สำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์ออกหนังสือเล่มเล็กๆ ขนาดพ็อกเก็ตบุ๊ค หัวเรื่องทันสมัยทีเดียวเลยครับ
ผมเข้าใจว่าหาซื้อมาอ่านตามร้านหนังสือได้แล้ว
ผู้เขียนก็น่าจะเป็นที่คุ้นเคยกันดี
คุณต่อพงษ์ เศวตามร์ ซึ่งนานๆ จะวางมือจากที่เคยเขียนเรื่องอื้อฉาวหรือพวกคาวๆ ของบรรดาสาวๆ คราวนี้มาเขียนเรื่องผู้ชายที่เป็นถึงนายกรัฐมนตรีครับ
ความจริงสิ่งที่คุณต่อพงษ์เขียนนี้ก็ได้ไอเดียจากภาพยนตร์ชุดของญี่ปุ่นเรื่อง Change
แต่บังเอิญไทยได้นายกฯ รูปหล่อชื่ออภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ทำให้การเมืองบ้านเราน่าดูขึ้นเยอะ
ใน Change นั้น นายกฯ ชื่อ อาซากุระ เคตะนะ
คุณต่อพงษ์ ตั้งประเด็นน่าสนใจว่า 2 คนนี้ใครมีการตัดสินใจได้เนียนหรือแน่กว่ากัน
ความจริงเรื่อง “Change” หรือการเปลี่ยนแปลงนั้น คนที่ทำให้ “ติดปาก” ก็คือประธานาธิบดีโอบามาของอเมริกา
สำหรับประเทศเรานั้น แม้จะเปลี่ยนไปมาก แต่โดยเนื้อหาหลักๆ มันก็อีหรอบเดิมคือ “น้ำเน่า-ประการหลังนี่คุณต่อพงษ์ไม่ได้เขียน ผมว่าของผมเอง
การที่คุณต่อพงษ์นำเรื่องราวจากซีรี่ในภาพยนตร์ญี่ปุ่นซึ่งก็เป็น “การเมือง” มาเปรียบเทียบกับ “การเมือง” ของเรา ก็บอกให้เรารู้ว่า บางอย่างมันมีอะไรที่น่าสนใจ
โดยบางอย่างนายกฯ อาซากุระของญี่ปุ่นได้ใช้นโยบายประชานิยมก็แบบทักษิณเคยใช้ หรือที่นายกอภิสิทธ์ เคยเลียนแบบมาแล้ว
ประเด็นที่คุณต่อพงษ์กล่าวไว้คือสิ่งที่นายกฯ (ผมว่าใครก็ตามควรทำมากที่สุด) ก็คือจะต้องปกป้องและคุ้มครองประชาชนให้ได้รับสิทธิ์โดยพื้นฐานให้ได้
ไม่ใช่ว่าสักแต่บริหารจากมุมมองของตัวเองเท่านั้น
อาซากุระแกปกป้องผลประโยชน์และสิทธิประโยชน์ของชาวประมงญี่ปุ่นเพราะโครงการรัฐไปทำให้กลุ่มอาชีพประมงเดือดร้อน
ครับเป็นความรับผิดชอบที่นายกฯ ของเขาทำกัน
แต่เรื่องแบบนี้ไม่เกิดในบ้านเรา
ถ้ามีนายกฯ ที่ช่วยเหลือกลุ่มอาชีพต่างๆ
มันจะไม่มีการประท้วงมาราธอนกันหรอกครับ
พ็อกเก็ตบุ๊คของคุณต่อพงษ์ ยังได้นำเอาอาจารย์สุวินัย เขามาเสริมความเห็น ซึ่งท่านก็มีความเห็นน่าคิด และน่าสนใจมาก โดยท่านสุวินัยเชื่อว่าซีรี่ญี่ปุ่นเรื่อง Change น่าจะรับอิทธิพลจากนโยบาย Change ของโอบามา เพราะเวลามันใกล้เคียงกัน
แต่ต่อพงษ์ว่า Serie ที่ว่านี้ออกมาก่อนโอบามาได้เป็นประธานาธิบดี
ซึ่งก็น่าคิดนะ เพราะโอบามาหาเสียงด้วยคำขวัญนี้มานานก่อน Serie จะสร้างแล้ว
สุวินัยก็เฉลยว่าที่ญี่ปุ่นระบบการเมืองนั้น “แข็งแรง” กว่าไทยมาก อย่างเคตะเวลาเขาสู้ เขาสู้กับความเฉื่อยชาหรือสู้กับความเข็งในตัวระบบทั้งข้าราชการ เทคโนแครต ฯลฯ และว่าเรื่องซีรี่ญี่ปุ่นนี้ นายกฯ อภิสิทธิ์ควรดูด้วย
ในแง่ความเฉียบขาดแล้ว นายกฯ อาซากุระ เคตะ เฉียบขาดกว่าอภิสิทธิ์แยะเลย และในฉากยุบสภาญี่ปุ่น เคตะพูด 15 นาที เป็นการพูดในสภาที่สุดยอด
เรื่องนี้มัน “เปลี่ยน” จริงๆ นักการเมืองต้องเป็นแบบเคตะ
ผมฟังแล้วก็อยากดูซีรี่นี้เต็มที ดูทุกตอนเลย
คือผมอยากรู้ว่า การเปลี่ยนแปลงมันมีขั้นตอนมีการสู้ปัญหา
และหาทางแก้ไขได้อย่างไร
เพราะเราไม่มีทางแก้แบบไทยๆ เลย
ก็น่าจะลองแบบ “ญี่ปุ่น” กันดูที
ผมเข้าใจว่าหาซื้อมาอ่านตามร้านหนังสือได้แล้ว
ผู้เขียนก็น่าจะเป็นที่คุ้นเคยกันดี
คุณต่อพงษ์ เศวตามร์ ซึ่งนานๆ จะวางมือจากที่เคยเขียนเรื่องอื้อฉาวหรือพวกคาวๆ ของบรรดาสาวๆ คราวนี้มาเขียนเรื่องผู้ชายที่เป็นถึงนายกรัฐมนตรีครับ
ความจริงสิ่งที่คุณต่อพงษ์เขียนนี้ก็ได้ไอเดียจากภาพยนตร์ชุดของญี่ปุ่นเรื่อง Change
แต่บังเอิญไทยได้นายกฯ รูปหล่อชื่ออภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ทำให้การเมืองบ้านเราน่าดูขึ้นเยอะ
ใน Change นั้น นายกฯ ชื่อ อาซากุระ เคตะนะ
คุณต่อพงษ์ ตั้งประเด็นน่าสนใจว่า 2 คนนี้ใครมีการตัดสินใจได้เนียนหรือแน่กว่ากัน
ความจริงเรื่อง “Change” หรือการเปลี่ยนแปลงนั้น คนที่ทำให้ “ติดปาก” ก็คือประธานาธิบดีโอบามาของอเมริกา
สำหรับประเทศเรานั้น แม้จะเปลี่ยนไปมาก แต่โดยเนื้อหาหลักๆ มันก็อีหรอบเดิมคือ “น้ำเน่า-ประการหลังนี่คุณต่อพงษ์ไม่ได้เขียน ผมว่าของผมเอง
การที่คุณต่อพงษ์นำเรื่องราวจากซีรี่ในภาพยนตร์ญี่ปุ่นซึ่งก็เป็น “การเมือง” มาเปรียบเทียบกับ “การเมือง” ของเรา ก็บอกให้เรารู้ว่า บางอย่างมันมีอะไรที่น่าสนใจ
โดยบางอย่างนายกฯ อาซากุระของญี่ปุ่นได้ใช้นโยบายประชานิยมก็แบบทักษิณเคยใช้ หรือที่นายกอภิสิทธ์ เคยเลียนแบบมาแล้ว
ประเด็นที่คุณต่อพงษ์กล่าวไว้คือสิ่งที่นายกฯ (ผมว่าใครก็ตามควรทำมากที่สุด) ก็คือจะต้องปกป้องและคุ้มครองประชาชนให้ได้รับสิทธิ์โดยพื้นฐานให้ได้
ไม่ใช่ว่าสักแต่บริหารจากมุมมองของตัวเองเท่านั้น
อาซากุระแกปกป้องผลประโยชน์และสิทธิประโยชน์ของชาวประมงญี่ปุ่นเพราะโครงการรัฐไปทำให้กลุ่มอาชีพประมงเดือดร้อน
ครับเป็นความรับผิดชอบที่นายกฯ ของเขาทำกัน
แต่เรื่องแบบนี้ไม่เกิดในบ้านเรา
ถ้ามีนายกฯ ที่ช่วยเหลือกลุ่มอาชีพต่างๆ
มันจะไม่มีการประท้วงมาราธอนกันหรอกครับ
พ็อกเก็ตบุ๊คของคุณต่อพงษ์ ยังได้นำเอาอาจารย์สุวินัย เขามาเสริมความเห็น ซึ่งท่านก็มีความเห็นน่าคิด และน่าสนใจมาก โดยท่านสุวินัยเชื่อว่าซีรี่ญี่ปุ่นเรื่อง Change น่าจะรับอิทธิพลจากนโยบาย Change ของโอบามา เพราะเวลามันใกล้เคียงกัน
แต่ต่อพงษ์ว่า Serie ที่ว่านี้ออกมาก่อนโอบามาได้เป็นประธานาธิบดี
ซึ่งก็น่าคิดนะ เพราะโอบามาหาเสียงด้วยคำขวัญนี้มานานก่อน Serie จะสร้างแล้ว
สุวินัยก็เฉลยว่าที่ญี่ปุ่นระบบการเมืองนั้น “แข็งแรง” กว่าไทยมาก อย่างเคตะเวลาเขาสู้ เขาสู้กับความเฉื่อยชาหรือสู้กับความเข็งในตัวระบบทั้งข้าราชการ เทคโนแครต ฯลฯ และว่าเรื่องซีรี่ญี่ปุ่นนี้ นายกฯ อภิสิทธิ์ควรดูด้วย
ในแง่ความเฉียบขาดแล้ว นายกฯ อาซากุระ เคตะ เฉียบขาดกว่าอภิสิทธิ์แยะเลย และในฉากยุบสภาญี่ปุ่น เคตะพูด 15 นาที เป็นการพูดในสภาที่สุดยอด
เรื่องนี้มัน “เปลี่ยน” จริงๆ นักการเมืองต้องเป็นแบบเคตะ
ผมฟังแล้วก็อยากดูซีรี่นี้เต็มที ดูทุกตอนเลย
คือผมอยากรู้ว่า การเปลี่ยนแปลงมันมีขั้นตอนมีการสู้ปัญหา
และหาทางแก้ไขได้อย่างไร
เพราะเราไม่มีทางแก้แบบไทยๆ เลย
ก็น่าจะลองแบบ “ญี่ปุ่น” กันดูที