การที่รัฐบาลนี้พยายามอย่างเต็มที่ในการตรึงกำลังทุกส่วนในพรรคซึ่งน่าจะระส่ำระสาย อาจเพราะมีความแตกแยกเป็นกลุ่มตามแกนนำในภาคนิยม อีกทั้งมีข่าวว่าอดีตนายกรัฐมนตรีก็ทนนายสมัครไม่ไหวที่คิดว่าตนเองมีอำนาจที่สามารถควบรวมกับฝ่ายทหารได้ ดังนั้นหากทิ้งเอาไว้ก็จะทำให้นายสมัครเหิมเกริมมากยิ่งขึ้น
ทักษิณจึงอาจต้องเตะนายสมัครให้ตกจากเก้าอี้ และอาจให้คนอื่นขึ้นมาแทนและคนที่มองไว้คงเป็นหมอเลี๊ยบที่เขาไว้ใจได้คนนี้นั่นแหละ
การที่รัฐบาลตรึงกำลังไว้เวลานี้ เพราะรู้ว่าภายนอกพรรคนั้นฝ่ายค้านไม่เอาด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญ โดยได้ประกาศอย่างเป็นทางการให้ประชาชนรู้ว่าเหตุผลที่ไม่เอาเพราะมันเกิดจากการกระทำเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคพลังประชาชนเพียงพรรคเดียว และก็เพื่อปลดล็อคให้บุคคลในพรรค รวมทั้งต้องการปลดแอกพวก 111 คน เพื่อหวังให้มาเกื้อกูลพรรคต่อไป
กล่าวกันว่า ถ้าเกมแก้ไขรัฐธรรมนูญทำสำเร็จในระดับที่ให้ประโยชน์ รับบาลก็จะยุบพรรคและพวก 111 คน ที่ปลดล็อคก็จะกลับมาช่วยพรรคไม่ว่าในด้านการบริหาร และช่วยหาเงินหาทองรวมทั้งช่วยถ่วงอำนาจไม่ให้เกิดความแตกแยกภายในพรรคด้วย
แต่หากแก้รัฐธรรมนูญไม่เกิดขึ้นตามอำเภอใจ รัฐบาลก็อาจเลือกยุบสภาโดยอ้างได้ว่า ไม่สามาถบริหารราชการภายใต้รัฐธรรมนูญนี้ได้ ดังนั้นจะต้องยุบสภาให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยไม่รักษาการและแก้ไขรัฐธรรมนูญไปพร้อมๆ กัน
วิธีหลังนี้เป็นการเปิดทางสะดวกอย่างยิ่ง
แต่ไม่ว่าจะดำเนินการประการใด คนไทยหาใช่วัวควายหรือกินหญ้ากินแกลบเป็นอาหารไม่ จึงเคลื่อนไหวทุกภาคส่วนไม่ว่าพันธมิตรประชาธิปไตย คณาจารย์ชั้นนำทั้งใน กทม.และในต่างจังหวัด
ชมรม สสร.50 ซึ่งมีทั้งอดีตสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้นัดหารือถกกันเกี่ยวกับทางรัฐบาลมีมติที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ 5 มาตรา
ชมรมนี้สรุปว่า มี 5 ประเด็นหลักที่ต้องพิจารณา คือ
ประเด็นที่หนึ่ง ชมรมไม่ได้ค้านเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยที่ สอง หากแก้ไขผลประโยชน์ของประชาชนส่วนรวม แต่รัฐบาลไม่ทำเพื่อส่วนรวม ก็จะไปขัดกับมาตรา 122 ซึ่งจะถูกยื่นถอดถอนออกจากตำแหน่งได้เลย และใช้รายชื่อประชาชนแค่ 2 หมื่นคนหรือใช้ ส.ส.ไม่มากนักในสภาสาม การแก้ไขต้องทำให้ดีกว่าเดิม
การเสนอว่าจะแก้ไขในมาตรา 237 เป็นเรื่องหลักการ ชมรมเห็นว่าเกี่ยวกับการทุจริตเลือกตั้ง ดังนั้นจะทำให้ย้อนกลับสู่กระบวนการโกงกันแบบเดิมอีก
ส่วนมาตรา 309 นั้นเห็นว่า แก้ไขก็เพื่อให้นักการเมืองที่โดนเพิกถอนสิทธิ โดยแก้ย้อนหลังให้คนพวกนี้กลับสู่อำนาจเดิมได้
ดังนั้น มันเห็นชัดว่า ไม่ได้เป็นประโยชน์กับมหาชน
ชมรมฯ ยังออกแถลงการณ์ 7 ข้อ โดยสรุปสาระว่า การแก้รัฐธรรมนูญนั้นเกิดในช่วงยังไม่มีเลือกตั้ง และเราไม่อาจรู้ล่วงหน้าว่าจะทำอะไรผิดกันและในรูปแบบใด การจะร่างให้บังคับใช้กับบุคคลเท่าเทียมกันย่อมทำไม่ได้ที่จะจำเพาะเจาะจงเอาผิดผู้ใด
ส่วนใหญ่ของแถลงการณ์ก็เพื่อชี้ให้เห็นว่าการแก้ไขมีการอำพรางและทำเพื่อพรรคพวกเท่านั้น
ในส่วนพันธมิตรวันนี้ (2 เมษายน) จะจัดให้มีการประชุมเร่งด่วน และจัดให้มีการแถลงข่าวด้วย
ผมอยากตั้งเป็นข้อสังเกตว่า ตั้งแต่รัฐบาลเข้ามาก็อ้างว่าทำอะไรไม่ได้ ซึ่งไม่จริง เพราะรัฐมนตรีหลายกระทรวงได้เดินหน้าทำอะไรไปมากพอควร แม้จะไม่เกิดผลหรือโดนขับไล่เพราะบริหารผิดพลาด
การอ้างว่าโดนติดล็อคจากรัฐธรรมนูญจึงเป็นการกล่าวลอยๆ เท่านั้น
สรุปว่ารัฐบาลสนใจแต่เรื่องการเมืองที่จะเอาโจทย์ของพรรคเป็นตัวตั้ง ไม่ได้นึกถึงเศรษฐกิจ ปัญหาโจรกรรม โจรผู้ร้ายแม้ กระทั่งปัญหาความไม่สงบภาคใต้
เรื่องเอาแต่ผลประโยชน์ของตัวยังไม่เท่าไร แต่การที่ยังมีรัฐมนตรีมั่วโครงการหากินคอร์รัปชั่น หรือตามน้ำในสถานการณ์แบนนี้ผมว่าเรารับไม่ได้หรอกครับ
ทักษิณจึงอาจต้องเตะนายสมัครให้ตกจากเก้าอี้ และอาจให้คนอื่นขึ้นมาแทนและคนที่มองไว้คงเป็นหมอเลี๊ยบที่เขาไว้ใจได้คนนี้นั่นแหละ
การที่รัฐบาลตรึงกำลังไว้เวลานี้ เพราะรู้ว่าภายนอกพรรคนั้นฝ่ายค้านไม่เอาด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญ โดยได้ประกาศอย่างเป็นทางการให้ประชาชนรู้ว่าเหตุผลที่ไม่เอาเพราะมันเกิดจากการกระทำเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคพลังประชาชนเพียงพรรคเดียว และก็เพื่อปลดล็อคให้บุคคลในพรรค รวมทั้งต้องการปลดแอกพวก 111 คน เพื่อหวังให้มาเกื้อกูลพรรคต่อไป
กล่าวกันว่า ถ้าเกมแก้ไขรัฐธรรมนูญทำสำเร็จในระดับที่ให้ประโยชน์ รับบาลก็จะยุบพรรคและพวก 111 คน ที่ปลดล็อคก็จะกลับมาช่วยพรรคไม่ว่าในด้านการบริหาร และช่วยหาเงินหาทองรวมทั้งช่วยถ่วงอำนาจไม่ให้เกิดความแตกแยกภายในพรรคด้วย
แต่หากแก้รัฐธรรมนูญไม่เกิดขึ้นตามอำเภอใจ รัฐบาลก็อาจเลือกยุบสภาโดยอ้างได้ว่า ไม่สามาถบริหารราชการภายใต้รัฐธรรมนูญนี้ได้ ดังนั้นจะต้องยุบสภาให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยไม่รักษาการและแก้ไขรัฐธรรมนูญไปพร้อมๆ กัน
วิธีหลังนี้เป็นการเปิดทางสะดวกอย่างยิ่ง
แต่ไม่ว่าจะดำเนินการประการใด คนไทยหาใช่วัวควายหรือกินหญ้ากินแกลบเป็นอาหารไม่ จึงเคลื่อนไหวทุกภาคส่วนไม่ว่าพันธมิตรประชาธิปไตย คณาจารย์ชั้นนำทั้งใน กทม.และในต่างจังหวัด
ชมรม สสร.50 ซึ่งมีทั้งอดีตสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้นัดหารือถกกันเกี่ยวกับทางรัฐบาลมีมติที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ 5 มาตรา
ชมรมนี้สรุปว่า มี 5 ประเด็นหลักที่ต้องพิจารณา คือ
ประเด็นที่หนึ่ง ชมรมไม่ได้ค้านเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยที่ สอง หากแก้ไขผลประโยชน์ของประชาชนส่วนรวม แต่รัฐบาลไม่ทำเพื่อส่วนรวม ก็จะไปขัดกับมาตรา 122 ซึ่งจะถูกยื่นถอดถอนออกจากตำแหน่งได้เลย และใช้รายชื่อประชาชนแค่ 2 หมื่นคนหรือใช้ ส.ส.ไม่มากนักในสภาสาม การแก้ไขต้องทำให้ดีกว่าเดิม
การเสนอว่าจะแก้ไขในมาตรา 237 เป็นเรื่องหลักการ ชมรมเห็นว่าเกี่ยวกับการทุจริตเลือกตั้ง ดังนั้นจะทำให้ย้อนกลับสู่กระบวนการโกงกันแบบเดิมอีก
ส่วนมาตรา 309 นั้นเห็นว่า แก้ไขก็เพื่อให้นักการเมืองที่โดนเพิกถอนสิทธิ โดยแก้ย้อนหลังให้คนพวกนี้กลับสู่อำนาจเดิมได้
ดังนั้น มันเห็นชัดว่า ไม่ได้เป็นประโยชน์กับมหาชน
ชมรมฯ ยังออกแถลงการณ์ 7 ข้อ โดยสรุปสาระว่า การแก้รัฐธรรมนูญนั้นเกิดในช่วงยังไม่มีเลือกตั้ง และเราไม่อาจรู้ล่วงหน้าว่าจะทำอะไรผิดกันและในรูปแบบใด การจะร่างให้บังคับใช้กับบุคคลเท่าเทียมกันย่อมทำไม่ได้ที่จะจำเพาะเจาะจงเอาผิดผู้ใด
ส่วนใหญ่ของแถลงการณ์ก็เพื่อชี้ให้เห็นว่าการแก้ไขมีการอำพรางและทำเพื่อพรรคพวกเท่านั้น
ในส่วนพันธมิตรวันนี้ (2 เมษายน) จะจัดให้มีการประชุมเร่งด่วน และจัดให้มีการแถลงข่าวด้วย
ผมอยากตั้งเป็นข้อสังเกตว่า ตั้งแต่รัฐบาลเข้ามาก็อ้างว่าทำอะไรไม่ได้ ซึ่งไม่จริง เพราะรัฐมนตรีหลายกระทรวงได้เดินหน้าทำอะไรไปมากพอควร แม้จะไม่เกิดผลหรือโดนขับไล่เพราะบริหารผิดพลาด
การอ้างว่าโดนติดล็อคจากรัฐธรรมนูญจึงเป็นการกล่าวลอยๆ เท่านั้น
สรุปว่ารัฐบาลสนใจแต่เรื่องการเมืองที่จะเอาโจทย์ของพรรคเป็นตัวตั้ง ไม่ได้นึกถึงเศรษฐกิจ ปัญหาโจรกรรม โจรผู้ร้ายแม้ กระทั่งปัญหาความไม่สงบภาคใต้
เรื่องเอาแต่ผลประโยชน์ของตัวยังไม่เท่าไร แต่การที่ยังมีรัฐมนตรีมั่วโครงการหากินคอร์รัปชั่น หรือตามน้ำในสถานการณ์แบนนี้ผมว่าเรารับไม่ได้หรอกครับ