ผู้สมัครชิงผู้ว่าฯ กทม.หลักคือพล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญและม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ต่างก็เร่งกันหาเสียงและเสนอนโยบายสำคัญๆ ออกมาเพื่อเป็นทางเลือกให้ชาว กทม. เราจึงนำเสนอความเคลื่อนไหวของบุคคลทั้งสองดังนี้
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กล่าวถึงนโยบายที่จะนำเสนอในการหาเสียงว่าพรรคเพื่อไทยอยากเห็นความสมดุลเพราะกทม.เป็นเมืองเศรษฐกิจเชื่อว่าคน กทม.ต้องการความสุขที่อยู่บนสีเขียว อากาศบริสุทธิ์และมีสถานที่ออกกำลังกายซึ่งพล.ต.อ.พงศพัศอยากเห็นพื้นที่สีเขียวให้กับผู้สูงอายุ และคนพิการสามารถมาออกกำลังกายเพื่อให้คุณภาพชีวิตของคน กทม.ดีขึ้นและผสมผสานกับเทคโนโลยี่เช่นอินเตอร์เนตไวไฟในที่สาธารณะจะทำให้เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคนรุ่นใหม่กับคนวัยที่คนรุ่นคุณพ่อคุณแม่ จุดศูนย์รวมนี้จึงนำมาสู่นโยบายที่ต้องการคืนความสุขให้กับคนกทม.
พล.ต.อ.พงศพัศให้สัมภาษณ์อีกว่านโยบายกรีนซิตี้หรือเมืองสีเขียวเป็นนโยบายหลักที่นายกฯ พูดอยู่ตลอดเวลาและสวนสาธารณะใหญ่ๆ โดยเฉพาะที่มีขนาดเกิน 100 ไร่ขึ้นไปซึ่งปัจจุบันมีแค่ 5-6 แห่ง ดังนั้นต้องเพิ่มเติมที่ว่างต่างๆ เช่น ที่ราชพัสดุหรือที่ที่เราจะขอเช่ากับหน่วยงานต้นสังกัดแล้วนำมาทำพื้นที่สีเขียว สำหรับผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่ต้องดูแลอย่างเต็มที่เฉพาะผู้ที่อายุเกิน 60 ปีมีประมาณ 760,000 คนและที่เกิน 100 ปีมีประมาณ 2,000 คน ตรงนี้ต้องดูแล สวนสาธารณะเป็นอีกที่หนึ่งที่ลูกๆ หลานๆ จะพาผู้สูงอายุมาออกกำลังกาย ก็จะทำพื้นที่โดยเฉพาะให้ นอกจากนั้นก็จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการ เด็ก และสตรีด้วย
สำหรับการสำรวจพื้นที่ที่จะทำพื้นที่สีเขียว พล.ต.อ.พงศพัศตอบว่าใน 50 เขตมีแผนอยู่ในใจแล้วว่าจะทำที่ไหน แต่กระบวนการทำต้องประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ เราเห็นตรงกันว่าพื้นที่สีเขียวมีความจำเป็น ถ้าอยากเห็น กทม.ไร้มลพิษหรือนำสายไฟลงดิน ปลูกต้นไม้ใหญ่ทดแทนจะเป็นจุดสำคัญที่จะทำให้คน กทม.ที่มีโอกาสน้อยที่จะออกกำลังกาย แต่เมื่อเลิกงานแล้วหรือก่อนไปทำงานจะได้อาศัยพื้นที่ส่วนนี้ กทม.จะเป็นต้นแบบที่ดีที่จะให้คนมาออกกำลัง
นอกจากนี้พล.ต.อ.พงศพัศ ยังกล่าวด้วยว่าพื้นที่ใต้ทางด่วนส่วนใหญ่จะผ่านชุมชนเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ดังนั้น จะประสานกับการทางพิเศษฯ และกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อนำพื้นที่เหล่านั้นมาทำลานกีฬาและเพื่อแก้ปัญหายาเสพติดด้วย
สำหรับเรื่องอาหารข้างถนนจะได้มาตรฐานและถูกสุขลักษณะอย่างไรหรือไม่ก็จะหาทางให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลและกวดขัน
ส่วนเรื่องซอยเปลี่ยวก็จะได้สำรวจพื้นที่เสี่ยงและติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง การติดตั้งกล้องวงจรปิดซึ่งดำเนินการมานานแล้ว แต่อำนาจของผู้ว่าฯ กทม.นอกจากติดตั้งกล้องวงจรปิดอย่างไม่มีจำกัดแล้วยังต้องประสานกับตำรวจนครบาล 24 ชั่วโมงอีกด้วย
พล.ต.อ.พงศพัศกล่าวว่าวันที่ 21 ม.ค.ตนจะเดินทางไปศาลาว่าการกทม.ตั้งแต่เช้าตรู่เพื่อรอเวลาเปิดรับสมัครเลือกตั้ง หลังจากนั้นพรรคเพื่อไทยจะทยอยเปิดนโยบายออกมาเป็นระยะโดยวางนโยบายหลักไว้ 12 ข้อ อาทิ รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ทางเดินสีเขียวริมคูคลอง มรดกวัฒนธรรมรัตนโกสินทร์ เป็นต้น ขณะที่พล.ต.อ.พงศพัศได้วางแผนหาเสียงรอบนอกด้วยการไปหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดรอยต่อกรุงเทพฯ เพื่อเชื่อมโยงแก้ปัญหาที่เกี่ยวพันกัน
สำหรับค่ายม.ร.ว.สุขุมพันธุ์นั้นเขากล่าวว่าตั้งใจจะพัฒนา กทม.ให้เป็นมหานครแห่งการเรียนรู้พัฒนาศักยภาพทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนภายใต้หลักการและเหตุผล 2 ประการได้แก่ 1. ด้วยความที่สังคมไทยปัจจุบันกำลังจะเข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุ การดูแลประเทศชาติหลังจากนี้ก็จะกลายเป็นหน้าที่ของคนรุ่นใหม่มากยิ่งขึ้น2. เรากำลังจะก้าวสู่ประชาคมอาเซียนที่จะมีการสร้างความร่วมมือด้านต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะด้านแรงงานดังนั้นการพัฒนาเด็กและเยาวชนจึงสำคัญมาก และการเรียนรู้นอกห้องเรียนก็จะช่วยอีกทางหนึ่งดังนั้นจะเดินหน้าเพิ่มห้องสมุดการเรียนรู้และศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนอย่างทั่วถึง ที่สำคัญคือจะนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารหรือไอทีมาใช้เพื่อเพิ่มการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์กล่าวว่าสมัยเป็นผู้ว่าฯ กทม.ได้จัดหาคอมพิวเตอร์กว่า 20,000 เครื่องกระจายไปในทุกโรงเรียนที่สังกัด กทม.ทั้ง 50 เขตจนเด็กนักเรียนมีคอมพิวเตอร์ใช้ในการเรียนได้ 1 เครื่องต่อ 1 คนและเพิ่มหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมที่เรียกว่า “โตไปไม่โกง” นอกจากนี้ยังจัดหาอาหารเช้าฟรีแจกนักเรียนของโรงเรียนในสังกัด กทม.จำนวนกว่า 340,000 คนทุกวัน ดังนั้นหากได้กลับมาอีกสมัยก็มีแผนส่งเสริมคนรุ่นใหม่ให้มีระเบียบและวินัยมากขึ้น และต้องได้เรียนรู้นอกห้องเรียนด้วย กทม.จะส่งเสริมการอ่านอย่างเต็มที่ สร้างนิสัยใฝ่รู้และติดนิสัยอ่านหนังสือไปตลอดชีวิตให้สมกับที่องค์การยูเนสโกเลือกให้ กทม.เป็นเมืองหนังสือโลกในปีนี้
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กล่าวถึงนโยบายที่จะนำเสนอในการหาเสียงว่าพรรคเพื่อไทยอยากเห็นความสมดุลเพราะกทม.เป็นเมืองเศรษฐกิจเชื่อว่าคน กทม.ต้องการความสุขที่อยู่บนสีเขียว อากาศบริสุทธิ์และมีสถานที่ออกกำลังกายซึ่งพล.ต.อ.พงศพัศอยากเห็นพื้นที่สีเขียวให้กับผู้สูงอายุ และคนพิการสามารถมาออกกำลังกายเพื่อให้คุณภาพชีวิตของคน กทม.ดีขึ้นและผสมผสานกับเทคโนโลยี่เช่นอินเตอร์เนตไวไฟในที่สาธารณะจะทำให้เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคนรุ่นใหม่กับคนวัยที่คนรุ่นคุณพ่อคุณแม่ จุดศูนย์รวมนี้จึงนำมาสู่นโยบายที่ต้องการคืนความสุขให้กับคนกทม.
พล.ต.อ.พงศพัศให้สัมภาษณ์อีกว่านโยบายกรีนซิตี้หรือเมืองสีเขียวเป็นนโยบายหลักที่นายกฯ พูดอยู่ตลอดเวลาและสวนสาธารณะใหญ่ๆ โดยเฉพาะที่มีขนาดเกิน 100 ไร่ขึ้นไปซึ่งปัจจุบันมีแค่ 5-6 แห่ง ดังนั้นต้องเพิ่มเติมที่ว่างต่างๆ เช่น ที่ราชพัสดุหรือที่ที่เราจะขอเช่ากับหน่วยงานต้นสังกัดแล้วนำมาทำพื้นที่สีเขียว สำหรับผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่ต้องดูแลอย่างเต็มที่เฉพาะผู้ที่อายุเกิน 60 ปีมีประมาณ 760,000 คนและที่เกิน 100 ปีมีประมาณ 2,000 คน ตรงนี้ต้องดูแล สวนสาธารณะเป็นอีกที่หนึ่งที่ลูกๆ หลานๆ จะพาผู้สูงอายุมาออกกำลังกาย ก็จะทำพื้นที่โดยเฉพาะให้ นอกจากนั้นก็จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการ เด็ก และสตรีด้วย
สำหรับการสำรวจพื้นที่ที่จะทำพื้นที่สีเขียว พล.ต.อ.พงศพัศตอบว่าใน 50 เขตมีแผนอยู่ในใจแล้วว่าจะทำที่ไหน แต่กระบวนการทำต้องประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ เราเห็นตรงกันว่าพื้นที่สีเขียวมีความจำเป็น ถ้าอยากเห็น กทม.ไร้มลพิษหรือนำสายไฟลงดิน ปลูกต้นไม้ใหญ่ทดแทนจะเป็นจุดสำคัญที่จะทำให้คน กทม.ที่มีโอกาสน้อยที่จะออกกำลังกาย แต่เมื่อเลิกงานแล้วหรือก่อนไปทำงานจะได้อาศัยพื้นที่ส่วนนี้ กทม.จะเป็นต้นแบบที่ดีที่จะให้คนมาออกกำลัง
นอกจากนี้พล.ต.อ.พงศพัศ ยังกล่าวด้วยว่าพื้นที่ใต้ทางด่วนส่วนใหญ่จะผ่านชุมชนเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ดังนั้น จะประสานกับการทางพิเศษฯ และกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อนำพื้นที่เหล่านั้นมาทำลานกีฬาและเพื่อแก้ปัญหายาเสพติดด้วย
สำหรับเรื่องอาหารข้างถนนจะได้มาตรฐานและถูกสุขลักษณะอย่างไรหรือไม่ก็จะหาทางให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลและกวดขัน
ส่วนเรื่องซอยเปลี่ยวก็จะได้สำรวจพื้นที่เสี่ยงและติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง การติดตั้งกล้องวงจรปิดซึ่งดำเนินการมานานแล้ว แต่อำนาจของผู้ว่าฯ กทม.นอกจากติดตั้งกล้องวงจรปิดอย่างไม่มีจำกัดแล้วยังต้องประสานกับตำรวจนครบาล 24 ชั่วโมงอีกด้วย
พล.ต.อ.พงศพัศกล่าวว่าวันที่ 21 ม.ค.ตนจะเดินทางไปศาลาว่าการกทม.ตั้งแต่เช้าตรู่เพื่อรอเวลาเปิดรับสมัครเลือกตั้ง หลังจากนั้นพรรคเพื่อไทยจะทยอยเปิดนโยบายออกมาเป็นระยะโดยวางนโยบายหลักไว้ 12 ข้อ อาทิ รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ทางเดินสีเขียวริมคูคลอง มรดกวัฒนธรรมรัตนโกสินทร์ เป็นต้น ขณะที่พล.ต.อ.พงศพัศได้วางแผนหาเสียงรอบนอกด้วยการไปหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดรอยต่อกรุงเทพฯ เพื่อเชื่อมโยงแก้ปัญหาที่เกี่ยวพันกัน
สำหรับค่ายม.ร.ว.สุขุมพันธุ์นั้นเขากล่าวว่าตั้งใจจะพัฒนา กทม.ให้เป็นมหานครแห่งการเรียนรู้พัฒนาศักยภาพทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนภายใต้หลักการและเหตุผล 2 ประการได้แก่ 1. ด้วยความที่สังคมไทยปัจจุบันกำลังจะเข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุ การดูแลประเทศชาติหลังจากนี้ก็จะกลายเป็นหน้าที่ของคนรุ่นใหม่มากยิ่งขึ้น2. เรากำลังจะก้าวสู่ประชาคมอาเซียนที่จะมีการสร้างความร่วมมือด้านต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะด้านแรงงานดังนั้นการพัฒนาเด็กและเยาวชนจึงสำคัญมาก และการเรียนรู้นอกห้องเรียนก็จะช่วยอีกทางหนึ่งดังนั้นจะเดินหน้าเพิ่มห้องสมุดการเรียนรู้และศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนอย่างทั่วถึง ที่สำคัญคือจะนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารหรือไอทีมาใช้เพื่อเพิ่มการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์กล่าวว่าสมัยเป็นผู้ว่าฯ กทม.ได้จัดหาคอมพิวเตอร์กว่า 20,000 เครื่องกระจายไปในทุกโรงเรียนที่สังกัด กทม.ทั้ง 50 เขตจนเด็กนักเรียนมีคอมพิวเตอร์ใช้ในการเรียนได้ 1 เครื่องต่อ 1 คนและเพิ่มหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมที่เรียกว่า “โตไปไม่โกง” นอกจากนี้ยังจัดหาอาหารเช้าฟรีแจกนักเรียนของโรงเรียนในสังกัด กทม.จำนวนกว่า 340,000 คนทุกวัน ดังนั้นหากได้กลับมาอีกสมัยก็มีแผนส่งเสริมคนรุ่นใหม่ให้มีระเบียบและวินัยมากขึ้น และต้องได้เรียนรู้นอกห้องเรียนด้วย กทม.จะส่งเสริมการอ่านอย่างเต็มที่ สร้างนิสัยใฝ่รู้และติดนิสัยอ่านหนังสือไปตลอดชีวิตให้สมกับที่องค์การยูเนสโกเลือกให้ กทม.เป็นเมืองหนังสือโลกในปีนี้