ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา แถวบ้านผมเขามีงาน "๑๑๑ ปี บางบัวทอง" เป็นงานเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่ อำเภอบางบัวทอง จ.นนทบุรี ครบรอบปีที่ ๑๑๑ ของการก่อตั้งเมืองขึ้น โดยงานจัดมาตั้งแต่วันที่ ๑๕ - ๒๔ มีนาคม รวมทั้งหมด ๑๐ วันเต็มๆ
ตามข่าวที่ได้รับจากในเว็บไซต์เอเอสทีวีผู้จัดการ ที่เน้นๆ เลยคือ เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี อันแสดงถึงความเป็นไทยในอดีตให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ถึงวัฒนธรรมอันดีงามเมื่อครั้งวันวาน ณ บางบัวทอง มีพิธีเปิดงานอย่างยิ่งใหญ่ในวันอาทิตย์ที่ ๑๗ มีนาคม มีไฮไลท์คือขบวนแห่รถไฟจำลอง เพื่อย้อนอดีตเส้นทางรถไฟสายบางบัวทอง รถไฟเอกชนสายแรกของประเทศไทย มีผู้นั่งรถไฟร่วมกันแต่งกายย้อนยุค พร้อมขบวนสามล้อถีบ
ส่วนในวันอื่นๆ ก็จะได้ร่วมสนุก เริงรื่นท่ามกลางบรรยากาศย้อนยุค ด้วยกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ การเดินแบบแต่งกายย้อนยุค รำวงย้อนยุค และการแสดงมหรสพ ดนตรีลูกทุ่ง สตริง ลิเก งิ้ว ลำตัด และหมอลำซิ่ง รวมทั้งการฉายภาพยนตร์ย้อนยุค การประกวดร้องเพลง สนุกไปกับกิจกรรมงานวัด ช็อปคาราวานสินค้า และเริงรื่นไปกับเวทีวัฒนธรรม
ร่ายกันมาซะน่าไปเที่ยวมากมายจริงๆ ครับ....
ก็เลยทำให้ผมต้องเดินทางไปร่วมชมบรรยากาศเสียหน่อย ไปมันวันเปิดงานเลย จะได้รู้ว่าน่าสนใจดีขนาดไหน
ว่าแต่ ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้วขอเล่าประวัติเมืองสักนิดก็แล้วกัน
อำเภอบางบัวทอง เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดนนทบุรี เรื่องนี้ใครๆ ก็รู้ สิ่งที่อาจไม่รู้เลยคือ ได้ถูกสถาปนาเป็นอำเภอเมื่อตั้งแต่ปี ๒๔๔๕ ตั้งชื่อตามคลองบางบัวทอง สาเหตุที่เรียกชื่อแบบนั้น คาดว่าเป็นเพราะมีบัวชุกชุมแล้วชาวบ้านก็นำบัวไปขายได้รายได้ดี ปัจจุบันมีทั้งหมด ๘ ตำบล เป็นอำเภอหนึ่งที่มีจำนวนประชากรที่หนาแน่นรองเป็นอันดับ ๒ ของจังหวัด เนื่องจากหมู่บ้านจัดสรรที่แห่แหนกันมาปลูกสร้างกันเยอะแยะ คนต่างถิ่นก็เลยเข้ามากันเยอะ ส่วนคนถิ่นนอกจากทำโรงงานอุตสาหกรรม ข้าราชการ และพนักงานเอกชน แล้ว หลายๆ พื้นที่ยังคงทำเกษตรกรรมอยู่ ครับ
จริงๆ แถวนี้มีอากาศที่ดี และมีความสงบร่มรื่นพอสมควร จากที่อยู่พำนักมากว่า ๑๖ ปี ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งการก่อสร้างถนนกาญจนาภิเษก (ตลิ่งชัน - สุพรรณบุรี เดิม) จนกระทั่งรถไฟฟ้าที่กำลังจะเข้ามาสู่พื้นที่ (แม้จะเป็นสถานีสุดท้ายก็เถอะนะ) แต่ในอำเภอนี้ ยังคงเค้าความสมบูรณ์ทางการเกษตรอยู่พอสมควร เรียกได้ว่า อาจขัดแย้งกับสภาพเมือง ที่รอบข้างเป็นหมู่บ้าน แต่หลังหมู่บ้านเป็นไร่นาข้าว อะไรประมาณนี้
กลับมาต่อกันที่งานเฉลิมฉลองดีกว่า
ภายในงานแบ่งเป็น ๒ โซนครับ จุดที่ ๑ จัดโดยทางเทศบาลบางบัวทอง อยู่ตรงตลาดเก่าข้างคลองบางบัวทอง มีนิทรรศการต่างๆ ที่อยู่ในเขตเมือง อาทิ นิทรรศการ ๓ ศาสนา พุทธ คริสต์ อิสลาม ที่ศาสนสถานอยู่ร่วมกันในพื้นที่ นิทรรศการเครื่องใช้ อุปกรณ์ทำมาหากินแบบโบราณ ซุ้มแสดงสินค้าแบบมินิ และ เวทีการแสดงท้องถิ่น ส่วนจุดที่ ๒ จัดโดยทาง อำเภอบางบัวทอง อยู่บน ถ.เทศบาล ๗ - ๙ หน้าวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ หรือวัดเล่งเน่ยยี่ ๒ ตั้งแต่ปากถนน ไปจนถึงโรงเรียนบางบัวทอง มีแต่ของขายล้วนๆ และเวทีดนตรีปิดวิก
เป็นการจัดงานที่มึนได้อีกจริงๆ
ถ้าดูตามแผนที่ที่ผมนำมาแสดงจะเห็นได้ว่า จุดที่ ๑ ห่างจากจุดที่ ๒ พอสมควร แถมไม่มีทางเชื่อม ไอ้ทางเชื่อมนี่หมายถึงการจัดงานที่เชื่อมต่อกันระหว่าง ๒ จุด ให้เดินไปตามเส้นทางนั้นๆ โดยไม่รู้สึกขาดตอน ตรงนี้เป็นเรื่องที่ "มึนมากๆ" ราวกับว่าเทศบาลกับอำเภอ เขาไม่ได้คุยกันอย่างงั้นล่ะ ก็เลยสงสัยว่าเอ๊ะ แล้วทำไมไม่ให้จัดซุ้มให้เลี้ยวออกไปทางถนนที่เชื่อมต่อตลาดซึ่งมันน่าจะดีกว่า หรือว่าชาวบ้านเจ้าของพื้นที่ไม่ให้ความร่วมมือ เพราะมันบังหน้าร้านเขาเนื่องจากเป็นพื้นที่การค้า ตรงนี้ไม่อาจทราบได้
แยกกันเป็นรายจุดเลยครับ ในส่วนที่จัดโดยเทศบาลบางบัวทอง อย่างที่เกริ่นไปว่ามีนิทรรศการหลากหลาย แต่ก็มีเพียงที่มาของโรงเรียน,ศาสนสถาน ในพื้นที่เท่านั้น ยังดีที่มีนักเรียน หรือเจ้าหน้าที่เทศบาล แต่งชุดไทยย้อนยุค มาเดินให้คำแนะนำนิทรรศการ สาธิตกิจกรรมต่างๆ มีการออกร้านนิดหน่อยจากคนถิ่น (ย้ำว่านิดหน่อย) บนเวทีมีการแสดงจิปาถะ จากคนถิ่นทั้ง ๘ ตำบล หมุนเวียนกันมา อันนี้ผมรู้สึกดีใจมาก อย่างน้อยก็มีของถิ่นให้ผู้มาเยือนได้ชื่นชมกันล่ะ แต่ที่น่าเสียดาย คือจำนวนคนที่มาชมนั้นน้อยนิดเมื่อเปรียบกับแถบที่มีของขายอย่างใหญ่โตในจุดที่ ๒
ทางฟากฝั่งที่อำเภอจัด ปิดถนนไป ๑ เลนฝั่งขาออก มีแต่ของขายครับ ซึ่งของแต่ละอย่าง ถ้าเมื่อสัปดาห์ที่แล้วคุณไปเดินงานกาชาด อ.บางใหญ่มา สัปดาห์นี้คุณก็จะได้เจอเหมือนๆ กันที่นี่ เฮ้ย! แล้วมันงานโปรโมทอำเภอตรงไหนวะ?
เอาแค่ร้านอาหารส่วนใหญ่ ก็มาจากคนต่างถิ่นทั้งนั้น ผมนึกในใจว่า คงจะได้เจอร้านของดีแต่ละตำบล ที่ผมคิดมันคือความฝัน มันคือ "จินตนาการสุด ๆ" เพราะกรอบของงานแม่งก็เหมือนเดิม มีออกร้านเดิมๆ ไม่ได้ทำให้มีความรู้สึกว่าน่าสนใจอะไร การแบ่งหมวดหมู่ของร้านก็ผสมกันเลอะเทอะมาก เดินไปนิดนึง ร้านเสื้อผ้า ร้านขายของเล่น ร้านอาหาร สลับกันไปมาแบบนี้ ไม่มีการจัดการที่ชัดเจนอะไรเลย เดินไปเรื่อยๆ ก็เจอดนตรีปิดวิก เก็บเงินค่าเข้าชม
แล้วที่น่าเสียดายมากคือ ตรงนั้นผ่านหน้า วัดเล่งเน่ยยี่ ๒ พอดี แต่กลับไม่มีการเปิดให้เข้าชม แม้กระทั่งประดับประดาไฟ ซึ่งผมเชื่อว่ามันน่าจะเป็นไฮไลท์อีกอย่างของงานได้ ก็ไม่ทราบว่าได้ประสานงานทางวัด หรือประสานงานแล้วแต่ทางวัดไม่อนุญาติก็ไม่ทราบได้ จริงๆ นะ ถ้าสมมุติวัดจะกลัวรบกวนภิกษุ ก็แค่เปิดประตูด้านหน้าแล้วกั้นเชือกให้ชาวบ้านได้เป็นยืนถ่ายรูปเป็นฉากหลัง ให้เจ้าหน้าที่เทศบาลมายืนคุมเชิง แค่นี้ผมว่าคนมาเที่ยวงานก็มีความสุขแล้ว
สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ไม่รู้เขาไม่ได้คิด หรือเขาคิดแต่ไม่ได้ทำ หรือคิดแล้วทำไม่ได้กันแน่
จริงๆ ผมไม่ได้ต่อต้านกับพวกร้านค้าต่างถิ่นนะ ผมเห็นว่า มันมีก็ได้ ... แต่สิ่งที่ผม ในฐานะคนที่มาท่องเที่ยว อยากเห็นมากกว่า นั่นคือ ร้านค้าประจำถิ่น ของดีประจำอำเภอ ตรงนี้ต่างหากที่งานนี้ไม่มีให้เห็นเลย ......
ผมอยู่บางบัวทอง เห็นร้านอาหารอร่อยหลายๆ ร้าน ทำไมผู้จัดเขาไม่เห็นแบบผมบ้างนะ ทำไมไม่ไปเชิญเขามาออกร้านนะ ถ้าทำเองไม่ได้ ก็ประสานทั้ง ๗ อบต.บวก ๑ เทศบาล ให้ไปขอความร่วมมือร้านค้า ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น อาหาร เครื่องดื่ม หรือพืชสวนครัว ร้านต้นไม้ ให้มาออกร้านสิครับ แบ่งเป็นโซนเลย อย่างหัวถนนเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม ตรงกลางเป็นสินค้าเกษตร และปลายถนนเป็นร้านอาหาร เอาของดีแต่ละตำบลมาประชันกันเลย นักท่องเที่ยวเขาจะได้รู้ว่า เมืองนี้มันมีอะไรดี และเป็นการส่งเสริมรายได้ให้กับคนท้องถิ่นอีกด้วย
เรื่องระยะเวลานี่ก็สำคัญ จัดกัน ๑๐ วันโลด คนก็มีความรู้สึกว่า มาวันไหนก็ได้ มาแค่ดูคอนเสิร์ตแล้วกลับบ้าน ถ้าเอากันแค่นี้ผมว่า ไม่ได้อะไร ไม่ได้เพิ่มความรู้ให้แก่คนมาร่วมงานเลย จริงๆ จัดกันแค่ ๓ วัน แล้วจัดมันยาวๆ ตั้งแต่ บ่ายแก่ๆ ยันเที่ยงคืน แบ่งเป็น ๒ เวทีก็ได้ เวทีปิดวิกก็จัดไป เน้นวงดังๆ ไปเลย จะได้แบบมาเที่ยวแล้วคุ้มค่าหน่อย ส่วนอีกเวทีก็การแสดงท้องถิ่น ซึ่งก็อย่าให้ยึดติดแค่การแสดงแค่เด็กน้อย และผู้ใหญ่ แต่ต้องมีพื้นที่ให้กับเด็กวัยรุ่นด้วย เช่นเปิดให้โชว์ดนตรี หรือการเต้นสมัยใหม่ บ้าง แล้วยัดไปเลย ๓ วัน จัดเต็ม อาจจะจ้างนักร้องอาชีพมาคั่นเวลาร้องเพลงโชว์สักนิดหน่อยก็แล้วแต่ตามงบประมาณที่มี
หรือจะให้พวกเขามาโชว์บนถนนก็ได้นะ อย่างพื้นที่ที่ปิดแค่ ๑ เลน ก็ปิดถนนมันทั้งเส้นไปเลย แล้วทำเป็นถนนคนเดินอย่างเต็มรูปแบบ แค่นี้ก็จะได้พื้นที่ในการจัดงานอย่างมโหฬารแล้ว โซนด้านหน้างานจัดเป็นนิทรรศการของแต่ละตำบล สาธิตความเป็นอยู่วิถีชาวบ้าน อธิบายความเป็นบางบัวทอง ศาสนา และความสำคัญของเมือง จะทำในรูปแบบป้ายปิด หรือนิทรรศการเคลื่อนที่ (ใช้คนแทนป้ายเล่าเรื่อง) ถ้าดูยากไปก็ลองขอความร่วมมือแบ่งงานให้โรงเรียนในพื้นที่ให้เด็กไปสร้างสรรค์ผลงานนำเสนอ ก็ได้
ส่วนโซนถัดไปก็เป็นพวกผลิตภัณฑ์อย่างที่ผมว่า อาจจะตัดสลับกับพื้นที่ให้เยาวชนได้แสดงออก เช่น โชว์ดนตรี หรือ เต้น หรืออื่นๆ ตามแต่ถนัด ยาวไปเรื่อยๆ จนสุดที่สนามกีฬาเทศบาล อันนั้นก็เป็นเวทีการแสดงเปิดงานปิดงานไป
ที่บ่นๆๆๆๆ ไปก็แค่จินตภาพ ที่ก่อตัวอยู่ในสมองน้อยๆ และได้แต่หวังว่า ทางราชการจะได้อ่านและนำไปใช้ปรับปรุงเพื่อให้งานในปีข้างหน้า ที่อาจจะจัดขึ้น ให้มันดูน่าเที่ยวกว่าที่เป็นอยู่
ไม่ใช่เพื่อใคร ก็เพื่อเมืองที่ผมรักทั้งนั้น
ตามข่าวที่ได้รับจากในเว็บไซต์เอเอสทีวีผู้จัดการ ที่เน้นๆ เลยคือ เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี อันแสดงถึงความเป็นไทยในอดีตให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ถึงวัฒนธรรมอันดีงามเมื่อครั้งวันวาน ณ บางบัวทอง มีพิธีเปิดงานอย่างยิ่งใหญ่ในวันอาทิตย์ที่ ๑๗ มีนาคม มีไฮไลท์คือขบวนแห่รถไฟจำลอง เพื่อย้อนอดีตเส้นทางรถไฟสายบางบัวทอง รถไฟเอกชนสายแรกของประเทศไทย มีผู้นั่งรถไฟร่วมกันแต่งกายย้อนยุค พร้อมขบวนสามล้อถีบ
ส่วนในวันอื่นๆ ก็จะได้ร่วมสนุก เริงรื่นท่ามกลางบรรยากาศย้อนยุค ด้วยกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ การเดินแบบแต่งกายย้อนยุค รำวงย้อนยุค และการแสดงมหรสพ ดนตรีลูกทุ่ง สตริง ลิเก งิ้ว ลำตัด และหมอลำซิ่ง รวมทั้งการฉายภาพยนตร์ย้อนยุค การประกวดร้องเพลง สนุกไปกับกิจกรรมงานวัด ช็อปคาราวานสินค้า และเริงรื่นไปกับเวทีวัฒนธรรม
ร่ายกันมาซะน่าไปเที่ยวมากมายจริงๆ ครับ....
ก็เลยทำให้ผมต้องเดินทางไปร่วมชมบรรยากาศเสียหน่อย ไปมันวันเปิดงานเลย จะได้รู้ว่าน่าสนใจดีขนาดไหน
ว่าแต่ ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้วขอเล่าประวัติเมืองสักนิดก็แล้วกัน
อำเภอบางบัวทอง เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดนนทบุรี เรื่องนี้ใครๆ ก็รู้ สิ่งที่อาจไม่รู้เลยคือ ได้ถูกสถาปนาเป็นอำเภอเมื่อตั้งแต่ปี ๒๔๔๕ ตั้งชื่อตามคลองบางบัวทอง สาเหตุที่เรียกชื่อแบบนั้น คาดว่าเป็นเพราะมีบัวชุกชุมแล้วชาวบ้านก็นำบัวไปขายได้รายได้ดี ปัจจุบันมีทั้งหมด ๘ ตำบล เป็นอำเภอหนึ่งที่มีจำนวนประชากรที่หนาแน่นรองเป็นอันดับ ๒ ของจังหวัด เนื่องจากหมู่บ้านจัดสรรที่แห่แหนกันมาปลูกสร้างกันเยอะแยะ คนต่างถิ่นก็เลยเข้ามากันเยอะ ส่วนคนถิ่นนอกจากทำโรงงานอุตสาหกรรม ข้าราชการ และพนักงานเอกชน แล้ว หลายๆ พื้นที่ยังคงทำเกษตรกรรมอยู่ ครับ
จริงๆ แถวนี้มีอากาศที่ดี และมีความสงบร่มรื่นพอสมควร จากที่อยู่พำนักมากว่า ๑๖ ปี ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งการก่อสร้างถนนกาญจนาภิเษก (ตลิ่งชัน - สุพรรณบุรี เดิม) จนกระทั่งรถไฟฟ้าที่กำลังจะเข้ามาสู่พื้นที่ (แม้จะเป็นสถานีสุดท้ายก็เถอะนะ) แต่ในอำเภอนี้ ยังคงเค้าความสมบูรณ์ทางการเกษตรอยู่พอสมควร เรียกได้ว่า อาจขัดแย้งกับสภาพเมือง ที่รอบข้างเป็นหมู่บ้าน แต่หลังหมู่บ้านเป็นไร่นาข้าว อะไรประมาณนี้
กลับมาต่อกันที่งานเฉลิมฉลองดีกว่า
ภายในงานแบ่งเป็น ๒ โซนครับ จุดที่ ๑ จัดโดยทางเทศบาลบางบัวทอง อยู่ตรงตลาดเก่าข้างคลองบางบัวทอง มีนิทรรศการต่างๆ ที่อยู่ในเขตเมือง อาทิ นิทรรศการ ๓ ศาสนา พุทธ คริสต์ อิสลาม ที่ศาสนสถานอยู่ร่วมกันในพื้นที่ นิทรรศการเครื่องใช้ อุปกรณ์ทำมาหากินแบบโบราณ ซุ้มแสดงสินค้าแบบมินิ และ เวทีการแสดงท้องถิ่น ส่วนจุดที่ ๒ จัดโดยทาง อำเภอบางบัวทอง อยู่บน ถ.เทศบาล ๗ - ๙ หน้าวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ หรือวัดเล่งเน่ยยี่ ๒ ตั้งแต่ปากถนน ไปจนถึงโรงเรียนบางบัวทอง มีแต่ของขายล้วนๆ และเวทีดนตรีปิดวิก
เป็นการจัดงานที่มึนได้อีกจริงๆ
ถ้าดูตามแผนที่ที่ผมนำมาแสดงจะเห็นได้ว่า จุดที่ ๑ ห่างจากจุดที่ ๒ พอสมควร แถมไม่มีทางเชื่อม ไอ้ทางเชื่อมนี่หมายถึงการจัดงานที่เชื่อมต่อกันระหว่าง ๒ จุด ให้เดินไปตามเส้นทางนั้นๆ โดยไม่รู้สึกขาดตอน ตรงนี้เป็นเรื่องที่ "มึนมากๆ" ราวกับว่าเทศบาลกับอำเภอ เขาไม่ได้คุยกันอย่างงั้นล่ะ ก็เลยสงสัยว่าเอ๊ะ แล้วทำไมไม่ให้จัดซุ้มให้เลี้ยวออกไปทางถนนที่เชื่อมต่อตลาดซึ่งมันน่าจะดีกว่า หรือว่าชาวบ้านเจ้าของพื้นที่ไม่ให้ความร่วมมือ เพราะมันบังหน้าร้านเขาเนื่องจากเป็นพื้นที่การค้า ตรงนี้ไม่อาจทราบได้
แยกกันเป็นรายจุดเลยครับ ในส่วนที่จัดโดยเทศบาลบางบัวทอง อย่างที่เกริ่นไปว่ามีนิทรรศการหลากหลาย แต่ก็มีเพียงที่มาของโรงเรียน,ศาสนสถาน ในพื้นที่เท่านั้น ยังดีที่มีนักเรียน หรือเจ้าหน้าที่เทศบาล แต่งชุดไทยย้อนยุค มาเดินให้คำแนะนำนิทรรศการ สาธิตกิจกรรมต่างๆ มีการออกร้านนิดหน่อยจากคนถิ่น (ย้ำว่านิดหน่อย) บนเวทีมีการแสดงจิปาถะ จากคนถิ่นทั้ง ๘ ตำบล หมุนเวียนกันมา อันนี้ผมรู้สึกดีใจมาก อย่างน้อยก็มีของถิ่นให้ผู้มาเยือนได้ชื่นชมกันล่ะ แต่ที่น่าเสียดาย คือจำนวนคนที่มาชมนั้นน้อยนิดเมื่อเปรียบกับแถบที่มีของขายอย่างใหญ่โตในจุดที่ ๒
ทางฟากฝั่งที่อำเภอจัด ปิดถนนไป ๑ เลนฝั่งขาออก มีแต่ของขายครับ ซึ่งของแต่ละอย่าง ถ้าเมื่อสัปดาห์ที่แล้วคุณไปเดินงานกาชาด อ.บางใหญ่มา สัปดาห์นี้คุณก็จะได้เจอเหมือนๆ กันที่นี่ เฮ้ย! แล้วมันงานโปรโมทอำเภอตรงไหนวะ?
เอาแค่ร้านอาหารส่วนใหญ่ ก็มาจากคนต่างถิ่นทั้งนั้น ผมนึกในใจว่า คงจะได้เจอร้านของดีแต่ละตำบล ที่ผมคิดมันคือความฝัน มันคือ "จินตนาการสุด ๆ" เพราะกรอบของงานแม่งก็เหมือนเดิม มีออกร้านเดิมๆ ไม่ได้ทำให้มีความรู้สึกว่าน่าสนใจอะไร การแบ่งหมวดหมู่ของร้านก็ผสมกันเลอะเทอะมาก เดินไปนิดนึง ร้านเสื้อผ้า ร้านขายของเล่น ร้านอาหาร สลับกันไปมาแบบนี้ ไม่มีการจัดการที่ชัดเจนอะไรเลย เดินไปเรื่อยๆ ก็เจอดนตรีปิดวิก เก็บเงินค่าเข้าชม
แล้วที่น่าเสียดายมากคือ ตรงนั้นผ่านหน้า วัดเล่งเน่ยยี่ ๒ พอดี แต่กลับไม่มีการเปิดให้เข้าชม แม้กระทั่งประดับประดาไฟ ซึ่งผมเชื่อว่ามันน่าจะเป็นไฮไลท์อีกอย่างของงานได้ ก็ไม่ทราบว่าได้ประสานงานทางวัด หรือประสานงานแล้วแต่ทางวัดไม่อนุญาติก็ไม่ทราบได้ จริงๆ นะ ถ้าสมมุติวัดจะกลัวรบกวนภิกษุ ก็แค่เปิดประตูด้านหน้าแล้วกั้นเชือกให้ชาวบ้านได้เป็นยืนถ่ายรูปเป็นฉากหลัง ให้เจ้าหน้าที่เทศบาลมายืนคุมเชิง แค่นี้ผมว่าคนมาเที่ยวงานก็มีความสุขแล้ว
สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ไม่รู้เขาไม่ได้คิด หรือเขาคิดแต่ไม่ได้ทำ หรือคิดแล้วทำไม่ได้กันแน่
จริงๆ ผมไม่ได้ต่อต้านกับพวกร้านค้าต่างถิ่นนะ ผมเห็นว่า มันมีก็ได้ ... แต่สิ่งที่ผม ในฐานะคนที่มาท่องเที่ยว อยากเห็นมากกว่า นั่นคือ ร้านค้าประจำถิ่น ของดีประจำอำเภอ ตรงนี้ต่างหากที่งานนี้ไม่มีให้เห็นเลย ......
ผมอยู่บางบัวทอง เห็นร้านอาหารอร่อยหลายๆ ร้าน ทำไมผู้จัดเขาไม่เห็นแบบผมบ้างนะ ทำไมไม่ไปเชิญเขามาออกร้านนะ ถ้าทำเองไม่ได้ ก็ประสานทั้ง ๗ อบต.บวก ๑ เทศบาล ให้ไปขอความร่วมมือร้านค้า ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น อาหาร เครื่องดื่ม หรือพืชสวนครัว ร้านต้นไม้ ให้มาออกร้านสิครับ แบ่งเป็นโซนเลย อย่างหัวถนนเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม ตรงกลางเป็นสินค้าเกษตร และปลายถนนเป็นร้านอาหาร เอาของดีแต่ละตำบลมาประชันกันเลย นักท่องเที่ยวเขาจะได้รู้ว่า เมืองนี้มันมีอะไรดี และเป็นการส่งเสริมรายได้ให้กับคนท้องถิ่นอีกด้วย
เรื่องระยะเวลานี่ก็สำคัญ จัดกัน ๑๐ วันโลด คนก็มีความรู้สึกว่า มาวันไหนก็ได้ มาแค่ดูคอนเสิร์ตแล้วกลับบ้าน ถ้าเอากันแค่นี้ผมว่า ไม่ได้อะไร ไม่ได้เพิ่มความรู้ให้แก่คนมาร่วมงานเลย จริงๆ จัดกันแค่ ๓ วัน แล้วจัดมันยาวๆ ตั้งแต่ บ่ายแก่ๆ ยันเที่ยงคืน แบ่งเป็น ๒ เวทีก็ได้ เวทีปิดวิกก็จัดไป เน้นวงดังๆ ไปเลย จะได้แบบมาเที่ยวแล้วคุ้มค่าหน่อย ส่วนอีกเวทีก็การแสดงท้องถิ่น ซึ่งก็อย่าให้ยึดติดแค่การแสดงแค่เด็กน้อย และผู้ใหญ่ แต่ต้องมีพื้นที่ให้กับเด็กวัยรุ่นด้วย เช่นเปิดให้โชว์ดนตรี หรือการเต้นสมัยใหม่ บ้าง แล้วยัดไปเลย ๓ วัน จัดเต็ม อาจจะจ้างนักร้องอาชีพมาคั่นเวลาร้องเพลงโชว์สักนิดหน่อยก็แล้วแต่ตามงบประมาณที่มี
หรือจะให้พวกเขามาโชว์บนถนนก็ได้นะ อย่างพื้นที่ที่ปิดแค่ ๑ เลน ก็ปิดถนนมันทั้งเส้นไปเลย แล้วทำเป็นถนนคนเดินอย่างเต็มรูปแบบ แค่นี้ก็จะได้พื้นที่ในการจัดงานอย่างมโหฬารแล้ว โซนด้านหน้างานจัดเป็นนิทรรศการของแต่ละตำบล สาธิตความเป็นอยู่วิถีชาวบ้าน อธิบายความเป็นบางบัวทอง ศาสนา และความสำคัญของเมือง จะทำในรูปแบบป้ายปิด หรือนิทรรศการเคลื่อนที่ (ใช้คนแทนป้ายเล่าเรื่อง) ถ้าดูยากไปก็ลองขอความร่วมมือแบ่งงานให้โรงเรียนในพื้นที่ให้เด็กไปสร้างสรรค์ผลงานนำเสนอ ก็ได้
ส่วนโซนถัดไปก็เป็นพวกผลิตภัณฑ์อย่างที่ผมว่า อาจจะตัดสลับกับพื้นที่ให้เยาวชนได้แสดงออก เช่น โชว์ดนตรี หรือ เต้น หรืออื่นๆ ตามแต่ถนัด ยาวไปเรื่อยๆ จนสุดที่สนามกีฬาเทศบาล อันนั้นก็เป็นเวทีการแสดงเปิดงานปิดงานไป
ที่บ่นๆๆๆๆ ไปก็แค่จินตภาพ ที่ก่อตัวอยู่ในสมองน้อยๆ และได้แต่หวังว่า ทางราชการจะได้อ่านและนำไปใช้ปรับปรุงเพื่อให้งานในปีข้างหน้า ที่อาจจะจัดขึ้น ให้มันดูน่าเที่ยวกว่าที่เป็นอยู่
ไม่ใช่เพื่อใคร ก็เพื่อเมืองที่ผมรักทั้งนั้น