1.นโยบายของ 2 พรรคใหญ่ยังเน้นเรื่องความหวือหวา โดนใจ ดึงดูดใจ ล่อใจ แต่ยังไม่ลงลึกถึงการแก้ปัญหารากฐาน หรือที่นักวิชาการเรียกว่าปัญหาเชิงโครงสร้าง ในด้านเศรษฐกิ จเราต่างยอมรับกันมานานว่าสังคมไทยเหลื่อมล้ำ มีช่องว่างหรือแก๊ประหว่างชนชั้น(วัดจากรายได้)มากเกินไป แต่ดูเหมือนทั้งสองพรรคใหญ่จะเน้นไปที่การให้ยาหอมว่าจะเพิ่มเงินแก่คนทำงานรายได้ต่ำเพิ่มขึ้น(อีกนิด) โดยไม่แตะต้องเงื่อนปมสำคัญของการเหลื่มล้ำไม่เป็นธรรมที่แท้จริง
2.การหาเสียงโดยใช้การตลาดนำรอบนี้ก้าวหน้ามากขึ้นอย่างชัดเจน ในยุคก่อนแค่สโลแกน “30 บาทรักษาทุกโรค” ที่มีโค้ดตัวเลข 30 บาท (ที่ดูไม่แพง)มาเล่นใช้การได้ดี หรือแม้กระทั่งคำว่า หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ก็มีโค้ดคำว่า “ตำบล” ที่ใกล้ตัวผู้บริโภคเหมือนเป็นแคมเปญที่มองเห็นคุณค่าของคนระดับตำบล แต่มารอบนี้โค้ดคำมุ่งไปที่ความรู้สึกพัวพันกับเศรษฐกิจและรายได้โดยตรง เช่น แคมเปญยางพาราของพรรคภูมิใจไทยที่เล่นกับคำว่า “เอทีเอ็ม” ในไร่นา ขณะที่พรรคเพื่อไทยซึ่งก็มีรากฐานการหาเสียงแบบเดียวกันก็ไม่น้อยหน้าใช้โค้ดคำ “บัตรเครดิต” มาเล่นเพื่อให้ภาพชัดกว่าเอทีเอ็ม เพราะไม่ต้องลงทุนสร้างลงทุนรอเอารายได้ในอนาคตมาใช้ได้ก่อน
3.การหาเสียงรอบนี้ยังมีพัฒนาการของการตอบโต้โดย “โค้ดคำ” เป็นการตอบโต้ระหว่างการแข่งในยกแรกหลังจากแคมเปญ บัตรเครดิตของพรรคเพื่อไทยดูเหมือนได้รับการตอบรับมาก ประชาธิปัตย์จึงตอบโต้ด้วยการผูกความหมายของ บัตรเครดิตกับหนี้สินออกมาด้วยแคมเปญล้างหนี้บัตรเครดิต ซึ่งเนื้อแท้แล้วการล้างหนี้ ยกหนี้ เลื่อนหนี้ ได้กลายเป็นหัวใจของการหาเสียงยุคใหม่ไปแล้วไม่ว่าพรรคไหน ทั้งเพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ก็ลงมาคลุกกับขนมหวานใส่สีล้างหนี้ เลื่อนหนี้กันทั้งสิ้น
4.พรรคขนาดกลางอย่างชาติไทยพัฒนา หรือชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน กิจสังคม มาตุภูมิ ฯลฯ ต่างก็มีนโยบายหาเสียงที่โดดเด่นของตนเองเช่น พรรคโคราชของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภเสนอแคมเปญราคาพลังงานตรึงราคาน้ำมันเอาไว้ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าสามารถทำได้แต่ปรากฏว่าสังคม สื่อ และพรรคการเมืองเองไม่เคยมีเงื่อนไขที่เป็นเหมือนสัญญาประชาคมที่ว่า หากได้รับการทาบทามเข้าร่วมรัฐบาลจะต้องทำหรือจัดให้มี“นโยบายสำคัญ”ของพรรคตัวเองให้ได้ ดังนั้นคำหาเสียงดี ๆ หลายอย่างยังเป็นเหมือนลมปากที่ไม่มีเงื่อนไขผูกมัดหรือคำสัญญาใด ๆ เพราะแท้จริงแล้วพรรคเหล่านี้ไม่มีทางที่จะเป็นแกนนำตั้งรัฐบาล อย่างเก่งก็เป็นพรรคร่วมดังนั้นสังคมควรกดดันให้พรรคเหล่านี้แสดงความชัดเจนเรื่องเงื่อนไขร่วมรัฐบาล
5.ไม่มีนโยบายสีเขียว นโยบายสิ่งแวดล้อม นโยบายรองรับความเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและนโยบายรับพิบัติธรรมชาติที่มีแนวโน้มมากขึ้น แม้กระทั่งนายสุวิทย์ คุณกิตติ กิจสังคมที่เป็นรมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ มาก่อนก็ไม่มีนโยบายสีเขียว แม้จะดีอย่างที่พยายามเล่นเรื่องเขาพระวิหารเป็นหลักแต่อีกทางหนึ่งก็น่าจะแสดงให้เห็นถึงงานที่ตนเองเคยรับผิดชอบมาก่อน แท้จริงแล้วพรรคนี้ก็ไม่ได้ต่างจากพรรคการเมืองอื่นที่น่าผิดหวังอยู่มาก ดูแลสิ่งแวดล้อมมีงานเดียวที่ทำได้เด่นคือตัดต้นไม่ริมถนนเขาใหญ่ ส่วนเรื่องอื่นยังสอบไม่ผ่านแถมยังมีหน้ามาทำกรงหมีขั้วโลก 71 ล้านที่สวนสัตว์เชียงใหม่เพื่อการอนุรักษ์ ? (ฮา-ฮิ้ววว) อีกต่างหาก
6.ยกแรกของการหาเสียงยังเงียบสงบดี พรรคเพื่อไทยพยายามเตือนคนเสื้อแดงไม่ให้รังควานอภิสิทธิ์หาเสียง แถมชูสโลแกนแก้ไข ไม่แก้แค้น แต่อีกทางหนึ่งเฉลิมก็ข่มขู่ย้ายข้าราชการ ดีเจ.วิทยุชุมชนบางคนยังแพลม ๆ ว่าเราไม่แก้แค้น รอไว้เป็นรัฐบาลก่อนค่อยว่ากัน พี่น้องใจเย็น ๆ ? (แปลว่าอะไรฟระเนี่ย) แสดงว่าที่แกนนำเสื้อแดงเคยขู่ ๆ จะย้ายทหาร ย้ายอธิบดี ยุบดีเอสไอ ย้ายผู้ว่าฯ เป็นคำพูดพล่อย ๆ เอามันบนเวทีที่พรรคเพื่อไทยไม่ยอมรับ หรือแค่กลบ ๆ ไว้ก่อนกันแน่
7.ปี่กลองเลือกตั้งทำให้สังคมสนใจที่พรรคการเมืองและนักการเมืองกันลืมเลือนไปว่าองค์กรที่สังคมควรสนใจที่สุดอีกแห่งก็คือ กกต. ตอนนี้กกต.จังหวัดกำลังอยู่ระหว่างการสับเปลี่ยนตามวาระ กกต.จังหวัดชุดที่รับสมัครเป็นชุดเก่าคาบเกี่ยวกับชุดใหม่ที่จะมาทำหน้าที่ในเดือนหน้า การเปลี่ยนผู้รับผิดชอบกลางคันแบบนี้เหมือนเปลี่ยนม้ากลางธาร การคัดเลือกกกต.ใหม่แทบไม่ได้ได้รับความสนใจเลยทั้ง ๆ ที่ตัวบุคคลที่อยู่ในข่ายจำนวนหนึ่งเป็นคนที่นักการเมืองส่งเข้าประกวด เรื่องแบบนี้คนในท้องถิ่นในจังหวัดต่าง ๆ ทราบกันดี
8.นโยบายหาเสียงส่วนใหญ่หวือหวาเอามัน มีเฉพาะเรื่องเดียวเท่านั้นที่ดูจะเป็นประโยชน์ในระยะยาวคือเรื่องสินค้าเกษตรและนโยบายการยกระดับราคา ปชป.เน้นเรื่องตลาดล่วงหน้า+การประกัน พรรคเพื่อไทยมุ่งไปที่การรับจำนำ ส่วนภูมิใจไทยเอาตัวเลขข้าวเกวียนละ 2 หมื่นมาชูและใช้ระบบการประกัน นี่เป็นรายละเอียดทางเทคนิคที่มีจุดอ่อนจุดแข็งและผูกกับผลประโยชน์ข้าวและสินค้าเกษตรไทย แต่ดูเหมือนสังคมจะให้ความสนใจที่การถกเถียง ชั่งน้ำหนักกันน้อยกว่าเรื่องบัตรเครดิตที่เป็นขนมหวานทำให้ฟันผุ
9.การรณรงค์โหวตโน กลายเป็นส่วนหนึ่งของการถกเถียงในการเลือกตั้งรอบนี้ แต่ยังมีคนจำนวนมากมองว่า การรณรงค์โหวตโนเป็นการทำลายประชาธิปไตย เป็นพวกไม่รักประชาธิปไตย อ้าว ! ถ้างั้นก็ให้รัฐสภาและส.ส.ที่กำลังเลือกรอบนี้ห้ามโหวต “ไม่ออกเสียง” ในสภาสิ ! เพราะมันไม่เป็นประชาธิปไตย ปู้ดโธ้ ! รัฐสภาและประชาธิปไตยของทั้งโลกเวลาโหวตเขามี 3 ช่อง “เห็นด้วย-ไม่เห็นด้วย-งดออกเสียง” แต่ก็ยังมีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ออกมาตะแบงโง่ ๆ ว่าการงดออกเสียงเป็นการทำลายประชาธิปไตย
10.การใช้พื้นที่อินเตอร์เน็ตและสื่อใหม่ของพรรคการเมืองยังไม่หวือหวาคึกคักอย่างที่คาด แต่อย่างน้อยก็ทำให้สังคมติดตามกิจกรรมของคนเด่นคนดังและพรรคการเมืองนั้น ๆ ได้ใกล้ชิดขึ้น (สำหรับคนคิดจะติดตามแบบแฟนพันธุ์แท้) อย่างไรก็ตามการตอบโต้รายวันแบบปิงปองยังต้องอาศัยสื่อหลักอยู่เช่นเดิม ไปๆ มา ๆ สื่อใหม่ทั้งอินเตอร์เน็ตเฟซบุ้คกลับเป็นแหล่งปล่อยหมัดใต้เข็มขัดที่ดุเดือดยิ่ง แม้จะเพิ่งเริ่มยกแรกก็เริ่มเห็นแล้วว่าสมรภูมิใต้เข็มขัดน่าจะดุเดือดเลือดพล่านขึ้นเรื่อย ๆ
2.การหาเสียงโดยใช้การตลาดนำรอบนี้ก้าวหน้ามากขึ้นอย่างชัดเจน ในยุคก่อนแค่สโลแกน “30 บาทรักษาทุกโรค” ที่มีโค้ดตัวเลข 30 บาท (ที่ดูไม่แพง)มาเล่นใช้การได้ดี หรือแม้กระทั่งคำว่า หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ก็มีโค้ดคำว่า “ตำบล” ที่ใกล้ตัวผู้บริโภคเหมือนเป็นแคมเปญที่มองเห็นคุณค่าของคนระดับตำบล แต่มารอบนี้โค้ดคำมุ่งไปที่ความรู้สึกพัวพันกับเศรษฐกิจและรายได้โดยตรง เช่น แคมเปญยางพาราของพรรคภูมิใจไทยที่เล่นกับคำว่า “เอทีเอ็ม” ในไร่นา ขณะที่พรรคเพื่อไทยซึ่งก็มีรากฐานการหาเสียงแบบเดียวกันก็ไม่น้อยหน้าใช้โค้ดคำ “บัตรเครดิต” มาเล่นเพื่อให้ภาพชัดกว่าเอทีเอ็ม เพราะไม่ต้องลงทุนสร้างลงทุนรอเอารายได้ในอนาคตมาใช้ได้ก่อน
3.การหาเสียงรอบนี้ยังมีพัฒนาการของการตอบโต้โดย “โค้ดคำ” เป็นการตอบโต้ระหว่างการแข่งในยกแรกหลังจากแคมเปญ บัตรเครดิตของพรรคเพื่อไทยดูเหมือนได้รับการตอบรับมาก ประชาธิปัตย์จึงตอบโต้ด้วยการผูกความหมายของ บัตรเครดิตกับหนี้สินออกมาด้วยแคมเปญล้างหนี้บัตรเครดิต ซึ่งเนื้อแท้แล้วการล้างหนี้ ยกหนี้ เลื่อนหนี้ ได้กลายเป็นหัวใจของการหาเสียงยุคใหม่ไปแล้วไม่ว่าพรรคไหน ทั้งเพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ก็ลงมาคลุกกับขนมหวานใส่สีล้างหนี้ เลื่อนหนี้กันทั้งสิ้น
4.พรรคขนาดกลางอย่างชาติไทยพัฒนา หรือชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน กิจสังคม มาตุภูมิ ฯลฯ ต่างก็มีนโยบายหาเสียงที่โดดเด่นของตนเองเช่น พรรคโคราชของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภเสนอแคมเปญราคาพลังงานตรึงราคาน้ำมันเอาไว้ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าสามารถทำได้แต่ปรากฏว่าสังคม สื่อ และพรรคการเมืองเองไม่เคยมีเงื่อนไขที่เป็นเหมือนสัญญาประชาคมที่ว่า หากได้รับการทาบทามเข้าร่วมรัฐบาลจะต้องทำหรือจัดให้มี“นโยบายสำคัญ”ของพรรคตัวเองให้ได้ ดังนั้นคำหาเสียงดี ๆ หลายอย่างยังเป็นเหมือนลมปากที่ไม่มีเงื่อนไขผูกมัดหรือคำสัญญาใด ๆ เพราะแท้จริงแล้วพรรคเหล่านี้ไม่มีทางที่จะเป็นแกนนำตั้งรัฐบาล อย่างเก่งก็เป็นพรรคร่วมดังนั้นสังคมควรกดดันให้พรรคเหล่านี้แสดงความชัดเจนเรื่องเงื่อนไขร่วมรัฐบาล
5.ไม่มีนโยบายสีเขียว นโยบายสิ่งแวดล้อม นโยบายรองรับความเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและนโยบายรับพิบัติธรรมชาติที่มีแนวโน้มมากขึ้น แม้กระทั่งนายสุวิทย์ คุณกิตติ กิจสังคมที่เป็นรมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ มาก่อนก็ไม่มีนโยบายสีเขียว แม้จะดีอย่างที่พยายามเล่นเรื่องเขาพระวิหารเป็นหลักแต่อีกทางหนึ่งก็น่าจะแสดงให้เห็นถึงงานที่ตนเองเคยรับผิดชอบมาก่อน แท้จริงแล้วพรรคนี้ก็ไม่ได้ต่างจากพรรคการเมืองอื่นที่น่าผิดหวังอยู่มาก ดูแลสิ่งแวดล้อมมีงานเดียวที่ทำได้เด่นคือตัดต้นไม่ริมถนนเขาใหญ่ ส่วนเรื่องอื่นยังสอบไม่ผ่านแถมยังมีหน้ามาทำกรงหมีขั้วโลก 71 ล้านที่สวนสัตว์เชียงใหม่เพื่อการอนุรักษ์ ? (ฮา-ฮิ้ววว) อีกต่างหาก
6.ยกแรกของการหาเสียงยังเงียบสงบดี พรรคเพื่อไทยพยายามเตือนคนเสื้อแดงไม่ให้รังควานอภิสิทธิ์หาเสียง แถมชูสโลแกนแก้ไข ไม่แก้แค้น แต่อีกทางหนึ่งเฉลิมก็ข่มขู่ย้ายข้าราชการ ดีเจ.วิทยุชุมชนบางคนยังแพลม ๆ ว่าเราไม่แก้แค้น รอไว้เป็นรัฐบาลก่อนค่อยว่ากัน พี่น้องใจเย็น ๆ ? (แปลว่าอะไรฟระเนี่ย) แสดงว่าที่แกนนำเสื้อแดงเคยขู่ ๆ จะย้ายทหาร ย้ายอธิบดี ยุบดีเอสไอ ย้ายผู้ว่าฯ เป็นคำพูดพล่อย ๆ เอามันบนเวทีที่พรรคเพื่อไทยไม่ยอมรับ หรือแค่กลบ ๆ ไว้ก่อนกันแน่
7.ปี่กลองเลือกตั้งทำให้สังคมสนใจที่พรรคการเมืองและนักการเมืองกันลืมเลือนไปว่าองค์กรที่สังคมควรสนใจที่สุดอีกแห่งก็คือ กกต. ตอนนี้กกต.จังหวัดกำลังอยู่ระหว่างการสับเปลี่ยนตามวาระ กกต.จังหวัดชุดที่รับสมัครเป็นชุดเก่าคาบเกี่ยวกับชุดใหม่ที่จะมาทำหน้าที่ในเดือนหน้า การเปลี่ยนผู้รับผิดชอบกลางคันแบบนี้เหมือนเปลี่ยนม้ากลางธาร การคัดเลือกกกต.ใหม่แทบไม่ได้ได้รับความสนใจเลยทั้ง ๆ ที่ตัวบุคคลที่อยู่ในข่ายจำนวนหนึ่งเป็นคนที่นักการเมืองส่งเข้าประกวด เรื่องแบบนี้คนในท้องถิ่นในจังหวัดต่าง ๆ ทราบกันดี
8.นโยบายหาเสียงส่วนใหญ่หวือหวาเอามัน มีเฉพาะเรื่องเดียวเท่านั้นที่ดูจะเป็นประโยชน์ในระยะยาวคือเรื่องสินค้าเกษตรและนโยบายการยกระดับราคา ปชป.เน้นเรื่องตลาดล่วงหน้า+การประกัน พรรคเพื่อไทยมุ่งไปที่การรับจำนำ ส่วนภูมิใจไทยเอาตัวเลขข้าวเกวียนละ 2 หมื่นมาชูและใช้ระบบการประกัน นี่เป็นรายละเอียดทางเทคนิคที่มีจุดอ่อนจุดแข็งและผูกกับผลประโยชน์ข้าวและสินค้าเกษตรไทย แต่ดูเหมือนสังคมจะให้ความสนใจที่การถกเถียง ชั่งน้ำหนักกันน้อยกว่าเรื่องบัตรเครดิตที่เป็นขนมหวานทำให้ฟันผุ
9.การรณรงค์โหวตโน กลายเป็นส่วนหนึ่งของการถกเถียงในการเลือกตั้งรอบนี้ แต่ยังมีคนจำนวนมากมองว่า การรณรงค์โหวตโนเป็นการทำลายประชาธิปไตย เป็นพวกไม่รักประชาธิปไตย อ้าว ! ถ้างั้นก็ให้รัฐสภาและส.ส.ที่กำลังเลือกรอบนี้ห้ามโหวต “ไม่ออกเสียง” ในสภาสิ ! เพราะมันไม่เป็นประชาธิปไตย ปู้ดโธ้ ! รัฐสภาและประชาธิปไตยของทั้งโลกเวลาโหวตเขามี 3 ช่อง “เห็นด้วย-ไม่เห็นด้วย-งดออกเสียง” แต่ก็ยังมีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ออกมาตะแบงโง่ ๆ ว่าการงดออกเสียงเป็นการทำลายประชาธิปไตย
10.การใช้พื้นที่อินเตอร์เน็ตและสื่อใหม่ของพรรคการเมืองยังไม่หวือหวาคึกคักอย่างที่คาด แต่อย่างน้อยก็ทำให้สังคมติดตามกิจกรรมของคนเด่นคนดังและพรรคการเมืองนั้น ๆ ได้ใกล้ชิดขึ้น (สำหรับคนคิดจะติดตามแบบแฟนพันธุ์แท้) อย่างไรก็ตามการตอบโต้รายวันแบบปิงปองยังต้องอาศัยสื่อหลักอยู่เช่นเดิม ไปๆ มา ๆ สื่อใหม่ทั้งอินเตอร์เน็ตเฟซบุ้คกลับเป็นแหล่งปล่อยหมัดใต้เข็มขัดที่ดุเดือดยิ่ง แม้จะเพิ่งเริ่มยกแรกก็เริ่มเห็นแล้วว่าสมรภูมิใต้เข็มขัดน่าจะดุเดือดเลือดพล่านขึ้นเรื่อย ๆ