ข่าวใหญ่ที่สุดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คือการประกาศยุติบทบาทของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
นอกจากเหตุผลที่เนื่องมาจากเงื่อนไขทางกฎหมายเชิงคดีที่บีบห้ามการเคลื่อนไหวแล้ว เหตุผลสำคัญอย่างยิ่งในการยุติบทบาทคือ “...ในยามที่ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศนี้ยังไม่ตื่นรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงบ้านเมือง ยังหลงอยู่ในวังวนของสงครามขั้วอำนาจของพรรคการเมืองต่างๆ ลำพังการนำของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยย่อมไม่มีพลังพอที่จะนำการชุมนุมเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยได้ในเวลานี้…”
อย่างไรก็ตาม การขอยุติบทบาทของพันธมิตรฯ นั้น เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์สภาฯ อัปยศในช่วงสัปดาห์เดียวกัน
เป็นช่วงระยะที่ตกต่ำที่สุดของศรัทธาประชาชนที่มีต่อระบอบรัฐสภาก็ว่าได้ นั่นคือ ภาพอันน่าอุจาดยิ่งกว่าอุจาดของรัฐสภา ศูนย์กลางแห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยผ่านผู้แทนนั้น เละเทะเสียยิ่งกว่าเละเทะ ตกต่ำเกินกว่าจินตนาการ
เมื่อฝ่ายหนึ่งพยายามใช้เสียงข้างมาก แก้ไขกติกาของชาติประเทศ ให้เป็นไปอย่างที่ตัวเองได้เปรียบ ด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาแบบเต็มสภาฯ
อีกฝ่ายหนึ่งก็ทำได้เพียงกรีดร้องและก่อความวุ่นวาย จนกระทั่งถูกจิกแขวะจากฝ่ายแรกว่า ไม่ต่างจากชะนีโหยหวน
แล้วจากนั้นก็ถกเถียงกันด้วยเรื่องที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นประเด็นใน “รัฐสภา” คือ “ฉันสาวกว่าแก ฉันสวยกว่าแก เชอะ ช่วยไม่ได้นะยะ”
ส่วนไอ้ที่ไม่ได้กรี๊ด ไม่ได้กัดกัน ก็ไม่ได้ดีไปกว่าสักเท่าไร เขาแจก iPad จากภาษีประชาชนให้ พวกก็บอกว่าเอาไปดูรูปโป๊ พอจนด้วยหลักฐานก็ว่า “ยังใช้ไม่ค่อยเป็น” แหม ยังเห็นเอาสองนิ้วซูมภาพดูอยู่เลยครับ อีกคนก็ไฮเทคขึ้นมาหน่อย ยกขึ้นมาถ่ายเพื่อนสมาชิกที่หลับ แล้วเอามาโพสต์ลงเน็ตทำเป็นเรื่องครื้นเครง ทราบมาว่าประชาชนตลกจนน้ำตาเรี่ย เมื่อทราบว่าภาษีเดือนละเป็นล้านๆ เอามาจ่ายให้คนพวกนี้มาเล่นทำลิงค่างบ่างชะนีกันเหมือนโรงเรียนอนุบาล
สภาฯ แบบนี้หรอกหรือครับ ที่ประชาธิปัตย์อ้างว่า ยังจำเป็นต้องอยู่ในสภาพของ ส.ส.เพื่อต่อสู้ในเวทีสภาฯ เพื่อสู้กับระบอบทักษิณ ใช้กระบวนการของรัฐสภา
แล้วพวกท่านต่อสู้ได้อย่างไร วิธีการต่อสู้ของพวกท่าน คือการกรีดร้องโหยหวน ปาแฟ้ม ทำดรามาฉีกกระดาษโปรย ค้ำคอตำรวจสภาฯ ดึงเก้าอี้ประธาน พวกท่านทำได้เท่านี้เอง แล้วเรื่องแบบนี้ มันสามารถช่วยล้างระบอบทักษิณ หรือช่วยตีแผ่ทำให้ประชาชนได้รับรู้ถึงเบื้องหลังและอันตรายแฝงอยู่ในกฎหมายแต่ละฉบับของรัฐบาลได้อย่างไรหรือครับ
เพราะอย่างที่ได้กล่าวไว้แล้วหลายครั้งว่า การต่อสู้ในระบบรัฐสภาแบบ “ประชาธิปไตย” ไทยๆ นั้น มันจบลงไปตั้งแต่วันก่อนที่จะมีสภาฯ แล้ว คือ วันเลือกตั้ง นั่นคือฝ่ายใดที่ชนะการเลือกตั้งก็จะมีเสียงเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ตั้งรัฐบาล และสามารถออกกฎหมายได้ ด้วย “คะแนนเสียง” ในมือ ที่ได้รับมาในวันชนะการเลือกตั้งนั่นเอง
ชนะวันเดียว ตีกินไปได้สี่ปี จนกว่าจะมีเหตุขัดข้องอื่นๆ แต่พนันได้ ว่าด้วยระบอบรัฐสภาแบบไทยๆ ในการเมืองเก่าๆ แล้วไม่สามารถที่จะ “ล้ม” รัฐบาลได้ด้วยกลไกของมันเองหรอก ลองนึกดูก็ได้ว่ามันจะเป็นไปได้อย่างไร ในเมื่อรัฐบาลจากพรรคเสียงข้างมากในสภาฯ ตั้งรัฐบาล แล้วสภาฯ ที่เต็มไปด้วยเสียงข้างมากนั้นก็จะตรวจสอบรัฐบาลนั้นอีกที เพียงคิดด้วยหลักเหตุและผลมันก็เป็นไปไม่ได้แล้ว
ในรัฐสภาของอารยประเทศอาจจะกระทำได้ เพราะกระบวนการในรัฐสภานั้น คือการต่อสู้กันด้วยโวหารความคิด และสมาชิกรัฐสภาของพวกเขาก็เป็นอิสระ ดังนั้นหากฝ่ายใดสามารถใช้โวหารและเหตุผลชักจูงโน้มนำให้อีกฝ่ายเชื่อได้ ก็เป็นไปได้ว่าอาจจะเป็นฝ่ายชนะหรือสามารถดุลหรือคานอำนาจกับฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายเสียงข้างมากก็ได้
แต่นั่นหมายถึงว่า ต้องเป็นรัฐสภาจริงๆ ที่สมาชิกของสภาฯ รู้ตัวและสำนึกว่าตัวเองเป็นผู้แทนของประชาชน ไม่ใช่แค่เป็น “มนุษย์มือ” ของทุนของนายจ้างของตัวเอง ที่มีหน้าที่เพียงยกมือ ตามแต่ที่นายท่านจะสั่งมา หรือคอยป่วน คอยกวนการประชุมเพื่อความได้เปรียบ หรือสร้างราคาให้ตัวเองด้วยการเล่นตลกอนาถาในสภาฯ
หากไม่ใช้กระบวนการประชาชนที่ตื่นรู้และบอกว่า “เราไม่เอาแล้วกับระบอบงิ้วชะนีและละครลิง” มันก็จะมีแต่ภาพแบบนี้แหละ และเป็นข้ออ้างได้ต่อไปเรื่อยๆ ทั้งฝ่ายเสียงข้างมากที่ชนะการเลือกตั้งที่เหมือนซื้อสภาฯ ได้เบ็ดเสร็จ และต่อไปจะลามไปถึงวุฒิสภาที่เป็นเหมือนสภาฯ สูงด้วย เลือกตั้งกันให้หมดสภาฯ แล้วสภาฯ นี้ก็จะไปเห็นชอบแต่งตั้งตุลาการและองค์กรอิสระจะได้ชนะกันขาดลอยยิ่งๆ ขึ้นไป ส่วนฝ่ายเสียงข้างน้อยก็จะอ้างว่า ได้ทำหน้าที่ตามระบอบรัฐสภาแล้วด้วยการป่วนการประชุม และก็ดูดกินประโยชน์เศษเหลือของระบบเท่าที่หลงหูหลงตาฝ่ายแรกอยู่กันต่อไป
ก็อาจต้องยอมรับความจริงว่า ประชาชนที่มาสมาทานกับพันธมิตรฯ นั้น ส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนที่มีนัยสำคัญเลยทีเดียว เป็นผู้นิยมพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งการ “โค่นทักษิณ” ในครั้งแรก และกับนอมินีสมัคร – สมชาย ในสมัยที่สองนั้น เป็นเหมือนกับการร่วมต่อสู้เพื่อผลักดันให้พรรคการเมืองที่ตัวเชียร์เป็นรัฐบาล
เท่ากับเป็นการที่มอง “ทักษิณกับพวก” ว่าเป็นเพียง “ศัตรูของพรรค” ที่เราชอบ มากไปกว่า “อันตรายต่อชาติและประชาธิปไตย”
เมื่อภารกิจสำเร็จ ได้เห็นคนของประชาธิปัตย์เป็นนายกฯ สักครั้ง ก็รู้สึกเสร็จสมกันทั่วหน้า แยกย้ายกลับบ้านไม่สนอะไรอีกต่อไป ในช่วงที่ประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล จำได้ว่าพันธมิตรฯ ออกมา ก็ถูกเยาะเย้ยดูแคลนหรือก่นด่ามาจากฝ่ายนิยมประชาธิปัตย์ คิดเพียงว่า อภิสิทธิ์เป็นนายกฯ คือชัยชนะแล้ว เหมือนคนป่วยที่รักษาโรคแค่หายปวดหัวปวดท้อง ก็ไม่ไปตรวจซ้ำฉีดยาผ่าตัดตามที่หมอสั่ง เพราะนึกว่าหายแล้ว
เพราะการดูดายไม่ติดตามในครั้งนั้นเอง ที่เป็นการปล่อยปละ “แดงทั้งแผ่นดิน” ให้เติบโตขึ้นมาจนโค่นล้มยากขึ้นทุกที เหมือนมะเร็งที่ลามไปทั่วตัว
แม้ในตอนนี้ ที่กฎหมายล้างผิด หรือแม้แต่การแก้รัฐธรรมนูญที่จะสร้างประโยชน์ระยะยาวในอนาคตให้ระบอบทักษิณยังดำเนินอยู่ ผู้คนก็ยังคงไม่รู้สึกว่ากำลังมีภัยคุกคามแต่อย่างใด ก็ประชาธิปัตย์เขาบอกว่า เขายังจะสู้อยู่ในสภาฯ นี่นา ปล่อยให้พี่ๆ เขาสู้ไปสิ
ได้หวังถึงวันหนึ่งที่ประชาชนจะตื่นรู้ แต่ไม่รู้ว่าเมื่อวันนั้นมาถึง เรายังเหลืออะไรให้ต่อสู้ ให้ปกป้องอยู่บ้างไหม
นอกจากเหตุผลที่เนื่องมาจากเงื่อนไขทางกฎหมายเชิงคดีที่บีบห้ามการเคลื่อนไหวแล้ว เหตุผลสำคัญอย่างยิ่งในการยุติบทบาทคือ “...ในยามที่ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศนี้ยังไม่ตื่นรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงบ้านเมือง ยังหลงอยู่ในวังวนของสงครามขั้วอำนาจของพรรคการเมืองต่างๆ ลำพังการนำของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยย่อมไม่มีพลังพอที่จะนำการชุมนุมเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยได้ในเวลานี้…”
อย่างไรก็ตาม การขอยุติบทบาทของพันธมิตรฯ นั้น เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์สภาฯ อัปยศในช่วงสัปดาห์เดียวกัน
เป็นช่วงระยะที่ตกต่ำที่สุดของศรัทธาประชาชนที่มีต่อระบอบรัฐสภาก็ว่าได้ นั่นคือ ภาพอันน่าอุจาดยิ่งกว่าอุจาดของรัฐสภา ศูนย์กลางแห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยผ่านผู้แทนนั้น เละเทะเสียยิ่งกว่าเละเทะ ตกต่ำเกินกว่าจินตนาการ
เมื่อฝ่ายหนึ่งพยายามใช้เสียงข้างมาก แก้ไขกติกาของชาติประเทศ ให้เป็นไปอย่างที่ตัวเองได้เปรียบ ด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาแบบเต็มสภาฯ
อีกฝ่ายหนึ่งก็ทำได้เพียงกรีดร้องและก่อความวุ่นวาย จนกระทั่งถูกจิกแขวะจากฝ่ายแรกว่า ไม่ต่างจากชะนีโหยหวน
แล้วจากนั้นก็ถกเถียงกันด้วยเรื่องที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นประเด็นใน “รัฐสภา” คือ “ฉันสาวกว่าแก ฉันสวยกว่าแก เชอะ ช่วยไม่ได้นะยะ”
ส่วนไอ้ที่ไม่ได้กรี๊ด ไม่ได้กัดกัน ก็ไม่ได้ดีไปกว่าสักเท่าไร เขาแจก iPad จากภาษีประชาชนให้ พวกก็บอกว่าเอาไปดูรูปโป๊ พอจนด้วยหลักฐานก็ว่า “ยังใช้ไม่ค่อยเป็น” แหม ยังเห็นเอาสองนิ้วซูมภาพดูอยู่เลยครับ อีกคนก็ไฮเทคขึ้นมาหน่อย ยกขึ้นมาถ่ายเพื่อนสมาชิกที่หลับ แล้วเอามาโพสต์ลงเน็ตทำเป็นเรื่องครื้นเครง ทราบมาว่าประชาชนตลกจนน้ำตาเรี่ย เมื่อทราบว่าภาษีเดือนละเป็นล้านๆ เอามาจ่ายให้คนพวกนี้มาเล่นทำลิงค่างบ่างชะนีกันเหมือนโรงเรียนอนุบาล
สภาฯ แบบนี้หรอกหรือครับ ที่ประชาธิปัตย์อ้างว่า ยังจำเป็นต้องอยู่ในสภาพของ ส.ส.เพื่อต่อสู้ในเวทีสภาฯ เพื่อสู้กับระบอบทักษิณ ใช้กระบวนการของรัฐสภา
แล้วพวกท่านต่อสู้ได้อย่างไร วิธีการต่อสู้ของพวกท่าน คือการกรีดร้องโหยหวน ปาแฟ้ม ทำดรามาฉีกกระดาษโปรย ค้ำคอตำรวจสภาฯ ดึงเก้าอี้ประธาน พวกท่านทำได้เท่านี้เอง แล้วเรื่องแบบนี้ มันสามารถช่วยล้างระบอบทักษิณ หรือช่วยตีแผ่ทำให้ประชาชนได้รับรู้ถึงเบื้องหลังและอันตรายแฝงอยู่ในกฎหมายแต่ละฉบับของรัฐบาลได้อย่างไรหรือครับ
เพราะอย่างที่ได้กล่าวไว้แล้วหลายครั้งว่า การต่อสู้ในระบบรัฐสภาแบบ “ประชาธิปไตย” ไทยๆ นั้น มันจบลงไปตั้งแต่วันก่อนที่จะมีสภาฯ แล้ว คือ วันเลือกตั้ง นั่นคือฝ่ายใดที่ชนะการเลือกตั้งก็จะมีเสียงเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ตั้งรัฐบาล และสามารถออกกฎหมายได้ ด้วย “คะแนนเสียง” ในมือ ที่ได้รับมาในวันชนะการเลือกตั้งนั่นเอง
ชนะวันเดียว ตีกินไปได้สี่ปี จนกว่าจะมีเหตุขัดข้องอื่นๆ แต่พนันได้ ว่าด้วยระบอบรัฐสภาแบบไทยๆ ในการเมืองเก่าๆ แล้วไม่สามารถที่จะ “ล้ม” รัฐบาลได้ด้วยกลไกของมันเองหรอก ลองนึกดูก็ได้ว่ามันจะเป็นไปได้อย่างไร ในเมื่อรัฐบาลจากพรรคเสียงข้างมากในสภาฯ ตั้งรัฐบาล แล้วสภาฯ ที่เต็มไปด้วยเสียงข้างมากนั้นก็จะตรวจสอบรัฐบาลนั้นอีกที เพียงคิดด้วยหลักเหตุและผลมันก็เป็นไปไม่ได้แล้ว
ในรัฐสภาของอารยประเทศอาจจะกระทำได้ เพราะกระบวนการในรัฐสภานั้น คือการต่อสู้กันด้วยโวหารความคิด และสมาชิกรัฐสภาของพวกเขาก็เป็นอิสระ ดังนั้นหากฝ่ายใดสามารถใช้โวหารและเหตุผลชักจูงโน้มนำให้อีกฝ่ายเชื่อได้ ก็เป็นไปได้ว่าอาจจะเป็นฝ่ายชนะหรือสามารถดุลหรือคานอำนาจกับฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายเสียงข้างมากก็ได้
แต่นั่นหมายถึงว่า ต้องเป็นรัฐสภาจริงๆ ที่สมาชิกของสภาฯ รู้ตัวและสำนึกว่าตัวเองเป็นผู้แทนของประชาชน ไม่ใช่แค่เป็น “มนุษย์มือ” ของทุนของนายจ้างของตัวเอง ที่มีหน้าที่เพียงยกมือ ตามแต่ที่นายท่านจะสั่งมา หรือคอยป่วน คอยกวนการประชุมเพื่อความได้เปรียบ หรือสร้างราคาให้ตัวเองด้วยการเล่นตลกอนาถาในสภาฯ
หากไม่ใช้กระบวนการประชาชนที่ตื่นรู้และบอกว่า “เราไม่เอาแล้วกับระบอบงิ้วชะนีและละครลิง” มันก็จะมีแต่ภาพแบบนี้แหละ และเป็นข้ออ้างได้ต่อไปเรื่อยๆ ทั้งฝ่ายเสียงข้างมากที่ชนะการเลือกตั้งที่เหมือนซื้อสภาฯ ได้เบ็ดเสร็จ และต่อไปจะลามไปถึงวุฒิสภาที่เป็นเหมือนสภาฯ สูงด้วย เลือกตั้งกันให้หมดสภาฯ แล้วสภาฯ นี้ก็จะไปเห็นชอบแต่งตั้งตุลาการและองค์กรอิสระจะได้ชนะกันขาดลอยยิ่งๆ ขึ้นไป ส่วนฝ่ายเสียงข้างน้อยก็จะอ้างว่า ได้ทำหน้าที่ตามระบอบรัฐสภาแล้วด้วยการป่วนการประชุม และก็ดูดกินประโยชน์เศษเหลือของระบบเท่าที่หลงหูหลงตาฝ่ายแรกอยู่กันต่อไป
ก็อาจต้องยอมรับความจริงว่า ประชาชนที่มาสมาทานกับพันธมิตรฯ นั้น ส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนที่มีนัยสำคัญเลยทีเดียว เป็นผู้นิยมพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งการ “โค่นทักษิณ” ในครั้งแรก และกับนอมินีสมัคร – สมชาย ในสมัยที่สองนั้น เป็นเหมือนกับการร่วมต่อสู้เพื่อผลักดันให้พรรคการเมืองที่ตัวเชียร์เป็นรัฐบาล
เท่ากับเป็นการที่มอง “ทักษิณกับพวก” ว่าเป็นเพียง “ศัตรูของพรรค” ที่เราชอบ มากไปกว่า “อันตรายต่อชาติและประชาธิปไตย”
เมื่อภารกิจสำเร็จ ได้เห็นคนของประชาธิปัตย์เป็นนายกฯ สักครั้ง ก็รู้สึกเสร็จสมกันทั่วหน้า แยกย้ายกลับบ้านไม่สนอะไรอีกต่อไป ในช่วงที่ประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล จำได้ว่าพันธมิตรฯ ออกมา ก็ถูกเยาะเย้ยดูแคลนหรือก่นด่ามาจากฝ่ายนิยมประชาธิปัตย์ คิดเพียงว่า อภิสิทธิ์เป็นนายกฯ คือชัยชนะแล้ว เหมือนคนป่วยที่รักษาโรคแค่หายปวดหัวปวดท้อง ก็ไม่ไปตรวจซ้ำฉีดยาผ่าตัดตามที่หมอสั่ง เพราะนึกว่าหายแล้ว
เพราะการดูดายไม่ติดตามในครั้งนั้นเอง ที่เป็นการปล่อยปละ “แดงทั้งแผ่นดิน” ให้เติบโตขึ้นมาจนโค่นล้มยากขึ้นทุกที เหมือนมะเร็งที่ลามไปทั่วตัว
แม้ในตอนนี้ ที่กฎหมายล้างผิด หรือแม้แต่การแก้รัฐธรรมนูญที่จะสร้างประโยชน์ระยะยาวในอนาคตให้ระบอบทักษิณยังดำเนินอยู่ ผู้คนก็ยังคงไม่รู้สึกว่ากำลังมีภัยคุกคามแต่อย่างใด ก็ประชาธิปัตย์เขาบอกว่า เขายังจะสู้อยู่ในสภาฯ นี่นา ปล่อยให้พี่ๆ เขาสู้ไปสิ
ได้หวังถึงวันหนึ่งที่ประชาชนจะตื่นรู้ แต่ไม่รู้ว่าเมื่อวันนั้นมาถึง เรายังเหลืออะไรให้ต่อสู้ ให้ปกป้องอยู่บ้างไหม