเหล่านี้ก็เลยไปสร้างวีรกรรมเอาไว้ เช่น โทรศัพท์บนรถไฟฟ้า อันนี้เป็นข้อห้ามของบ้านเขา ยืนขวางประตูทางเข้ารถไฟฟ้า คุยเสียงดัง ทิ้งขยะเรี่ยราด ตักบุฟเฟ่ต์เหลือแบบไม่น่าให้อภัย เช่น ตักปูไปกินอย่างเยอะกะเอาคุ้มแต่จริงๆ กินไปแค่ ๓ ตัวที่เหลือก็ทิ้งเต็มโต๊ะ จนบางร้านอาหารต้องมีป้ายขอความร่วมมือเป็นภาษาไทยเลยทีเดียว
ผมเคยเจอที่วัดเก๊ก ลก ซี รัฐปีนัง มาเลเซีย ตอนกำลังลงมาจากวัด เจอบรรดาทัวร์ขึ้นสวนไป ชุดแรกๆ ก็ดูเงียบๆ คุยกันเบาๆ แอบฟังได้ยินเสียงสนทนาภาษาไทยชัดเจน โอ่ เจอพวกแล้วเว้ย พอลงมาสักพักถึงช่วงศาลาที่เลี้ยงเต่า เท่านั้นล่ะครับ พี่ท่านตะโกนกันสนุกสนาน เฮ้ยดูตัวนั้นสิกินใหญ่เลย มึงโยนๆ เลยตรงนั้นเดี๋ยวมันก็มากิน โอ้ ถึงกับอยากจะรีบๆ ลงไปตอนนี้เลย
ที่สำคัญไม่ได้เป็นเฉพาะคนแก่ แต่วัยทำงานเนี่ยล่ะตัวดี
ปัญหานี้อาจเกิดจากไกด์ไทยบางทัวร์ (ย้ำว่าบางทัวร์) ที่ยอมนักท่องเที่ยวจนเกินขอบเขตไปหน่อย เพื่อเอาใจลูกค้าให้มาเที่ยวอีก นั่นก็ทำให้ผู้ต้อนรับได้แต่แอบส่ายหน้า แล้วไปด่าว่าไอ้คนชาตินี้ลับหลัง ส่วนคนเที่ยว (ทุกประเภท) บางทีก็คิดว่าอยู่ต่างบ้าน ต่างเมืองจะทำอะไรก็ได้ ไม่มีใครรู้ว่ากูเป็นใคร มาจากเมืองไหน ผมว่าตรรกะแบบนี้ก็ใช้ไม่ได้นะ หรือถ้าจะทำก็ขอความกรุณาช่วยอย่าสวมใส่สัญลักษณ์เพื่อบ่งบอกว่ามาจากที่ไหนเถอะครับ เห็นใจคนอื่นด้วย
ถ้าคุณยังคิดว่าการที่คนจีนมาทำอะไรอันไม่น่าพึงประสงค์ในประเทศเราเป็นสิ่งที่ไม่สมควร ในมุมกลับคุณก็ไม่ควรไปทำอะไรที่ขัดต่อกฏ ระเบียบของบ้านเมืองเขาเช่นกัน เพราะเขาเอง เมื่อเห็นพฤติกรรมของเรา ก็คิดไม่ต่างจากที่เราไม่ชอบพฤติกรรมอันยอดแย่ของนักท่องเที่ยวที่ไม่ดีหรอก
ส่วนปัญหามนุษย์ป้าเนี่ย ยอมรับครับว่า “แก้โคตรยากเลย” เคยนั่งถามเพื่อนๆ ในเฟซบุ๊กว่าจะสามารถปรับปรุงให้เขาดีขึ้นได้อย่างไร ส่วนมากก็เน้นว่า ต้องใช้การอบรม แต่ จะอบรมยังไงล่ะในเมื่อคนเหล่านี้มักมีอายุเยอะมาก และถ้าให้ใช้กฏหมายจัดการ นั่นมันก็เรื่องที่ควรครับ แต่สังคมไทยมันดราม่าเยอะไปหน่อย สมมุติแกโดนจับข้อหานี้จริง ก็จะมาโอดโอยร้องให้สงสาร กลายเป็นรายการวงเวียนชีวิตไปกันใหญ่ หรือหากจะใช้บทลงโทษทางสังคม เช่นต่อว่า หรือแสดงท่าทีไม่อยากคบค้า คนเหล่านี้ไม่สนใจหรอกครับ และพาลจะมีเรื่องให้วุ่นวายกันไปใหญ่
วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือ "ถ้าเราเห็นว่าเขาแย่ ก็อย่าทำตัวแย่ตาม" ครับ
ถ้าพูดไทรบุรี หลายคนอาจจะงง บ้างก็คุ้นๆ เหมือนเคยผ่านตาสมัยเรียนวิชาสังคมในชั้นมัธยมศึกษา นั่นคือ ๑ ใน ๔ อดีตจังหวัดทางตอนใต้สุดของสยามที่ถูกยกให้กับมหาอำนาจอังกฤษ ตาม “สนธิสัญญากรุงเทพ” ในสมัยรัชกาลที่ ๕ รวมปะลิส ,กลันตัน และตรังกานู ปัจจุบันก็คือภาคเหนือและภาคตะวันออกของสหพันธรัฐมาเลเซีย นั่นเอง และไทรบุรี นี้ก็คือรัฐเคดะห์ (Kedah) ตามที่คนพื้นเมืองเรียกมาช้านาน
อ๊ะอ๊ะ เรื่องนี้เก็บเอาไว้ก่อน เดี๋ยวเราค่อยมาคุยกันในโอกาสหน้าครับ
มีเพื่อนๆ และน้องๆ ผมหลายคนเข้ามาถามทางกล่องข้อความในเว็บไซต์เฟซบุ๊กส่วนตัวของผมว่า ระหว่างไปเที่ยวต่างประเทศกับบริษัททัวร์ หรือไปเป็นแบ็กแพคเกอร์ตะลอนเองแบบไหนดีกว่ากัน ซึ่งเอาจริงๆ แล้วผมมองว่า มันก็ดีทั้ง ๒ แบบนะ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่ที่สถานที่ที่เราจะไป และลักษณะนิสัยส่วนตัวของแต่ละคนด้วย ตามประสบการณ์ส่วนตัว (อันน้อยนิด) ที่ได้ไปทั้งเที่ยวคนเดียว กับมิตรสหาย และไปทำงานโดยมีทัวร์พาไป ก็พอจะได้ความเข้าใจในหลายๆ อย่าง
มาพูดถึง “ไปกับทัวร์” ก่อนครับ บ้านเรานี่มีบริษัทจัดทัวร์ท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศค่อนข้างเยอะ ซึ่งข้อแรกคือ หากจะเลือกทัวร์ต้องดูที่ใบอนุญาติก่อนว่ามีหรือไม่ ชื่อเสียงของบริษัทก็เป็นเรื่องสำคัญ ลองเสิร์ชดูประวัติ (ทั้งดีและไม่ดี) คร่าวๆ ในเว็บอย่าง กูเกิ้ล และอื่นๆ หรือ พันทิพดอทคอม ห้องบลูแพลนเน็ต นี่ก็จะพอมีข้อมูลผู้ที่ใช้บริการเว็บไซต์มารีวิวให้ได้อ่าน
แต่นั่นก็ยังไม่ใช่ประเด็นหลักครับ ปัญหาอยู่ที่สถานที่ที่คุณจะไปต่างหาก
อย่างงานไทยเที่ยวไทย ที่ศูนย์สิริกิติ์ นี่ก็มีบูทบริษัททัวร์หลายแห่งมาให้บริการเลือกกันสุดแท้แต่งบประมาณที่คุณมี ผมก็ไปเดินส่องๆ มามีมากมายหลายประเทศ ตั้งแต่ละแวกเพื่อนบ้านอาเซียน เอเซีย ยุโรป แอฟริกา อเมริกา ออสเตรเลีย (ยังไม่มีขั้วโลกนะ) จะกี่วัน กี่คืน พักหรูแค่ไหน อาหารจัดเต็มอย่างไร ก็เลือกดูเอาได้
ประเทศยอดฮิตอย่าง ญี่ปุ่น ช่วงนี้มีชาวไทยไปเที่ยวกันเยอะมากเนื่องจากปลอดวีซ่า อยู่ได้ตั้ง ๑๕ วัน บริษัททัวร์ต่างๆ ก็จะออกมาแข่งขันสร้างทริปให้เลือกกันมากมาย ซึ่งการไปกับทัวร์นี้ก็มีดีหลายอย่าง เช่น ทัวร์จะพาไปในแหล่งท่องเที่ยวหลักของเมือง มีไกด์แนะนำสถานที่ตลอดทาง บอกเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยให้ฟัง กินหรู อยู่สบาย คือ ไปเที่ยวจริงๆ ไม่ต้องคิดมาก ไม่ต้องกังวลอะไร อาจจะมีข้อด้อยตรงที่เวลาในการให้พักชมสถานที่มีน้อยไปหน่อย ไม่จุใจสำหรับคนที่อยากชมความงามตรงที่ที่เราชอบนานๆ
และด้วยความที่เป็นโปรแกรมซึ่งระบุไว้แล้ว เราอาจจะต้องจำยอมไปในสถานที่ที่ไม่ได้อยากไปกะเขาเลย วิธีที่ดีที่สุดในการเริ่มเลือกทัวร์ คือ ทำการบ้านเล็กๆ ดูในสิ่งที่เราอยากไป แล้วเลือกโปรแกรมทัวร์ที่ถูกใจที่สุด ส่วนถ้ามันต้องไปไอ้นั่นจริงๆ อย่างเช่นตอนผมไปเกาหลีใต้ ทัวร์พาไปดูจัมพ์โชว์ (การแสดงผสมศิลปะป้องกันตัว) ถ้าไม่อยากดูก็ไปเดินเที่ยวรอบๆ แล้วเจอกันที่โรงแรม หรือกลับมายังจุดนัดพบในเวลาที่กำหนดได้ หรือ ไปซื้อสินค้าซูเปอร์มาเก็ตก่อนขึ้นเครื่องบิน (คล้ายๆ เวลาเราขึ้นรถทัวร์แล้วเขาพาไปซื้อของฝากตามร้านที่ดีลกะบริษัททัวร์เอาไว้) ซึ่งจริงๆ ราคาแทบไม่ต่างกะเดินเข้าเซเว่นในเมืองเท่าไหร่ และถ้าไม่อยากซื้อก็รออยู่บนรถได้
แต่อย่างบางสถานที่ซึ่งอยู่ไกลเมือง ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวอื่นอยู่ใกล้และหาทางกลับยาก ก็ต้องจำยอมกันไปล่ะครับ ไม่แน่ว่า คุณอาจจะชอบมันก็ได้ (เช่น ตอนไปพิพิธภัณฑ์เทดดี้ แบร์ ของผม ไว้จะเล่าให้อ่านกัน)
แล้ว “ไปเที่ยวเอง” ล่ะ มันดียังไง ....
ก่อนจะไปถึงข้อดี ผมขอพูดถึงสิ่งที่คุณจะต้องทำก่อนดีกว่า อย่างแรกสุดคือคุณต้องมี “ความอยากที่จะไป” เลือกสถานที่ หาสมาชิกให้พร้อม ลองดูแหล่งท่องเที่ยวในละแวกเบื้องต้น แล้วจองตั๋วเครื่องบิน (กรณีที่อยากได้แบบราคาถูก ต้องจองหลายๆ เดือน แฟนเพจ arpae ช่วยคุณได้ค่อนข้างมาก) กลับมาวางแผนสถานที่ท่องเที่ยวอีกครั้ง รวมทั้งที่พัก (เดี๋ยวนี้มีจองตั๋วบวกโรงแรมราคาถูกมากๆ ด้วย แต่อาจไม่สะดวกสำหรับคนที่ร่อนเร่ไปหลายเมือง) เขียนแผนการเดินทางอย่างละเอียด ค่ารถ ที่พัก ค่าเข้าชมสถานที่ รวมถึงแหล่งของอร่อย ทำวีซ่า (ในบางประเทศ)
หรืออย่างหลายๆ ปีที่ผ่านมามีโปรโมชั่นสายการบินเข้ามาถล่มค่อนข้างมาก โดยเฉพาะปีนี้ยิ่งน่าจับตาในหลายๆ ยี่ห้อนัก ก็อาจจะต้องเปลี่ยนเป็นเลือกประเทศ และตารางการบิน ก่อนจัดแผนอื่นๆ ที่เหลืออยู่ ซึ่งผมก็มักใช้วิธีนี้มากกว่า (เน้นตั๋วถูกไว้ก่อน)
ที่เล่ามาก็แลดูค่อนข้างวุ่นวายมากๆ ครับ แต่สิ่งที่คุ้มคือคุณจะได้เรียนรู้ในเมืองที่คุณไปอย่างละเอียดเลยล่ะ ได้ไปในที่ๆ อยากไปจริงๆ แม้ไม่ได้ครบเท่ากับไปทัวร์ แต่ก็สามารถอยู่ได้นานตามใจฉัน ได้ฝึกภาษาและสัมผัสชีวิตของคนที่นั่น บางคนโหดหน่อยเจอพวกหลอกก็ถือเป็นประสบการณ์ชีวิตไป บ้างก็ไปไม่ทันรถ ต้องเข้าแถวรออะไรนานๆ มาก แต่สำหรับผมแล้วก็ถือว่าได้ใช้ชีวิตเสมือนพลเมืองเขาดี
ยิ่งถ้าได้ไปคนเดียว ยิ่งฝึกให้รู้จักตัวเอง และยังทดสอบไหวพริบการแก้ไขสถานการณ์ได้มากขึ้นด้วย ..... แม้จะเหงาบ้างก็เถอะ
แต่ก็ใช่ว่าบางที่จะแบ็กแพกแมนไปได้เสียทั้งหมด บางครั้งเราอาจจะต้องพึ่งทัวร์ในการให้บริการพาไปในป่า อุทยาน ภูเขา หรือเมืองที่ห่างไกลความเจริญมากๆ เช่นกัน หรือแม้กระทั่งการลดค่าใช้จ่าย และการเสียเวลาในการเดินทาง ทัวร์ (เฉพาะจุด) ก็สามารถทำได้
อย่างท่องเที่ยวไทย ผมจำได้ว่าเมื่อหลายปีมาแล้วไปเที่ยวเชียงใหม่กับเพื่อนๆ แล้วพอวันหลังๆ ผมขออยู่เที่ยวต่อคนเดียว แต่ด้วยความที่ตอนนั้น ไม่เคยศึกษาไปก่อนว่าเชียงใหม่มีอะไรน่าเที่ยว และสถานที่ส่วนใหญ่เช่น พระธาตุดอยสุเทพ เพื่อนๆ ก็พาไปกันหมดแล้ว ก็เลยได้อาศัยทัวร์ฝรั่ง นั่งรถตู้พาเที่ยว ขี่ช้าง ดูหมู่บ้านกะเหรี่ยง ชมน้ำตก อะไรประมาณนี้ ก็ตื่นตาตื่นใจดี ซึ่งหากจะไปตามโปรแกรมโดยไม่ได้ใช้บริการทัวร์นี้ อาจต้องใช้งบมากขึ้น และเสียเวลาพอสมควร
“แล้วถ้าจะเริ่มต้นเดินทางด้วยตัวเองล่ะ ที่ไหนดี”
ตัวผมเองเริ่มจากเมืองที่มีการคมนาคมสะดวก ไว้ก่อนครับ มีรถเมล์,รถไฟ,เรือ ถึงสถานที่ท่องเที่ยวง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก อย่าง ฮ่องกง ก็เป็น ๑ ในเมืองที่เที่ยวง่าย หรือ สิงคโปร์ โตเกียว โซล กัวลาลัมเปอร์ ก็เช่นกัน (แต่ที่พูดมา ยังไม่เคยไปเองนะ) พอได้เที่ยวครั้งแรกแล้วมันก็จะเริ่มเพิ่มเลเวลการเดินทางของเราเอง แต่ตรงนี้ก็แล้วแต่ความชอบของคนๆ นั้นด้วยว่า ชอบเที่ยวแบบไหน โลกนี้มีแหล่งท่องเที่ยวเยอะเหลือเกิน ในเมืองไทยนี่ผมเองก็ยังไปไม่ครบทุกจังหวัด กะว่าถ้ามีโอกาสก็จะลองท่องยุทธจักรในสยามดูบ้าง
พูดเรื่องท่องเที่ยวแล้วก็นึกถึงปัญหาที่กำลังฮิตอย่าง นักท่องเที่ยวจีน ที่มาป่วนในเมืองเชียงใหม่ ทั้งทิ้งไม่เป็นที่ อึแล้วไม่กด ทำเสียงดัง ลักลอบเข้าไปใช้บริการมหาวิทยาลัยเป็นที่ค้างแรม และอื่นๆ อีกมากมายจนตั้งเป็นแฟนเพจต่อว่ากันในเฟซบุ๊ก ก็ต้องย้อนมาดูคนในชาติเรากันบ้างว่า “เวลาไปเที่ยวแล้วมีพฤติกรรมแบบนี้หรือไม่” สิ่งหนึ่งที่กำลังมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักคือ พบว่า มีมนุษย์ป้า ไปสร้างปัญหาในต่างแดนไม่ต่างกับชาวจีนไม่เข้าเมืองตาหลิ่วเหมือนที่เราว่าเขา
ว่าแต่ “มนุษย์ป้า” คือใครวะ?
หลายคนอาจจะนิยามมนุษย์ป้าแตกต่างกันออกไป แต่สิ่งที่พอจะรวบรวมมาเพื่อบ่งบอกตัวตนของคนเหล่านี้คือ กลุ่มคนที่เอาแต่ใจตนเป็นหลัก ไม่นึกถึงส่วนรวม บางครั้งมักละเมิดกฏ หรือเอาเปรียบผู้อื่น แล้วแสร้งทำเป็นว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น หรือโวยวายเมื่อตนเสียประโยชน์ทั้งๆ ที่ตัวเองละเมิดสิทธิ์ผู้อื่นก่อน ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ชอบเนียนแซงคิว หยิบจับสิ่งของทั้งๆ ที่มีป้ายห้าม ทิ้งขยะไม่เป็นที่ ฯลฯ
ที่ต้องเป็นมนุษย์ป้า ไม่ได้เหยียดเพศหรือวัยแต่อย่างไร แต่ส่วนใหญ่ที่เจอมักจะเป็นหญิงสูงวัยกระทำการ ผู้ชายแก่ๆ นี่ก็มีครับ ผมเคยเจอบนรถเมล์ ตอนนั้นผมลุกให้หญิงชรามานั่งแทน แล้วตานี่อายุน่าจะยังไม่ถึงวัยเกษียณรีบเนียนแทรกนั่งทันที ผมได้แต่ยืนเอ๋อ แล้วมองหน้าพลางส่ายหัว ตานี่แกก็ทำไม่รู้ไม่ชี้ราวกับโลกนี้มีเพียงเขาผู้เดียว
มนุษย์ป้าล่าสุดไปโผล่ไกลในต่างแดน เมื่อเริ่มมีการแชร์เรื่องราวไม่ดีของคนไทยไปเที่ยวแล้วทำไว้ผ่านทางเว็บบอร์ดต่างๆ โดยเฉพาะที่ประเทศ ญี่ปุ่น หลังจากเปิดฟรีวีซ่า ก็มีนักท่องเที่ยวสยามแห่เข้าไปกันมากมาย และแน่นอนว่า มากคนก็มากความ คนเหล่านี้ก็เลยไปสร้างวีรกรรมเอาไว้ เช่น โทรศัพท์บนรถไฟฟ้า อันนี้เป็นข้อห้ามของบ้านเขา ยืนขวางประตูทางเข้ารถไฟฟ้า คุยเสียงดัง ทิ้งขยะเรี่ยราด ตักบุฟเฟ่ต์เหลือแบบไม่น่าให้อภัย เช่น ตักปูไปกินอย่างเยอะกะเอาคุ้มแต่จริงๆ กินไปแค่ ๓ ตัวที่เหลือก็ทิ้งเต็มโต๊ะ จนบางร้านอาหารต้องมีป้ายขอความร่วมมือเป็นภาษาไทยเลยทีเดียว
ผมเคยเจอที่วัดเก๊ก ลก ซี รัฐปีนัง มาเลเซีย ตอนกำลังลงมาจากวัด เจอบรรดาทัวร์ขึ้นสวนไป ชุดแรกๆ ก็ดูเงียบๆ คุยกันเบาๆ แอบฟังได้ยินเสียงสนทนาภาษาไทยชัดเจน โอ่ เจอพวกแล้วเว้ย พอลงมาสักพักถึงช่วงศาลาที่เลี้ยงเต่า เท่านั้นล่ะครับ พี่ท่านตะโกนกันสนุกสนาน เฮ้ยดูตัวนั้นสิกินใหญ่เลย มึงโยนๆ เลยตรงนั้นเดี๋ยวมันก็มากิน โอ้ ถึงกับอยากจะรีบๆ ลงไปตอนนี้เลย
ที่สำคัญไม่ได้เป็นเฉพาะคนแก่ แต่วัยทำงานเนี่ยล่ะตัวดี
ปัญหานี้อาจเกิดจากไกด์ไทยบางทัวร์ (ย้ำว่าบางทัวร์) ที่ยอมนักท่องเที่ยวจนเกินขอบเขตไปหน่อย เพื่อเอาใจลูกค้าให้มาเที่ยวอีก นั่นก็ทำให้ผู้ต้อนรับได้แต่แอบส่ายหน้า แล้วไปด่าว่าไอ้คนชาตินี้ลับหลัง ส่วนคนเที่ยว (ทุกประเภท) บางทีก็คิดว่าอยู่ต่างบ้าน ต่างเมืองจะทำอะไรก็ได้ ไม่มีใครรู้ว่ากูเป็นใคร มาจากเมืองไหน ผมว่าตรรกะแบบนี้ก็ใช้ไม่ได้นะ หรือถ้าจะทำก็ขอความกรุณาช่วยอย่าสวมใส่สัญลักษณ์เพื่อบ่งบอกว่ามาจากที่ไหนเถอะครับ เห็นใจคนอื่นด้วย
ถ้าคุณยังคิดว่าการที่คนจีนมาทำอะไรอันไม่น่าพึงประสงค์ในประเทศเราเป็นสิ่งที่ไม่สมควร ในมุมกลับคุณก็ไม่ควรไปทำอะไรที่ขัดต่อกฏ ระเบียบของบ้านเมืองเขาเช่นกัน เพราะเขาเอง เมื่อเห็นพฤติกรรมของเรา ก็คิดไม่ต่างจากที่เราไม่ชอบพฤติกรรมอันยอดแย่ของนักท่องเที่ยวที่ไม่ดีหรอก
ส่วนปัญหามนุษย์ป้าเนี่ย ยอมรับครับว่า “แก้โคตรยากเลย” เคยนั่งถามเพื่อนๆ ในเฟซบุ๊กว่าจะสามารถปรับปรุงให้เขาดีขึ้นได้อย่างไร ส่วนมากก็เน้นว่า ต้องใช้การอบรม แต่ จะอบรมยังไงล่ะในเมื่อคนเหล่านี้มักมีอายุเยอะมาก และถ้าให้ใช้กฏหมายจัดการ นั่นมันก็เรื่องที่ควรครับ แต่สังคมไทยมันดราม่าเยอะไปหน่อย สมมุติแกโดนจับข้อหานี้จริง ก็จะมาโอดโอยร้องให้สงสาร กลายเป็นรายการวงเวียนชีวิตไปกันใหญ่ หรือหากจะใช้บทลงโทษทางสังคม เช่นต่อว่า หรือแสดงท่าทีไม่อยากคบค้า คนเหล่านี้ไม่สนใจหรอกครับ และพาลจะมีเรื่องให้วุ่นวายกันไปใหญ่
วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือ "ถ้าเราเห็นว่าเขาแย่ ก็อย่าทำตัวแย่ตาม" ครับ