เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีข่าวสำคัญอยู่ข่าวหนึ่ง ที่อยู่ในความสนใจของประชาชนมากทีเดียว นั้นคือศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้จำคุก นายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นเวลา 1 ปี ปรับ 20,000 บาท โดยโทษจำคุกรอลงอาญา ในคดีหมิ่นประมาท พ.ต.ท.ทักษิณ เล่นไสยศาสตร์ หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุก 3 ปี
จากกรณีเมื่อเดือน มีนาคม ปี 2549 นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ และแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้กล่าวปราศรัยบนเวทีพันธมิตรฯ พาดพิงถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่าใช้เงินซื้อประชาชนให้รักตัว พร้อมทั้งกล่าวหาว่า หมกมุ่นเรื่องไสยศาสตร์นั้น
ล่าสุด ศาลอาญารัชดาได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสนธิ และนายขุนทอง ลอเสรีวานิช บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา
โดยศาลอุทธรณ์ ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้ว เห็นว่า แม้จำเลยจะกระทำผิดตามฟ้อง แต่อุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้นบางส่วน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ลงโทษจำคุก นายสนธิ จำเลยที่ 1 เป็นเวลา 1 ปี ปรับ 20,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้เป็นเวลา 2 ปี และให้จำเลยที่ 1 ลงโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ เป็นเวลา 5 วัน และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2
เรื่องนี้สะกิดใจ ทำให้ผมไปค้นข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นเกี่ยวกับสื่อสารมวลชนกับการวิพากษ์วิจารณ์หรือเสนอความคิดเห็นต่างๆที่เป็นประโยชน์
เป็นความโชคดีของผมที่มีคุณแม่เป็นอดีตอาจารย์มหาวิทยาลัย ทำให้ที่บ้านมีหนังสือเยอะมาก แทบทุกห้องในบ้านมีชั้นหนังสือ มีที่น่าอ่านหลายเล่มและหนึ่งในนั้นที่ปะปนอยู่ คือ งานวิจัยของคุณอัจฉราพร กมุทพิสมัย เรื่อง ปัญหาภายในสังคมไทย ก่อนปฏิวัติ 2475 ภาพสะท้อนจากงานเขียนทางหนังสือพิมพ์
อ่านไปไม่กี่หน้า ก็มีเรื่องที่อ่านสนุกอยากนำมาเล่าต่อ เช่น หนังสือพิมพ์บางกอกการเมือง ลงข่าวเรื่อง”ตำรวจอ้วน”เป็นการเสียดสีการปฏิบัติงานของตำรวจนครบาล สน.จักรวรรดิ์ สามแยก สัมพันธวงศ์ บางรัก ว่าตำรวจทั้งสี่ สน.นี้ ต้องเกี่ยวข้องกับคนจีนมาก มีการออกกำลังโต้เถียงกันลั่นโรงพัก นายตำรวจ สน.เหล่านี้จึงอ้วนไปตามๆกัน
หลังจากลงข่าวนี้แล้วไม่กี่วัน ตำรวจก็ฟ้อง บก.บางกอกการเมือง ศาลโปริสภาไต่สวนว่าคดีมีมูล ฝ่ายตำรวจที่เป็นโจทก์ให้การว่า การลงพิมพ์ข้อความนี้ส่อให้คนอ่านเข้าใจว่า นายตำรวจทั้งสี่โรงพักกินสินบน ก่อให้ประชาชนดูหมิ่นเกลียดชัง หมดความไว้ใจเชื่อถือตำรวจผู้เป็นเจ้าพนักงาน
ฝ่ายจำเลยเถียงว่า ไม่มีข้อความใดส่อเช่นนั้น ข้อความที่ลงนั้นเพียงแต่เขียนว่า นายตำรวจประจำสถานีเหล่านั้นทำการเกี่ยวข้องกับคนจีน การพูดจาสื่อภาษากันย่อมยากลำบากเป็นเหตุให้ตำรวจต้องลุกขึ้นส่งเสียงดัง ต้องนั่งๆลุกๆ เป็นการ”เอ็กเซอไซส์” เป็นผลให้กล้ามเนื้อเจริญตำรวจจึงอ้วน เรื่องนี้สืบพยานกันหลายปาก ผลที่สุดศาลอาญาพิพากษาจำคุกบรรณาธิการสามเดือน
มีอีกหลายบทความจากหนังสือพิมพ์ในยุคนั้นที่น่าสนใจ บทความหนึ่ง ชื่อ “หนังสือพิมพ์กับมหาชน” ตีพิมพ์โดยหนังสือพิมพ์ กรุงเทพเดลิเมล์ ฉบับวันที่ 3 กันยายน 2468 ขอคัดข้อความตอนหนึ่งมาโดยคงการสะกดคำตามต้นฉบับเดิมนะครับ ว่า
“คำพูดของหนังสือพิมพ์ถึงจะรุนแรงปานใด ถ้าผู้ประพันธ์เขียนถึงประโยชน์แห่งกิจการอันเปนสาธารณะหรือที่ตนมีเจตนาดี ถึงจะผิดก็ได้รับการอภัยและความชมเชย ถึงแม้ข้อความที่กล่าวไปนั้นจะเปนเหตุให้ผู้กล่าวต้องถูกจำจอง เมื่อเปนเจตนาดีแก่หมู่คณะและประเทศ ก็ยังได้รับความสรรเสริญยกย่องและความเคารพของมหาชน...”
บทความนี้เขียนขึ้นและตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 ราว 7 ปี เป็นบรรยากาศในสังคมไทยก่อนหน้าคณะราษฎรจะยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตย
รัฐบาลในเวลานั้น มีการประกาศพระราชบัญญัติสมุดเอกสารและหนังสือพิมพ์ ในปี พ.ศ.2465 และมีการปรับปรุงครั้งใหญ่ ในปี พ.ศ. 2470 ที่ต้องหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเพราะว่า มันไปตรงกับ กรณีของคุณสนธิพอดี
นักหนังสือพิมพ์หลายคนในยุคนั้นก็เขียนถึงเรื่องเสรีภาพของสื่อมวลชน เพื่อที่จะแสดงความคิดเห็นต่อการถูกคุกคามเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของสื่อ
อีกตัวอย่างหนึ่งเป็นบทนำของหนังสือพิมพ์เกราะเหล็ก(รายสัปดาห์) ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2467 ชื่อเรื่อง “เกราะเหล็ก เกราะเดียวที่จะกันกระสุนอยุติธรรมให้ท่านทั้งปวง” ที่พูดถึงจุดยืนของหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆในยุคนั้น เช่น
“อันที่จริงยุคนี้ก็มีหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์กำลังเต้นอยู่กลางเมือง และเกิดขึ้นใหม่ ล้วนแต่ตั้งความจำนงรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ทั้งมุ่งหมายผดุงความอิสรภาพให้ชาวบ้านได้รับความเสมอภาคเปนอันมาก แต่ผู้รักชาติที่เคยยืนโรงเก่า เช่น เดลิเมล์ หนักเข้าก็โดนมือดีเปลื้องเครื่องถอดชฏาเลิกเอาง่ายๆ แลให้ที่สุดบัดนี้เดลิเมล์ผู้รักชาติ ได้กลายสภาพเป็นหุ่นเล่นของ เมื่อเอยเมื่อนั้น พระพิมสวรรค์ผู้รุ่งฟ้าไปแล้วไม่ใช่หรือ”
ต่อมา หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475แล้ว ได้มีการอออก พรบ. การพิมพ์ในปี 2484 ซึ่งใช้มายาวนานมาก จนหลายคนจำได้ขึ้นใจ เลยเอามาใช้เพื่อเอาผิดคุณสนธิ แต่เราก็ต้องไม่ลืมว่า พรบ. ฉบับนี้ได้ยกเลิกไปแล้ว
ที่ผมหยิบยกตัวอย่างจากหนังสือพิมพ์เก่าๆมาให้อ่านกันเล็กน้อย เพื่อแสดงให้เห็นว่าสื่อมวลชนไม่ว่าจะในยุคใดสมัยใด ต้องเผชิญกันตลอดมา เสรีภาพของสื่อถูกคามจากผู้มีอำนาจ แถมสมัยนี้ไม่ใช่แค่อำนาจรัฐที่จะจ้องทำลายสื่อ แต่ยังมีอำนาจเงินเพิ่มขึ้นมา เพื่อหวังจะปิดปาก ครอบงำสื่ออีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ต้องย้ำว่า สื่อมวลชนที่พูดความจริง มีเจตนาดีเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมและประเทศชาติ ไม่ว่าจะได้รับผลเช่นไร ย่อมได้รับการสรรเสริญยกย่องและความยกย่องจากมหาชนเสมอ...นี่เป็นสัจธรรมครับ
จากกรณีเมื่อเดือน มีนาคม ปี 2549 นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ และแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้กล่าวปราศรัยบนเวทีพันธมิตรฯ พาดพิงถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่าใช้เงินซื้อประชาชนให้รักตัว พร้อมทั้งกล่าวหาว่า หมกมุ่นเรื่องไสยศาสตร์นั้น
ล่าสุด ศาลอาญารัชดาได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสนธิ และนายขุนทอง ลอเสรีวานิช บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา
โดยศาลอุทธรณ์ ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้ว เห็นว่า แม้จำเลยจะกระทำผิดตามฟ้อง แต่อุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้นบางส่วน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ลงโทษจำคุก นายสนธิ จำเลยที่ 1 เป็นเวลา 1 ปี ปรับ 20,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้เป็นเวลา 2 ปี และให้จำเลยที่ 1 ลงโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ เป็นเวลา 5 วัน และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2
เรื่องนี้สะกิดใจ ทำให้ผมไปค้นข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นเกี่ยวกับสื่อสารมวลชนกับการวิพากษ์วิจารณ์หรือเสนอความคิดเห็นต่างๆที่เป็นประโยชน์
เป็นความโชคดีของผมที่มีคุณแม่เป็นอดีตอาจารย์มหาวิทยาลัย ทำให้ที่บ้านมีหนังสือเยอะมาก แทบทุกห้องในบ้านมีชั้นหนังสือ มีที่น่าอ่านหลายเล่มและหนึ่งในนั้นที่ปะปนอยู่ คือ งานวิจัยของคุณอัจฉราพร กมุทพิสมัย เรื่อง ปัญหาภายในสังคมไทย ก่อนปฏิวัติ 2475 ภาพสะท้อนจากงานเขียนทางหนังสือพิมพ์
อ่านไปไม่กี่หน้า ก็มีเรื่องที่อ่านสนุกอยากนำมาเล่าต่อ เช่น หนังสือพิมพ์บางกอกการเมือง ลงข่าวเรื่อง”ตำรวจอ้วน”เป็นการเสียดสีการปฏิบัติงานของตำรวจนครบาล สน.จักรวรรดิ์ สามแยก สัมพันธวงศ์ บางรัก ว่าตำรวจทั้งสี่ สน.นี้ ต้องเกี่ยวข้องกับคนจีนมาก มีการออกกำลังโต้เถียงกันลั่นโรงพัก นายตำรวจ สน.เหล่านี้จึงอ้วนไปตามๆกัน
หลังจากลงข่าวนี้แล้วไม่กี่วัน ตำรวจก็ฟ้อง บก.บางกอกการเมือง ศาลโปริสภาไต่สวนว่าคดีมีมูล ฝ่ายตำรวจที่เป็นโจทก์ให้การว่า การลงพิมพ์ข้อความนี้ส่อให้คนอ่านเข้าใจว่า นายตำรวจทั้งสี่โรงพักกินสินบน ก่อให้ประชาชนดูหมิ่นเกลียดชัง หมดความไว้ใจเชื่อถือตำรวจผู้เป็นเจ้าพนักงาน
ฝ่ายจำเลยเถียงว่า ไม่มีข้อความใดส่อเช่นนั้น ข้อความที่ลงนั้นเพียงแต่เขียนว่า นายตำรวจประจำสถานีเหล่านั้นทำการเกี่ยวข้องกับคนจีน การพูดจาสื่อภาษากันย่อมยากลำบากเป็นเหตุให้ตำรวจต้องลุกขึ้นส่งเสียงดัง ต้องนั่งๆลุกๆ เป็นการ”เอ็กเซอไซส์” เป็นผลให้กล้ามเนื้อเจริญตำรวจจึงอ้วน เรื่องนี้สืบพยานกันหลายปาก ผลที่สุดศาลอาญาพิพากษาจำคุกบรรณาธิการสามเดือน
มีอีกหลายบทความจากหนังสือพิมพ์ในยุคนั้นที่น่าสนใจ บทความหนึ่ง ชื่อ “หนังสือพิมพ์กับมหาชน” ตีพิมพ์โดยหนังสือพิมพ์ กรุงเทพเดลิเมล์ ฉบับวันที่ 3 กันยายน 2468 ขอคัดข้อความตอนหนึ่งมาโดยคงการสะกดคำตามต้นฉบับเดิมนะครับ ว่า
“คำพูดของหนังสือพิมพ์ถึงจะรุนแรงปานใด ถ้าผู้ประพันธ์เขียนถึงประโยชน์แห่งกิจการอันเปนสาธารณะหรือที่ตนมีเจตนาดี ถึงจะผิดก็ได้รับการอภัยและความชมเชย ถึงแม้ข้อความที่กล่าวไปนั้นจะเปนเหตุให้ผู้กล่าวต้องถูกจำจอง เมื่อเปนเจตนาดีแก่หมู่คณะและประเทศ ก็ยังได้รับความสรรเสริญยกย่องและความเคารพของมหาชน...”
บทความนี้เขียนขึ้นและตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 ราว 7 ปี เป็นบรรยากาศในสังคมไทยก่อนหน้าคณะราษฎรจะยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตย
รัฐบาลในเวลานั้น มีการประกาศพระราชบัญญัติสมุดเอกสารและหนังสือพิมพ์ ในปี พ.ศ.2465 และมีการปรับปรุงครั้งใหญ่ ในปี พ.ศ. 2470 ที่ต้องหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเพราะว่า มันไปตรงกับ กรณีของคุณสนธิพอดี
นักหนังสือพิมพ์หลายคนในยุคนั้นก็เขียนถึงเรื่องเสรีภาพของสื่อมวลชน เพื่อที่จะแสดงความคิดเห็นต่อการถูกคุกคามเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของสื่อ
อีกตัวอย่างหนึ่งเป็นบทนำของหนังสือพิมพ์เกราะเหล็ก(รายสัปดาห์) ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2467 ชื่อเรื่อง “เกราะเหล็ก เกราะเดียวที่จะกันกระสุนอยุติธรรมให้ท่านทั้งปวง” ที่พูดถึงจุดยืนของหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆในยุคนั้น เช่น
“อันที่จริงยุคนี้ก็มีหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์กำลังเต้นอยู่กลางเมือง และเกิดขึ้นใหม่ ล้วนแต่ตั้งความจำนงรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ทั้งมุ่งหมายผดุงความอิสรภาพให้ชาวบ้านได้รับความเสมอภาคเปนอันมาก แต่ผู้รักชาติที่เคยยืนโรงเก่า เช่น เดลิเมล์ หนักเข้าก็โดนมือดีเปลื้องเครื่องถอดชฏาเลิกเอาง่ายๆ แลให้ที่สุดบัดนี้เดลิเมล์ผู้รักชาติ ได้กลายสภาพเป็นหุ่นเล่นของ เมื่อเอยเมื่อนั้น พระพิมสวรรค์ผู้รุ่งฟ้าไปแล้วไม่ใช่หรือ”
ต่อมา หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475แล้ว ได้มีการอออก พรบ. การพิมพ์ในปี 2484 ซึ่งใช้มายาวนานมาก จนหลายคนจำได้ขึ้นใจ เลยเอามาใช้เพื่อเอาผิดคุณสนธิ แต่เราก็ต้องไม่ลืมว่า พรบ. ฉบับนี้ได้ยกเลิกไปแล้ว
ที่ผมหยิบยกตัวอย่างจากหนังสือพิมพ์เก่าๆมาให้อ่านกันเล็กน้อย เพื่อแสดงให้เห็นว่าสื่อมวลชนไม่ว่าจะในยุคใดสมัยใด ต้องเผชิญกันตลอดมา เสรีภาพของสื่อถูกคามจากผู้มีอำนาจ แถมสมัยนี้ไม่ใช่แค่อำนาจรัฐที่จะจ้องทำลายสื่อ แต่ยังมีอำนาจเงินเพิ่มขึ้นมา เพื่อหวังจะปิดปาก ครอบงำสื่ออีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ต้องย้ำว่า สื่อมวลชนที่พูดความจริง มีเจตนาดีเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมและประเทศชาติ ไม่ว่าจะได้รับผลเช่นไร ย่อมได้รับการสรรเสริญยกย่องและความยกย่องจากมหาชนเสมอ...นี่เป็นสัจธรรมครับ